หมู่บ้านปลอดแก๊สปิโตรเลี่ยม 100% ผลิตแก๊สหุงต้มจากมูลสัตว์ แห่งแรกของประเทศไทย
http://www.thairath.co.th/content/617163
ผญบ.หญิง สุโขทัยหัวใส หมักขี้หมูผลิตเป็นไบโอแก๊ส ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ง้อ LPG จ่อเดินท่อแจกจ่ายให้ลูกบ้าน 44 ครัวเรือน ใช้หุงต้ม นำร่องหมู่บ้านปลอดแก๊สปิโตรเลียม 100% แห่งแรกในไทย...
ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่ บ้านเลขที่ 14/3 ม.9 ต.ป่าแฝก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ของนางชมัยภรณ์ ชื่นจิตร อายุ 57 ปี ผู้ใหญ่บ้านหญิง บ้านเสาหิน ม.9 ต.ป่าแฝก อ.กงไกรลาศ หลังทราบว่า ที่บ้านของนางชมัยภรณ์ ติดตั้งถังหมักมูลสัตว์ผลิตไบโอแก๊สเพื่อใช้ในการหุงต้ม แทนการใช้แก๊สปิโตรเลียมหรือแก๊สถัง LPG โดยยึดแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
นอกจากนี้ยังได้เตรียมต่อท่อแจกจ่ายไบโอแก๊สไปให้ลูกบ้านทั้ง 44 หลัง ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อรณรงค์ให้เป็นหมู่บ้านปลอดแก๊สปิโตรเลียม 100% แห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย ได้พบกับนางชมัยภรณ์ ชื่นจิตร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "ผู้ใหญ่มาย" พร้อมด้วย ดร.พิสิษฎ์ มณีโชติ หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการพัฒนาพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อมชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก กำลังตรวจสอบอุปกรณ์ถังหมักแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ ซึ่งติดตั้งไว้บริเวณหลังบ้านมาได้ประมาณ 2 เดือนแล้ว พบว่าสามารถผลิตไบโอแก๊ส เพื่อใช้ในการหุงต้มได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพดี ไฟแรง ไม่มีกลิ่น แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย
นางชมัยภรณ์ เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ลูกบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่มีอาชีพเลี้ยงหมู มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องกลิ่นเหม็นของขี้หมูและของเสียจากฟาร์มเลี้ยง จนถึงขั้นมีการร้องเรียนเกิดขึ้น ตนในฐานะผู้นำชุมชนจึงนำปัญหาดังกล่าวไปปรึกษากับโครงการหมู่บ้านบริหารจัดการด้านพลังงานทดแทนในฟาร์มเลี้ยงสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน กระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี และ สำนักงานพลังงาน จ.สุโขทัย ซึ่งได้แนะนำให้นำขี้หมูที่เป็นปัญหาเหล่านี้ไปทดลองหมักเพื่อผลิตไบโอแก๊สหรือแก๊สชีวภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
"ขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก เพียงใช้มูลสัตว์ที่หาได้ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น สุกร วัว ควาย หรือเศษอาหารที่เหลือทิ้ง หมักในถังหมักใช้เวลาประมาณ 3-4 อาทิตย์ ก็สามารถผลิตไบโอแก๊ส ต่อท่อมาใช้สำหรับหุงต้ม ทดแทนการใช้แก๊สปิโตรเลียมหรือแก๊สถัง LPG ได้ นับว่าเป็นการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง สามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ หลังจากตนได้ทดลองทำดูเห็นว่ามีประโยชน์ จึงเรียกประชุมลูกบ้านทั้งหมดจำนวน 44 หลังคาเรือน เพื่อรณรงค์ให้หันมาใช้ไบโอแก๊สแทน ขณะนี้ได้เดินท่อจากบ่อหมักหลังบ้านของตนไปยังลูกบ้านทุกหลังแล้ว ซึ่งจะถือว่าเป็นหมู่บ้านปลอดแก๊สปิโตรเลียม หรือแก๊สถัง LPG 100% แห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย" นางชมัยภรณ์ กล่าว
ด้าน ดร.พิสิษฎ์ มณีโชติ ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวเสริมว่า การผลิตแก๊สจากมูลสัตว์ประเภทนี้ เรียกว่า ระบบฝาครอบลอย แก๊สที่ผลิตได้เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด หากมีการเติมมูลสัตว์, เศษอาหารหรือขยะชุมชนที่ย่อยสลายได้ลงไปในบ่อหมักเป็นประจำ ขณะนี้ มีหลายหน่วยงานให้ความสนใจและเตรียมต่อยอดขยายโครงการผลิตแก๊สจากมูลสัตว์ไปยังหมู่บ้านข้างเคียงแล้ว
อย่างไรก็ตาม ถังหมักมูลสุกรเพื่อผลิตไบโอแก๊ส ใช้หุงต้มในครัวเรือน เตรียมเดินท่อแก๊สแจกจ่ายให้กับลูกบ้านทั้ง 44 ครัวเรือน รณรงค์ให้เป็นหมู่บ้านปลอดแก๊สปิโตรเลียมหรือแก๊สถัง LPG 100% แห่งแรกของประเทศไทย.
หมู่บ้านปลอดแก๊สปิโตรเลี่ยม 100% ผลิตแก๊สหุงต้มจากมูลสัตว์ แห่งแรกของประเทศไทย @ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย
http://www.thairath.co.th/content/617163
ผญบ.หญิง สุโขทัยหัวใส หมักขี้หมูผลิตเป็นไบโอแก๊ส ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ง้อ LPG จ่อเดินท่อแจกจ่ายให้ลูกบ้าน 44 ครัวเรือน ใช้หุงต้ม นำร่องหมู่บ้านปลอดแก๊สปิโตรเลียม 100% แห่งแรกในไทย...
ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่ บ้านเลขที่ 14/3 ม.9 ต.ป่าแฝก อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ของนางชมัยภรณ์ ชื่นจิตร อายุ 57 ปี ผู้ใหญ่บ้านหญิง บ้านเสาหิน ม.9 ต.ป่าแฝก อ.กงไกรลาศ หลังทราบว่า ที่บ้านของนางชมัยภรณ์ ติดตั้งถังหมักมูลสัตว์ผลิตไบโอแก๊สเพื่อใช้ในการหุงต้ม แทนการใช้แก๊สปิโตรเลียมหรือแก๊สถัง LPG โดยยึดแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
นอกจากนี้ยังได้เตรียมต่อท่อแจกจ่ายไบโอแก๊สไปให้ลูกบ้านทั้ง 44 หลัง ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อรณรงค์ให้เป็นหมู่บ้านปลอดแก๊สปิโตรเลียม 100% แห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย ได้พบกับนางชมัยภรณ์ ชื่นจิตร หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "ผู้ใหญ่มาย" พร้อมด้วย ดร.พิสิษฎ์ มณีโชติ หัวหน้าที่ปรึกษาโครงการพัฒนาพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อมชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก กำลังตรวจสอบอุปกรณ์ถังหมักแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ ซึ่งติดตั้งไว้บริเวณหลังบ้านมาได้ประมาณ 2 เดือนแล้ว พบว่าสามารถผลิตไบโอแก๊ส เพื่อใช้ในการหุงต้มได้อย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพดี ไฟแรง ไม่มีกลิ่น แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย
นางชมัยภรณ์ เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ลูกบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่มีอาชีพเลี้ยงหมู มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องกลิ่นเหม็นของขี้หมูและของเสียจากฟาร์มเลี้ยง จนถึงขั้นมีการร้องเรียนเกิดขึ้น ตนในฐานะผู้นำชุมชนจึงนำปัญหาดังกล่าวไปปรึกษากับโครงการหมู่บ้านบริหารจัดการด้านพลังงานทดแทนในฟาร์มเลี้ยงสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน กระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี และ สำนักงานพลังงาน จ.สุโขทัย ซึ่งได้แนะนำให้นำขี้หมูที่เป็นปัญหาเหล่านี้ไปทดลองหมักเพื่อผลิตไบโอแก๊สหรือแก๊สชีวภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
"ขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก เพียงใช้มูลสัตว์ที่หาได้ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น สุกร วัว ควาย หรือเศษอาหารที่เหลือทิ้ง หมักในถังหมักใช้เวลาประมาณ 3-4 อาทิตย์ ก็สามารถผลิตไบโอแก๊ส ต่อท่อมาใช้สำหรับหุงต้ม ทดแทนการใช้แก๊สปิโตรเลียมหรือแก๊สถัง LPG ได้ นับว่าเป็นการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง สามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ หลังจากตนได้ทดลองทำดูเห็นว่ามีประโยชน์ จึงเรียกประชุมลูกบ้านทั้งหมดจำนวน 44 หลังคาเรือน เพื่อรณรงค์ให้หันมาใช้ไบโอแก๊สแทน ขณะนี้ได้เดินท่อจากบ่อหมักหลังบ้านของตนไปยังลูกบ้านทุกหลังแล้ว ซึ่งจะถือว่าเป็นหมู่บ้านปลอดแก๊สปิโตรเลียม หรือแก๊สถัง LPG 100% แห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วย" นางชมัยภรณ์ กล่าว
ด้าน ดร.พิสิษฎ์ มณีโชติ ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวเสริมว่า การผลิตแก๊สจากมูลสัตว์ประเภทนี้ เรียกว่า ระบบฝาครอบลอย แก๊สที่ผลิตได้เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด หากมีการเติมมูลสัตว์, เศษอาหารหรือขยะชุมชนที่ย่อยสลายได้ลงไปในบ่อหมักเป็นประจำ ขณะนี้ มีหลายหน่วยงานให้ความสนใจและเตรียมต่อยอดขยายโครงการผลิตแก๊สจากมูลสัตว์ไปยังหมู่บ้านข้างเคียงแล้ว
อย่างไรก็ตาม ถังหมักมูลสุกรเพื่อผลิตไบโอแก๊ส ใช้หุงต้มในครัวเรือน เตรียมเดินท่อแก๊สแจกจ่ายให้กับลูกบ้านทั้ง 44 ครัวเรือน รณรงค์ให้เป็นหมู่บ้านปลอดแก๊สปิโตรเลียมหรือแก๊สถัง LPG 100% แห่งแรกของประเทศไทย.