เเป็นที่แน่ชัดถนัดแจ้งแล้วว่า เกียรติภูมิของประเทศในเวทีระหว่างประเทศมีอิทธิพลต่อความกินดีอยู่ดี ความมั่งคั่งหรือความยากจนของตน
ปีที่แล้ว เมื่อมีข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีของรัสเซียจะมาเยือนประเทศไทย หลายคนตกใจ เพราะกลัวว่าจะถูกกดดันจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก กลัวว่าเราจะโดนจัดอยู่ในกลุ่มเทียร์ 3 โดยกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกาซ้ำอีกปีหนึ่ง และกลัวว่าเราจะโดนอาวุธพิเศษอะไรอีกมากมายหลายอย่าง และเมื่อนายกรัฐมนตรีรัสเซียเดินทางมาเยือนจริงๆ ในเดือนเมษายน 2558 เราก็ถูกแกล้งจากตะวันตกหลายเรื่อง
ไม่กี่วันก่อน ผู้ใหญ่ในรัฐบาลพูดว่าจะซื้อเครื่องบินจากสวีเดน แทนที่สวีเดนจะตีปีกดีใจที่ตนจะขายเครื่องบินได้และมีเงินเข้าประเทศ ทว่ากลับเป็นเรื่องตรงกันข้าม
องค์กรด้านสันติภาพและสนับสนุนการลดอาวุธของสวีเดน (SPAS) ออกมาคัดค้านการขายอาวุธให้กับรัฐบาลไทย ส่วนเรื่องสาเหตุนั้นคงไม่ต้องพูดถึง ทั้งผม ทั้งผู้อ่านท่านที่เคารพก็ทราบเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว
ไม่ทราบว่า หลังจากนี้ไปอีกสักกี่สิบปี เราจึงจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมนานาชาติได้เช่นเดียวกับประเทศอื่น ก้มดูอันดับของเราในสังคมนานาชาติ น้ำหนักเราช่างน้อยด้อยค่าเหลือเกิน หลายประเทศแสดงท่าทีแขยงแขงขนเรา น่าเสียดายว่า เราได้เติบโตจนเคยเป็นประเทศสำคัญในสังคมนานาชาติ เคยเป็นประเทศที่ได้รับการยกย่องว่าได้แสดงบทบาทปกป้องสันติภาพนานาชาติ และมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก ทว่า วันนี้ชื่อเสียงเหล่านั้นหายไปจนไม่มีอีกแล้ว
การรายงานการทบทวนสิทธิมนุษยชนของประเทศกว่า 105 ประเทศตามกลไก
Universal Periodic Review หรือ
UPR ที่นครเจนีวา เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลายประเทศตั้งคำถามต่อรัฐบาลไทยถึงการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน หลายประเทศพูดถึงเราเรื่องคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มาตรา 44 บางประเทศพูดถึงเราในแง่การขยายอำนาจของพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ บางประเทศเรียกร้องให้เรายกเลิกการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร ฯลฯ
นานถึง 4 ชั่วโมงที่นานาประเทศมีข้อใหญ่ใจความด้านลบเมื่อพูดถึงไทย รวมทั้งเสนอแนะแบบสั่งให้ประเทศเราทำโน่นปฏิบัตินี่ ซึ่งเรื่องอย่างนี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยมาก่อน หรือแม้กับประเทศอื่นที่เคยโดน ก็ไม่เคยมีประเทศไหนเคยเสื่อมเกียรติยศมากในระดับนี้
เพราะต้องรักษาเกียรติภูมิในเวทีนานาชาติ ผู้นำและรัฐมนตรีของหลายประเทศจะต้องเข้าคอร์สอบรมการใช้คำพูดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ประเทศในเวทีระหว่างประเทศ เพราะวาทกรรมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น สามารถเพิ่มหรือลดอำนาจให้กับประเทศได้ ท่านเหล่านั้นต้องเรียนรู้กลวิธีการใช้ความสุภาพแบบตรงประเด็น ตั้งแต่การกล่าวถ่อมตน การสัญญา การแสดงความสนใจหรือห่วงใย การใช้คำขวัญ หลายประเทศเป็นห่วงภาพลักษณ์และสถานะของประเทศตัวเองถึงขนาดกำหนดว่า ผู้ที่จะออกไปสู่เวทีนานาชาติจะต้องเรียนรู้ถึงการใช้ความสุภาพแบบไม่ตรงประเด็น การใช้อุปลักษณ์ การโยงความสัมพันธ์ การใช้สหบท การใช้คำพังเพย ฯลฯ
ไทยยับย่อยอัปราชัยในเวทีโลกไปแล้ว ความพ่ายแพ้นี้จะมีผลต่อความมั่งคั่งที่จะเกิดจากการขายสินค้าและบริการและอื่นๆ อีกมากมายหลายอย่าง ทัศนะที่โลกมีต่อประเทศของเราเชิงลบ ทำให้เราถูกแยกออกมาอยู่ในประเทศกลุ่มชั่ว (ดี), ผิด (ถูก), ชอบธรรม (ไม่ชอบธรรม) ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ และผลลัพธ์นี้จะนำหายนะมาสู่คนไทยทั้ง 70 ล้านในอนาคตอันใกล้
ความที่เราไม่ธำรงรักษาสมดุลทางยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศจะทำให้เราต้องเผชิญกับการแทรกแซงรูปแบบใหม่ และภัยคุกคามแบบใหม่ที่เราไม่เคยเจอมาก่อน
ท่านคอยดูเถิด
ผมแปลกใจที่นักการทูตและนักการระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงของไทยหลายท่านแสดงทัศนะ
“ไม่แคร์สังคมโลก” ทั้งที่ท่านผ่านร้อนผ่านหนาวและเดินวนเวียนอยู่ในเวทีระหว่างประเทศมาเกือบทั้งชีวิต ท่านน่าจะตกผลึกในการรักษาความสมดุลและเกียรติภูมิของประเทศ
เสียดายประเทศไทยครับ.
JJNY : คอลัมน์ "เปิดฟ้าส่องโลก"....16 พ.ค.59 "เสียดายประเทศไทย"
ปีที่แล้ว เมื่อมีข่าวลือว่านายกรัฐมนตรีของรัสเซียจะมาเยือนประเทศไทย หลายคนตกใจ เพราะกลัวว่าจะถูกกดดันจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก กลัวว่าเราจะโดนจัดอยู่ในกลุ่มเทียร์ 3 โดยกฎหมายต่อต้านการค้ามนุษย์ของสหรัฐอเมริกาซ้ำอีกปีหนึ่ง และกลัวว่าเราจะโดนอาวุธพิเศษอะไรอีกมากมายหลายอย่าง และเมื่อนายกรัฐมนตรีรัสเซียเดินทางมาเยือนจริงๆ ในเดือนเมษายน 2558 เราก็ถูกแกล้งจากตะวันตกหลายเรื่อง
ไม่กี่วันก่อน ผู้ใหญ่ในรัฐบาลพูดว่าจะซื้อเครื่องบินจากสวีเดน แทนที่สวีเดนจะตีปีกดีใจที่ตนจะขายเครื่องบินได้และมีเงินเข้าประเทศ ทว่ากลับเป็นเรื่องตรงกันข้าม องค์กรด้านสันติภาพและสนับสนุนการลดอาวุธของสวีเดน (SPAS) ออกมาคัดค้านการขายอาวุธให้กับรัฐบาลไทย ส่วนเรื่องสาเหตุนั้นคงไม่ต้องพูดถึง ทั้งผม ทั้งผู้อ่านท่านที่เคารพก็ทราบเรื่องนี้กันดีอยู่แล้ว
ไม่ทราบว่า หลังจากนี้ไปอีกสักกี่สิบปี เราจึงจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมนานาชาติได้เช่นเดียวกับประเทศอื่น ก้มดูอันดับของเราในสังคมนานาชาติ น้ำหนักเราช่างน้อยด้อยค่าเหลือเกิน หลายประเทศแสดงท่าทีแขยงแขงขนเรา น่าเสียดายว่า เราได้เติบโตจนเคยเป็นประเทศสำคัญในสังคมนานาชาติ เคยเป็นประเทศที่ได้รับการยกย่องว่าได้แสดงบทบาทปกป้องสันติภาพนานาชาติ และมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก ทว่า วันนี้ชื่อเสียงเหล่านั้นหายไปจนไม่มีอีกแล้ว
การรายงานการทบทวนสิทธิมนุษยชนของประเทศกว่า 105 ประเทศตามกลไก Universal Periodic Review หรือ UPR ที่นครเจนีวา เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลายประเทศตั้งคำถามต่อรัฐบาลไทยถึงการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน หลายประเทศพูดถึงเราเรื่องคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มาตรา 44 บางประเทศพูดถึงเราในแง่การขยายอำนาจของพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ บางประเทศเรียกร้องให้เรายกเลิกการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร ฯลฯ
นานถึง 4 ชั่วโมงที่นานาประเทศมีข้อใหญ่ใจความด้านลบเมื่อพูดถึงไทย รวมทั้งเสนอแนะแบบสั่งให้ประเทศเราทำโน่นปฏิบัตินี่ ซึ่งเรื่องอย่างนี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับประเทศไทยมาก่อน หรือแม้กับประเทศอื่นที่เคยโดน ก็ไม่เคยมีประเทศไหนเคยเสื่อมเกียรติยศมากในระดับนี้
เพราะต้องรักษาเกียรติภูมิในเวทีนานาชาติ ผู้นำและรัฐมนตรีของหลายประเทศจะต้องเข้าคอร์สอบรมการใช้คำพูดเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ประเทศในเวทีระหว่างประเทศ เพราะวาทกรรมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น สามารถเพิ่มหรือลดอำนาจให้กับประเทศได้ ท่านเหล่านั้นต้องเรียนรู้กลวิธีการใช้ความสุภาพแบบตรงประเด็น ตั้งแต่การกล่าวถ่อมตน การสัญญา การแสดงความสนใจหรือห่วงใย การใช้คำขวัญ หลายประเทศเป็นห่วงภาพลักษณ์และสถานะของประเทศตัวเองถึงขนาดกำหนดว่า ผู้ที่จะออกไปสู่เวทีนานาชาติจะต้องเรียนรู้ถึงการใช้ความสุภาพแบบไม่ตรงประเด็น การใช้อุปลักษณ์ การโยงความสัมพันธ์ การใช้สหบท การใช้คำพังเพย ฯลฯ
ไทยยับย่อยอัปราชัยในเวทีโลกไปแล้ว ความพ่ายแพ้นี้จะมีผลต่อความมั่งคั่งที่จะเกิดจากการขายสินค้าและบริการและอื่นๆ อีกมากมายหลายอย่าง ทัศนะที่โลกมีต่อประเทศของเราเชิงลบ ทำให้เราถูกแยกออกมาอยู่ในประเทศกลุ่มชั่ว (ดี), ผิด (ถูก), ชอบธรรม (ไม่ชอบธรรม) ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ และผลลัพธ์นี้จะนำหายนะมาสู่คนไทยทั้ง 70 ล้านในอนาคตอันใกล้
ความที่เราไม่ธำรงรักษาสมดุลทางยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศจะทำให้เราต้องเผชิญกับการแทรกแซงรูปแบบใหม่ และภัยคุกคามแบบใหม่ที่เราไม่เคยเจอมาก่อน
ท่านคอยดูเถิด
ผมแปลกใจที่นักการทูตและนักการระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงของไทยหลายท่านแสดงทัศนะ “ไม่แคร์สังคมโลก” ทั้งที่ท่านผ่านร้อนผ่านหนาวและเดินวนเวียนอยู่ในเวทีระหว่างประเทศมาเกือบทั้งชีวิต ท่านน่าจะตกผลึกในการรักษาความสมดุลและเกียรติภูมิของประเทศ
เสียดายประเทศไทยครับ.
คุณนิติ นวรัตน์
songlok@outlook.co.th
www.nitipoom.media
www.facebook.com/nitipoom.thailand