สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
เรียนท่าน จขกท.
ผมชักไม่แน่ใจว่า จขกท. รู้จัก "เลขาธิการ" ของส่วนราชการหรือเปล่า
เลขาธิการของส่วนราชการ คือ ระดับหัวหน้าส่วนราชการเลยนะครับ เทียบเท่าปลัดกระทรวงหรืออธิบดี
คนละอย่างกับเลขานุการ
ก่อนอื่นขออธิบาย ระดับ ของ ข้าราชการพลเรือนซักหน่อย
ในปัจจุบันระดับของข้าราชการพลเรือนจะใช้ระบบแท่ง ไม่ใช้ระบบ C แล้ว
ขออธิบายแค่ 2 ยุค คือ
1. ยุคระบบ C
C ข้าราชการมี 11 ระดับ ถ้าเทียบกับยศทหาร
C 1 = สิบตรี - สิบเอก
C 2 = จ่าสิบตรี - จ่าสิบเอก
C 3 - 5 = ร้อยตรี - ร้อยเอก
C 6 - 7 = พันตรี - พันโท
C 8 = พันเอก
C 9 - 11= พลตรี - พลเอก
2. ระบบแท่ง (ปัจจุบัน)
ระบบแท่งมี 4 แท่ง คือ
1. แท่งทั่วไป (บรรจุด้วยคุณวุฒิต่ำกว่าระดับปริญญา)
- ปฏิบัติงาน = C1 - 4 (เดิม)
- ชำนาญงาน = C5 - 6 (เดิม)
- อาวุโส = C7 - 8 (เดิม)
- ทักษะพิเศษ = C9 - 10 (เดิม)
2. แท่งวิชาการ (บรรจุด้วยคุณวุฒิระดับปริญญา)
- ปฏิบัติการ = C3 - 5 (เดิม)
- ชำนาญการ = C6 - 7 (เดิม)
- ชำนาญการพิเศษ = C8 (เดิม)
- เชี่ยวชาญ = C9 (เดิม)
- ทรงคุณวุฒิ = C10 - 11 (เดิม)
3. แท่งอำนวยการ (เลื่อนระดับจากแท่งทั่วไปและแท่งวิชาการ)
- อำนวยการต้น = C8 (เพื่อให้มองลำดับบังคับบัญชาออก ขอเทียบเป็น C8.5 เดิม เพราะใหญ่กว่าชำนาญการพิเศษ แต่เล็กกว่าเชี่ยวชาญ)
- อำนวยการสูง = C9 (เดิม)
4. แท่งบริหาร (เลื่อนระดับจากแท่งทั่วไป วิชาการ และอำนวยการ)
- บริหารต้น = C9 (เพื่อให้มองลำดับบังคับบัญชาออก ขอเทียบเป็น C9.5 เดิม เพราะใหญ่กว่าอำนวยการสูง แต่เล็กกว่าทรงคุณวุฒิ)
- บริหารสูง = C10 - 11 (เดิม)
ปลัดกระทรวง = C11 = บริหารสูง
รองปลัดกระทรวง = C10.5 บริหารสูง
อธิบดี, ผู้ว่าราชการจังหวัด = C10 = บริหารสูง
รองอธิบดี, รองผู้ว่าฯ = C9.5 = บริหารต้น
ผู้อำนวยการสำนัก = C9 = อำนวยการสูง
ผู้อำนวยการกอง = C8.5 = อำนวยการต้น
ฯลฯ
คร่าวๆ ประมาณนี้ก่อนครับ
ทีนี้ มาดูที่ตำแหน่งเลขาธิการของส่วนราชการ
เลขาธิการของส่วนราชการ จะอยู่ในแท่งบริหารสูง
ทั้งนี้ บริหารสูง มี 2 C เดิม คือ C10 เทียบเท่าอธิบดี และ C11 เทียบเท่าปลัดกระทรวง
เลขาธิการ C11 เทียบเท่าปลัดกระทรวง เช่น
- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- เลขาธิการสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ
- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เป็นต้น
เลขาธิการ C10 เทียบเท่าอธิบดี เช่น
- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
- เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
- เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นต้น
คงพอมองภาพออกแล้ว
สรุป คือ อยากเป็นเลขาธิการที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการนี้ใช่ไหมครับ
ถ้าใช่ มาว่ากันต่อเลย
เลขาธิการ คือตำแหน่งระดับสูงขององค์กร
เอาเป็นว่า ก่อนจะก้าวเข้าสู่ตำแหน่งระดับสูงขององค์กรราชการ นั้น
คุณต้องเป็นข้าราชการ ให้ได้ก่อนครับ
ข้าราชการทุกหมู่เหล่า ที่จะก้าวหน้าได้ดี มีความสะดวก ต้องบรรจุในระดับสัญญาบัตร
สำหรับข้าราชการพลเรือน คือต้องบรรจุในแท่งวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ที่บรรจุด้วยคุณวุฒิระดับปริญญา (ตรี, โท, เอก) ครับ
และถ้าจะให้ดี คือ ควรจะต้องเป็นสายงานหลักขององค์กร จะมีโอกาสก้าวหน้าสูงกว่าสายสนับสนุน
เช่น
ในกรมวิชาการเกษตร ก็ต้องเป็นนักวิชาการเกษตร
ในกรมป่าไม้ ก็ต้องเป็น นักวิชาการป่าไม้ ไม่ใช่นักวิชาการเกษตร
ในกรมสอบสวนคดีพิเศษ ก็ต้องเป็น พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
ในกรมการปกครอง ก็ต้องเป็น ปลัดอำเภอ
ในกรมที่ดิน ก็ต้องเป็นนักวิชาการที่ดิน
ในกรมชลประทาน ก็ต้องเป็นวิศวกรชลประทาน
เป็นต้น
ทั้งนี้ การเป็นสายหลักขององค์กร ก็เป็นแค่ปัจจัยสนับสนุนเท่านั้น
ปลัดกระทรวงเกษตรฯ คนก่อน จบ ป.ตรี นิติศาสตร์ ครับ
แปลว่า นอกจากจะอยู่ในตำแหน่งที่ดีแล้ว ก็ต้องมีวาสนาดีด้วย
ตอบคำถาม
1. เรียนจบอะไร? แล้วได้ทำงาน เป็น เลขาธิการในกระทรวง...
- ได้ทุกสายครับ เน้นที่ตั้งแต่ระดับ ป.ตรี ขึ้นไป
2. รบกวนถามเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในพันทิปหน่อยค่ะ ว่า ต้องเรียนจบในสายไหนคะ ถึงมาเป็นเลขาธิการในกระทรวง หรือ ต้องเรียนคณะอะไร จึงได้เข้าไปทำงานในกระทรวงคะ ??
- เรียนคณะอะไรก็ได้ครับ ข้าราชการแท่งวิชาการ มีประเภทตำแหน่งที่ครอบคลุม ป.ตรี ทุกสาขา
ผมว่าคุณคิดก่อนดีกว่า ว่าอยากทำงานตำแหน่งอะไร
ผมชักไม่แน่ใจว่า จขกท. รู้จัก "เลขาธิการ" ของส่วนราชการหรือเปล่า
เลขาธิการของส่วนราชการ คือ ระดับหัวหน้าส่วนราชการเลยนะครับ เทียบเท่าปลัดกระทรวงหรืออธิบดี
คนละอย่างกับเลขานุการ
ก่อนอื่นขออธิบาย ระดับ ของ ข้าราชการพลเรือนซักหน่อย
ในปัจจุบันระดับของข้าราชการพลเรือนจะใช้ระบบแท่ง ไม่ใช้ระบบ C แล้ว
ขออธิบายแค่ 2 ยุค คือ
1. ยุคระบบ C
C ข้าราชการมี 11 ระดับ ถ้าเทียบกับยศทหาร
C 1 = สิบตรี - สิบเอก
C 2 = จ่าสิบตรี - จ่าสิบเอก
C 3 - 5 = ร้อยตรี - ร้อยเอก
C 6 - 7 = พันตรี - พันโท
C 8 = พันเอก
C 9 - 11= พลตรี - พลเอก
2. ระบบแท่ง (ปัจจุบัน)
ระบบแท่งมี 4 แท่ง คือ
1. แท่งทั่วไป (บรรจุด้วยคุณวุฒิต่ำกว่าระดับปริญญา)
- ปฏิบัติงาน = C1 - 4 (เดิม)
- ชำนาญงาน = C5 - 6 (เดิม)
- อาวุโส = C7 - 8 (เดิม)
- ทักษะพิเศษ = C9 - 10 (เดิม)
2. แท่งวิชาการ (บรรจุด้วยคุณวุฒิระดับปริญญา)
- ปฏิบัติการ = C3 - 5 (เดิม)
- ชำนาญการ = C6 - 7 (เดิม)
- ชำนาญการพิเศษ = C8 (เดิม)
- เชี่ยวชาญ = C9 (เดิม)
- ทรงคุณวุฒิ = C10 - 11 (เดิม)
3. แท่งอำนวยการ (เลื่อนระดับจากแท่งทั่วไปและแท่งวิชาการ)
- อำนวยการต้น = C8 (เพื่อให้มองลำดับบังคับบัญชาออก ขอเทียบเป็น C8.5 เดิม เพราะใหญ่กว่าชำนาญการพิเศษ แต่เล็กกว่าเชี่ยวชาญ)
- อำนวยการสูง = C9 (เดิม)
4. แท่งบริหาร (เลื่อนระดับจากแท่งทั่วไป วิชาการ และอำนวยการ)
- บริหารต้น = C9 (เพื่อให้มองลำดับบังคับบัญชาออก ขอเทียบเป็น C9.5 เดิม เพราะใหญ่กว่าอำนวยการสูง แต่เล็กกว่าทรงคุณวุฒิ)
- บริหารสูง = C10 - 11 (เดิม)
ปลัดกระทรวง = C11 = บริหารสูง
รองปลัดกระทรวง = C10.5 บริหารสูง
อธิบดี, ผู้ว่าราชการจังหวัด = C10 = บริหารสูง
รองอธิบดี, รองผู้ว่าฯ = C9.5 = บริหารต้น
ผู้อำนวยการสำนัก = C9 = อำนวยการสูง
ผู้อำนวยการกอง = C8.5 = อำนวยการต้น
ฯลฯ
คร่าวๆ ประมาณนี้ก่อนครับ
ทีนี้ มาดูที่ตำแหน่งเลขาธิการของส่วนราชการ
เลขาธิการของส่วนราชการ จะอยู่ในแท่งบริหารสูง
ทั้งนี้ บริหารสูง มี 2 C เดิม คือ C10 เทียบเท่าอธิบดี และ C11 เทียบเท่าปลัดกระทรวง
เลขาธิการ C11 เทียบเท่าปลัดกระทรวง เช่น
- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- เลขาธิการสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ
- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เป็นต้น
เลขาธิการ C10 เทียบเท่าอธิบดี เช่น
- เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
- เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
- เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
เป็นต้น
คงพอมองภาพออกแล้ว
สรุป คือ อยากเป็นเลขาธิการที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการนี้ใช่ไหมครับ
ถ้าใช่ มาว่ากันต่อเลย
เลขาธิการ คือตำแหน่งระดับสูงขององค์กร
เอาเป็นว่า ก่อนจะก้าวเข้าสู่ตำแหน่งระดับสูงขององค์กรราชการ นั้น
คุณต้องเป็นข้าราชการ ให้ได้ก่อนครับ
ข้าราชการทุกหมู่เหล่า ที่จะก้าวหน้าได้ดี มีความสะดวก ต้องบรรจุในระดับสัญญาบัตร
สำหรับข้าราชการพลเรือน คือต้องบรรจุในแท่งวิชาการ ระดับปฏิบัติการ ที่บรรจุด้วยคุณวุฒิระดับปริญญา (ตรี, โท, เอก) ครับ
และถ้าจะให้ดี คือ ควรจะต้องเป็นสายงานหลักขององค์กร จะมีโอกาสก้าวหน้าสูงกว่าสายสนับสนุน
เช่น
ในกรมวิชาการเกษตร ก็ต้องเป็นนักวิชาการเกษตร
ในกรมป่าไม้ ก็ต้องเป็น นักวิชาการป่าไม้ ไม่ใช่นักวิชาการเกษตร
ในกรมสอบสวนคดีพิเศษ ก็ต้องเป็น พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ
ในกรมการปกครอง ก็ต้องเป็น ปลัดอำเภอ
ในกรมที่ดิน ก็ต้องเป็นนักวิชาการที่ดิน
ในกรมชลประทาน ก็ต้องเป็นวิศวกรชลประทาน
เป็นต้น
ทั้งนี้ การเป็นสายหลักขององค์กร ก็เป็นแค่ปัจจัยสนับสนุนเท่านั้น
ปลัดกระทรวงเกษตรฯ คนก่อน จบ ป.ตรี นิติศาสตร์ ครับ
แปลว่า นอกจากจะอยู่ในตำแหน่งที่ดีแล้ว ก็ต้องมีวาสนาดีด้วย
ตอบคำถาม
1. เรียนจบอะไร? แล้วได้ทำงาน เป็น เลขาธิการในกระทรวง...
- ได้ทุกสายครับ เน้นที่ตั้งแต่ระดับ ป.ตรี ขึ้นไป
2. รบกวนถามเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในพันทิปหน่อยค่ะ ว่า ต้องเรียนจบในสายไหนคะ ถึงมาเป็นเลขาธิการในกระทรวง หรือ ต้องเรียนคณะอะไร จึงได้เข้าไปทำงานในกระทรวงคะ ??
- เรียนคณะอะไรก็ได้ครับ ข้าราชการแท่งวิชาการ มีประเภทตำแหน่งที่ครอบคลุม ป.ตรี ทุกสาขา
ผมว่าคุณคิดก่อนดีกว่า ว่าอยากทำงานตำแหน่งอะไร
แสดงความคิดเห็น
เรียนจบอะไร? แล้วได้ทำงาน เป็น เลขาธิการในกระทรวง...