การที่คนญี่ปุ่นพยายามรักษาความกลมเกลียวในหมู่คณะด้วยการไม่พูดความจริงในใจเราเรียกว่า"ปากไม่ตรงกับใจ"ได้ไหม

กระทู้คำถาม
จากที่เคยเรียนภาษาญี่ปุนเซนเซย์ บอกว่าคนญี่ปุ่น ถ้าพูดอะไรออกไปแล้วเป็นการทำลายความสามัคคีหรือความกลมเกลียวในหมู่คณะแล้ว พวกเขาก็จะหลีกเลี่ยงคำพูดเหล่านั้น

ถ้าจำไม่ผิดจะมีมีคำว่า "ฮนเนะ" ซึ่งแปลว่า ความจริงในใจ ซึ่งคำพูดเหล่านี้เขาจะเก็บเอาไว้ไม่พูดออกไปจะพูดเฉพาะกับคนที่สนิทจริงๆ

โดยส่วนตัวมองว่า เป็นสิ่งที่ดีนั้นคือ "การคิดก่อนพูด" แต่ การที่พูดไม่ตรงสิ่งที่เราคิดแบบนี้ภาษาไทยเรียกว่า "ปากไม่ตรงกับใจ" หรือจะพูดให้แรงกว่านั้นคือ "หน้าไหว้หลังหลอก" "ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก" ได้ไหมครับ

ที่คิดอย่างนี้เพราะเคยได้ยินมาว่า คนญี่ปุ่นบางคน ต่อหน้าเราพูดดี ชมตลอด เพราะไม่อยากเราให้เสียหน้าหรือทำลายความสามัคคี แต่ลับหลังนินทากระจาย บางคนซ้ำร้ายกว่านั้นคือ "กลั่นแกล้ง" ให้เกิดความเสียหายต่องานในหน้าที่การงานหรือแม้แต่การใช้ชีวิตประจำวันได้

ความจริงผมก็ไม่ได้อยากจะโทษหรือว่าคนญี่ปุ่นเพราะสภาพแวดล้อมมันบังคับให้เป็นไป เหมือนคนไทยที่ไม่ค่อยเตรียมพร้อมกับเรื่องภัยธรรมชาติเพราะบ้านเรามีน้อยและไม่รุนแรงเท่าญี่ปุ่นแต่ถ้าเราใช้คำพูดที่ผมกล่าวมาข้างต้นนั้นถือเป็นการอธิบายลักษณะของคนญี่ปุ่น(ด้านหนึ่ง)ได้หรือไม่ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่