สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
สงครามฟอกแลนด์ครับ
สไนเปอร์อังกฤษยิง ผบ.หน่วยทหารอาร์เจนติน่าในแนวหน้าระหว่างเข้าปะทะกัน ทำให้เกิดความวุ่นวายในสายบังคับบัญชาเนื่องจากกำลังส่วนใหญ่ของอาร์เจนติน่าเปนทหารเกณฑ์ ทำให้การรบแทบเปนอัมพาตขาดการสั่งการไร้ประสิทธิภาพ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สงครามชิงเกาะฟอล์กแลนด์
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ อยู่บริเวณตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกและอยู่ทางตะวันออกของอาร์เจนตินา ประกอบไปด้วยพื้นที่ที่เป็นเกาะใหญ่ 2 เกาะ คือ
เกาะฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยหมู่เกาะเล็กๆอีกราว 700 เกาะ
การอ้างสิทธิ์ครอบครองหมู่เกาะฟอล์กแลนด์เกิดขึ้นนับตั้งแต่มีการค้นพบดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่ในช่วงปี 1600 กันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลา
ที่ชาวยุโรปส่วนใหญ่กำลังเสาะแสวงหาดินแดนใหม่ๆ หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ก็เป็นหนึ่งในดินแดนใหม่ที่ชาวยุโรปค้นพบและอ้างสิทธิ์ครอบครอง แต่เป็นที่น่าตกใจว่าประเทศที่ได้อ้างสิทธิ์
บนหมู่เกาะแห่งนี้มีถึง 4ประเทศด้วยกันนั่นคือ ฝรั่งเศส สเปน อาร์เจนตินาและอังกฤษ
อย่างไรก็ตามเมื่อช่วงเวลาผ่านไปหลายปี ฝรั่งเศสกับสเปนเริ่มที่จะห่างเหินและเมินพื้นที่แห่งนี้ในที่สุด เหลือแต่เพียงอาร์เจนตินากับอังกฤษที่ยังคงแสดงความเป็นเจ้าของ
โดยเฉพาะอาร์เจนตินาที่นอกจากจะขอจองหมู่เกาะนี้ต่อไปแล้วยังได้เข้าไปจับจองดินแดนอื่นๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษด้วย
สัญญาณแห่งการเกิดสงครามแย่งชิงดินแดนจึงได้เริ่มส่อเค้ามาตั้งแต่ในช่วงนั้น แต่มาปะทุรุนแรงขึ้นจากการที่อาร์เจนตินาภายใต้การนำของประธานาธิบดีลีโอโปลโด กัลเทียรี
ตัดสินใจทำสงครามที่คิดว่าจะทำให้สามารถยึดดินแดนบนหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
โดยเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 1982 นายพลกัลทีเรีย ส่งทหารไปยังจอร์เจียใต้ซึ่งเป็นดินแดนในความครอบครองของอังกฤษ และได้นำธงชาติของตนไปปักบนพื้นที่แห่งนี้
สงครามแย่งชิงดินแดนระหว่างอังกฤษกับอาร์เจนตินาจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นับตั้งแต่นั้นมา
เมื่อนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษในขณะนั้น ทราบเรื่องจึงมีคำสั่งให้กองเรือรบเฉพาะกิจมุ่งหน้าสู่ หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ทันทีเพื่อชิงหมู่เกาะฟอล์กแลนด์คืนมาอย่างเดิม
กองเรือรบเฉพาะกิจของอังกฤษต้องใช้ระยะเวลาเดินทางกว่า 20 วันจึงจะถึงหมู่เกาะฟอล์กแลนด์
ช่วงแรกของสงครามอาร์เจนติน่าเป็นฝ่ายได้เปรียบเนื่องจากในตอนแรกเรือของอังกฤษที่เฝ้าอยู่ในหมู่เกาะฟอร์คแลนด์มีประสิทธิภาพต่ำกว่าของอาร์เจนติน่า อังกฤษสูญเสียเรือรบเป็นจำนวนมาก
จากการโจมตีด้วยอาวุธปล่อยอากาศ-สู่-พื้น จรวดExocet ซึ่งเป็นจรวดที่ฝรั่งเศษขายให้แก่อาเจนติน่าก่อนสงครามเริ่มขึ้น
แต่เมื่อกองเรือรบหลักมาถึงอังกฤษกลับมาเป็นต่อและสามารถยึดครองน่านฟ้าได้
การยึดครองน่านฟ้า dog fightกลางอากาศนั้นกลยุทธได้เปลี่ยนไปเครื่องบิน Harrierของอังกฤษได้เปรียบเครื่องบินรบของอาร์เจนติน่า เมื่อเผชิญหน้ากันเครื่อง Harrierของอังกฤษจะเป็นฝ่ายหลอกอาร์เจนติน่าให้ตามหลังไป
พอได้ระยะ Harrierก็จะหยุดกลางอากาศเฉยเตรียมเล็งยิงได้เลย เครื่องบินรบของอาร์เจนติน่าบินผ่านไปก็จะตกเป็นเป้าจรวดของ Harrier ทุกครั้ง เรียกได้ว่านักบินอังกฤษเล็งยิงได้ตามใจชอบ จึงมีเสียงกันว่าเครื่องบินรบอาร์เจนติน่าแทบจะถูกยิงตกหมดทั้งกองทัพ
ในการศึกครั้งนี้แม้แต่เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก ยังเข้าร่วมรบด้วย ในฐานะนักบินเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน และได้ขึ้นบินตรวจการณ์รอบๆเรือลำดังกล่าวด้วย
กองทัพอาร์เจนติน่ารู้ว่าสู้กองกำลังทางอากาศของอังกฤษไม่ได้จึงส่งกองเรือรบ หมายจะทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินและเรือพิฆาตของอังกฤษ แต่นับเป็นความโชคดีของฝ่ายอังกฤษที่เรือดำน้ำสามารถตรวจพบเรือรบที่ชื่อเบวกราโนของอาร์เจนติน่าได้
ปัญหาเพียงประการเดียวก็คือจุดที่ตรวจพบดันอยู่นอกรัศมี 200 ไมล์ที่กำหนดให้เปิดฉากยิง สถานการณ์ตึงเครียดมากเพราะถ้าเรือรบเบวกราโนเกิดเข้าไปถึงจุดที่กองเรืออังกฤษตั้งอยู่ ก็จะเป็นการยากที่จะหยุดยั้งการทำลายของมัน
เรื่องนี้ถูกนำไปให้นางแทชเชอร์ตัดสินใจ และนางได้เปิดไฟเขียวให้เรือดำน้ำยิงตอร์ปิโดใส่เรือรบอาร์เจนติน่าลำนี้ ภายในเวลาไม่ถึง 45 นาทีเรือรบเบวกราโนก็ได้จมลงสู่ก้นมหาสมุทรพร้อมกับลูกเรืออีกกว่า 323 ชีวิต
เรือรบอาร์เจนติน่าลำอื่นพอทราบข่าวนี้ต่างก็หันหัวเรือกลับ ไม่กล้าเข้าใกล้หมู่เกาะฟอล์กแลนด์อีกเลย
อาร์เจนติน่าจึงตัดสินใจที่จะแก้แค้นโดยยิงขีปนาอาวุธเอ็กโซเซ่ห์ ซึ่งเป็นขีปันอาวุธที่ผลิตโดยประเทศฝรั่งเศ เข้าใส่เรือรบอังกฤษ มีทหารเสียชีวิตจากการโจมตีครั้งนี้ 20 นาย ถึงตอนนี้เวลาได้ล่วงข้าสู่กลางเดือนพฤษภาคม
และเป็นธรรมดาของมหาสมุทรแอตแลนติกที่จะเกิดพายุใหญ่ สภาพอากาศจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่บีบให้อังกฤษต้องตัดสินใจด้านยุทธวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเร็ว ท้ายที่สุดผู้นำทางทหารจึงตัดสินใจให้ยกพลขึ้นบก
การยกพลขึ้นบก เริ่มขึ้นเมื่อคืนของวันที่ 21 พฤษภาคม จุดที่ยกพลขึ้นบกมีชื่อว่า ซาน คาลอส ตั้งอยู่ห่างจากสแตนเล่ย์ เมืองหลวงของเกาะฟอล์กแลนด์ราว 50 ไมล์ เป้าหมายหลักของกองทัพอังกฤษ
ก็คือเมืองหลวงโดยจะใช้เฮลิคอปเตอร์เป็นพาหนะ คอยเคลื่อนย้ายทหารตลอดระยะทาง 50 ไมล์ นาวิกโยธินอังกฤษสามารถยึดหัวหาดไว้ได้อย่างรวดเร็วโดยแทบจะปราศจากการต่อต้าน แต่ความสงบก็ดำรงอยู่ได้ไม่นาน
เพราะอาร์เจนติน่าได้ส่งเครื่องบินรบมาทำลายกองเรืออังกฤษที่ทอดสมออยู่นอกชายฝั่ง การโจมตีเป็นไปอย่างดุเดือดมีการปะทะกันตลอด 4 วัน 4 คืน ถึงแม้ว่าอังกฤษจะสามารถรักษาฐานที่มั่นเอาไว้ได้ แต่ก็ต้องพบกับความสูญเสียอย่างหนัก
กองทัพเรืออาร์เจนติน่ายังได้ปล่อยขีปปันอาวุธเอ็กโซเซ่ห์ใส่เรือรบอังกฤษอีก แต่คราวนี้เรือรบอังกฤษตรวจจับได้ทันจึงจัดการปล่อยแผ่นฟอยโลหะขึ้นบนอากาศ หมายจะให้ขีปนาอาวุธเลี้ยวเบนไปทางอื่น
ขีปนาอาวุธเอ็กโซเซ่ห์หันทิศทางไปด้านอื่นก็จริง และเหยื่อตัวใหม่ของมันก็คือเรือคอนเทนเนอร์ซึ่งบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายทหาร ขีปปันอาวุธได้ทำลายเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมดซึ่งก็แปลว่า
ทหารอังกฤษจะต้องเดินเป็นระยะทาง 50 ไมล์เพื่อถึงเมืองสแตนเล่ย์ พร้อมกับสู้กับทหารอาร์เจนติน่าในเวลาเดียวกัน ขวัญกำลังใจที่เสียไปของอังกฤษทำให้กองทัพต้องรีบดำเนินกลยุทธ์เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาโดยเร็ว
ชุมชนกรู สกรีนซึ่งตั้งอยู่ห่างจากหัวหาดประมาณ 50 ไมล์ จึงถูกเลือกให้เป็นสมรภูมิทางบกแห่งแรก กรู สกรีมีลักษณะเป็นช่องแคบเล็ก ๆกว้างเพียง 5 ไมล์ ทหารอาร์เจนติน่าได้ตั้งค่ายอยู่บริเวณนี้ราว 1000 นาย พร้อมกับมีหน่วยปืนใหญ่คอยสนับสนุนอยู่แนวหลัง
พื้นที่ส่วนใหญ่บนเกาะฟอล์กแลนด์เป็นพื้นที่เปิด สภาพทางธรรมชาติข้อนี้ทำให้กองทัพอังกฤษตัดสินใจที่จะทำการรบในเวลากลางคืนเท่านั้น สมรภูมิ กรู สกรีนเปิดฉากขึ้นหลังจากพระอาทิตย์ตกดินของวันที่ 28 พฤษภาคม
ทหารอังกฤษพยายามเจาะแนวป้องกันของฝ่ายศัตรูแต่ก็ต้องพบกับการต่อต้านอย่างหนัก ทั้งจากปืนกลหนักและปืนใหญ่ที่ยิงมาจากแนวหลังของอาร์เจนติน่า การรบกินเวลาไปถึงเช้าวันต่อมาอังกฤษก็ยังไม่สามารถเอาชนะได้
สถานการณ์เข้าขั้นวิกฤตเมื่อแสงสว่างทำให้ทหารอังกฤษตกเป็นเป้าของศัตรูได้ง่ายขึ้น ฝ่ายอังกฤษจึงตัดสินใจแบ่งกองทัพตนออกเป็น 2 กองแล้วจัดการตีขนาบใส่แนวป้องกัน ทั้งยังส่งเครื่องแฮริเออร์
ทิ้งระเบิดใส่ปืนใหญ่ของอาร์เจนติน่าจนราบคาบ ทหารอาร์เจนติน่าไม่สามารถต้านทานการโจมตีได้อีกต่อไปจึงประกาศยอมแพ้
ชัยชนะของอังกฤษที่ กรู สกรีนสามารถเรียกขวัญกำลังใจของทหารกลับคืนมาได้ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความสูญเสียอย่างหนักของทั้ง 2 ฝ่าย ที่สำคัญคือแรงกดดันข้อนี้ยังไม่สามารถทำให้ทหารอาร์เจนติน่า
หน่วยอื่น ๆ ยอมแพ้ต่อฝ่ายอังกฤษได้สงครามจึงต้องดำเนินต่อไป ตามที่ได้เล่าไว้ว่า ขีปันอาวุธเอ็กโซเซ่ห์ได้ทำลายเฮลิคอปเตอร์ของอังกฤษเกือบทั้งหมด ทหารอังกฤษจึงเหลือแค่การเดินเป็นวิธีการเดียวในการไปให้ถึงสแตนเล่ย์
เมืองหลวงของเกาะฟอล์กแลนด์ ปัญหานี้ทำให้ทหารเกิดความเหนื่อยล้าและสงครามเกิดความยืดเยื้อออกไปโดยไม่จำเป็น
ระยะทางระหว่างหัวหาดกับสแตนเล่ย์ประกอบไปด้วยภูเขาหลัก ๆ ทั้งหมด 5 ลูก กองทัพอังกฤษตั้งใจที่จะยึดภูเขา 3ลูกแรกให้ได้ในการรบระลอกแรก และยึดภูเขาลูกที่เหลือในการรบระลอก 2 การปะทะระหว่าง
ทหาร 2ฝ่ายเพื่อยึดภูเขา 3ลูกแรกเกิดขึ้นหลังจากสมรภูมิ กรู สกรีนเกือบ 2อาทิตย์ การรบเป็นไปอย่างดุเดือดมีการใช้ปืนเล็กยาว ปืนกลหนัก ปืนใหญ่ ยิงเข้าใส่กันแบบไม่ยั้ง ผลก็คืออังกฤษสามารถยึดภูเขาทั้ง 3 ลูกได้
ถึงตอนนี้อาร์เจนติน่าก็เหลือฐานที่มั่นเพียง 2 ที่ โดยมีฐานที่มั่นที่เข้มแข็งที่สุดอยู่ที่ภูเขาทัมเบวเดาว์น ๆเป็นหนึ่งในจุดที่มีความสูงมากที่สุดบนเกาะฟอล์กแลนด์จึงเปรียบเสมือนป้อมปราการขนาดใหญ่
เมเนนเดซเล็งเห็นถึงข้อได้เปรียบข้อนี้จึงเกณฑ์ทหารที่มีฝีมือดีที่สุดไว้ที่ค่ายแห่งนี้
การที่อังกฤษจะเอาชนะอาร์เจนติน่าในสงครามฟอล์กแลนด์ก็ต้องยึดภูเขาลูกนี้ให้ได้ อาร์เจนติน่าจะสามารถต้านทานการรุกของฝ่ายอังกฤษก็ต้องรักษาฐานที่มั่นแห่งนี้เอาไว้ให้ได้ เดิมพันของทั้งคู่จึงสูงยิ่งทันที
ที่ความมืดเข้าปกคลุมการปะทะก็เริ่มขึ้น ทหารอังกฤษพบกับการระดมยิงมาจากฝั่งอาร์เจนติน่าจนการรุกแทบจะหยุดชงักนับเป็นเรื่องยากที่ทหารอังกฤษจะปีนขึ้นเขาและต่อสู้ในเวลาเดียวกัน ในขณะที่การรบกำลัง
ดำเนินไปอย่างรุนแรง ทหารอังกฤษกว่า 30 นาย สามารถหาทางเลาะขึ้นเขาจนขึ้นไปถึงยอด ๆหนึ่งซึ่งไม่มีใครอยู่ ตอนนั้นเป็นเวลากลางคืนและทหารอาร์เจนติน่าก็ไม่ได้สังเกตเห็น กองทหารกองนี้จึงจัดการระดมยิงปืนกล
ใส่ค่ายทหารอาร์เจนติน่า ทหารอังกฤษกองอื่นเห็นฝ่ายตรงข้ามกำลังเพี่ยงพล้ำจึงช่วยกันเข้าตะลุมตุมบอน ทหารอังกฤษได้เข้าโอบล้อมทหารอาร์เจนติน่าที่หลบเข้าไปรวมกำลังกันในโรงนาแห่งหนึ่ง
ทหารอังกฤษต้องใช้จรวดฟอสฟอรัสยิงเข้าใส่ทหารอาร์เจนติน่าสูญเสียทั้งกอง ทหารอังกฤษที่โอบล้อมและโจมตีนั้นออกมาแถลงข่าวในภายหลังว่ารู้สึกเสียใจที่เห็นทหารอาร์เจนติน่า ถูกระเบิดเพลิงฟอสฟอรัสทำลาย
ไหม้ไปทั้งกองและยอมรับว่าเป็นการโหดร้ายมาก การสู้รบดำเนินไปถึงช่วงเช้าในที่สุด ทหารอาร์เจนติน่าก็แตกพ่ายไป
อาร์เจนติน่าไม่สามารถรักษาฐานที่มั่นบนภูเขาทั้ง 5 ลูกได้ ถึงตอนนี้ก็ไม่มีอะไรที่จะสามารถหยุดยั้งการรุกของฝ่ายอังกฤษที่จะเข้าไปยังเมืองสแตนเล่ย์ กองทัพอังกฤษยังได้ระดมยิงปืนใหญ่ทั้งวันทั้งคืนเพื่อ
เป็นการกดดันและทำลายขวัญกำลังใจฝ่ายตรงข้าม เมเนนเดซรู้ว่ายืนหยัดสู้ต่อไปก็ไม่มีประโยชน์จึงยกธงขาวขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน นับเป็นการปิดฉากสงครามฟอล์กแลนด์ที่กินเวลานานถึง 74 วัน
สงครามฟอล์กแลนด์กลืนชีวิตทหารอังกฤษไป 258นาย ชีวิตทหารอาร์เจนติน่าไป 649นาย ประธานาธิปดี กัลติเอรี ของอาร์เจนติน่าลาออกจากตำแหน่งหลังจาก
สงครามสงบเพียง 4วันและเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของรัฐบาลเผด็จการอาร์เจนติน่า
credit คนบ้าสงคราม
สไนเปอร์อังกฤษยิง ผบ.หน่วยทหารอาร์เจนติน่าในแนวหน้าระหว่างเข้าปะทะกัน ทำให้เกิดความวุ่นวายในสายบังคับบัญชาเนื่องจากกำลังส่วนใหญ่ของอาร์เจนติน่าเปนทหารเกณฑ์ ทำให้การรบแทบเปนอัมพาตขาดการสั่งการไร้ประสิทธิภาพ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สงครามชิงเกาะฟอล์กแลนด์
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ อยู่บริเวณตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกและอยู่ทางตะวันออกของอาร์เจนตินา ประกอบไปด้วยพื้นที่ที่เป็นเกาะใหญ่ 2 เกาะ คือ
เกาะฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยหมู่เกาะเล็กๆอีกราว 700 เกาะ
การอ้างสิทธิ์ครอบครองหมู่เกาะฟอล์กแลนด์เกิดขึ้นนับตั้งแต่มีการค้นพบดินแดนแห่งนี้ตั้งแต่ในช่วงปี 1600 กันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลา
ที่ชาวยุโรปส่วนใหญ่กำลังเสาะแสวงหาดินแดนใหม่ๆ หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ก็เป็นหนึ่งในดินแดนใหม่ที่ชาวยุโรปค้นพบและอ้างสิทธิ์ครอบครอง แต่เป็นที่น่าตกใจว่าประเทศที่ได้อ้างสิทธิ์
บนหมู่เกาะแห่งนี้มีถึง 4ประเทศด้วยกันนั่นคือ ฝรั่งเศส สเปน อาร์เจนตินาและอังกฤษ
อย่างไรก็ตามเมื่อช่วงเวลาผ่านไปหลายปี ฝรั่งเศสกับสเปนเริ่มที่จะห่างเหินและเมินพื้นที่แห่งนี้ในที่สุด เหลือแต่เพียงอาร์เจนตินากับอังกฤษที่ยังคงแสดงความเป็นเจ้าของ
โดยเฉพาะอาร์เจนตินาที่นอกจากจะขอจองหมู่เกาะนี้ต่อไปแล้วยังได้เข้าไปจับจองดินแดนอื่นๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษด้วย
สัญญาณแห่งการเกิดสงครามแย่งชิงดินแดนจึงได้เริ่มส่อเค้ามาตั้งแต่ในช่วงนั้น แต่มาปะทุรุนแรงขึ้นจากการที่อาร์เจนตินาภายใต้การนำของประธานาธิบดีลีโอโปลโด กัลเทียรี
ตัดสินใจทำสงครามที่คิดว่าจะทำให้สามารถยึดดินแดนบนหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
โดยเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 1982 นายพลกัลทีเรีย ส่งทหารไปยังจอร์เจียใต้ซึ่งเป็นดินแดนในความครอบครองของอังกฤษ และได้นำธงชาติของตนไปปักบนพื้นที่แห่งนี้
สงครามแย่งชิงดินแดนระหว่างอังกฤษกับอาร์เจนตินาจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นับตั้งแต่นั้นมา
เมื่อนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ นายกรัฐมนตรีของอังกฤษในขณะนั้น ทราบเรื่องจึงมีคำสั่งให้กองเรือรบเฉพาะกิจมุ่งหน้าสู่ หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ทันทีเพื่อชิงหมู่เกาะฟอล์กแลนด์คืนมาอย่างเดิม
กองเรือรบเฉพาะกิจของอังกฤษต้องใช้ระยะเวลาเดินทางกว่า 20 วันจึงจะถึงหมู่เกาะฟอล์กแลนด์
ช่วงแรกของสงครามอาร์เจนติน่าเป็นฝ่ายได้เปรียบเนื่องจากในตอนแรกเรือของอังกฤษที่เฝ้าอยู่ในหมู่เกาะฟอร์คแลนด์มีประสิทธิภาพต่ำกว่าของอาร์เจนติน่า อังกฤษสูญเสียเรือรบเป็นจำนวนมาก
จากการโจมตีด้วยอาวุธปล่อยอากาศ-สู่-พื้น จรวดExocet ซึ่งเป็นจรวดที่ฝรั่งเศษขายให้แก่อาเจนติน่าก่อนสงครามเริ่มขึ้น
แต่เมื่อกองเรือรบหลักมาถึงอังกฤษกลับมาเป็นต่อและสามารถยึดครองน่านฟ้าได้
การยึดครองน่านฟ้า dog fightกลางอากาศนั้นกลยุทธได้เปลี่ยนไปเครื่องบิน Harrierของอังกฤษได้เปรียบเครื่องบินรบของอาร์เจนติน่า เมื่อเผชิญหน้ากันเครื่อง Harrierของอังกฤษจะเป็นฝ่ายหลอกอาร์เจนติน่าให้ตามหลังไป
พอได้ระยะ Harrierก็จะหยุดกลางอากาศเฉยเตรียมเล็งยิงได้เลย เครื่องบินรบของอาร์เจนติน่าบินผ่านไปก็จะตกเป็นเป้าจรวดของ Harrier ทุกครั้ง เรียกได้ว่านักบินอังกฤษเล็งยิงได้ตามใจชอบ จึงมีเสียงกันว่าเครื่องบินรบอาร์เจนติน่าแทบจะถูกยิงตกหมดทั้งกองทัพ
ในการศึกครั้งนี้แม้แต่เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก ยังเข้าร่วมรบด้วย ในฐานะนักบินเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน และได้ขึ้นบินตรวจการณ์รอบๆเรือลำดังกล่าวด้วย
กองทัพอาร์เจนติน่ารู้ว่าสู้กองกำลังทางอากาศของอังกฤษไม่ได้จึงส่งกองเรือรบ หมายจะทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินและเรือพิฆาตของอังกฤษ แต่นับเป็นความโชคดีของฝ่ายอังกฤษที่เรือดำน้ำสามารถตรวจพบเรือรบที่ชื่อเบวกราโนของอาร์เจนติน่าได้
ปัญหาเพียงประการเดียวก็คือจุดที่ตรวจพบดันอยู่นอกรัศมี 200 ไมล์ที่กำหนดให้เปิดฉากยิง สถานการณ์ตึงเครียดมากเพราะถ้าเรือรบเบวกราโนเกิดเข้าไปถึงจุดที่กองเรืออังกฤษตั้งอยู่ ก็จะเป็นการยากที่จะหยุดยั้งการทำลายของมัน
เรื่องนี้ถูกนำไปให้นางแทชเชอร์ตัดสินใจ และนางได้เปิดไฟเขียวให้เรือดำน้ำยิงตอร์ปิโดใส่เรือรบอาร์เจนติน่าลำนี้ ภายในเวลาไม่ถึง 45 นาทีเรือรบเบวกราโนก็ได้จมลงสู่ก้นมหาสมุทรพร้อมกับลูกเรืออีกกว่า 323 ชีวิต
เรือรบอาร์เจนติน่าลำอื่นพอทราบข่าวนี้ต่างก็หันหัวเรือกลับ ไม่กล้าเข้าใกล้หมู่เกาะฟอล์กแลนด์อีกเลย
อาร์เจนติน่าจึงตัดสินใจที่จะแก้แค้นโดยยิงขีปนาอาวุธเอ็กโซเซ่ห์ ซึ่งเป็นขีปันอาวุธที่ผลิตโดยประเทศฝรั่งเศ เข้าใส่เรือรบอังกฤษ มีทหารเสียชีวิตจากการโจมตีครั้งนี้ 20 นาย ถึงตอนนี้เวลาได้ล่วงข้าสู่กลางเดือนพฤษภาคม
และเป็นธรรมดาของมหาสมุทรแอตแลนติกที่จะเกิดพายุใหญ่ สภาพอากาศจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่บีบให้อังกฤษต้องตัดสินใจด้านยุทธวิธีอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเร็ว ท้ายที่สุดผู้นำทางทหารจึงตัดสินใจให้ยกพลขึ้นบก
การยกพลขึ้นบก เริ่มขึ้นเมื่อคืนของวันที่ 21 พฤษภาคม จุดที่ยกพลขึ้นบกมีชื่อว่า ซาน คาลอส ตั้งอยู่ห่างจากสแตนเล่ย์ เมืองหลวงของเกาะฟอล์กแลนด์ราว 50 ไมล์ เป้าหมายหลักของกองทัพอังกฤษ
ก็คือเมืองหลวงโดยจะใช้เฮลิคอปเตอร์เป็นพาหนะ คอยเคลื่อนย้ายทหารตลอดระยะทาง 50 ไมล์ นาวิกโยธินอังกฤษสามารถยึดหัวหาดไว้ได้อย่างรวดเร็วโดยแทบจะปราศจากการต่อต้าน แต่ความสงบก็ดำรงอยู่ได้ไม่นาน
เพราะอาร์เจนติน่าได้ส่งเครื่องบินรบมาทำลายกองเรืออังกฤษที่ทอดสมออยู่นอกชายฝั่ง การโจมตีเป็นไปอย่างดุเดือดมีการปะทะกันตลอด 4 วัน 4 คืน ถึงแม้ว่าอังกฤษจะสามารถรักษาฐานที่มั่นเอาไว้ได้ แต่ก็ต้องพบกับความสูญเสียอย่างหนัก
กองทัพเรืออาร์เจนติน่ายังได้ปล่อยขีปปันอาวุธเอ็กโซเซ่ห์ใส่เรือรบอังกฤษอีก แต่คราวนี้เรือรบอังกฤษตรวจจับได้ทันจึงจัดการปล่อยแผ่นฟอยโลหะขึ้นบนอากาศ หมายจะให้ขีปนาอาวุธเลี้ยวเบนไปทางอื่น
ขีปนาอาวุธเอ็กโซเซ่ห์หันทิศทางไปด้านอื่นก็จริง และเหยื่อตัวใหม่ของมันก็คือเรือคอนเทนเนอร์ซึ่งบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายทหาร ขีปปันอาวุธได้ทำลายเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมดซึ่งก็แปลว่า
ทหารอังกฤษจะต้องเดินเป็นระยะทาง 50 ไมล์เพื่อถึงเมืองสแตนเล่ย์ พร้อมกับสู้กับทหารอาร์เจนติน่าในเวลาเดียวกัน ขวัญกำลังใจที่เสียไปของอังกฤษทำให้กองทัพต้องรีบดำเนินกลยุทธ์เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาโดยเร็ว
ชุมชนกรู สกรีนซึ่งตั้งอยู่ห่างจากหัวหาดประมาณ 50 ไมล์ จึงถูกเลือกให้เป็นสมรภูมิทางบกแห่งแรก กรู สกรีมีลักษณะเป็นช่องแคบเล็ก ๆกว้างเพียง 5 ไมล์ ทหารอาร์เจนติน่าได้ตั้งค่ายอยู่บริเวณนี้ราว 1000 นาย พร้อมกับมีหน่วยปืนใหญ่คอยสนับสนุนอยู่แนวหลัง
พื้นที่ส่วนใหญ่บนเกาะฟอล์กแลนด์เป็นพื้นที่เปิด สภาพทางธรรมชาติข้อนี้ทำให้กองทัพอังกฤษตัดสินใจที่จะทำการรบในเวลากลางคืนเท่านั้น สมรภูมิ กรู สกรีนเปิดฉากขึ้นหลังจากพระอาทิตย์ตกดินของวันที่ 28 พฤษภาคม
ทหารอังกฤษพยายามเจาะแนวป้องกันของฝ่ายศัตรูแต่ก็ต้องพบกับการต่อต้านอย่างหนัก ทั้งจากปืนกลหนักและปืนใหญ่ที่ยิงมาจากแนวหลังของอาร์เจนติน่า การรบกินเวลาไปถึงเช้าวันต่อมาอังกฤษก็ยังไม่สามารถเอาชนะได้
สถานการณ์เข้าขั้นวิกฤตเมื่อแสงสว่างทำให้ทหารอังกฤษตกเป็นเป้าของศัตรูได้ง่ายขึ้น ฝ่ายอังกฤษจึงตัดสินใจแบ่งกองทัพตนออกเป็น 2 กองแล้วจัดการตีขนาบใส่แนวป้องกัน ทั้งยังส่งเครื่องแฮริเออร์
ทิ้งระเบิดใส่ปืนใหญ่ของอาร์เจนติน่าจนราบคาบ ทหารอาร์เจนติน่าไม่สามารถต้านทานการโจมตีได้อีกต่อไปจึงประกาศยอมแพ้
ชัยชนะของอังกฤษที่ กรู สกรีนสามารถเรียกขวัญกำลังใจของทหารกลับคืนมาได้ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความสูญเสียอย่างหนักของทั้ง 2 ฝ่าย ที่สำคัญคือแรงกดดันข้อนี้ยังไม่สามารถทำให้ทหารอาร์เจนติน่า
หน่วยอื่น ๆ ยอมแพ้ต่อฝ่ายอังกฤษได้สงครามจึงต้องดำเนินต่อไป ตามที่ได้เล่าไว้ว่า ขีปันอาวุธเอ็กโซเซ่ห์ได้ทำลายเฮลิคอปเตอร์ของอังกฤษเกือบทั้งหมด ทหารอังกฤษจึงเหลือแค่การเดินเป็นวิธีการเดียวในการไปให้ถึงสแตนเล่ย์
เมืองหลวงของเกาะฟอล์กแลนด์ ปัญหานี้ทำให้ทหารเกิดความเหนื่อยล้าและสงครามเกิดความยืดเยื้อออกไปโดยไม่จำเป็น
ระยะทางระหว่างหัวหาดกับสแตนเล่ย์ประกอบไปด้วยภูเขาหลัก ๆ ทั้งหมด 5 ลูก กองทัพอังกฤษตั้งใจที่จะยึดภูเขา 3ลูกแรกให้ได้ในการรบระลอกแรก และยึดภูเขาลูกที่เหลือในการรบระลอก 2 การปะทะระหว่าง
ทหาร 2ฝ่ายเพื่อยึดภูเขา 3ลูกแรกเกิดขึ้นหลังจากสมรภูมิ กรู สกรีนเกือบ 2อาทิตย์ การรบเป็นไปอย่างดุเดือดมีการใช้ปืนเล็กยาว ปืนกลหนัก ปืนใหญ่ ยิงเข้าใส่กันแบบไม่ยั้ง ผลก็คืออังกฤษสามารถยึดภูเขาทั้ง 3 ลูกได้
ถึงตอนนี้อาร์เจนติน่าก็เหลือฐานที่มั่นเพียง 2 ที่ โดยมีฐานที่มั่นที่เข้มแข็งที่สุดอยู่ที่ภูเขาทัมเบวเดาว์น ๆเป็นหนึ่งในจุดที่มีความสูงมากที่สุดบนเกาะฟอล์กแลนด์จึงเปรียบเสมือนป้อมปราการขนาดใหญ่
เมเนนเดซเล็งเห็นถึงข้อได้เปรียบข้อนี้จึงเกณฑ์ทหารที่มีฝีมือดีที่สุดไว้ที่ค่ายแห่งนี้
การที่อังกฤษจะเอาชนะอาร์เจนติน่าในสงครามฟอล์กแลนด์ก็ต้องยึดภูเขาลูกนี้ให้ได้ อาร์เจนติน่าจะสามารถต้านทานการรุกของฝ่ายอังกฤษก็ต้องรักษาฐานที่มั่นแห่งนี้เอาไว้ให้ได้ เดิมพันของทั้งคู่จึงสูงยิ่งทันที
ที่ความมืดเข้าปกคลุมการปะทะก็เริ่มขึ้น ทหารอังกฤษพบกับการระดมยิงมาจากฝั่งอาร์เจนติน่าจนการรุกแทบจะหยุดชงักนับเป็นเรื่องยากที่ทหารอังกฤษจะปีนขึ้นเขาและต่อสู้ในเวลาเดียวกัน ในขณะที่การรบกำลัง
ดำเนินไปอย่างรุนแรง ทหารอังกฤษกว่า 30 นาย สามารถหาทางเลาะขึ้นเขาจนขึ้นไปถึงยอด ๆหนึ่งซึ่งไม่มีใครอยู่ ตอนนั้นเป็นเวลากลางคืนและทหารอาร์เจนติน่าก็ไม่ได้สังเกตเห็น กองทหารกองนี้จึงจัดการระดมยิงปืนกล
ใส่ค่ายทหารอาร์เจนติน่า ทหารอังกฤษกองอื่นเห็นฝ่ายตรงข้ามกำลังเพี่ยงพล้ำจึงช่วยกันเข้าตะลุมตุมบอน ทหารอังกฤษได้เข้าโอบล้อมทหารอาร์เจนติน่าที่หลบเข้าไปรวมกำลังกันในโรงนาแห่งหนึ่ง
ทหารอังกฤษต้องใช้จรวดฟอสฟอรัสยิงเข้าใส่ทหารอาร์เจนติน่าสูญเสียทั้งกอง ทหารอังกฤษที่โอบล้อมและโจมตีนั้นออกมาแถลงข่าวในภายหลังว่ารู้สึกเสียใจที่เห็นทหารอาร์เจนติน่า ถูกระเบิดเพลิงฟอสฟอรัสทำลาย
ไหม้ไปทั้งกองและยอมรับว่าเป็นการโหดร้ายมาก การสู้รบดำเนินไปถึงช่วงเช้าในที่สุด ทหารอาร์เจนติน่าก็แตกพ่ายไป
อาร์เจนติน่าไม่สามารถรักษาฐานที่มั่นบนภูเขาทั้ง 5 ลูกได้ ถึงตอนนี้ก็ไม่มีอะไรที่จะสามารถหยุดยั้งการรุกของฝ่ายอังกฤษที่จะเข้าไปยังเมืองสแตนเล่ย์ กองทัพอังกฤษยังได้ระดมยิงปืนใหญ่ทั้งวันทั้งคืนเพื่อ
เป็นการกดดันและทำลายขวัญกำลังใจฝ่ายตรงข้าม เมเนนเดซรู้ว่ายืนหยัดสู้ต่อไปก็ไม่มีประโยชน์จึงยกธงขาวขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน นับเป็นการปิดฉากสงครามฟอล์กแลนด์ที่กินเวลานานถึง 74 วัน
สงครามฟอล์กแลนด์กลืนชีวิตทหารอังกฤษไป 258นาย ชีวิตทหารอาร์เจนติน่าไป 649นาย ประธานาธิปดี กัลติเอรี ของอาร์เจนติน่าลาออกจากตำแหน่งหลังจาก
สงครามสงบเพียง 4วันและเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของรัฐบาลเผด็จการอาร์เจนติน่า
credit คนบ้าสงคราม
สมาชิกหมายเลข 6961891 ถูกใจ, PeterMc ถูกใจ, ไม่ได้กลัวแต่เกรงใจ ถูกใจ, Shin Kazama ถูกใจ, Venom Snake ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 2941957 ถูกใจ, ลิงสองตัว ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 2822837 ถูกใจ, สมาชิกหมายเลข 976035 ทึ่ง, หูกระต่ายของเด็กชายอะจึ๋ง ถูกใจรวมถึงอีก 7 คน ร่วมแสดงความรู้สึก
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
คำพูดที่ว่า..สไนเปอร์เขามีไว้ยิงเฉพาะผู้นำ ผู้หมวด ผู้กอง หรือผู้พัน ซึ่งเป็นผู้นำทุกระดับ พวกนี้มีหน้าที่ตามล่าพวกผู้นำ
ความจริงแล้วในสงครามมันเป็นแบบไหนครับ ทำให้นึกถึงฉากที่พลแม่นปืนในหนังเรื่อง Saving Private Ryan พูดว่า ถ้าฮิตเลอร์ อยู่ในระยะยิงของเขา สงครามจบ ทุกคนได้กลับบ้าน