เพิ่งเห็นกระทู้เกี่ยวกับวรรณคดีไทยมา ก็เลยอยากมาอธิบายนิดนึงว่าทำไมเราถึงต้องเรียนวรรณคดีไทยกันตั้งแต่เล็กจนโต
1) ตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คือ เราเป็นคนไทย เราต้องรู้จักสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของตัวเอง
แต่ข้อที่อยากให้ทุกคนนึกถึงมากๆ คือข้อ 2) ค่ะ
2) หลักสูตรการศึกษาภาคบังคับมีเนื้อหาจากทุกวิชามาให้เราได้เรียนกัน ทั้งคณิต วิทย์ ภาษา สังคม ทักษะการงานอาชีพ เช่น งานบ้าน งานเกษตร งานประดิษฐ์ และอื่นๆ เมื่อได้ลองสัมผัสเนื้อหาเหล่านี้จนเกิดความเข้าใจว่าแต่ละสาขาเรียนอะไรกันบ้างแล้ว เราก็จะสามารถตัดสินใจได้ว่าเราอยากจะรู้ลึก รู้จริงในด้านไหน แล้วเราก็จะสามารถเลือกสายเรียนได้เหมาะสมกับตัวเองในช่วงม.ปลาย และสามารถเลือกคณะที่เหมาะกับเราได้ในตอนเอนทรานซ์
ที่เรียนมาทั้งหมดนี้ เราคงไม่ได้ใช้ทุกเนื้อหาในการดำรงชีวิตหรอกค่ะ ตัวจขกท.เองก็เห็นพาราโบลาครั้งสุดท้ายตอนม.3 ปักครอสสติชครั้งสุดท้ายตอนป.6 ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งสุดท้ายตอนม.3... ถามว่าเสียใจมั้ยที่เสียเวลาชีวิตเป็น 10 ปีไปกับการเรียนสิ่งที่ไม่ได้ใช้ ก็ไม่นะ เพราะมันทำให้เรารู้ว่า "อะไรที่ไม่ใช่เรา"
ตัวจขกท.เองเรียนสายศิลป์ จบเอกภาษาไทย ได้ใช้ความรู้วรรณคดีที่เรียนมาตั้งแต่ประถมอย่างเต็มที่ ส่วนเพื่อนบางคนเป็นหมอ เป็นวิศวะ เค้าก็ใช้ความรู้ คณิต วิทย์ที่เรียนมาตั้งแต่ประถมจนคุ้ม เพื่อนที่เรียนสายอาชีพ เค้าก็ได้ใช้ความรู้เรื่องเย็บปักถักร้อย ทำอาหาร หรืองานช่างที่ได้เรียนมาตั้งแต่ประถมเต็มที่เหมือนกัน...
การที่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากบางวิชา ไม่ได้หมายความว่าวิชานั้นไม่มีประโยชน์สำหรับใครเลย ถ้าตัดบางวิชาออกไป บางคนอาจเสียโอกาสที่จะได้รู้จักตัวเองตั้งแต่ยังเด็กนะคะ
เรียนวรรณคดีไทยกันไปทำไม
1) ตอบแบบกำปั้นทุบดินก็คือ เราเป็นคนไทย เราต้องรู้จักสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของตัวเอง
แต่ข้อที่อยากให้ทุกคนนึกถึงมากๆ คือข้อ 2) ค่ะ
2) หลักสูตรการศึกษาภาคบังคับมีเนื้อหาจากทุกวิชามาให้เราได้เรียนกัน ทั้งคณิต วิทย์ ภาษา สังคม ทักษะการงานอาชีพ เช่น งานบ้าน งานเกษตร งานประดิษฐ์ และอื่นๆ เมื่อได้ลองสัมผัสเนื้อหาเหล่านี้จนเกิดความเข้าใจว่าแต่ละสาขาเรียนอะไรกันบ้างแล้ว เราก็จะสามารถตัดสินใจได้ว่าเราอยากจะรู้ลึก รู้จริงในด้านไหน แล้วเราก็จะสามารถเลือกสายเรียนได้เหมาะสมกับตัวเองในช่วงม.ปลาย และสามารถเลือกคณะที่เหมาะกับเราได้ในตอนเอนทรานซ์
ที่เรียนมาทั้งหมดนี้ เราคงไม่ได้ใช้ทุกเนื้อหาในการดำรงชีวิตหรอกค่ะ ตัวจขกท.เองก็เห็นพาราโบลาครั้งสุดท้ายตอนม.3 ปักครอสสติชครั้งสุดท้ายตอนป.6 ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ครั้งสุดท้ายตอนม.3... ถามว่าเสียใจมั้ยที่เสียเวลาชีวิตเป็น 10 ปีไปกับการเรียนสิ่งที่ไม่ได้ใช้ ก็ไม่นะ เพราะมันทำให้เรารู้ว่า "อะไรที่ไม่ใช่เรา"
ตัวจขกท.เองเรียนสายศิลป์ จบเอกภาษาไทย ได้ใช้ความรู้วรรณคดีที่เรียนมาตั้งแต่ประถมอย่างเต็มที่ ส่วนเพื่อนบางคนเป็นหมอ เป็นวิศวะ เค้าก็ใช้ความรู้ คณิต วิทย์ที่เรียนมาตั้งแต่ประถมจนคุ้ม เพื่อนที่เรียนสายอาชีพ เค้าก็ได้ใช้ความรู้เรื่องเย็บปักถักร้อย ทำอาหาร หรืองานช่างที่ได้เรียนมาตั้งแต่ประถมเต็มที่เหมือนกัน...
การที่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากบางวิชา ไม่ได้หมายความว่าวิชานั้นไม่มีประโยชน์สำหรับใครเลย ถ้าตัดบางวิชาออกไป บางคนอาจเสียโอกาสที่จะได้รู้จักตัวเองตั้งแต่ยังเด็กนะคะ