(รีวิว#2 OM-2n
https://ppantip.com/topic/35214286)
(รีวิว#3 OM-10
https://ppantip.com/topic/36507413)
สวัสดีครับ ขอต้อนรับทุกท่าน ผู้มีใจถวิลหาความคลาสสิค ชอบความสุนทรีย์จากสิ่งของที่ถูกสร้างอย่างปราณีต
จากยุคที่ผู้ผลิตใช้หัวใจเสกสรรชิ้นงาน แข่งขันกันมอบสิ่งที่ดีที่สุดแด่ผู้บริโภค กับยุคที่ทรัพยากรยังมีมากมาย
แต่ข้าวของเครื่องใช้กลับถูกผลิตให้มีความทนทาน บำรุงรักษาง่าย ซื้อครั้งเดียว ใช้กันได้ยันรุ่นลูกรุ่นหลาน
จากความชอบส่วนตัวของผมเอง เมื่อได้ลองหาข้อมูล ได้สัมผัสและลองใช้ ก็ยิ่งอยากแบ่งปันให้ทุกๆท่าน
ได้มาลองทำความรู้จักกับกล้องตัวนี้กันครับ
(กระทู้นี้ผมค้นคว้าข้อมูลจากหลายที่ หากมีจุดใดไม่ถูกต้อง ขอรบกวนช่วยแจ้งหรือเสริมข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยนะครับ)
เท้าความ
ก่อนมาสนใจกล้องฟิล์ม ในยุคที่ไม่มีฟิล์มขายในเซเว่นแล้ว ผมเริ่มต้นกับ Olympus Pen E-P3 (ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่)
พร้อมเลนส์ kit 14-42mm f/3.5-4.5 โดยไม่มีความรู้พื้นฐานเรื่องการถ่ายภาพ ซึ่งผมมักมีปัญหากับการถ่ายในที่แสงน้อย
ไม่รูปเบลอเพราะมือสั่น ก็ภาพเป็นวุ้นๆไม่สวย พอเข้ายุค iPhone กล้องตัวนี้จึงถูกดองในตู้เก็บของอยู่หลายปี
กระทั่ง smart phone จอใหญ่ full HD กลายเป็นอวัยวะที่ 33 และคลับกล้องบน facebook เป็นนิทานก่อนนอนของผม
รูปสวยๆและข้อมูลดีๆมากมายกระตุ้นให้ผมอยากถ่ายรูปอีกครั้ง คราวนี้ผมเริ่มมีความเข้าใจ ว่าค่ากล้องแต่ละตัวมันคืออะไร
ต้องการภาพแบบนี้ ต้องปรับค่าแบบไหน และได้รู้ว่าความสามารถและข้อจำกัดของอุปกรณ์เรามีอะไรบ้าง
ปัญหาการถ่ายในที่แสงน้อยกลับมารบกวนอีกครั้ง คราวนี้ผมรู้ว่ามันเกิดจากความเร็วชัตเตอร์ต่ำไป หรือรูรับแสงไม่กว้างพอ
ส่วนการปรับเพิ่ม iso ในกล้องรุ่นนี้กลับทำให้ภาพแย่หนักกว่าเก่า เลนส์ใหม่รูรับแสงกว้างๆ จึงเป็นทางออกของผม
แต่ราคาเลนส์ m4/3 ที่แพงกว่าตัวกล้อง ทำให้ผมมารู้จักกับเลนส์มือหมุน ราคาแสนจะเป็นมิตร ให้คุณภาพเกินราคาไปไกลโข
adapter หลักร้อย กลายเป็นสะพานเชื่อมโลก 2 ยุคเข้าด้วยกัน แถมเป็นการเชื่อมต่อไร้ค่ายไร้พรมแดน ใส่กันได้เกือบทุกแบบและยี่ห้อ
ด้วยตัวผมเป็นคนมี brand loyalty ประมาณนึง จึงลงเอยว่าเอาเลนส์ยี่ห้อเดียวกับกล้องแล้วกัน ไม่แพง หาง่าย ถ่ายสวย
กับเจ้า Olympus OM-System Zuiko 50mm f/1.8 version made in japan เลนส์สว่าง ละลายฉากหลังได้
เจอ crop factor ของกล้อง m4/3 กลายเป็นเหมือนได้ระยะ 100mm ถ่ายคนได้โดดเด่นมีมิติมากๆ
โดยหารู้ไม่ ว่าอักขระอาคม Zuiko บนวัตถุที่อายุมากกว่าผมนี้ จะพาผมถลำลึกไปพาพวกพ้องมันมาเพิ่มในที่สุด
ภาพจาก E-P3 กับ เลนส์ OM ตัวนี้ครับ
ประวัติและข้อมูล
กระทู้สร้างแรงบันดาลใจ ถ่ายทอดตำนานความยิ่งใหญ่ยุคหนึ่งของ Olympus
http://m.ppantip.com/topic/34953537
ผมได้รับรู้อย่างภาคภูมิว่า เลนส์ที่ผมใช้อยู่นั้น มันเคยทำหน้าที่บนกล้องที่ถูกออกแบบโดยอัจฉริยะ Mr.Yoshihisa Maitani
แถมอักษร OM นั้นไม่ได้มาเล่นๆ แต่เป็นตัวย่อการันตีความคูลจากคำว่า Olympus Maitani ผู้นี้นี่เอง
ประวัติและข้อมูลกล้องที่เคยสั่นสะเทือนวงการโดยสังเขป
1972 เปิดตัวโดยใช้ชื่อรหัส M-1 เป็นกล้องฟิล์มผู้นำเทรนด์ compact 35mm SLR โดยเป็นกล้องเกรดมืออาชีพ
แต่ถูกออกแบบใหม่หมด ให้มีขนาดเล็กและเบา แต่ประสิทธิภาพการทำงานอัดแน่นและครบครัน
1973 เปลี่ยนชื่อรหัสเป็น OM-1 หลังการเจรจากับ Leica ที่มีกล้องชื่อรหัส M-1 เหมือนกัน
1974 - 1978 เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ขึ้นฟิล์มแบบใส่ถ่าน Motor Drive ใช้ชื่อรหัส OM-1MD
1979 ปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มจากเดิมอีก 34 จุด เช่น ก้านขึ้นฟิล์มแบบมน ไม่บาดนิ้ว, รองรับฝาหลัง Recordata Back, ใช้ Hot Shoe4
ที่รองรับ X-sync flash บอกสถานะและการทำงานของแฟลชได้ใน view finder เลย ใช้ชื่อรหัส OM-1n
จากการเป็นปลายสุดของวิวัฒนาการ ทำให้ OM-1n ถือเป็นกล้องที่มีคุณภาพดีที่สุดของซีรี่ย์นี้
ข้อมูลกล้องโดยละเอียด
ระบบ : Olympus OM
ชนิดกล้อง : 35mm Single Lens Reflex with focal plane shutter
ขนาดฟิล์ม : 24mm x 36mm (ฟิล์ม 135 ที่แพร่หลายที่สุดนี่แหละ ม้วนนึงได้ 36 รูป)
เมาท์เลนส์ : Olympus OM
ชัตเตอร์ : ม่านชัตเตอร์ทำจากผ้า วิ่งตามระนาบฟิล์ม ความเร็วมี B, 1, 2, 4, 8, 15, 30, 60, 125, 250, 500, 1,000
ตั้งเวลาถ่าย : ก้านโยกระบบลาน นับถอยหลังได้ประมาณ 4-12 วินาที
ระบบวัดแสง : Highly sensitive CdS (Cadmium Sulfide) cell (เซลล์ไวแสงที่ใช้กันสมัยนั้น) เป็นคู่อยู่ข้างซ้าย-ขวาช่องมองภาพ
วัดแบบ TTL (Through The Lens) แสดงค่าแสงเป็นเข็มชี้ในช่องมองภาพ ใช้พลังงานจากถ่านในการวัดแสง
แบตเตอรี่ : ใช้ถ่าน Mercury MR9 กำลังไฟ 1.35v (ปัจจุบันไม่มีผลิตแล้วเพราะปรอทอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม)
ASA : คือ ISO ในสมัยนี้ ตั้งได้ตั้งแต่ 25 - 1600
ช่องมองภาพ : สะท้อนภาพจากเลนส์ผ่านกระจกและ pentaprism แสดงผลถึง 97% ของภาพจริง
กำลังขยายที่ 0.92X ณ ระยะอินฟินิตี้ บนเลนส์ระยะ 50mm
โฟกัสซิ่งสกรีน : Microprism / split image สามารถถอดเปลี่ยนได้ มี13แบบให้เลือกใช้
ขนาด : Body 136mm x 83mm x 50mm หนัก 510g
: Body + 50mm f/1.8 136mm x 83mm x 81mm หนัก 680g
[CR] รีวิว กล้องฟิล์ม 35mm SLR Olympus OM-1n พร้อมเทียบภาพกับกล้อง mirrorless รุ่นหลาน
(รีวิว#3 OM-10 https://ppantip.com/topic/36507413)
สวัสดีครับ ขอต้อนรับทุกท่าน ผู้มีใจถวิลหาความคลาสสิค ชอบความสุนทรีย์จากสิ่งของที่ถูกสร้างอย่างปราณีต
จากยุคที่ผู้ผลิตใช้หัวใจเสกสรรชิ้นงาน แข่งขันกันมอบสิ่งที่ดีที่สุดแด่ผู้บริโภค กับยุคที่ทรัพยากรยังมีมากมาย
แต่ข้าวของเครื่องใช้กลับถูกผลิตให้มีความทนทาน บำรุงรักษาง่าย ซื้อครั้งเดียว ใช้กันได้ยันรุ่นลูกรุ่นหลาน
จากความชอบส่วนตัวของผมเอง เมื่อได้ลองหาข้อมูล ได้สัมผัสและลองใช้ ก็ยิ่งอยากแบ่งปันให้ทุกๆท่าน
ได้มาลองทำความรู้จักกับกล้องตัวนี้กันครับ
(กระทู้นี้ผมค้นคว้าข้อมูลจากหลายที่ หากมีจุดใดไม่ถูกต้อง ขอรบกวนช่วยแจ้งหรือเสริมข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยนะครับ)
ก่อนมาสนใจกล้องฟิล์ม ในยุคที่ไม่มีฟิล์มขายในเซเว่นแล้ว ผมเริ่มต้นกับ Olympus Pen E-P3 (ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่)
พร้อมเลนส์ kit 14-42mm f/3.5-4.5 โดยไม่มีความรู้พื้นฐานเรื่องการถ่ายภาพ ซึ่งผมมักมีปัญหากับการถ่ายในที่แสงน้อย
ไม่รูปเบลอเพราะมือสั่น ก็ภาพเป็นวุ้นๆไม่สวย พอเข้ายุค iPhone กล้องตัวนี้จึงถูกดองในตู้เก็บของอยู่หลายปี
กระทั่ง smart phone จอใหญ่ full HD กลายเป็นอวัยวะที่ 33 และคลับกล้องบน facebook เป็นนิทานก่อนนอนของผม
รูปสวยๆและข้อมูลดีๆมากมายกระตุ้นให้ผมอยากถ่ายรูปอีกครั้ง คราวนี้ผมเริ่มมีความเข้าใจ ว่าค่ากล้องแต่ละตัวมันคืออะไร
ต้องการภาพแบบนี้ ต้องปรับค่าแบบไหน และได้รู้ว่าความสามารถและข้อจำกัดของอุปกรณ์เรามีอะไรบ้าง
ปัญหาการถ่ายในที่แสงน้อยกลับมารบกวนอีกครั้ง คราวนี้ผมรู้ว่ามันเกิดจากความเร็วชัตเตอร์ต่ำไป หรือรูรับแสงไม่กว้างพอ
ส่วนการปรับเพิ่ม iso ในกล้องรุ่นนี้กลับทำให้ภาพแย่หนักกว่าเก่า เลนส์ใหม่รูรับแสงกว้างๆ จึงเป็นทางออกของผม
แต่ราคาเลนส์ m4/3 ที่แพงกว่าตัวกล้อง ทำให้ผมมารู้จักกับเลนส์มือหมุน ราคาแสนจะเป็นมิตร ให้คุณภาพเกินราคาไปไกลโข
adapter หลักร้อย กลายเป็นสะพานเชื่อมโลก 2 ยุคเข้าด้วยกัน แถมเป็นการเชื่อมต่อไร้ค่ายไร้พรมแดน ใส่กันได้เกือบทุกแบบและยี่ห้อ
ด้วยตัวผมเป็นคนมี brand loyalty ประมาณนึง จึงลงเอยว่าเอาเลนส์ยี่ห้อเดียวกับกล้องแล้วกัน ไม่แพง หาง่าย ถ่ายสวย
กับเจ้า Olympus OM-System Zuiko 50mm f/1.8 version made in japan เลนส์สว่าง ละลายฉากหลังได้
เจอ crop factor ของกล้อง m4/3 กลายเป็นเหมือนได้ระยะ 100mm ถ่ายคนได้โดดเด่นมีมิติมากๆ
โดยหารู้ไม่ ว่าอักขระอาคม Zuiko บนวัตถุที่อายุมากกว่าผมนี้ จะพาผมถลำลึกไปพาพวกพ้องมันมาเพิ่มในที่สุด
ภาพจาก E-P3 กับ เลนส์ OM ตัวนี้ครับ
กระทู้สร้างแรงบันดาลใจ ถ่ายทอดตำนานความยิ่งใหญ่ยุคหนึ่งของ Olympus
http://m.ppantip.com/topic/34953537
ผมได้รับรู้อย่างภาคภูมิว่า เลนส์ที่ผมใช้อยู่นั้น มันเคยทำหน้าที่บนกล้องที่ถูกออกแบบโดยอัจฉริยะ Mr.Yoshihisa Maitani
แถมอักษร OM นั้นไม่ได้มาเล่นๆ แต่เป็นตัวย่อการันตีความคูลจากคำว่า Olympus Maitani ผู้นี้นี่เอง
ประวัติและข้อมูลกล้องที่เคยสั่นสะเทือนวงการโดยสังเขป
1972 เปิดตัวโดยใช้ชื่อรหัส M-1 เป็นกล้องฟิล์มผู้นำเทรนด์ compact 35mm SLR โดยเป็นกล้องเกรดมืออาชีพ
แต่ถูกออกแบบใหม่หมด ให้มีขนาดเล็กและเบา แต่ประสิทธิภาพการทำงานอัดแน่นและครบครัน
1973 เปลี่ยนชื่อรหัสเป็น OM-1 หลังการเจรจากับ Leica ที่มีกล้องชื่อรหัส M-1 เหมือนกัน
1974 - 1978 เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ขึ้นฟิล์มแบบใส่ถ่าน Motor Drive ใช้ชื่อรหัส OM-1MD
1979 ปรับปรุงและพัฒนาเพิ่มจากเดิมอีก 34 จุด เช่น ก้านขึ้นฟิล์มแบบมน ไม่บาดนิ้ว, รองรับฝาหลัง Recordata Back, ใช้ Hot Shoe4
ที่รองรับ X-sync flash บอกสถานะและการทำงานของแฟลชได้ใน view finder เลย ใช้ชื่อรหัส OM-1n
จากการเป็นปลายสุดของวิวัฒนาการ ทำให้ OM-1n ถือเป็นกล้องที่มีคุณภาพดีที่สุดของซีรี่ย์นี้
ข้อมูลกล้องโดยละเอียด
ระบบ : Olympus OM
ชนิดกล้อง : 35mm Single Lens Reflex with focal plane shutter
ขนาดฟิล์ม : 24mm x 36mm (ฟิล์ม 135 ที่แพร่หลายที่สุดนี่แหละ ม้วนนึงได้ 36 รูป)
เมาท์เลนส์ : Olympus OM
ชัตเตอร์ : ม่านชัตเตอร์ทำจากผ้า วิ่งตามระนาบฟิล์ม ความเร็วมี B, 1, 2, 4, 8, 15, 30, 60, 125, 250, 500, 1,000
ตั้งเวลาถ่าย : ก้านโยกระบบลาน นับถอยหลังได้ประมาณ 4-12 วินาที
ระบบวัดแสง : Highly sensitive CdS (Cadmium Sulfide) cell (เซลล์ไวแสงที่ใช้กันสมัยนั้น) เป็นคู่อยู่ข้างซ้าย-ขวาช่องมองภาพ
วัดแบบ TTL (Through The Lens) แสดงค่าแสงเป็นเข็มชี้ในช่องมองภาพ ใช้พลังงานจากถ่านในการวัดแสง
แบตเตอรี่ : ใช้ถ่าน Mercury MR9 กำลังไฟ 1.35v (ปัจจุบันไม่มีผลิตแล้วเพราะปรอทอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม)
ASA : คือ ISO ในสมัยนี้ ตั้งได้ตั้งแต่ 25 - 1600
ช่องมองภาพ : สะท้อนภาพจากเลนส์ผ่านกระจกและ pentaprism แสดงผลถึง 97% ของภาพจริง
กำลังขยายที่ 0.92X ณ ระยะอินฟินิตี้ บนเลนส์ระยะ 50mm
โฟกัสซิ่งสกรีน : Microprism / split image สามารถถอดเปลี่ยนได้ มี13แบบให้เลือกใช้
ขนาด : Body 136mm x 83mm x 50mm หนัก 510g
: Body + 50mm f/1.8 136mm x 83mm x 81mm หนัก 680g