คุณแม่รู้มั้ยคะ…การนอนช่วยให้เด็กเติบโต ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้หลายด้าน เด็กจะประมวลผล และเกิดการกระตุ้นของประสาทสัมผัสและเรียนรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ ในขณะที่เขาหลับ การนอนมีส่วนสำคัญในการประมวลผลความจำจากกิจกรรมที่เด็กทำในขณะตื่น
พลังของการนอน…ต่อยอดรอยหยัก สร้างการประมวลผลสมองลูก?
การนอนเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการสร้างความทรงจำระยะยาว (long-term memory) ดังนี้
เด็กจะรับรู้ผ่าน 5 ประสาทสัมผัส ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้นและสัมผัสทางกาย
ข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะถูกส่งไปยังสมองส่วนการรับรู้ มองเห็น ขยายมิติภาพที่มองเห็น ไปบันทึกเก็บไว้เป็นความจำ
หากเด็กมีปฏิกิริยาโต้ตอบสื่อสารกับสิ่งกระตุ้นนั้นซ้ำๆ ก็จะจำเป็นประสบการณ์จนเกิดความคุ้นเคย
เมื่อรับรู้ จดจำได้ เวลาเด็กได้รับการกระตุ้นเหล่านั้นอีกก็จะสามารถเข้าใจและสื่อสารโต้ตอบได้ค่ะ
ขณะเด็กหลับ จะเกิด กระบวนการประมวลผลความจำของสมอง” จากข้อมูลทาง
วิทยาศาสตร์ยืนยันแล้วว่า การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญมีคุณค่าอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก การนอนถือเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาสมองในเด็ก
ทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์แล้วว่า สมองทำงานแม้ยามหลับ
การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่บอกว่าสมองยังทำงานขณะหลับคือการทำ PET scan (Positron Emission Tomography) หรือ fMRI (functional Magnetic Resonance Imaging) แสดงให้เห็นถึงส่วนของสมองที่ยังทำงานในกระบวนการสร้างความทรงจำแม้ขณะเด็ก “หลับ”
ทำไมเด็กทารกถึงนอนเยอะ ?
คนเรามีความต้องการจำนวนชั่วโมงในการนอนแตกต่างไปตามวัย
ซึ่งสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็กนั้น จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ รูปแบบการนอนของเด็กแรกเกิดจะมีช่วงเวลาที่เป็นActive Sleep ถึงครึ่งหนึ่งของเวลานอนทั้งหมด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สมองมีการทำงานหนักไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเวลาตื่น
การนอนหลับของลูกน้อยในช่วงแรกเกิด อาจมีส่วนช่วยเรื่อง การเรียนรู้ในหลายๆ ด้าน
- การนอนหลับส่งเสริมการเติบโตที่สมบูรณ์ของระบบประสาท
- การนอนหลับมีบทบาทต่อการประมวลผลความจำ การเรียนรู้ จากสิ่งที่ทำในขณะตื่น
- แม้ในขณะนอนหลับลูกน้อยก็ยังสามารถรับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นที่เกิดขึ้นรอบๆตัว ได้
นอนเท่าไหร่ที่เรียกว่าพอ?
รู้อย่างนี้แล้ว คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับการนอนที่ดี เริ่มตั้งแต่คืนนี้ กันเลยนะคะ
หากคุณแม่ต้องการพูดคุย ปรึกษาหรือขอคำแนะนำเรื่องการนอนของลูกน้อย สามารถเข้าร่วมกลุ่มสนทนากับเรา (Join Group) ได้ที่
The Power of sleeping
www.s-momclub.com/thepowerofsleeping
https://www.facebook.com/smomclub
ID Line: thepowerofsleeping (LINE GROUP)
แหล่งอ้างอิง
1. Born J, Wilhelm I. System consolidation of memory during sleep. Psychological Research 2012: 76; 192 - 203
2. Dang-Vu TT, Schabus M, et al. Functional neuroimaging insights into the physiology of human sleep. Sleep 2010: 33(12); 1589 – 1603
3. National Sleep Foundation. How Much Sleep Do Babies and Kids Need?[Online]. Available:
https://sleepfoundation.org/sleep-news/how-much-sleep-do-babies-and-kids-need [No Date].
4. National Sleep Foundation. Children and Sleep [Online]. Available:
https://sleepfoundation.org/sleep-topics/children-and-sleep [No Date].
5. Tarullo, A. R., Balsam, P. D. and Fifer, W. P. (2011), Sleep and infant learning. Inf
Child Develop, 20: 35–46. doi: 10.1002/icd.685
พลังของการนอน !!!! ขุมคลัง... พลังสมองของลูกน้อย
การนอนเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการสร้างความทรงจำระยะยาว (long-term memory) ดังนี้
ข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะถูกส่งไปยังสมองส่วนการรับรู้ มองเห็น ขยายมิติภาพที่มองเห็น ไปบันทึกเก็บไว้เป็นความจำ
หากเด็กมีปฏิกิริยาโต้ตอบสื่อสารกับสิ่งกระตุ้นนั้นซ้ำๆ ก็จะจำเป็นประสบการณ์จนเกิดความคุ้นเคย
เมื่อรับรู้ จดจำได้ เวลาเด็กได้รับการกระตุ้นเหล่านั้นอีกก็จะสามารถเข้าใจและสื่อสารโต้ตอบได้ค่ะ
ขณะเด็กหลับ จะเกิด กระบวนการประมวลผลความจำของสมอง” จากข้อมูลทาง
วิทยาศาสตร์ยืนยันแล้วว่า การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญมีคุณค่าอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก การนอนถือเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาสมองในเด็ก
การพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่บอกว่าสมองยังทำงานขณะหลับคือการทำ PET scan (Positron Emission Tomography) หรือ fMRI (functional Magnetic Resonance Imaging) แสดงให้เห็นถึงส่วนของสมองที่ยังทำงานในกระบวนการสร้างความทรงจำแม้ขณะเด็ก “หลับ”
ซึ่งสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็กนั้น จะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ รูปแบบการนอนของเด็กแรกเกิดจะมีช่วงเวลาที่เป็นActive Sleep ถึงครึ่งหนึ่งของเวลานอนทั้งหมด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สมองมีการทำงานหนักไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเวลาตื่น
- การนอนหลับส่งเสริมการเติบโตที่สมบูรณ์ของระบบประสาท
- การนอนหลับมีบทบาทต่อการประมวลผลความจำ การเรียนรู้ จากสิ่งที่ทำในขณะตื่น
- แม้ในขณะนอนหลับลูกน้อยก็ยังสามารถรับรู้ต่อสิ่งกระตุ้นที่เกิดขึ้นรอบๆตัว ได้
รู้อย่างนี้แล้ว คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับการนอนที่ดี เริ่มตั้งแต่คืนนี้ กันเลยนะคะ
The Power of sleeping www.s-momclub.com/thepowerofsleeping
https://www.facebook.com/smomclub
ID Line: thepowerofsleeping (LINE GROUP)
แหล่งอ้างอิง
1. Born J, Wilhelm I. System consolidation of memory during sleep. Psychological Research 2012: 76; 192 - 203
2. Dang-Vu TT, Schabus M, et al. Functional neuroimaging insights into the physiology of human sleep. Sleep 2010: 33(12); 1589 – 1603
3. National Sleep Foundation. How Much Sleep Do Babies and Kids Need?[Online]. Available:
https://sleepfoundation.org/sleep-news/how-much-sleep-do-babies-and-kids-need [No Date].
4. National Sleep Foundation. Children and Sleep [Online]. Available: https://sleepfoundation.org/sleep-topics/children-and-sleep [No Date].
5. Tarullo, A. R., Balsam, P. D. and Fifer, W. P. (2011), Sleep and infant learning. Inf
Child Develop, 20: 35–46. doi: 10.1002/icd.685