"ระเบิดพลีชีพ" รับใช้อุดมการณ์หรือการฆ่าตัวตาย
"ระเบิดพลีชีพ" หรือ "ระเบิดฆ่าตัวตาย" ที่กระทำโดยกลุ่มที่ถูกขนานนามว่า "ก่อการร้าย" ซึ่งเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ฝ่ายความมั่นคงไม่ว่าประเทศไหนก็ยอมรับว่ายากที่จะรับมือ การป้องกันระเบิดพลีชีพมีทางเดียวคือเข้าใจบ่อเกิดของการเกิดระเบิดพลีชีพ เราไปติดตามองค์ความรู้ในเรื่องนี้ได้จากรายงานพิเศษ
การทำความเข้าใจกับ "ระเบิดฆ่าตัวตาย" หรือ "ระเบิดพลีชีพ" ต้องเริ่มกันตั้งแต่ภาษาที่ใช้ "ดร. อณัส อมาตยกุล" นักวิชาการด้านโลกมุสลิมจากมหาวิทยาลัยมหดิล บอกว่า ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องภาษา เพราะภาษาอังกฤษใช้คำว่า suicide bomb (อ่านว่า ซุย-ไซด์-บอม) จึงแปลว่า "ระเบิดฆ่าตัวตาย" ไม่ได้ใช้คำว่า sacrifice bomb (อ่านว่า แซก-ครี-ไฟซ์-บอม) ที่แปลว่าระเบิดเพื่อการพลีชีพ ฉะนั้นในบริบทของสื่อมวลชนทั่วไปร้อยกว่าประเทศที่ไม่ได้เข้าใจเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง จึงเรียกปฏิบัติการที่นำตัวเองไปผูกกับระเบิด แล้วทำให้เกิดระเบิดขึ้นว่า "ระเบิดฆ่าตัวตาย"
ในทัศนะของ อาจารย์อณัส ยังมองลึกลงไปด้วยว่า การเลือกใช้คำว่าระเบิดฆ่าตัวตาย ถือเป็นจิตวิทยาโจมตีผู้ที่ปฏิบัติการระเบิดพลีชีพ ว่าการกระทำแบบนั้นคือการฆ่าตัวตาย ซึ่งขัดแย้งกับหลักการทางศาสนาของทุกศาสนาที่ห้ามฆ่าตัวตาย รวมทั้งศาสนาอิสลามด้วย
ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว การประกอบระเบิดติดกับตัวเองของบรรดานักรบมูจาฮีดีน หรือกลุ่มมุสลิมติดอาวุธที่ต่อสู้กับชาติตะวันตกอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอัลไกด้า หรือไอเอส พวกเขาไม่ได้มีอาการเหมือนคนกำลังฆ่าตัวตาย ไม่ได้ท้อแท้สิ้นหวัง ผิดหวังจากความรักหรือหน้าที่การงาน ฉะนั้นการทำระเบิดชนิดนี้จึงไม่ใช่การฆ่าตัวตายแบบหนึ่งอย่างที่เข้าใจกัน
ปัญหาที่ต้องขบคิดกันต่อก็คือ เมื่อทุกศาสนารวมทั้งอิสลาม ห้ามคนฆ่าตัวตาย แล้วบรรดานักรบมูจาฮีดีนที่ทำระเบิดพลีชีพ พวกเขาทำบนพื้นฐานความเชื่อใด ประเด็นนี้ ดอกเตอร์ อณัส อธิบายว่า สงครามระหว่างมุสลิมกับชาติตะวันตก ไม่ว่าจะในอิรัก อัฟกานิสถาน หรือซีเรีย ถือเป็นสงครามอสมมาตร คือพลังอำนาจทางการรบแตกต่างกันอย่างเทียบไม่ได้ ผู้ที่ผ่านความสูญเสียจากการรุกรานของชาติตะวันตกบางส่วนจึงหันมาเป็นนักรบ แล้วสร้างยุทธวิธีที่ศัตรูเสียเปรียบ ขณะที่พวกเขาได้เปรียบ นั่นก็คือ "ระเบิดพลีชีพ"
คำถามอันแหลมคมที่ว่า เหตุใดพวกเขาจึงเลือกใช้ "ระเบิดพลีชีพ" ทั้งๆ ที่ศาสนาห้ามฆ่าตัวตาย คำตอบก็คือ เพราะในตัวธรรมะของอิสลาม มีคำสอนเล็กๆ อยู่วลีหนึ่งที่อาจตีความเช่นนั้นได้ในบริบทของสงคราม
สิ่งที่สังคมต้องเข้าใจ และ ดร.อณัส พยายามเน้นย้ำก็คือ บรรดานักรบที่เลือกใช้ยุทธวิธี "ระเบิดพลีชีพ" มีเพียงหยิบมือเดียว ไม่ได้เกี่ยวกับสังคมมุสลิมส่วนใหญ่ในโลก และคำสอนนี้ก็ไม่ได้มีนัยยะอะไรกับมุสลิมทั่วไป เพราะไม่ได้อยู่ในบริบทของสงคราม
ฉะนั้นการตีความคำสอนลักษณะนี้ จึงเป็นบริบทการต่อสู้ที่พัฒนาไปยังกลุ่มเป้าหมายจำเพาะเท่านั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ http://www.now26.tv/view/76547/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html
รายงานพิเศษ "ระเบิดพลีชีพ" รับใช้อุดมการณ์หรือการฆ่าตัวตาย
"ระเบิดพลีชีพ" หรือ "ระเบิดฆ่าตัวตาย" ที่กระทำโดยกลุ่มที่ถูกขนานนามว่า "ก่อการร้าย" ซึ่งเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ฝ่ายความมั่นคงไม่ว่าประเทศไหนก็ยอมรับว่ายากที่จะรับมือ การป้องกันระเบิดพลีชีพมีทางเดียวคือเข้าใจบ่อเกิดของการเกิดระเบิดพลีชีพ เราไปติดตามองค์ความรู้ในเรื่องนี้ได้จากรายงานพิเศษ
การทำความเข้าใจกับ "ระเบิดฆ่าตัวตาย" หรือ "ระเบิดพลีชีพ" ต้องเริ่มกันตั้งแต่ภาษาที่ใช้ "ดร. อณัส อมาตยกุล" นักวิชาการด้านโลกมุสลิมจากมหาวิทยาลัยมหดิล บอกว่า ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องภาษา เพราะภาษาอังกฤษใช้คำว่า suicide bomb (อ่านว่า ซุย-ไซด์-บอม) จึงแปลว่า "ระเบิดฆ่าตัวตาย" ไม่ได้ใช้คำว่า sacrifice bomb (อ่านว่า แซก-ครี-ไฟซ์-บอม) ที่แปลว่าระเบิดเพื่อการพลีชีพ ฉะนั้นในบริบทของสื่อมวลชนทั่วไปร้อยกว่าประเทศที่ไม่ได้เข้าใจเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง จึงเรียกปฏิบัติการที่นำตัวเองไปผูกกับระเบิด แล้วทำให้เกิดระเบิดขึ้นว่า "ระเบิดฆ่าตัวตาย"
ในทัศนะของ อาจารย์อณัส ยังมองลึกลงไปด้วยว่า การเลือกใช้คำว่าระเบิดฆ่าตัวตาย ถือเป็นจิตวิทยาโจมตีผู้ที่ปฏิบัติการระเบิดพลีชีพ ว่าการกระทำแบบนั้นคือการฆ่าตัวตาย ซึ่งขัดแย้งกับหลักการทางศาสนาของทุกศาสนาที่ห้ามฆ่าตัวตาย รวมทั้งศาสนาอิสลามด้วย
ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว การประกอบระเบิดติดกับตัวเองของบรรดานักรบมูจาฮีดีน หรือกลุ่มมุสลิมติดอาวุธที่ต่อสู้กับชาติตะวันตกอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอัลไกด้า หรือไอเอส พวกเขาไม่ได้มีอาการเหมือนคนกำลังฆ่าตัวตาย ไม่ได้ท้อแท้สิ้นหวัง ผิดหวังจากความรักหรือหน้าที่การงาน ฉะนั้นการทำระเบิดชนิดนี้จึงไม่ใช่การฆ่าตัวตายแบบหนึ่งอย่างที่เข้าใจกัน
ปัญหาที่ต้องขบคิดกันต่อก็คือ เมื่อทุกศาสนารวมทั้งอิสลาม ห้ามคนฆ่าตัวตาย แล้วบรรดานักรบมูจาฮีดีนที่ทำระเบิดพลีชีพ พวกเขาทำบนพื้นฐานความเชื่อใด ประเด็นนี้ ดอกเตอร์ อณัส อธิบายว่า สงครามระหว่างมุสลิมกับชาติตะวันตก ไม่ว่าจะในอิรัก อัฟกานิสถาน หรือซีเรีย ถือเป็นสงครามอสมมาตร คือพลังอำนาจทางการรบแตกต่างกันอย่างเทียบไม่ได้ ผู้ที่ผ่านความสูญเสียจากการรุกรานของชาติตะวันตกบางส่วนจึงหันมาเป็นนักรบ แล้วสร้างยุทธวิธีที่ศัตรูเสียเปรียบ ขณะที่พวกเขาได้เปรียบ นั่นก็คือ "ระเบิดพลีชีพ"
คำถามอันแหลมคมที่ว่า เหตุใดพวกเขาจึงเลือกใช้ "ระเบิดพลีชีพ" ทั้งๆ ที่ศาสนาห้ามฆ่าตัวตาย คำตอบก็คือ เพราะในตัวธรรมะของอิสลาม มีคำสอนเล็กๆ อยู่วลีหนึ่งที่อาจตีความเช่นนั้นได้ในบริบทของสงคราม
สิ่งที่สังคมต้องเข้าใจ และ ดร.อณัส พยายามเน้นย้ำก็คือ บรรดานักรบที่เลือกใช้ยุทธวิธี "ระเบิดพลีชีพ" มีเพียงหยิบมือเดียว ไม่ได้เกี่ยวกับสังคมมุสลิมส่วนใหญ่ในโลก และคำสอนนี้ก็ไม่ได้มีนัยยะอะไรกับมุสลิมทั่วไป เพราะไม่ได้อยู่ในบริบทของสงคราม
ฉะนั้นการตีความคำสอนลักษณะนี้ จึงเป็นบริบทการต่อสู้ที่พัฒนาไปยังกลุ่มเป้าหมายจำเพาะเท่านั้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้