[Evolution] Law of use & disuse ปะทะ Natural selection!!!

ตามหัวข้อกระทู้เลยนะครับ
คือหลังจากเรียนเรื่องวิวัฒนาการมาแล้วเนี่ย เมื่อเร็วๆนี้ผมกับเพื่อนก็ได้มานั่งถกกันเรื่องแนวคิดสองอย่างนี้กันอีกครั้ง (ระลึกความหลัง 5555)

อันแรกก็คือ Law of use & disuse ของ Lamarck
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และ Natural selection ของ Darwin
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
โดยเขาบอกว่า ปัจจุบันทฤษฎีของ Lamarck ไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่า N.s. ของ Darwin

https://paocmc.files.wordpress.com/2011/12/22543_484791300112_419219510112_11302828_931935_n.jpg
(โทษทีครับแนบรูปไม่ได้ 555)
สำหรับรูปนี้จะเป็นการอธิบายความแตกต่างของสองทฤษฎีนี้โดยใช้กรณีของยีราฟนะครับ
โดยตามที่ผมเข้าใจนะครับ (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะถูกรึเปล่า 5555) ก็คือ
Lamarck: มียีราฟแบบเดียวตั้งแต่แรก >>> พยายามยืดคอเพื่อกินอาหาร >>> ยีราฟคอยาว
Darwin: ยีราฟมีหลายแบบตามการแปรผันทางพันธุกรรม >>> ตัวคอยาวกินอาหารได้ คอสั้นกินไม่ถึง >>> คอสั้นอาจตายหมดแล้วหรือย้ายถิ่น เลยเหลือแค่ตัวคอยาว

ทีนี้จุดที่ผมสงสัยก็คือ
1. ที่บอกว่ายีราฟมีความแปรผันทางพันธุกรรมตั้งแต่แรกนี่ ถ้าเทียบกับคนก็คือสูง ต่ำ ดำ ขาว อะไรแบบนี้ใช่มั้ยครับ?
แล้วทำไมมันถึงมีความแปรผันแบบนี้เกิดขึ้นครับ? และความแปรผันนี้ถือว่าเกิดจาก Law of use & disuse ได้หรือไม่ครับ?
(เช่นคน Caucasoid อยู่ยุโรปมีผิวอ่อน ส่วนคน Nigroid อยู่ที่แอฟริกามีผิวเข้ม เพราะคน Nigroid มีความต้องการ Melanin มากกว่ารึเปล่า)

2. ยีราฟตัวที่ไม่เหมาะสม(คอสั้น ขาสั้น)ในทฤษฎีของ Darwin ในรุ่นลูกรุ่นหลานมีสิทธิ์ออกกำลังกายคอไปเรื่อยๆเพื่อเพิ่มความยาวคอแบบทฤษฎีของ Lamarck ได้หรือไม่ครับ? (ไม่นับการผสมพันธุ์กับตัวคอยาวนะครับ)

3. จากข้อ 2 กรณีเดียวกันในคน ถ้าคนที่ตัวเล็ก(มาจากครอบครัวตัวเล็กด้วย) เขาเริ่มกินนม เล่นบาส โหนบาร์ โดยเริ่มตั้งแต่รุ่นปัจจุบันไปรุ่นลูกรุ่นหลานไปเรื่อยๆ ตระกูลนี้จะมีโอกาสที่จะมีความสูงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมั้ยครับ? (หรือจะตัวเล็กไปตลอด)

4. แล้วการวิวัฒนาการแบบลดลง เช่น ลิง >>> ลิงไร้หาง >>> คน นี่มันเกิดจากการที่เราไม่ได้ใช้หางหรือเปล่าครับ ถ้าใช่ แสดงว่ากฎการใช้ไม่ใช้ก็มีส่วนถูกรึเปล่า?

5. จาก http://schoolbag.info/biology/living/living.files/image837.jpg
จะเห็นว่าสมองแต่ละส่วนจะมีอัตราส่วนแตกต่างกันไปใน สมช แต่ละชนิด เช่นคนต้องใช้เหตุผลและการคิด สมองส่วนหน้าเลยมีขนาดใหญ่
แบบนี้นับเป็น Law of use & disuse มั้ยครับ?

6. นกฟินช์ที่กาลาปากอส การที่ปากนกมันเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมบนแต่ละเกาะนี่เกิดจากกระบวนการอะไรครับ ทำไมมันเปลี่ยนไปได้?
   http://www.pre-tend.com/wp-content/uploads/2015/03/galapagos-darwin-finches.jpg

7. ที่ผมสงสัยอีกอย่างนึงก็คือ กระบวนการอะไรกันที่ทำให้สิ่งมีชีวิตมันแตกต่างและพัฒนาแตกแขนงต่อไปเรื่อยๆเป็น Cladogram แบบนี้?
http://357163546355864778.weebly.com/uploads/9/7/5/7/9757668/471990786_orig.jpg
คือจะว่าไงดีล่ะครับ 5555 แบบว่า พอมัน Selection แล้วมันไปทำยังไงต่ออ่ะครับมันถึงแตกเป็น Species ใหม่ Phylum ใหม่แบบนี้?
(กฎการใช้ไม่ใช้(อีกแล้ว 555) มีความเกี่ยวข้องด้วยรึเปล่า? และถ้ามันไม่เกี่ยวแล้วมันใช้กระบวนการอะไร?)

8. สรุปจากข้อที่ผ่านมานะครับ "กฎของการใช้และไม่ใช้" ทำไมไม่ได้รับความนิยมและมันมีส่วนถูกหรือไม่ครับ?
   (เพราะผมเข้าใจว่า การที่ไม่ได้รับความนิยม คือคิดว่าทฤษฎีนี้ผิดหรือไม่สามารถอธิบายหลักการบางอย่างได้ แต่ผมอยากรู้ว่ามันจะมีส่วนถูกบ้างหรือเปล่าอ่ะครับ 5555)
     
คือตามที่ผมเข้าใจนะครับ Natural Selection มันคือการหา The Face เอ้ย! The survivor 55555 ซึ่งก็คือผู้ที่อยู่รอดได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมนั้นๆ แต่ผู้ที่ไม่รอดก็อาจไปเจริญได้ดิบได้ดีในพื้นที่อื่น แต่ Law of use & disuse มันคือการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามการใช้งาน (9. อันนี้ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ? 555)
.
.
.
10. หรือทั้งสองทฤษฎีของ Lamarck จะมาแบบแพ็คคู่... เพราะงั้นเมื่อทฤษฎีที่ 2 ผิด ก็เลยถือว่าผิดไปด้วยกันเลยครับ?
         [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

และ 11. ช่วยสรุปหัวใจหลักๆของเรื่องนี้ให้หน่อยได้มั้ยครับ เผื่อผมและคนที่ไม่เข้าใจเรื่องนี้มาอ่านจะได้เข้าใจง่ายขึ้น T^T


     วานผู้รู้ช่วยชี้ทางสว่างให้กับผมด้วยนะครับ เก็บความสงสัยนี้ไว้กับตัวเองมา 2 ปีแล้ว ;___; 5555 และผมเชื่อว่ากระทู้นี้จะเป็นประโยชน์ให้กับอีกหลายๆคนที่สนใจและกำลังสงสัยในเรื่องนี้อย่างแน่นอนครับ
     ขอบคุณทุกท่านที่มาให้ความรู้ไว้ล่วงหน้าเลยนะคร้าบบ^^
    (*กระทู้นี้เป็นกระทู้แรกของผม ถ้ามันวกไปวนมาหรืออ่านยากตรงไหนก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ผมเรียบเรียงคำไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ แหะๆ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่