ช่วงนี้ได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายในมาสร้างความได้เปรียบในการซื้อขายหุ้น (Insider Trading) กันอย่างหนาหู หากติดตามข่าวคราวอย่างใกล้ชิด จะทราบว่าผู้ที่รู้ข้อมูลลึกกว่าและเร็วกว่าคนอื่น ก็คือผู้บริหารระดับสูงและกรรมการของบริษัทนั้นๆ นั่นเอง
การที่บุคคลเหล่านี้ ฉกฉวยโอกาสทำประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้องก่อนนักลงทุนทั่วไป ถือเป็นการเอาเปรียบอย่างตั้งใจที่ไร้มายาทโดยสิ้นเชิง เฉพาะอย่างยิ่งหากองค์กรหรือบริษัทเหล่านั้นจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่สามารถทำธุรกรรมซื้อขายหุ้นได้อย่างเสรี ไม่ว่าในประเทศไทยหรือต่างประเทศด้วยแล้ว ยิ่งเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้เลยทีเดียว
แต่ประเด็นปัญหาน่าสนใจอยู่ที่หากการกระทำนั้นๆ เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ เข้าข่าย “บกพร่องโดยสุจริต” จะถือว่าผิดด้วยไหม
ถ้าอธิบายแบบเถือกๆ ไถ่ๆ ไป ในเมื่อกฎหมายไม่สามารถเอาผิดได้ ก็ต้องถือว่า “บริสุทธิ์” แต่หากมองในมุมของจรรยาบรรณและจริยธรรม แม้สิ่งที่ทำไม่ผิดแต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่ควรทำ (It is correct but not right)
ยกตัวอย่างกรณีกรรมการบริษัทจดทะเบียนท่านหนึ่ง ถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับเป็นเงินจำนวน 500,000 บาท เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โทษฐานเปิดเผยข้อมูลภายในเพื่อให้บุคคลอื่นซื้อหุ้นของบริษัทที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารขององค์กร
แม้เจ้าตัวจะออกมาชี้แจงว่าไม่มีเจตนาเปิดเผยข้อมูลอินไซด์ดังกล่าว แต่เมื่อเรื่องเกิดขึ้นท่านก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้
แม้การเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 500,000 บาท อาจไม่มากมายนักสำหรับนักธุรกิจระดับนี้ แต่การได้รับโทษห้ามปฏิบัติหน้าที่กรรมการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัยพ์เป็นเวลา 3 ปีและไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในตลาดทุนได้ เป็นสิ่งที่หนักหนาสาหัสสำหรับท่านอย่างแน่นอน
เรื่องทำนองนี้ไม่ได้มีแค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นในเกือบทุกประเทศทั่วโลก ยกตัวอย่างอีกเหตุการณ์หนึ่งในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 3 ที่แล้วซึ่งมีคนไทยเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย โดยศาลสหรัฐฯ สั่งอายัดทรัพย์นักค้าหุ้นชาวไทยในความผิดฐานใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้นเพื่อประโยชน์ของตนเอง (Insider Trading) ฟันกำไรไปกว่า 90 ล้านบาท
เรื่องมีอยู่ว่า นักลงทุนรายนี้รับรู้ข้อมูลล่วงหน้าเกี่ยวกับบริษัทผู้ผลิตเนื้อรายใหญ่ที่สุดของจีน ชื่อชวงฮุย อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์ ซึ่งกำลังจะทำการเข้าซื้อกิจการบริษัท สมิธฟิลด์ ฟูดส์อิงค์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับรู้ข้อมูลวงในผ่านทางเฟสบุ๊ค จากอดีตเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งซึ่งผันตัวเองมาทำงานด้านวาณิชธนกิจและขณะนั้นเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรหนึ่งที่เข้าร่วมประมูลการซื้อกิจการ บริษัทสมิธฟิลด์ ฟูดส์อิงค์ ด้วยเช่นกัน
เหตุการณ์แบบนี้มีให้เห็นเป็นประจำ บางทีก็จับได้เพราะหลักฐานชัดเจน บางกรณีก็หลุดรอดไปเพราะหาหลักฐานชัดๆ มามัดตัวไม่ได้ ยกตัวอย่างอีกสักเรื่องที่เคยได้ยินจากเพื่อนสนิทซึ่งเป็นนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เล่าให้ฟังว่าซื้อหุ้นตัวหนึ่งเพราะแอบได้ยินผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวคุยกันเกี่ยวกับเรื่องลับๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหุ้น ที่ร้านกาแฟในตึกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์กรแห่งนี้นั่นเอง
เพื่อนเล่าว่าหลังจากพยายามเงี่ยหูฟังอยู่พักใหญ่ พอจับใจความได้ว่าเรื่องราวที่ได้ยินจะเป็นผลดีต่อราคาหุ้นอย่างแน่นอน จึงตัดสินใจเก็งกำไรหุ้นบริษัทดังกล่าวชนิดเต็มปอด
ไม่กี่วันให้หลัง บริษัทออกข่าวแจ้งข้อมูลต่อสาธารณชนชนิดไม่ผิดเพี้ยนไปจากที่เพื่อนแอบได้ยินมา ปรากฏว่าราคาหุ้นของบริษัทนั้นพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องตามที่คาดไว้ เพื่อนผมฟาดกำไรไปมหาศาลจากความสอดรู้สอดเห็นของเขาและความประมาทเลินเล่อของผู้บริหารบริษัทดังกล่าว
ถามว่าผู้บริหารที่คุยกันในร้านกาแฟเมื่อวันก่อน มีความผิดไหม ?
ถ้าว่ากันด้วยเรื่องเจตนา คงไม่ผิดเพราะไม่ได้ตั้งใจที่จะกระจายข่าวให้ใครได้หรือเสียประโยชน์ แต่ความพลั้งเผลอที่นำความลับของบริษัทมาพูดในที่สาธารณะ ย่อมเป็นความผิดที่ไม่ควรอ้างว่า
“บกพร่องโดยสุจริต”
แต่เรื่องทำนองนี้ หลักฐานมีน้อย ที่สำคัญคนได้ประโยชน์อย่างเพื่อนผม คงไม่ “แกว่งเท้าหาเสี่ยน” ด้วยการกล่าวโทษหรือร้องเรียนผู้บริหาร 3-4 ท่านนั้นที่เผอิญมานั่งคุยกันให้ได้ยินเป็นแน่แท้ เลยกลายเป็นความเฮงของผู้ที่ได้รับประโยชน์และเป็นความซวยของผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ที่เสียประโยชน์ ไปซะฉิบ
หากกรรมการและผู้บริหารของบริษัทนั้น ทราบว่าการกระทำของตนหรือบุคลากรระดับสูงในองค์กร ได้ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกับคนบางกลุ่ม คิดว่าคำตอบสำหรับเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
ข้อ ก. ผู้บริหารทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ออกมาขอโทษแม้ไม่ได้ตั้งใจและพร้อมใจกันลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ หรือ
ข้อ ข. ผู้บริหารทั้งหมดรวมทั้งกรรมการของบริษัท ออกมาชี้แจ้งว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำที่มิได้มีเจตนาเปิดเผยข้อมูลและเรียกร้องให้หาหลักฐานเพิ่ม
เติมมาพิสูจน์ว่าข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องจริง แต่ในระหว่างนี้จะขอปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยรับปากว่าจะเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น
คงไม่ต้องเฉลยว่าองค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะเลือกตอบข้อใด
เมื่อวันก่อนผมไปร่วมประชุม AGM ของบริษัท CPALL เพราะอยากฟังคำชี้แจงของกรรมการบริษัทกรณีมีผู้บริหารถูกกล่าวโทษโดย กลต. จนเป็นประเด็นร้อนข่าวฮิตเมื่อเร็วๆ นี้
ในการประชุมวันนั้นกรรมการท่านหนึ่งชี้แจงว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะการรู้เท่าไม่ถึงการณ์และอยากให้โอกาสคนทำงานดีเพราะเป็นวัฒนธรรมขององค์กร
ผมคิดว่าปัญหาเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณ คงไม่สามารถแก้ไขได้ หากว่ากันตามตัวบทกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ขาดจิตสำนึกในการรู้ผิดชอบชั่วดี
สาเหตุที่ทำให้ปัญหาเรื่องความโปร่งใสและหลักธรรมาภิบาลของประเทศไทยไม่คืบหน้าไปไหน เพราะสังคมเรามีพวกศรีธนญชัยที่คอยยึดกฎเกณฑ์ที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเกราะป้องกันตัว ตีความเข้าข้างตัวเองแบบข้างๆ คูๆ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับความพยายามที่จะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในอดีตที่ผ่านมา โดยผู้มีอำนาจเรียกหาใบเสร็จรับเงินใต้โต๊ะ เพื่อจะจัดการกับผู้ที่ถูกครหา
เลยไม่เวิร์คไง !
รู้ก่อน ห้าม รวยกว่า ... ปัญหาจรรยาบรรณของผู้บริหารในองค์กร
การที่บุคคลเหล่านี้ ฉกฉวยโอกาสทำประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้องก่อนนักลงทุนทั่วไป ถือเป็นการเอาเปรียบอย่างตั้งใจที่ไร้มายาทโดยสิ้นเชิง เฉพาะอย่างยิ่งหากองค์กรหรือบริษัทเหล่านั้นจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่สามารถทำธุรกรรมซื้อขายหุ้นได้อย่างเสรี ไม่ว่าในประเทศไทยหรือต่างประเทศด้วยแล้ว ยิ่งเป็นพฤติกรรมที่ยอมรับไม่ได้เลยทีเดียว
แต่ประเด็นปัญหาน่าสนใจอยู่ที่หากการกระทำนั้นๆ เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ เข้าข่าย “บกพร่องโดยสุจริต” จะถือว่าผิดด้วยไหม
ถ้าอธิบายแบบเถือกๆ ไถ่ๆ ไป ในเมื่อกฎหมายไม่สามารถเอาผิดได้ ก็ต้องถือว่า “บริสุทธิ์” แต่หากมองในมุมของจรรยาบรรณและจริยธรรม แม้สิ่งที่ทำไม่ผิดแต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่ควรทำ (It is correct but not right)
ยกตัวอย่างกรณีกรรมการบริษัทจดทะเบียนท่านหนึ่ง ถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับเป็นเงินจำนวน 500,000 บาท เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โทษฐานเปิดเผยข้อมูลภายในเพื่อให้บุคคลอื่นซื้อหุ้นของบริษัทที่ท่านดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารขององค์กร
แม้เจ้าตัวจะออกมาชี้แจงว่าไม่มีเจตนาเปิดเผยข้อมูลอินไซด์ดังกล่าว แต่เมื่อเรื่องเกิดขึ้นท่านก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้
แม้การเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน 500,000 บาท อาจไม่มากมายนักสำหรับนักธุรกิจระดับนี้ แต่การได้รับโทษห้ามปฏิบัติหน้าที่กรรมการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัยพ์เป็นเวลา 3 ปีและไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรในตลาดทุนได้ เป็นสิ่งที่หนักหนาสาหัสสำหรับท่านอย่างแน่นอน
เรื่องทำนองนี้ไม่ได้มีแค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่เกิดขึ้นในเกือบทุกประเทศทั่วโลก ยกตัวอย่างอีกเหตุการณ์หนึ่งในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 3 ที่แล้วซึ่งมีคนไทยเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย โดยศาลสหรัฐฯ สั่งอายัดทรัพย์นักค้าหุ้นชาวไทยในความผิดฐานใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้นเพื่อประโยชน์ของตนเอง (Insider Trading) ฟันกำไรไปกว่า 90 ล้านบาท
เรื่องมีอยู่ว่า นักลงทุนรายนี้รับรู้ข้อมูลล่วงหน้าเกี่ยวกับบริษัทผู้ผลิตเนื้อรายใหญ่ที่สุดของจีน ชื่อชวงฮุย อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์ ซึ่งกำลังจะทำการเข้าซื้อกิจการบริษัท สมิธฟิลด์ ฟูดส์อิงค์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับรู้ข้อมูลวงในผ่านทางเฟสบุ๊ค จากอดีตเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งซึ่งผันตัวเองมาทำงานด้านวาณิชธนกิจและขณะนั้นเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรหนึ่งที่เข้าร่วมประมูลการซื้อกิจการ บริษัทสมิธฟิลด์ ฟูดส์อิงค์ ด้วยเช่นกัน
เหตุการณ์แบบนี้มีให้เห็นเป็นประจำ บางทีก็จับได้เพราะหลักฐานชัดเจน บางกรณีก็หลุดรอดไปเพราะหาหลักฐานชัดๆ มามัดตัวไม่ได้ ยกตัวอย่างอีกสักเรื่องที่เคยได้ยินจากเพื่อนสนิทซึ่งเป็นนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เล่าให้ฟังว่าซื้อหุ้นตัวหนึ่งเพราะแอบได้ยินผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวคุยกันเกี่ยวกับเรื่องลับๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหุ้น ที่ร้านกาแฟในตึกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์กรแห่งนี้นั่นเอง
เพื่อนเล่าว่าหลังจากพยายามเงี่ยหูฟังอยู่พักใหญ่ พอจับใจความได้ว่าเรื่องราวที่ได้ยินจะเป็นผลดีต่อราคาหุ้นอย่างแน่นอน จึงตัดสินใจเก็งกำไรหุ้นบริษัทดังกล่าวชนิดเต็มปอด
ไม่กี่วันให้หลัง บริษัทออกข่าวแจ้งข้อมูลต่อสาธารณชนชนิดไม่ผิดเพี้ยนไปจากที่เพื่อนแอบได้ยินมา ปรากฏว่าราคาหุ้นของบริษัทนั้นพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องตามที่คาดไว้ เพื่อนผมฟาดกำไรไปมหาศาลจากความสอดรู้สอดเห็นของเขาและความประมาทเลินเล่อของผู้บริหารบริษัทดังกล่าว
ถามว่าผู้บริหารที่คุยกันในร้านกาแฟเมื่อวันก่อน มีความผิดไหม ?
ถ้าว่ากันด้วยเรื่องเจตนา คงไม่ผิดเพราะไม่ได้ตั้งใจที่จะกระจายข่าวให้ใครได้หรือเสียประโยชน์ แต่ความพลั้งเผลอที่นำความลับของบริษัทมาพูดในที่สาธารณะ ย่อมเป็นความผิดที่ไม่ควรอ้างว่า
“บกพร่องโดยสุจริต”
แต่เรื่องทำนองนี้ หลักฐานมีน้อย ที่สำคัญคนได้ประโยชน์อย่างเพื่อนผม คงไม่ “แกว่งเท้าหาเสี่ยน” ด้วยการกล่าวโทษหรือร้องเรียนผู้บริหาร 3-4 ท่านนั้นที่เผอิญมานั่งคุยกันให้ได้ยินเป็นแน่แท้ เลยกลายเป็นความเฮงของผู้ที่ได้รับประโยชน์และเป็นความซวยของผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ที่เสียประโยชน์ ไปซะฉิบ
หากกรรมการและผู้บริหารของบริษัทนั้น ทราบว่าการกระทำของตนหรือบุคลากรระดับสูงในองค์กร ได้ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกับคนบางกลุ่ม คิดว่าคำตอบสำหรับเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
ข้อ ก. ผู้บริหารทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ออกมาขอโทษแม้ไม่ได้ตั้งใจและพร้อมใจกันลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ หรือ
ข้อ ข. ผู้บริหารทั้งหมดรวมทั้งกรรมการของบริษัท ออกมาชี้แจ้งว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำที่มิได้มีเจตนาเปิดเผยข้อมูลและเรียกร้องให้หาหลักฐานเพิ่ม
เติมมาพิสูจน์ว่าข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องจริง แต่ในระหว่างนี้จะขอปฏิบัติหน้าที่ต่อไป โดยรับปากว่าจะเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น
คงไม่ต้องเฉลยว่าองค์กรส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะเลือกตอบข้อใด
เมื่อวันก่อนผมไปร่วมประชุม AGM ของบริษัท CPALL เพราะอยากฟังคำชี้แจงของกรรมการบริษัทกรณีมีผู้บริหารถูกกล่าวโทษโดย กลต. จนเป็นประเด็นร้อนข่าวฮิตเมื่อเร็วๆ นี้
ในการประชุมวันนั้นกรรมการท่านหนึ่งชี้แจงว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะการรู้เท่าไม่ถึงการณ์และอยากให้โอกาสคนทำงานดีเพราะเป็นวัฒนธรรมขององค์กร
ผมคิดว่าปัญหาเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณ คงไม่สามารถแก้ไขได้ หากว่ากันตามตัวบทกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่ขาดจิตสำนึกในการรู้ผิดชอบชั่วดี
สาเหตุที่ทำให้ปัญหาเรื่องความโปร่งใสและหลักธรรมาภิบาลของประเทศไทยไม่คืบหน้าไปไหน เพราะสังคมเรามีพวกศรีธนญชัยที่คอยยึดกฎเกณฑ์ที่กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเกราะป้องกันตัว ตีความเข้าข้างตัวเองแบบข้างๆ คูๆ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับความพยายามที่จะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในอดีตที่ผ่านมา โดยผู้มีอำนาจเรียกหาใบเสร็จรับเงินใต้โต๊ะ เพื่อจะจัดการกับผู้ที่ถูกครหา
เลยไม่เวิร์คไง !