รายงานขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับสถานการณ์ของวัณโรคในระดับทั่วโลกประจำปี 2015 (Global Tuberculosis Report 2015) ชี้ว่า มีคนเสียชีวิตจากวัณโรคปีละ 1.5 ล้านคนทั่วโลกในปีคริสตศักราช 2014 สูงกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ถึง 300,000 คน โดยรายงานนี้รวบรวมข้อมูลและตัวเลขเกี่ยวกับวัณโรคใน 209 ประเทศ
Dr. Mario Raviglione ผู้อำนวยการโครงการ Global TB ขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า การเสียชีวิตจากวัณโรคส่วนมากสามารถป้องกันได้ เขากล่าวว่าแม้ว่าจะมีความคืบหน้าที่ดีในงานต่อต้านวัณโรค แต่ยังไม่เพียงพอ และทั้งๆ ที่วงการแพทย์ยุคปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการวินิจฉัยและบำบัดผู้ป่วยวัณโรคได้ แต่กลับมีคนเสียชีวิตจากวัณโรควันละ 4,400 คนทั่วโลก
นอกเหนือไปจากนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของคนที่เสียชีวิตจากวัณโรคเป็นคนใน 5 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ตามมาด้วยอินโดนีเซีย ไนจีเรีย และปากีสถาน
Dr. Eric Goosby ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติด้านวัณโรคกล่าวว่า การลดลงของจำนวนผู้ติดเชื้อวัณโรคถึง 47 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากงานต่อต้านโรคเอดส์
วัณโรคและโรคเอดส์ มักจะเกิดขึ้นร่วมกัน เพราะหากระบบภูมิต้านทานร่างกายของผู้ป่วยอ่อนแอลง ร่างกายก็เสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคติดต่อร้ายแรงต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ผู้เสียชีวิตจำนวน 400,000 คนในปี 2014 เป็นผู้ที่ติดทั้งเชื้อเอดส์และเชื้อวัณโรคร่วมกันสองโรค
แต่แม้ว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตยังสูงอยู่ จำนวนผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อเอชไอวีได้ลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
Dr. Eric Goosby ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติด้านวัณโรคกล่าวว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากเอดส์และวัณโรคลดลงเพราะผู้ป่วยเอดส์ได้รับการบำบัดด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี แต่เขากล่าวเสริมว่าความยากจนเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้คนติดเชื้อวัณโรค ผู้ติดเชื้อวัณโรคที่ยากจนได้รับการวินิจฉัยโรคตอนที่โรคลุกลามเเล้ว ทำให้ยากมากขึ้นต่อการรักษา และส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
Dr. Goosby ชี้ว่าความยากจนทำให้คนเสี่ยงสูงขึ้นต่อการติดเชื้อวัณโรค เนื่องจากร่างกายอ่อนแอจากทุพโภชนาการ สุขภาพไม่ดี ทำให้ร่างกายติดเชื้อโรคติดต่อต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้เขายังชี้ด้วยว่า ผู้ติดเชื้อวัณโรคส่วนมากลังเลที่จะเข้ารับการวินิจฉัยและบำบัดเพราะทัศนคติทางลบของสังคมที่มองว่า ผู้ป่วยวัณโรคเป็นคนยากจนและร่างกายสกปรก จึงจำเป็นต้องปรับทัศนคตินี้เพื่อให้ผู้ป่วยเปิดเผยตัวและเข้ารับการบำบัดอย่างทันท่วงที
ด้าน Dr. Magaret Chan ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกกล่าวว่า หากเราต้องการกำจัดวัณโรคให้หมดไปจากโลก จำเป็นต้องเพิ่มการบริการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะการลงทุนด้านการวิจัย
และ Dr. Mario Raviglione ผู้อำนวยการโครงการ Global TB Program ขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า จะต้องใช้เงินถึงเกือบสามพันล้านดอลล่าร์สหรัฐ หากต้องการปรับปรุงงานวินิจฉัยโรคและงานวิจัยยาบำบัดวัณโรคตัวใหม่ๆ ตลอดจนพัฒนาการบำบัดโรคที่ดีขึ้นกว่าเดิม ได้ผลเร็ว และถูกลง ตลอดจนเพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกันวัณโรค
เนื่องจากวัณโรคติดต่อทางลมหายใจ จึงทำให้คนเสียชีวิตจำนวนมาก และวัณโรคดื้อยากำลังแพร่ระบาด องค์การอนามัยโลกจึงถือว่าวัณโรคเป็นโรคที่แพร่ระบาดระดับทั่วโลกและมียุทธศาสตร์ในการยุติโรค
โดยมีเป้าหมายที่จะลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลงให้ได้ 80 เปอร์เซ็นต์ เริ่มตั้งแต่ปีค.ศ 2016 หรือปีหน้า และยังมุ่งลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ลงให้ได้ราว 90 เปอร์เซ็นต์ภายในอีก 15 ปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก m.voathai.com
Report by LIV Capsule
WHO ชี้ว่าคนทั่วโลกเสียชีวิตจากวัณโรคสูงกว่าโรคเอดส์
Dr. Mario Raviglione ผู้อำนวยการโครงการ Global TB ขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า การเสียชีวิตจากวัณโรคส่วนมากสามารถป้องกันได้ เขากล่าวว่าแม้ว่าจะมีความคืบหน้าที่ดีในงานต่อต้านวัณโรค แต่ยังไม่เพียงพอ และทั้งๆ ที่วงการแพทย์ยุคปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการวินิจฉัยและบำบัดผู้ป่วยวัณโรคได้ แต่กลับมีคนเสียชีวิตจากวัณโรควันละ 4,400 คนทั่วโลก
นอกเหนือไปจากนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของคนที่เสียชีวิตจากวัณโรคเป็นคนใน 5 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ตามมาด้วยอินโดนีเซีย ไนจีเรีย และปากีสถาน
Dr. Eric Goosby ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติด้านวัณโรคกล่าวว่า การลดลงของจำนวนผู้ติดเชื้อวัณโรคถึง 47 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากงานต่อต้านโรคเอดส์
วัณโรคและโรคเอดส์ มักจะเกิดขึ้นร่วมกัน เพราะหากระบบภูมิต้านทานร่างกายของผู้ป่วยอ่อนแอลง ร่างกายก็เสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคติดต่อร้ายแรงต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ผู้เสียชีวิตจำนวน 400,000 คนในปี 2014 เป็นผู้ที่ติดทั้งเชื้อเอดส์และเชื้อวัณโรคร่วมกันสองโรค
แต่แม้ว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตยังสูงอยู่ จำนวนผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อเอชไอวีได้ลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
Dr. Eric Goosby ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติด้านวัณโรคกล่าวว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากเอดส์และวัณโรคลดลงเพราะผู้ป่วยเอดส์ได้รับการบำบัดด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี แต่เขากล่าวเสริมว่าความยากจนเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้คนติดเชื้อวัณโรค ผู้ติดเชื้อวัณโรคที่ยากจนได้รับการวินิจฉัยโรคตอนที่โรคลุกลามเเล้ว ทำให้ยากมากขึ้นต่อการรักษา และส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร
Dr. Goosby ชี้ว่าความยากจนทำให้คนเสี่ยงสูงขึ้นต่อการติดเชื้อวัณโรค เนื่องจากร่างกายอ่อนแอจากทุพโภชนาการ สุขภาพไม่ดี ทำให้ร่างกายติดเชื้อโรคติดต่อต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้เขายังชี้ด้วยว่า ผู้ติดเชื้อวัณโรคส่วนมากลังเลที่จะเข้ารับการวินิจฉัยและบำบัดเพราะทัศนคติทางลบของสังคมที่มองว่า ผู้ป่วยวัณโรคเป็นคนยากจนและร่างกายสกปรก จึงจำเป็นต้องปรับทัศนคตินี้เพื่อให้ผู้ป่วยเปิดเผยตัวและเข้ารับการบำบัดอย่างทันท่วงที
ด้าน Dr. Magaret Chan ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกกล่าวว่า หากเราต้องการกำจัดวัณโรคให้หมดไปจากโลก จำเป็นต้องเพิ่มการบริการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะการลงทุนด้านการวิจัย
และ Dr. Mario Raviglione ผู้อำนวยการโครงการ Global TB Program ขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า จะต้องใช้เงินถึงเกือบสามพันล้านดอลล่าร์สหรัฐ หากต้องการปรับปรุงงานวินิจฉัยโรคและงานวิจัยยาบำบัดวัณโรคตัวใหม่ๆ ตลอดจนพัฒนาการบำบัดโรคที่ดีขึ้นกว่าเดิม ได้ผลเร็ว และถูกลง ตลอดจนเพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกันวัณโรค
เนื่องจากวัณโรคติดต่อทางลมหายใจ จึงทำให้คนเสียชีวิตจำนวนมาก และวัณโรคดื้อยากำลังแพร่ระบาด องค์การอนามัยโลกจึงถือว่าวัณโรคเป็นโรคที่แพร่ระบาดระดับทั่วโลกและมียุทธศาสตร์ในการยุติโรค
โดยมีเป้าหมายที่จะลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลงให้ได้ 80 เปอร์เซ็นต์ เริ่มตั้งแต่ปีค.ศ 2016 หรือปีหน้า และยังมุ่งลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ลงให้ได้ราว 90 เปอร์เซ็นต์ภายในอีก 15 ปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก m.voathai.com
Report by LIV Capsule