จขกท. ดู TED talks บ่อยครั้งค่ะ เพราะรู้สึกว่าเป็นวิดีโอที่ไม่ยาวเกินไป
ดูได้พอดี และเข้าถึงประเด็นที่ต้องการไม่เยิ่นเย้อ
.
แต่ก็เปิดสุ่มไปเรื่อยๆ
.
วันนี้ได้ดูวิดีโอนี้
และประทับใจมาก
……
เป็นการพูดของ โมนิก้า เลวินสกี้
.
ว้าว คนรุ่นเราก็ต้องรู้จักอยู่แล้วสินะ
ผู้หญิงธรรมดาผู้โค่นประธานาธิบดีของบิล คลินตัน ปธน. ที่เป็นที่รักสุดๆของคนในยุคนั้น
แต่ไม่ใช่ด้วยความเก่งกาจ ชนะเลือกตั้งหรืออะไรหรอก
มันเพราะคดีเรื่องข่าวฉาวต่างหาก
.
เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน จำได้ว่าปกของนิตรสาร TIME ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ทรงอิทธิพลในด้านบวกเกือบทั้งนั้น
แต่ช่วงนั้น มีหน้าปกเป็นรูปครึ่งตัวของโมนิก้า เลวินสกี้ มาแบบเต็มๆ
.
ในสมัยที่การข่าว มีแค่ ทีวี หนังสือพิมพ์ และวิทยุ
ข่าวสารต่างๆส่งต่อกันอย่างจำกัดช่วงเวลา
ไม่ใช่ว่าใครอยากจะดูหรืออยากจะฟังอะไรก็ได้ฟังได้ดูด้วยหูตาของตัวเอง
ข่าวสารจึงมีข้อจำกัดในการส่งต่อของมัน
.
แต่ยุคที่ผู้หญิงคนนี้ได้รับเกียรติเป็นแขกคนแรกที่ก้าวขาเหยียบเข้ามา
คือยุคของอินเตอร์เน็ต
.
เรียกได้ว่า เลวินสกี้ เป็นกรณีแรก (ในที่นี้ เธอแทนตัวเองว่า Patient Zero)
ที่ข่าวของเธอกระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพียงชั่วข้ามคืน
และ replay ข่าวได้เพียงปลายนิ้วคลิกค้นหาข้อมูล
นอกจากจะอ่านเมื่อไรก็ได้ ซ้ำกี่ครั้งก็ได้ ส่งต่อ fwd ให้คนอื่นก็ง่ายแล้ว
ข่าวทั้งหลายนั้นก็ยังคงอยู่บนอินเตอร์เน็ตไปชั่วกาลนาน ไม่มีทางหายไปจากประวัติศาสตร์
.
เลวินสกี้ ทำให้บิล คลินตัน ที่กำลังรุ่งเรืองตอนนั้น เป็น ปธน. คนที่สองของประวัติศาสตร์สหรัฐ
ที่โดน ฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง
.
คนรู้จักหน้านางไปทั่วโลก
คนจำประโยค - I did not have sexual relation with that woman. - ของคลินตันได้
และแค่ search google ว่า Bill Clinton I (เคาะ space bar)
ประโยคนี้ก็จะขึ้นมาโดยอัตโนมัติ (พร้อม link วิดีโอ)
คนหาว่านางเป็นหญิงร่าน ที่จับประธานาธิบดีเพราะมีประโยชน์แอบแฝง
ชื่อของ ห้องทำงานรูปไข่ ที่เดิมเป็นแค่ -ชื่อห้อง- กลายเป็นภาษาสัญลักษณ์
ที่ทำให้คนทั่วไปนึงถึงข่าวประวัติศาสตร์นี้
.
ลองคิดดูว่า หลังจากนั้น เลวินสกี้ใช้ชีวิตอยู่ได้ยังไง?
.
เธอเจอเรื่องพวกนี้ ตอนที่เธออายุ 22 เท่านั้น
.
แต่เธอก็ใช้ชีวิตมาได้จนถึงปัจจุบัน
แม้จะเก็บตัวเงียบมาเป็นสิบปี แต่ในที่สุด ก็มีสิ่งที่ทำให้เธอต้องออกมาพูด
ต้องออกมาเปลี่ยนแปลง เพื่อทำให้โลกดีขึ้น
.
นั่นคือ ข่าวของ Tyler Clementi เมื่อปี 2010
นักศึกษามหาวิทยาลัย อายุ 18 ปี ที่โดนเพื่อนร่วมห้องอัดวิดีโอ
ขณะที่เขาจูบกับเด็กผู้ชายอีกคนในห้องไว้ได้ผ่าน webcam แล้วเผยแพร่ไปทางอินเตอร์เน็ต
ด้วยความอับอาย สามวันต่อมา คลิเมนติ โดดจากสะพานสูงฆ่าตัวตาย
.
ตอนนั้นเลวินกี้ โทรศัพท์คุยกับแม่ และสัมผัสได้ว่าแม่อินกับข่าวนี้แค่ไหน
มันทำให้เธอนึกถึงตัวเอง ตอนอายุ 22 และรู้ว่าแม่ก็เช่นกัน
แม่รู้สึกเหมือนคลิเมนติคือลูกของเธอในตอนนั้น
ตอนที่แม่ต้องนั่งลงข้างเตียงของเลวินสกี้ในทุกๆคืน
ตอนที่แม่ต้องขอให้เธอเข้าไปอาบน้ำโดยที่เปิดประตูทิ้งไว้
ตอนที่พ่อแม่ต้องอยู่ข้างเธอราวกับเป็นเด็กทารก
เพราะกลัวว่าลูกสาว จะ -ถูกทำให้อับอายจน(ฆ่าตัว)ตาย-
.
คนเราอดทนได้ไม่เท่ากัน
.
เลวินสกี้โชคดีที่มีครอบครัวที่แข็งแรง มีเพื่อน มีคนรู้จัก มีเพื่อนร่วมงานที่รู้จักเธอจริงๆ
ไม่ใช่แค่รู้จากภาพข่าว ทำให้เธอผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายมาได้
.
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเหมือนเธอ
.
ในสมัยที่เธอเป็นกรณีแรกของการรังแกออนไลน์ (เธอเรียกตัวเองว่า Patient Zero)
ยังไม่มีใครนิยามการสิ่งนี้ว่าอะไร เธอรู้แต่ว่าตัวเองเจ็บปวดมากมายเหลือเกิน
และเกือบจะผ่านไปไม่ได้
.
แต่ปัจจุบันเรามีนิยามให้มันแล้ว ว่า Cyberbullying
.
ในโลกปัจจุบัน ที่นอกจากแค่อินเตอร์เน็ตแล้ว ก็ยังมี platform ของ social media ต่างๆ
ที่ผู้คนเข้าไปคอมเม้นต์กันได้ง่ายดาย
โลกจริงกับโลกเสมือนที่เราแสดงออกต่างกันอาจจะอย่างสิ้นเชิง
คนพูดไม่คิดง่ายขึ้น โดยไม่รู้เลยว่าคนรับสารเป็นอย่างไร และทนได้แค่ไหน
.
เลวินสกี้บอกว่า บางครั้ง เธอก็ได้รับความเห็นใจจากคนแปลกหน้าที่เข้ามาให้กำลังใจ
คนนั้นอาจจะไม่รู้หรอกว่า มันทำให้เธอรู้สึกดีแค่ไหน
แต่เธอรู้ และรู้สึกขอบคุณเสมอ
.
เราควรเห็นใจคนอื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา
.
ในโลกออนไลน์ที่มีคนถล่มเจ้าตัวนับพัน ประโยคเดียวของเราที่ให้กำลังใจไป
อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้คนคนนั้นยืนหยัดอยู่ได้ก็ได้ และเราก็ทำได้ไม่ยากเลย
แค่ใช้ความใส่ใจ
รายงานเหตุการณ์ไปยังผู้ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ แค่โทร หรือคลิกไม่กี่ครั้ง
.
งดไลก์ งดแชร์ งดคอมเม้นต์ความเห็นที่ไร้ประโยชน์ และเป็นไปในแง่ลบ
.
แค่นี้ก็ช่วยชีวิตคนได้แล้ว
=======
ประทับใจนางนะ
บอกเลยว่าเป็น TED Talk ที่คนยืนปรบมือเยอะที่สุดแล้ว ตั้งแต่ดูมา
อยากให้มีแปลเป็นภาษาไทย และเผยแพร่ไปในวงกว้างจัง
โมนิก้า เลวินสกี้ ผู้หญิงคนนี้เปลี่ยนจากเป็นผู้ถูกกระทำ มาเป็นผู้ทำให้คนเข้าใจความสำคัญของ Cyberbullying
จขกท. ดู TED talks บ่อยครั้งค่ะ เพราะรู้สึกว่าเป็นวิดีโอที่ไม่ยาวเกินไป
ดูได้พอดี และเข้าถึงประเด็นที่ต้องการไม่เยิ่นเย้อ
.
แต่ก็เปิดสุ่มไปเรื่อยๆ
.
วันนี้ได้ดูวิดีโอนี้
และประทับใจมาก
……
เป็นการพูดของ โมนิก้า เลวินสกี้
.
ว้าว คนรุ่นเราก็ต้องรู้จักอยู่แล้วสินะ
ผู้หญิงธรรมดาผู้โค่นประธานาธิบดีของบิล คลินตัน ปธน. ที่เป็นที่รักสุดๆของคนในยุคนั้น
แต่ไม่ใช่ด้วยความเก่งกาจ ชนะเลือกตั้งหรืออะไรหรอก
มันเพราะคดีเรื่องข่าวฉาวต่างหาก
.
เมื่อเกือบ 20 ปีก่อน จำได้ว่าปกของนิตรสาร TIME ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ทรงอิทธิพลในด้านบวกเกือบทั้งนั้น
แต่ช่วงนั้น มีหน้าปกเป็นรูปครึ่งตัวของโมนิก้า เลวินสกี้ มาแบบเต็มๆ
.
ในสมัยที่การข่าว มีแค่ ทีวี หนังสือพิมพ์ และวิทยุ
ข่าวสารต่างๆส่งต่อกันอย่างจำกัดช่วงเวลา
ไม่ใช่ว่าใครอยากจะดูหรืออยากจะฟังอะไรก็ได้ฟังได้ดูด้วยหูตาของตัวเอง
ข่าวสารจึงมีข้อจำกัดในการส่งต่อของมัน
.
แต่ยุคที่ผู้หญิงคนนี้ได้รับเกียรติเป็นแขกคนแรกที่ก้าวขาเหยียบเข้ามา
คือยุคของอินเตอร์เน็ต
.
เรียกได้ว่า เลวินสกี้ เป็นกรณีแรก (ในที่นี้ เธอแทนตัวเองว่า Patient Zero)
ที่ข่าวของเธอกระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพียงชั่วข้ามคืน
และ replay ข่าวได้เพียงปลายนิ้วคลิกค้นหาข้อมูล
นอกจากจะอ่านเมื่อไรก็ได้ ซ้ำกี่ครั้งก็ได้ ส่งต่อ fwd ให้คนอื่นก็ง่ายแล้ว
ข่าวทั้งหลายนั้นก็ยังคงอยู่บนอินเตอร์เน็ตไปชั่วกาลนาน ไม่มีทางหายไปจากประวัติศาสตร์
.
เลวินสกี้ ทำให้บิล คลินตัน ที่กำลังรุ่งเรืองตอนนั้น เป็น ปธน. คนที่สองของประวัติศาสตร์สหรัฐ
ที่โดน ฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง
.
คนรู้จักหน้านางไปทั่วโลก
คนจำประโยค - I did not have sexual relation with that woman. - ของคลินตันได้
และแค่ search google ว่า Bill Clinton I (เคาะ space bar)
ประโยคนี้ก็จะขึ้นมาโดยอัตโนมัติ (พร้อม link วิดีโอ)
คนหาว่านางเป็นหญิงร่าน ที่จับประธานาธิบดีเพราะมีประโยชน์แอบแฝง
ชื่อของ ห้องทำงานรูปไข่ ที่เดิมเป็นแค่ -ชื่อห้อง- กลายเป็นภาษาสัญลักษณ์
ที่ทำให้คนทั่วไปนึงถึงข่าวประวัติศาสตร์นี้
.
ลองคิดดูว่า หลังจากนั้น เลวินสกี้ใช้ชีวิตอยู่ได้ยังไง?
.
เธอเจอเรื่องพวกนี้ ตอนที่เธออายุ 22 เท่านั้น
.
แต่เธอก็ใช้ชีวิตมาได้จนถึงปัจจุบัน
แม้จะเก็บตัวเงียบมาเป็นสิบปี แต่ในที่สุด ก็มีสิ่งที่ทำให้เธอต้องออกมาพูด
ต้องออกมาเปลี่ยนแปลง เพื่อทำให้โลกดีขึ้น
.
นั่นคือ ข่าวของ Tyler Clementi เมื่อปี 2010
นักศึกษามหาวิทยาลัย อายุ 18 ปี ที่โดนเพื่อนร่วมห้องอัดวิดีโอ
ขณะที่เขาจูบกับเด็กผู้ชายอีกคนในห้องไว้ได้ผ่าน webcam แล้วเผยแพร่ไปทางอินเตอร์เน็ต
ด้วยความอับอาย สามวันต่อมา คลิเมนติ โดดจากสะพานสูงฆ่าตัวตาย
.
ตอนนั้นเลวินกี้ โทรศัพท์คุยกับแม่ และสัมผัสได้ว่าแม่อินกับข่าวนี้แค่ไหน
มันทำให้เธอนึกถึงตัวเอง ตอนอายุ 22 และรู้ว่าแม่ก็เช่นกัน
แม่รู้สึกเหมือนคลิเมนติคือลูกของเธอในตอนนั้น
ตอนที่แม่ต้องนั่งลงข้างเตียงของเลวินสกี้ในทุกๆคืน
ตอนที่แม่ต้องขอให้เธอเข้าไปอาบน้ำโดยที่เปิดประตูทิ้งไว้
ตอนที่พ่อแม่ต้องอยู่ข้างเธอราวกับเป็นเด็กทารก
เพราะกลัวว่าลูกสาว จะ -ถูกทำให้อับอายจน(ฆ่าตัว)ตาย-
.
คนเราอดทนได้ไม่เท่ากัน
.
เลวินสกี้โชคดีที่มีครอบครัวที่แข็งแรง มีเพื่อน มีคนรู้จัก มีเพื่อนร่วมงานที่รู้จักเธอจริงๆ
ไม่ใช่แค่รู้จากภาพข่าว ทำให้เธอผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายมาได้
.
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเหมือนเธอ
.
ในสมัยที่เธอเป็นกรณีแรกของการรังแกออนไลน์ (เธอเรียกตัวเองว่า Patient Zero)
ยังไม่มีใครนิยามการสิ่งนี้ว่าอะไร เธอรู้แต่ว่าตัวเองเจ็บปวดมากมายเหลือเกิน
และเกือบจะผ่านไปไม่ได้
.
แต่ปัจจุบันเรามีนิยามให้มันแล้ว ว่า Cyberbullying
.
ในโลกปัจจุบัน ที่นอกจากแค่อินเตอร์เน็ตแล้ว ก็ยังมี platform ของ social media ต่างๆ
ที่ผู้คนเข้าไปคอมเม้นต์กันได้ง่ายดาย
โลกจริงกับโลกเสมือนที่เราแสดงออกต่างกันอาจจะอย่างสิ้นเชิง
คนพูดไม่คิดง่ายขึ้น โดยไม่รู้เลยว่าคนรับสารเป็นอย่างไร และทนได้แค่ไหน
.
เลวินสกี้บอกว่า บางครั้ง เธอก็ได้รับความเห็นใจจากคนแปลกหน้าที่เข้ามาให้กำลังใจ
คนนั้นอาจจะไม่รู้หรอกว่า มันทำให้เธอรู้สึกดีแค่ไหน
แต่เธอรู้ และรู้สึกขอบคุณเสมอ
.
เราควรเห็นใจคนอื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา
.
ในโลกออนไลน์ที่มีคนถล่มเจ้าตัวนับพัน ประโยคเดียวของเราที่ให้กำลังใจไป
อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้คนคนนั้นยืนหยัดอยู่ได้ก็ได้ และเราก็ทำได้ไม่ยากเลย
แค่ใช้ความใส่ใจ
รายงานเหตุการณ์ไปยังผู้ที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ แค่โทร หรือคลิกไม่กี่ครั้ง
.
งดไลก์ งดแชร์ งดคอมเม้นต์ความเห็นที่ไร้ประโยชน์ และเป็นไปในแง่ลบ
.
แค่นี้ก็ช่วยชีวิตคนได้แล้ว
=======
ประทับใจนางนะ
บอกเลยว่าเป็น TED Talk ที่คนยืนปรบมือเยอะที่สุดแล้ว ตั้งแต่ดูมา
อยากให้มีแปลเป็นภาษาไทย และเผยแพร่ไปในวงกว้างจัง