อาชีพขอทานนั้นสบายแต่ไร้ค่า
อ.วิทยา วิเศษรัตน์
ในอัลกุรอานมีการเรียกร้องให้ผู้ศรัทธาได้บริจาคทรัพย์สิน โดยไม่มีคำว่า "ให้ขอ"
หลักเกณฑ์ในการบริจาค คือ
- บริจาคสิ่งดีๆที่หามาได้ โดยไม่ใช่รายได้ที่มาจาก การพนัน, การกินดอกเบี้ย, ธุรกิจของสินค้าต้องห้าม, การบริการทางเพศ, การมโหรสพ
- สิ่งที่เกิดจากพื้นดิน คือ พืชที่มีผล, พืชที่มีประโยชน์, พืชที่เป็นสมุนไพร, พืชที่ใช้ประโยชน์จากลำต้น
- ไม่นำสิ่งที่ไร้ประโยชน์มาบริจาค เช่น สิ่งที่ตนเองไม่ต้องการ, สิ่งที่ไม่ดีแต่ทำเป็นมองไม่เห็น, สิ่งที่มีคุณภาพต่ำสุด เช่น อินทผลัมชั้นเลว, สิ่งที่ผิดต่อหลักการของอิสลาม
* * * มารร้าย(ชัยฎอน)จะยั่วยุไม่ให้มนุษย์บริจาค เพราะกลัวความยากจน ให้มีความโลภ ให้ฝ่าฝืนต่อหลักการศาสนา
การบริจาคไม่ว่าจะเปิดเผยหรือปิดบัง มีผลดีทั้งสิ้นหากมุ่งสู่อัลลอฮ์ และเพื่อขจัดทุกข์ยากของคนจนที่คับแค้น และปิดปากเงียบไม่ขอใครง่ายๆ การบริจาคอย่างเปิดเผยโดยไม่คิดโอ้อวด และเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับผู้ที่มีทรัพย์สิน เพื่อจะได้บริจาคบ้างก็ถือว่าเป็นการทำดี ส่วนการบริจาคอย่างปิดบังโดยมือซ้ายไม่รู้ว่ามือขวาบริจาคอะไร เพราะกลัวว่าจะเป็นการโอ้อวดก็ถือว่าเป็นสิ่งดี แต่ไม่ใช่เพราะกลัวว่าจะอายคนอื่น เนื่องจากบริจาคน้อย
คนจนนั้นมีหลายประเภท เช่น จนเพราะเล่นการพนัน จนเพราะฟุ่มเฟือย จนเพราะอยู่กับสารเสพติด คนเหล่านี้ไม่ควรที่จะได้รับการช่วยเหลือจนกว่าจะเลิกพฤติกรรมข้างต้น แต่คนจนที่ควรอย่างยิ่งที่จะได้รับการบริจาค คือ จนเพราะทำงานศาสนา, จนเพราะทำหน้าที่ปกป้องศาสนาอิสลาม และพวกเขามีความพอเพียงในตัวเองไม่แบมือขอใคร จนกระทั่งพวกคนพาลคิดว่าเขาเป็นคนมีทรัพย์
ในเรื่องนี้ท่านรอซูล ได้ให้ข้อคิดเอาไว้ว่า
" การตัดฟืนแบกไปขายที่ตลาด ดีกว่าการขอทาน ไม่ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับ "
แม้ว่าการตัดฟืนจะเป็นอาชีพที่ต่ำ แต่มีค่ากว่าการเดินขอทาน หากขอทานตลอดชีวิตเมื่อฟื้นมาใหม่ในโลกหน้า ใบหน้าของเขาจะไม่มีเนื้อ ซึ่งหมายถึง ความอัปยศ
เมื่อคนทำงานมีความสุข ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่มีความหมาย เพราะการอยู่อย่างพอเพียงจะไม่สทกสะท้านกับวิกฤตเศรษฐกิจของไทย หรือของโลก ตราบใดที่สังคมยังแบ่งชนชั้น แต่ไม่รู้จักแบ่งปัน คนรวยทะลุฟ้าส่วนคนจนทะลุดิน รัฐบาลชุดไหนมาแก้ปัญหาก็ไม่ได้เพราะพกแต่ยาหอมมาให้ประชาชน ชาวบ้านก็กินลูกยอไปวันๆ แล้วมันจะแก้ปัญหาได้อย่างไร
ที่มา : เอกสารข่าว มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย
การขอทานนั้นสบายแต่ไร้ค่าในมุมมองคำสอนศาสนาอิสลาม
อ.วิทยา วิเศษรัตน์
ในอัลกุรอานมีการเรียกร้องให้ผู้ศรัทธาได้บริจาคทรัพย์สิน โดยไม่มีคำว่า "ให้ขอ"
หลักเกณฑ์ในการบริจาค คือ
- บริจาคสิ่งดีๆที่หามาได้ โดยไม่ใช่รายได้ที่มาจาก การพนัน, การกินดอกเบี้ย, ธุรกิจของสินค้าต้องห้าม, การบริการทางเพศ, การมโหรสพ
- สิ่งที่เกิดจากพื้นดิน คือ พืชที่มีผล, พืชที่มีประโยชน์, พืชที่เป็นสมุนไพร, พืชที่ใช้ประโยชน์จากลำต้น
- ไม่นำสิ่งที่ไร้ประโยชน์มาบริจาค เช่น สิ่งที่ตนเองไม่ต้องการ, สิ่งที่ไม่ดีแต่ทำเป็นมองไม่เห็น, สิ่งที่มีคุณภาพต่ำสุด เช่น อินทผลัมชั้นเลว, สิ่งที่ผิดต่อหลักการของอิสลาม
* * * มารร้าย(ชัยฎอน)จะยั่วยุไม่ให้มนุษย์บริจาค เพราะกลัวความยากจน ให้มีความโลภ ให้ฝ่าฝืนต่อหลักการศาสนา
การบริจาคไม่ว่าจะเปิดเผยหรือปิดบัง มีผลดีทั้งสิ้นหากมุ่งสู่อัลลอฮ์ และเพื่อขจัดทุกข์ยากของคนจนที่คับแค้น และปิดปากเงียบไม่ขอใครง่ายๆ การบริจาคอย่างเปิดเผยโดยไม่คิดโอ้อวด และเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับผู้ที่มีทรัพย์สิน เพื่อจะได้บริจาคบ้างก็ถือว่าเป็นการทำดี ส่วนการบริจาคอย่างปิดบังโดยมือซ้ายไม่รู้ว่ามือขวาบริจาคอะไร เพราะกลัวว่าจะเป็นการโอ้อวดก็ถือว่าเป็นสิ่งดี แต่ไม่ใช่เพราะกลัวว่าจะอายคนอื่น เนื่องจากบริจาคน้อย
คนจนนั้นมีหลายประเภท เช่น จนเพราะเล่นการพนัน จนเพราะฟุ่มเฟือย จนเพราะอยู่กับสารเสพติด คนเหล่านี้ไม่ควรที่จะได้รับการช่วยเหลือจนกว่าจะเลิกพฤติกรรมข้างต้น แต่คนจนที่ควรอย่างยิ่งที่จะได้รับการบริจาค คือ จนเพราะทำงานศาสนา, จนเพราะทำหน้าที่ปกป้องศาสนาอิสลาม และพวกเขามีความพอเพียงในตัวเองไม่แบมือขอใคร จนกระทั่งพวกคนพาลคิดว่าเขาเป็นคนมีทรัพย์
ในเรื่องนี้ท่านรอซูล ได้ให้ข้อคิดเอาไว้ว่า
" การตัดฟืนแบกไปขายที่ตลาด ดีกว่าการขอทาน ไม่ว่าจะได้รับหรือไม่ได้รับ "
แม้ว่าการตัดฟืนจะเป็นอาชีพที่ต่ำ แต่มีค่ากว่าการเดินขอทาน หากขอทานตลอดชีวิตเมื่อฟื้นมาใหม่ในโลกหน้า ใบหน้าของเขาจะไม่มีเนื้อ ซึ่งหมายถึง ความอัปยศ
เมื่อคนทำงานมีความสุข ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ก็ไม่มีความหมาย เพราะการอยู่อย่างพอเพียงจะไม่สทกสะท้านกับวิกฤตเศรษฐกิจของไทย หรือของโลก ตราบใดที่สังคมยังแบ่งชนชั้น แต่ไม่รู้จักแบ่งปัน คนรวยทะลุฟ้าส่วนคนจนทะลุดิน รัฐบาลชุดไหนมาแก้ปัญหาก็ไม่ได้เพราะพกแต่ยาหอมมาให้ประชาชน ชาวบ้านก็กินลูกยอไปวันๆ แล้วมันจะแก้ปัญหาได้อย่างไร
ที่มา : เอกสารข่าว มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย