เรื่องโดย : ChaMaNow www.marumura.com
เรียบเรียงกระทู้โดย พี่พลอยนิล-อะเมะยูคิ บอร์ดนักเขียน Dek-d
ChaMaNoW นักเขียนบันเทิงญี่ปุ่นออนไลน์ ปัจจุบันเป็นเจ้าของเพจSakura Dramas นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับละครญี่ปุ่นที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีความสนใจพิเศษเกี่ยวกับเรื่องดนตรี ละคร รวมไปถึงนักแสดง และศิลปินญี่ปุ่นอีกด้วย
ประเทศญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีคดีข่มขืนน้อยค่ะ ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งการปลูกจิตสำนึก มาตรการความปลอดภัยต่างๆ ทำให้ผู้หญิงญี่ปุ่นค่อนข้างปลอดภัยจากเรื่องพวกนี้ และอีกหนึ่งสิ่งที่มีส่วนช่วยควบคุมเหตุพวกนี้ก็คือ “ละคร” ค่ะ
เพื่อนๆ รู้ไหมคะว่าฉากปลุกปล้ำในละครญี่ปุ่นเป็นอะไรที่น่ากลัวมากๆ ค่ะ ถ้าได้ดูแล้วจะรู้ได้ถึงพิษภัย ความโหดร้ายเลยก็ว่าได้ วันนี้ก็เลยจะพามาดูฉากปลุกปล้ำในละครญี่ปุ่นค่ะว่ามีลักษณะอย่างไร เป็นฉากที่สะท้อนและชี้นำอะไรให้สังคมได้เห็นบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
1. ฉากปลุกปล้ำถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบอาชญากรรมอย่างหนึ่ง
แน่นอนว่าฉากปลุกปล้ำมันต้องเกิดจากความไม่สมยอมของฝ่ายหญิง แต่เวลาที่เราดูฉากแบบนี้ในละครไทยจะเป็นบทที่นำพาให้ความรักของพระ-นางมาลงเอยกันในท้ายที่สุด แต่ในละครญี่ปุ่นจะไม่ใช่แบบนั้นค่ะ ฉากนี้ในละครญี่ปุ่นจะถูกนำเสนอก็ต่อเมื่อต้องการจะสื่อว่า การขืนใจ การข่มขืนกันเป็นการกระทำที่โหดร้าย ทารุณ และเป็น “อาชญากรรม” อย่างหนึ่ง
อย่างเช่น เรื่อง “Life” ละครที่นำเสนอเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกันของนักเรียนญี่ปุ่น “Ayumu” ตัวละครเอกของเรื่องก็จะถูกเพื่อนร่วมห้องกลั่นแกล้ง และยังถูก “Katsumi” เพื่อนผู้ชายที่คอยตามรังควาน จับตัวไปทำอนาจารค่ะ ในเรื่องก็จะมีฉากที่นายคนนี้จับตัวไปทำมิดีมิร้าย เกือบถูกข่มขืนได้สำเร็จ ถึงแม้ “Katsumi” จะรับบทเป็นนักเรียนชายหน้าตาดี เรียนเก่ง สุภาพบุรุษ (ภายนอก) แต่ผลสุดท้ายแล้วเขาก็คือโจรผู้ร้ายสำหรับคนในสังคม
ฉากปลุกปล้ำที่ว่านี้ก็ไม่ได้มีแค่ระหว่างนางเอกกับตัวร้ายนะคะ พระเอกกับนางเอกก็มีค่ะ ถ้าเป็นละครบ้านเรา ฉากนี้ถือได้ว่าเป็นฉากเข้าพระเข้านางเลยค่ะ จะลงเอยกันก็ต้องผ่านฉากนี้ ด้วยความที่เป็นพระ-นางคนดูจะไม่รู้สึกว่ามันคือการข่มขืน แต่เป็นบทรักระหว่างกัน แต่ในละครญี่ปุ่นจะไม่ใช่แบบนั้นค่ะ ถึงแม้จะเป็นคู่รักกัน แต่การขืนใจกันเนี่ยก็ยังไม่ใช่สิ่งที่คนรักกันควรกระทำต่อกัน
อย่างเรื่อง “Last Friends” เป็นละครแนวความรักที่สะท้อนปัญหาต่างๆ ของชีวิตคนญี่ปุ่นเป็นอย่างดีอีกเรื่องเลยค่ะ ในเรื่องพระเอกกับนางเอกก็จะเป็นคู่รักที่รักกันมากค่ะ จนตัดสินใจมาใช้ชีวิตด้วยกัน แต่พอมาอยู่ด้วยกันแล้ว กลับพบว่าพระเอกไม่ได้แสนดีอย่างที่เห็น เขามีพฤติกรรมที่ชอบทำร้ายร่างกาย มีอารมณ์ที่รุนแรง เวลาโมโห ก็จะเผลอไปทำร้ายนางเอก หรือที่เรียกว่าเป็นพฤติกรรม DV (Domestic Violence)
จนมาถึงจุดที่ร้ายแรงที่สุดคือ ลงมือข่มขืนเธอ ฉากนี้ขอบอกว่ามันน่ากลัวสุดๆ ค่ะ ถึงแม้จะเป็นพระเอกกับนางเอกก็เถอะ และถึงแม้ว่าจะเป็น “เรียว นิชิกิโดะ” พระเอกขวัญใจดิฉันก็ตาม แต่ฉากนี้ดูยังไงก็ไม่ฟินค่ะ แต่กลับรู้สึกทั้งเกลียด และกลัวผู้ชายคนนี้ขึ้นมาทันที ส่วนนางเอกก็จะดูเหมือนเป็นคนถูกทำร้ายจริงๆ ค่ะ ได้เห็นถึงความโหดร้ายที่ผู้หญิงคนหนึ่งกำลังเผชิญ ถึงแม้การกระทำของพระเอกจะเกิดจากปมอะไรบางอย่าง แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นข้อยกเว้นว่าเขาจะหันมาทำอะไรผู้หญิงก็ได้ และทำให้เห็นว่าถึงแม้จะเป็นการกระทำระหว่างพระเอกและนางเอก แต่ละครก็ยังเลือกที่จะนำเสนอให้เห็นถึงความน่ากลัว ไม่ใช่บทที่แสดงความรักต่อกัน สรุปก็คือฉากปลุกปล้ำในละครญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะไม่ใช่บทรักค่ะ แต่มันคือการข่มขืนกัน เป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่งในสังคม
2. ฉากและโทนสีของภาพสุดจะน่ากลัวและหดหู่
ถ้าสังเกตฉากพวกนี้ในละครญี่ปุ่นจะพบว่าโทนสีจะออกทึมๆ มืดๆ หน่อยค่ะ และสถานที่เกิดเหตุก็มักจะไม่เป็นบนเตียงนอนนุ่มในห้องกว้างสุดหรู แต่จะเป็นข้างทาง ห้องมืดๆ เตียงรกๆ อย่างเช่น เรื่อง“Strawberry Night” เรื่องนี้เป็นแนวสืบสวนสอบสวนค่ะ นางเอกเป็นตำรวจ แต่ก่อนหน้านี้เธอเคยเป็นเหยื่อถูกข่มขืนมาก่อน ส่วนฉากก็จะเป็นตอนกลางคืน มีฝีเท้าคนเดินตาม พอเธอเริ่มเดินเร็วขึ้น -คนที่ตามก็เดินเร็วขึ้นตาม และท้ายที่สุดมันก็ฉุดเธอเข้าโพงหญ้าข้างทาง และก็ข่มขืนค่ะ นางเอกก็จะถูกคร่อมจับกด ฉากรอบๆ ก็จะมืดมิด และปิดฉากโดยที่กล้องฉายไปที่พระจันทร์สีแดง แสดงให้เห็นถึงค่ำคืนที่เจ็บปวด และโหดร้าย ฉากนี้เป็นอีกฉากหนึ่งที่สะเทือนใจจริงๆ ค่ะ พอหลังจากเหตุการณ์วันนั้น พอนางเอกต้องเดินคนเดียวตอนมืดๆ เดินผ่านสวนสาธารณะคล้ายๆ กับที่เกิดเหตุ เธอจะกลัว และนึกเห็นภาพอันโหดร้ายในวันนั้นทันที
3. นำเสนอให้เห็นถึงผลกระทบที่โหดร้าย
หลังจากฉากปลุกปล้ำ ละครมักจะสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่เหลืออยู่ของฝ่ายหญิงค่ะ ที่ไม่ใช่แค่ว่าร้องไห้ เสียใจ ตั้งท้อง และเดินหนีไปจากพระเอก แต่มันมีอะไรที่มากกว่านั้นค่ะ ชีวิตผู้หญิงที่ถูกกระทำชำเรามาจะไม่มีชีวิตที่เหมือนเดิมอีกต่อไป ละครญี่ปุ่นเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการถูกข่มขืนก็คือเรื่องนี้เลยค่ะ “Mahiru no Tsuki”
เรื่องนี้จะเป็นเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกพวกแก๊งรถตู้ฉุดไปข่มขืนค่ะ หลังจากเหตุการณ์นี้เธอก็มีชีวิตที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป กลายเป็นคนที่มีบาดแผลที่จิตใจ กลัวสิ่งต่างๆ กลัวที่แคบ กลัววัตถุสะท้อนแสง เพราะว่าตอนถูกข่มขืน เธอเห็นสร้อยคอของโจรที่มันสะท้อนแสงได้ค่ะ เลยติดตามา และกลัวผู้ชายค่ะ แม้แต่แฟนของเธอเองก็ไม่ยอมให้ถูกเนื้อต้องตัวเลย
อาการทางจิตเธอหนักขึ้นมาก จนต้องปรึกษาจิตแพทย์ ส่วนพระเอกพอเห็นเธอมีท่าทีแปลกๆ ก็ไม่เข้าใจ จนทำให้ความรักของทั้งคู่เริ่มสั่นคลอน แต่เมื่อรู้ความจริงแล้ว แทนที่เขาจะรังเกียจ แต่กลับอยู่ให้กำลังใจเคียงข้างเธอค่ะ เป็นเรื่องที่นำเสนอให้เห็นถึงความโหดร้ายของการข่มขืน ผลกระทบที่เกิดจากผู้หญิงคนหนึ่งที่ผ่านเหตุการณ์เลวร้ายแบบนี้มา และที่สำคัญเป็นเรื่องที่ทำให้เห็นว่า การมีความสัมพันธ์ระหว่างคนที่เรารัก กับคนที่เราไม่ได้รู้สึกอะไร มันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงค่ะ
หรือจะเป็นเรื่อง “Last Friends” หลังจากที่นางเอกถูกข่มขืน ก็มีสภาพจิตใจที่ย่ำแย่ค่ะ และตัดสินใจหนีพระเอกค่ะ หนีจริงๆ นะคะ ไมใช่หนีเพื่อให้พระเอกตามเจอในภายหลัง หรือเพื่อให้พระเอกเห็นความสำคัญ หรือสำนึกผิดจนต้องออกตามหา แต่เป็นการหนีไปให้พ้นจริงๆ เพราะรับรู้ได้ว่าชีวิตตัวเองจะไม่ปลอดภัย พอพระเอกตามตัวเจอ เธอจะรีบวิ่งหนีไปกับเพื่อนๆ ของเธอเลยค่ะ ถึงแม้เธอจะยังคงรักผู้ชายคนนี้อยู่ แต่ก็จะมีความรู้สึกกลัวแทรกเข้ามา จนทำให้รู้สึกว่าเธอกับเขาไม่อาจจะมีชีวิตอยู่ด้วยกันได้เหมือนเดิมอีกต่อไป
4. พบได้น้อยในละครญี่ปุ่น
สุดท้ายค่ะ ฉากปลุกปล้ำที่ว่านี้เเป็นฉากที่ไม่ค่อยเจอในละครญี่ปุ่นค่ะ ถึงแม้จะเป็นละครรักก็ตาม พระ-นางจะไม่แสดงความรักโดยการขืนใจกัน แต่จะเป็นการแสดงความรักอย่างอื่นที่ทำให้รู้สึกได้ว่ารักกันจริงๆ บางเรื่องก็อาจจะมีฉากจูบกันบ้าง แต่ก็เกิดจากการสมยอมกัน บางเรื่องก็จะเป็นการกระทำอย่างอ้อมๆ เพื่อให้รู้ว่ารัก
เช่น เรื่อง “Hotaru no Hikari” ส่วนตัวประทับใจเรื่องนี้เป็นพิเศษค่ะ มันเป็นรูปแบบความรักที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น ถึงแม้ว่าตัวนางเอกจะไม่ใช่หญิงสาวในอุดมคติของพระเอกเลย แต่ด้วยความใกล้ชิด ผูกพัน ทำให้ความรู้สึกดีๆ เกิดขึ้นค่ะ และทั้งคู่ก็รักกัน โดยที่แม้แต่จูบก็ยังไม่เคยทำเลย ! ทั้งๆ ที่อยู่บ้านเดียวกันแท้ๆ แต่ก็แยกกันนอน พระเอกก็ไม่เคยล่วงเกินนางเอกเลย (แต่หลังๆ ก็มีบ้าง แต่เป็นช่วงที่รักกันและแต่งงานกันแล้ว) เป็นเรื่องที่ทำให้เห็นว่าสิ่งที่ทำให้คนเรารักกันได้จริงๆ แล้ว มันไม่ใช่แค่เรื่องความใคร่ ความลุ่มหลง หรือเรื่องเพศเพียงอย่างเดียว แต่มันเกิดจากความรู้สึกของหัวใจ ความรัก ความผูกพัน ความรู้สึกที่อยากจะช่วยเหลือ ดูแลซึ่งกันและกัน ไม่ใช่การทำร้ายกัน
และนี่ก็คือลักษณะของฉากปลุกปล้ำของละครญี่ปุ่นค่ะ จะเห็นได้ว่าเป็นฉากที่ค่อนข้างมีความน่ากลัว ที่ญี่ปุ่นใช่ว่าจะไม่มีผู้หญิงที่แต่งตัววับๆ แวมๆ นะคะ แถมยังมีสื่อทางเพศ ทั้งหนัง AV หนังสือโป๊ หรือแม้แต่การถ่ายแฟชั่น การแต่งตัวของดาราในบางครั้งก็มีความหวือหวาค่ะ แต่พอมามองที่ละครบ้านเขา ฉากที่ว่ากลับนำเสนออกมาในรูปแบบที่ว่าไม่ใช่ค่านิยมที่ควรปฏิบัติตาม เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ และเป็นอาชญากรรมที่น่ากลัว สื่อละครมันอาจจะเป็นจุดเล็กๆ แต่อย่างน้อยก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยชี้นำสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ควรจะเป็นได้ค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------
โดยส่วนตัวประทับใจบทความนี้จึงนำมาแชร์ต่อครับ เพราะในขนาดที่ละครบ้านเรายังเป็นการข่มขืนเพราะความรัก และอื่นๆ รวมทั้งการยังไม่เห็นโทษที่เป็นรูปธรรมว่าพระนางหรือตัวละครที่กระทำการอันเลวร้ายนั้นๆได้รับผลจากการกระทำของตัวเองยังไง
ญี่ปุ่นกลับเลือกที่จะเสนอมุมมองที่ให้เห็นโทนสีเทาของการล่วงละเมิดทางเพศ (เราขออนุญาตใช้คำนี้ เพราะการขื่นใจอีกฝ่ายเราไม่ขอนับว่าเป็นการกระทำเพราะความรัก) ว่าหากกระทำไปแล้วจะมีมุมมองอย่างไร ทั้งยังมีชั้นเชิงในการนำเสนอให้ผู้อ่านได้คิดตามนั้นเอง
ในขณะที่พระเอกบ้านเรานั้น......
ภาพจากเฟซบุ๊ก Nattaya Ratornkul
รายชื่อละครที่มีฉากข่มขื่น(เท่าที่มีการตอบคอมเม้นท์นะครับ)
จำเลยรัก
สวรรค์เบี่ยง
เจ้าสาวบ้านไร่
เล่ห์รตี
ไฟล้างไฟ
เพลิงสีรุ้ง
ร้อยเล่ห์เสน่ห์ร้าย
แรงเงา
ดาวพระศุกร์
พลอยล้อมเพชร
ขิงก็รา ข่าก็แรง
วิวาห์ว้าวุ่น
รอยมาร
ดาวพระศุกร์ (ศรราม สุวนันท์)
ทางผ่านกามเทพ (แอนดริว เจนี่ )
ระเริงไฟ (จอนนี่ หน่อย)
กามเทพลวง (เขตต์ จิ๊บ)
ดั่งสวรรค์สาป (ป๋อ กบ)
หนี้แค้นแสนรัก (สมชาย เกด)
สามีเงินผ่อน (จอย พล)
เมียจำเป็น (สวิช น้ำฝน)
ตามหัวใจไปสุดหล้า (วิลลี่ หมิว)
น้ำผึ้งขม (แซม ปู้เป้)
รอยมาร (ศรันยู)
น้ำผึ้งซาตาน (วีรยุทธ กิ่ง ภัทรา)
ตะวันทอแสง (พีท กบ)
กบฏหัวใจ
พฤษาสวาท
โบว์สีชมพู
วงเวียนหัวใจ
หลงเงาจันทร์
เจ้าสาวปริศนา
ทางผ่านกามเทพ (คุณแอนดริว - คุณเจนี่)
จำเลยรัก ( คุณอั้ม - คุณแอ๊ฟ)
นางฟ้าซาตาน (คุณจอร์หนี่ - คุณน้ำฝน)
มนต์รักอสูร (คุณบอย - คุณวิกกี้)
ไฟลวง (คุณวิลลี่ -คุณเต๋า)
ตุ๊กตาเริงระบำ (คุณโจ - คุณหมิว)
cr.
http://topicstock.ppantip.com/chalermthai/topicstock/2010/11/A9895705/A9895705.html
ถ้าเรามองละครเป็นแค่ละคร เราจะได้จากมันก็แค่ความบันเทิง(ซึ่งมันบันเทิงจริงๆเหรอกับการดูคนถูกข่มขื่น?)
แต่ถ้าเรามองว่าละคร'ควรจะ'สะท้อนสังคม เราควรได้อะไรจากมันมากกว่าแค่ความบันเทิงและฉากข่มขื่นรึเปล่า ?
.....ก็ได้แต่หวังว่าละครหรือภาพยนต์บ้านเรานั้นจะพัฒนาทันนะครับ
ความแตกต่างระหว่างฉากข่มขืนของหนัง&ละครไทยและละครญี่ปุ่น
เรียบเรียงกระทู้โดย พี่พลอยนิล-อะเมะยูคิ บอร์ดนักเขียน Dek-d
ChaMaNoW นักเขียนบันเทิงญี่ปุ่นออนไลน์ ปัจจุบันเป็นเจ้าของเพจSakura Dramas นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับละครญี่ปุ่นที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีความสนใจพิเศษเกี่ยวกับเรื่องดนตรี ละคร รวมไปถึงนักแสดง และศิลปินญี่ปุ่นอีกด้วย
ประเทศญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีคดีข่มขืนน้อยค่ะ ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งการปลูกจิตสำนึก มาตรการความปลอดภัยต่างๆ ทำให้ผู้หญิงญี่ปุ่นค่อนข้างปลอดภัยจากเรื่องพวกนี้ และอีกหนึ่งสิ่งที่มีส่วนช่วยควบคุมเหตุพวกนี้ก็คือ “ละคร” ค่ะ
เพื่อนๆ รู้ไหมคะว่าฉากปลุกปล้ำในละครญี่ปุ่นเป็นอะไรที่น่ากลัวมากๆ ค่ะ ถ้าได้ดูแล้วจะรู้ได้ถึงพิษภัย ความโหดร้ายเลยก็ว่าได้ วันนี้ก็เลยจะพามาดูฉากปลุกปล้ำในละครญี่ปุ่นค่ะว่ามีลักษณะอย่างไร เป็นฉากที่สะท้อนและชี้นำอะไรให้สังคมได้เห็นบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
1. ฉากปลุกปล้ำถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบอาชญากรรมอย่างหนึ่ง
แน่นอนว่าฉากปลุกปล้ำมันต้องเกิดจากความไม่สมยอมของฝ่ายหญิง แต่เวลาที่เราดูฉากแบบนี้ในละครไทยจะเป็นบทที่นำพาให้ความรักของพระ-นางมาลงเอยกันในท้ายที่สุด แต่ในละครญี่ปุ่นจะไม่ใช่แบบนั้นค่ะ ฉากนี้ในละครญี่ปุ่นจะถูกนำเสนอก็ต่อเมื่อต้องการจะสื่อว่า การขืนใจ การข่มขืนกันเป็นการกระทำที่โหดร้าย ทารุณ และเป็น “อาชญากรรม” อย่างหนึ่ง
อย่างเช่น เรื่อง “Life” ละครที่นำเสนอเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งกันของนักเรียนญี่ปุ่น “Ayumu” ตัวละครเอกของเรื่องก็จะถูกเพื่อนร่วมห้องกลั่นแกล้ง และยังถูก “Katsumi” เพื่อนผู้ชายที่คอยตามรังควาน จับตัวไปทำอนาจารค่ะ ในเรื่องก็จะมีฉากที่นายคนนี้จับตัวไปทำมิดีมิร้าย เกือบถูกข่มขืนได้สำเร็จ ถึงแม้ “Katsumi” จะรับบทเป็นนักเรียนชายหน้าตาดี เรียนเก่ง สุภาพบุรุษ (ภายนอก) แต่ผลสุดท้ายแล้วเขาก็คือโจรผู้ร้ายสำหรับคนในสังคม
ฉากปลุกปล้ำที่ว่านี้ก็ไม่ได้มีแค่ระหว่างนางเอกกับตัวร้ายนะคะ พระเอกกับนางเอกก็มีค่ะ ถ้าเป็นละครบ้านเรา ฉากนี้ถือได้ว่าเป็นฉากเข้าพระเข้านางเลยค่ะ จะลงเอยกันก็ต้องผ่านฉากนี้ ด้วยความที่เป็นพระ-นางคนดูจะไม่รู้สึกว่ามันคือการข่มขืน แต่เป็นบทรักระหว่างกัน แต่ในละครญี่ปุ่นจะไม่ใช่แบบนั้นค่ะ ถึงแม้จะเป็นคู่รักกัน แต่การขืนใจกันเนี่ยก็ยังไม่ใช่สิ่งที่คนรักกันควรกระทำต่อกัน
อย่างเรื่อง “Last Friends” เป็นละครแนวความรักที่สะท้อนปัญหาต่างๆ ของชีวิตคนญี่ปุ่นเป็นอย่างดีอีกเรื่องเลยค่ะ ในเรื่องพระเอกกับนางเอกก็จะเป็นคู่รักที่รักกันมากค่ะ จนตัดสินใจมาใช้ชีวิตด้วยกัน แต่พอมาอยู่ด้วยกันแล้ว กลับพบว่าพระเอกไม่ได้แสนดีอย่างที่เห็น เขามีพฤติกรรมที่ชอบทำร้ายร่างกาย มีอารมณ์ที่รุนแรง เวลาโมโห ก็จะเผลอไปทำร้ายนางเอก หรือที่เรียกว่าเป็นพฤติกรรม DV (Domestic Violence)
จนมาถึงจุดที่ร้ายแรงที่สุดคือ ลงมือข่มขืนเธอ ฉากนี้ขอบอกว่ามันน่ากลัวสุดๆ ค่ะ ถึงแม้จะเป็นพระเอกกับนางเอกก็เถอะ และถึงแม้ว่าจะเป็น “เรียว นิชิกิโดะ” พระเอกขวัญใจดิฉันก็ตาม แต่ฉากนี้ดูยังไงก็ไม่ฟินค่ะ แต่กลับรู้สึกทั้งเกลียด และกลัวผู้ชายคนนี้ขึ้นมาทันที ส่วนนางเอกก็จะดูเหมือนเป็นคนถูกทำร้ายจริงๆ ค่ะ ได้เห็นถึงความโหดร้ายที่ผู้หญิงคนหนึ่งกำลังเผชิญ ถึงแม้การกระทำของพระเอกจะเกิดจากปมอะไรบางอย่าง แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นข้อยกเว้นว่าเขาจะหันมาทำอะไรผู้หญิงก็ได้ และทำให้เห็นว่าถึงแม้จะเป็นการกระทำระหว่างพระเอกและนางเอก แต่ละครก็ยังเลือกที่จะนำเสนอให้เห็นถึงความน่ากลัว ไม่ใช่บทที่แสดงความรักต่อกัน สรุปก็คือฉากปลุกปล้ำในละครญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะไม่ใช่บทรักค่ะ แต่มันคือการข่มขืนกัน เป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่งในสังคม
2. ฉากและโทนสีของภาพสุดจะน่ากลัวและหดหู่
ถ้าสังเกตฉากพวกนี้ในละครญี่ปุ่นจะพบว่าโทนสีจะออกทึมๆ มืดๆ หน่อยค่ะ และสถานที่เกิดเหตุก็มักจะไม่เป็นบนเตียงนอนนุ่มในห้องกว้างสุดหรู แต่จะเป็นข้างทาง ห้องมืดๆ เตียงรกๆ อย่างเช่น เรื่อง“Strawberry Night” เรื่องนี้เป็นแนวสืบสวนสอบสวนค่ะ นางเอกเป็นตำรวจ แต่ก่อนหน้านี้เธอเคยเป็นเหยื่อถูกข่มขืนมาก่อน ส่วนฉากก็จะเป็นตอนกลางคืน มีฝีเท้าคนเดินตาม พอเธอเริ่มเดินเร็วขึ้น -คนที่ตามก็เดินเร็วขึ้นตาม และท้ายที่สุดมันก็ฉุดเธอเข้าโพงหญ้าข้างทาง และก็ข่มขืนค่ะ นางเอกก็จะถูกคร่อมจับกด ฉากรอบๆ ก็จะมืดมิด และปิดฉากโดยที่กล้องฉายไปที่พระจันทร์สีแดง แสดงให้เห็นถึงค่ำคืนที่เจ็บปวด และโหดร้าย ฉากนี้เป็นอีกฉากหนึ่งที่สะเทือนใจจริงๆ ค่ะ พอหลังจากเหตุการณ์วันนั้น พอนางเอกต้องเดินคนเดียวตอนมืดๆ เดินผ่านสวนสาธารณะคล้ายๆ กับที่เกิดเหตุ เธอจะกลัว และนึกเห็นภาพอันโหดร้ายในวันนั้นทันที
3. นำเสนอให้เห็นถึงผลกระทบที่โหดร้าย
หลังจากฉากปลุกปล้ำ ละครมักจะสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตที่เหลืออยู่ของฝ่ายหญิงค่ะ ที่ไม่ใช่แค่ว่าร้องไห้ เสียใจ ตั้งท้อง และเดินหนีไปจากพระเอก แต่มันมีอะไรที่มากกว่านั้นค่ะ ชีวิตผู้หญิงที่ถูกกระทำชำเรามาจะไม่มีชีวิตที่เหมือนเดิมอีกต่อไป ละครญี่ปุ่นเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการถูกข่มขืนก็คือเรื่องนี้เลยค่ะ “Mahiru no Tsuki”
เรื่องนี้จะเป็นเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกพวกแก๊งรถตู้ฉุดไปข่มขืนค่ะ หลังจากเหตุการณ์นี้เธอก็มีชีวิตที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป กลายเป็นคนที่มีบาดแผลที่จิตใจ กลัวสิ่งต่างๆ กลัวที่แคบ กลัววัตถุสะท้อนแสง เพราะว่าตอนถูกข่มขืน เธอเห็นสร้อยคอของโจรที่มันสะท้อนแสงได้ค่ะ เลยติดตามา และกลัวผู้ชายค่ะ แม้แต่แฟนของเธอเองก็ไม่ยอมให้ถูกเนื้อต้องตัวเลย
อาการทางจิตเธอหนักขึ้นมาก จนต้องปรึกษาจิตแพทย์ ส่วนพระเอกพอเห็นเธอมีท่าทีแปลกๆ ก็ไม่เข้าใจ จนทำให้ความรักของทั้งคู่เริ่มสั่นคลอน แต่เมื่อรู้ความจริงแล้ว แทนที่เขาจะรังเกียจ แต่กลับอยู่ให้กำลังใจเคียงข้างเธอค่ะ เป็นเรื่องที่นำเสนอให้เห็นถึงความโหดร้ายของการข่มขืน ผลกระทบที่เกิดจากผู้หญิงคนหนึ่งที่ผ่านเหตุการณ์เลวร้ายแบบนี้มา และที่สำคัญเป็นเรื่องที่ทำให้เห็นว่า การมีความสัมพันธ์ระหว่างคนที่เรารัก กับคนที่เราไม่ได้รู้สึกอะไร มันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงค่ะ
หรือจะเป็นเรื่อง “Last Friends” หลังจากที่นางเอกถูกข่มขืน ก็มีสภาพจิตใจที่ย่ำแย่ค่ะ และตัดสินใจหนีพระเอกค่ะ หนีจริงๆ นะคะ ไมใช่หนีเพื่อให้พระเอกตามเจอในภายหลัง หรือเพื่อให้พระเอกเห็นความสำคัญ หรือสำนึกผิดจนต้องออกตามหา แต่เป็นการหนีไปให้พ้นจริงๆ เพราะรับรู้ได้ว่าชีวิตตัวเองจะไม่ปลอดภัย พอพระเอกตามตัวเจอ เธอจะรีบวิ่งหนีไปกับเพื่อนๆ ของเธอเลยค่ะ ถึงแม้เธอจะยังคงรักผู้ชายคนนี้อยู่ แต่ก็จะมีความรู้สึกกลัวแทรกเข้ามา จนทำให้รู้สึกว่าเธอกับเขาไม่อาจจะมีชีวิตอยู่ด้วยกันได้เหมือนเดิมอีกต่อไป
4. พบได้น้อยในละครญี่ปุ่น
สุดท้ายค่ะ ฉากปลุกปล้ำที่ว่านี้เเป็นฉากที่ไม่ค่อยเจอในละครญี่ปุ่นค่ะ ถึงแม้จะเป็นละครรักก็ตาม พระ-นางจะไม่แสดงความรักโดยการขืนใจกัน แต่จะเป็นการแสดงความรักอย่างอื่นที่ทำให้รู้สึกได้ว่ารักกันจริงๆ บางเรื่องก็อาจจะมีฉากจูบกันบ้าง แต่ก็เกิดจากการสมยอมกัน บางเรื่องก็จะเป็นการกระทำอย่างอ้อมๆ เพื่อให้รู้ว่ารัก
เช่น เรื่อง “Hotaru no Hikari” ส่วนตัวประทับใจเรื่องนี้เป็นพิเศษค่ะ มันเป็นรูปแบบความรักที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้น ถึงแม้ว่าตัวนางเอกจะไม่ใช่หญิงสาวในอุดมคติของพระเอกเลย แต่ด้วยความใกล้ชิด ผูกพัน ทำให้ความรู้สึกดีๆ เกิดขึ้นค่ะ และทั้งคู่ก็รักกัน โดยที่แม้แต่จูบก็ยังไม่เคยทำเลย ! ทั้งๆ ที่อยู่บ้านเดียวกันแท้ๆ แต่ก็แยกกันนอน พระเอกก็ไม่เคยล่วงเกินนางเอกเลย (แต่หลังๆ ก็มีบ้าง แต่เป็นช่วงที่รักกันและแต่งงานกันแล้ว) เป็นเรื่องที่ทำให้เห็นว่าสิ่งที่ทำให้คนเรารักกันได้จริงๆ แล้ว มันไม่ใช่แค่เรื่องความใคร่ ความลุ่มหลง หรือเรื่องเพศเพียงอย่างเดียว แต่มันเกิดจากความรู้สึกของหัวใจ ความรัก ความผูกพัน ความรู้สึกที่อยากจะช่วยเหลือ ดูแลซึ่งกันและกัน ไม่ใช่การทำร้ายกัน
และนี่ก็คือลักษณะของฉากปลุกปล้ำของละครญี่ปุ่นค่ะ จะเห็นได้ว่าเป็นฉากที่ค่อนข้างมีความน่ากลัว ที่ญี่ปุ่นใช่ว่าจะไม่มีผู้หญิงที่แต่งตัววับๆ แวมๆ นะคะ แถมยังมีสื่อทางเพศ ทั้งหนัง AV หนังสือโป๊ หรือแม้แต่การถ่ายแฟชั่น การแต่งตัวของดาราในบางครั้งก็มีความหวือหวาค่ะ แต่พอมามองที่ละครบ้านเขา ฉากที่ว่ากลับนำเสนออกมาในรูปแบบที่ว่าไม่ใช่ค่านิยมที่ควรปฏิบัติตาม เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ และเป็นอาชญากรรมที่น่ากลัว สื่อละครมันอาจจะเป็นจุดเล็กๆ แต่อย่างน้อยก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยชี้นำสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ควรจะเป็นได้ค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------
โดยส่วนตัวประทับใจบทความนี้จึงนำมาแชร์ต่อครับ เพราะในขนาดที่ละครบ้านเรายังเป็นการข่มขืนเพราะความรัก และอื่นๆ รวมทั้งการยังไม่เห็นโทษที่เป็นรูปธรรมว่าพระนางหรือตัวละครที่กระทำการอันเลวร้ายนั้นๆได้รับผลจากการกระทำของตัวเองยังไง ญี่ปุ่นกลับเลือกที่จะเสนอมุมมองที่ให้เห็นโทนสีเทาของการล่วงละเมิดทางเพศ (เราขออนุญาตใช้คำนี้ เพราะการขื่นใจอีกฝ่ายเราไม่ขอนับว่าเป็นการกระทำเพราะความรัก) ว่าหากกระทำไปแล้วจะมีมุมมองอย่างไร ทั้งยังมีชั้นเชิงในการนำเสนอให้ผู้อ่านได้คิดตามนั้นเอง
ในขณะที่พระเอกบ้านเรานั้น......
ภาพจากเฟซบุ๊ก Nattaya Ratornkul
รายชื่อละครที่มีฉากข่มขื่น(เท่าที่มีการตอบคอมเม้นท์นะครับ)
จำเลยรัก
สวรรค์เบี่ยง
เจ้าสาวบ้านไร่
เล่ห์รตี
ไฟล้างไฟ
เพลิงสีรุ้ง
ร้อยเล่ห์เสน่ห์ร้าย
แรงเงา
ดาวพระศุกร์
พลอยล้อมเพชร
ขิงก็รา ข่าก็แรง
วิวาห์ว้าวุ่น
รอยมาร
ดาวพระศุกร์ (ศรราม สุวนันท์)
ทางผ่านกามเทพ (แอนดริว เจนี่ )
ระเริงไฟ (จอนนี่ หน่อย)
กามเทพลวง (เขตต์ จิ๊บ)
ดั่งสวรรค์สาป (ป๋อ กบ)
หนี้แค้นแสนรัก (สมชาย เกด)
สามีเงินผ่อน (จอย พล)
เมียจำเป็น (สวิช น้ำฝน)
ตามหัวใจไปสุดหล้า (วิลลี่ หมิว)
น้ำผึ้งขม (แซม ปู้เป้)
รอยมาร (ศรันยู)
น้ำผึ้งซาตาน (วีรยุทธ กิ่ง ภัทรา)
ตะวันทอแสง (พีท กบ)
กบฏหัวใจ
พฤษาสวาท
โบว์สีชมพู
วงเวียนหัวใจ
หลงเงาจันทร์
เจ้าสาวปริศนา
ทางผ่านกามเทพ (คุณแอนดริว - คุณเจนี่)
จำเลยรัก ( คุณอั้ม - คุณแอ๊ฟ)
นางฟ้าซาตาน (คุณจอร์หนี่ - คุณน้ำฝน)
มนต์รักอสูร (คุณบอย - คุณวิกกี้)
ไฟลวง (คุณวิลลี่ -คุณเต๋า)
ตุ๊กตาเริงระบำ (คุณโจ - คุณหมิว)
cr.http://topicstock.ppantip.com/chalermthai/topicstock/2010/11/A9895705/A9895705.html
ถ้าเรามองละครเป็นแค่ละคร เราจะได้จากมันก็แค่ความบันเทิง(ซึ่งมันบันเทิงจริงๆเหรอกับการดูคนถูกข่มขื่น?)
แต่ถ้าเรามองว่าละคร'ควรจะ'สะท้อนสังคม เราควรได้อะไรจากมันมากกว่าแค่ความบันเทิงและฉากข่มขื่นรึเปล่า ?
.....ก็ได้แต่หวังว่าละครหรือภาพยนต์บ้านเรานั้นจะพัฒนาทันนะครับ