เชื่อมั่นในศาลยุติธรรมแต่ถูกผู้พิพากษากลั่นแกล้งทำอย่างไรดีครับ?

ผมซื้อคอนโดย่านลาดพร้าวเมื่อต้นปี 2553 หลังจากตกแต่งเสร็จก็ปล่อยให้เช่าในราคา 19,000 บาทต่อเดือน ไม่นานประมาณ 3 เดือนก็มีน้องนักศึกษามาเช่าโดยมีค่ามัดจำ 2 เดือน แต่พอครบกำหนดสัญญา 1 ปีและคืนห้องนัดตรวจห้องด้วยกันผลปรากฎว่าเฟอร์นิเจอร์เสียหายจำนวนมากเพราะผู้เช่านำสุนัขเข้ามาเลี้ยงและปล่อยให้ปัสสาวะตามพื้นและโซฟารวมทั้งกัดเฟอร์นิเจอร์เสียหาย ผมก็เลยตัดสินใจไม่คืนเงินประกันแต่ฝ่ายผู้เช่าไม่ยอมและเรียกแฟนที่เป็นผู้พิพากษามาแต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ พร้อมทิ้งท้ายว่าเก็บเงินไว้แล้วไปเจอกันที่ศาลซึ่งวันนั้นผมก็ได้ดำเนินการถ่ายรูปพร้อมทั้งนำเจ้าหน้าที่นิติบุคคลขึ้นมาตรวจสอบด้วยกันด้วย
  แต่หลังจากผู้เช่าและแฟนออกไปประมาณ 1 ชม. เจ้าหน้าที่นิติได้โทรศัพท์หาผมว่ามีผู้พิพากษาอาวุโสมาพบพร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจสัญญาบัตรในเครื่องแบบอีก 2 ท่านซึ่งผมก็ไปพบโดยท่านแจ้งว่าขอโทษแทนน้องท่านด้วยเพราะเค้าอารมณ์ร้อนท่านขอมาดูความเสียหายถ้าเสียหายจริงท่านจะชำระแทนน้องท่านเอง ผมก็ตอบตกลงและพาท่านขึ้นไปดูแต่ปฏิเสธไม่ให้ตำรวจขึ้นเพราะผมรู้สึกถูกคุกคาม โดยหลังจากที่ท่านดูแล้วยอมรับว่าความเสียหายเกิดจากสุนัขจริงและความเสียหายน่าจะมากกว่าเงินประกันเสียด้วยซ้ำแต่เรื่องที่จะชำระแทนบ่ายเบี่ยงอ้างว่าจะผิดใจกับรุ่นน้องขอเวลา 3 วันจะให้คำตอบแต่สุดท้ายก็เงียบไปโดยเหตุการ์ณทั้งหมดเกิดตั้งแต่เดือน มิ.ย 54
  หลังจากนั้นผ่านไป 1 สัปดาห์เจ้าหน้าที่นิติแจ้งว่าผู้เช่าไปแจ้งความว่าคืนห้องแต่เจ้าของไม่คืนเงิน ผมก็เลยไปลงบันทึกไว้เหมือนกันว่าได้รับห้องคืนพร้อมความเสียหายจึงไม่คืนเงินประกันหลังจากนั้นอีกประมาณ 1 เดือนก็มีหมายศาลมาเพื่อให้ไปขึ้นศาลคดีฟ้องร้องเอาเงินประกันคืนพร้อมค่าทนายมูลค่า 58,000 บาทโดยผมกับภรรยาก็ไปขึ้นเบิกความด้วยตัวเองทุกครั้งในขณะที่ผู้เช่าไม่เคยไปอาศัยแต่งตั้งทนายมา แต่ด้วยความที่เชื่อมั่นในระบบของศาลยุติธรรมดังนั้นก็เลยต้องตั้งทนายในการเข้าสู้ชี้แจงด้วยข้อเท็จจริงเพราะผมกับภรรยาไม่มีความรู้ด้านกฏหมาย ซึ่งจากข้อเท็จจริงส่งผลให้ชนะทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาได้ โดยตอนแรกก็โล่งอกแล้วเพราะคิดว่าน่าจะจบแล้วโดยศาลอุทรณ์ตัดสินตั้งแต่กลางเดือน กพ.60 ซึ่งจากการถามทนายว่าเค้ามีสิทธ์สู้ฏีกาได้หรือไม่?ทนายก็บอกยากเพราะมูลหนี้น้อย แต่ถ้าให้ผู้พิพากษาท่านอื่นเซ็นต์รับรองว่ามีปัญหาทางข้อกฏหมายก็จะสามารถยื่นฎีกาได้ สุดท้ายตอนนี้ก็มีหมายศาลฎีกาออกมาแล้วเมื่อต้นเดือน พค.60
  สิ่งที่ผมอยากบอกคือผมก็ยังเชื่อมั่นในระบบศาลยุติธรรมที่ยังจะมีความถูกต้องให้กับประชาชนธรรมดาได้ แต่เป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่ที่คดีที่ไม่มีความสลับซับซ้อนอะไรและข้อเท็จจริงชัดเจนถึงต้องมารกศาลฎีกาแบบนี้??หรือต้องการให้ผมและภรรยาลำบาก แต่ผมก็คุยกับภรรยาว่าเราจะทำให้เป็นบรรทัดฐานไม่ยอมให้กับคำขู่ของผู้ที่รู้และเชี่ยวชาญกฎหมาย แต่ถ้าคิดในอีกมุมนึงถ้าเกิดกับคนที่ไม่อยากมีปัญหาด้านผู้เช่าก็จะทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้และเหตุที่เพิ่งมาลงเหตุการ์ณครั้งนี้ก็อยาก
ให้เป็นอุทธาหรณ์ของทั้งผู้เช่าและให้เช่าพร้อมทั้งผมยังเชื่อมั่นว่าทุกองค์กรมีทั้งคนดีและคนไม่ดี แต่ทำอย่างไรจะส่งเสริมให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  สุดท้ายนี้ขอคำชี้แนะด้วยครับว่าผมกับภรรยาควรจะต้องทำอย่างไรต่อครับ เช่นต้องส่งหนังสือขอความเป็นธรรมถึงใครหรือไม่ครับ ส่วนทางคดีก็คงจะสู้ฏีกากันต่อไปครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
อันดับแรก อยากให้แก้ พ.ศ. ให้ถูกต้องหน่อยครับ

อันดับสอง " แต่ถ้าให้ผู้พิพากษาท่านอื่นเซ็นต์รับรองว่ามีปัญหาทางข้อกฏหมายก็จะสามารถยื่นฎีกาได้ สุดท้ายตอนนี้ก็มีหมายศาลฎีกาออกมาแล้วเมื่อต้นเดือน พค.60  "  น่าจะคลาดเคลื่อนไปจากหลักกฎหมายนะครับ  เพราะจริง ๆ ต้องเป็นปัญหาข้อเท็จจริง(มิใช่ข้อกฏหมาย)ที่คู่ความประสงค์จะอุทธรณ์หรือฏีกาเท่านั้นที่ต้องให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีทําความเห็นแย้งหรือได้มีการว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้หรือถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคํารับรอง ก็ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาเป็นหนังสือ  อ้าง ปพพ มาตรา 224 วรรค 1และ 248 วรรค 1 (ปัจจุบันได้มีการยกเลิกมาตรานี้ไปแล้ว)

อันดับสาม "  สุดท้ายตอนนี้ก็มีหมายศาลฎีกาออกมาแล้วเมื่อต้นเดือน พค.60 . อ่านแล้วไม่เข้าใจครับ

อันดับสี่ " แต่ด้วยความที่เชื่อมั่นในระบบของศาลยุติธรรมดังนั้นก็เลยต้องตั้งทนายในการเข้าสู้ชี้แจงด้วยข้อเท็จจริง "
เมื่อคุณตั้งทนายความสู้คดีแล้ว คุณควรจะสอบถามไปยังทนายความคุณจะดีกว่าครับ
และทนายความคุณก็น่าจะอธิบายคุณพร้อมทั้งชี้แนะได้ครับ/ทนายอภิสิทธิ์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่