สวัสดีครับ มีเรื่องอยากขอความช่วยเหลือครับ
มีเคสน้องชายที่รู้จักกันขี่จักรยานยนต์เผื่อจะข้ามถนนแล้วชนกับจักรยานยนต์อีกคันที่วิ่งมาทางตรง และคู่กรณีบาดเจ็บแขนขวาหัก และไหปลาร้าแตก
ส่วนน้องชายก็เจ็บศีรษะแต่เบื้องต้นหมอเช็คแล้วว่าไม่เป็นอะไรมาก
หลังบาดเจ็บค่ารักษาพยาบาลคู่กรณีเบิกจาก พรบ. ของผู้บาดเจ็บและภรรยา และหมอให้หยุดงาน 2 เดือน และน้องได้รับผิดชอบซ่อมจักรยานยนต์ให้ และในช่วงคู่กรณีเข้าโรงพยาบาลน้องได้ลางาน 3 วันเพื่อไปเยี่ยมและอำนวยความสะดวกและซื้ออาหารให้เล็กๆน้อยๆ (ทั้งตัวมีเงิน 2,000) แต่ผู้บาดเจ็บเรียกร้องเงินเพิ่มอีก 10,000 บาท (เยอะมากสำหรับน้องเพราะทำงานโรงงานปีแรก และมีภาระผ่อนจักรยานยนต์ของตัวเองอยู่) น้องมีแพลนที่จะจ่ายน่ะครับ ไม่เกิน 5,000 บาทเพราะเป็นประมาทร่วม
ส่วนคำกล่าวอ้างของน้องเกี่ยวกับเหตุการณ์คือ
-น้องมองซ้ายมองขวาก่อนออกจากซอยและไม่เห็นรถจักรยานยนต์คู่กรณี แต่เจอรถกระบะคันนึงกำลังเปิดไฟเลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้าน
-น้องเห็นว่าถนนว่างและค่อยๆเคลื่อนรถออกไปแล้วปรากฎว่ามีรถจักรยานยนต์คู่กรณีแซงขวารถกระบะที่กำลังเปิดไฟเลี้ยวและพอพ้นรถก็หักกลับเข้าเลนทำให้เฉี่ยวชนกับน้องบริเวณกลางเลนซ้ายเหลื่อมมาทางเส้นกลางถนนหน่อยๆ (ุ60:40)
ส่วนคำกล่าวอ้างคู่กรณี
-ไม่มีรถกระบะที่กำลังเปิดไฟเลี้ยว รถกระบะจอดอยู่ซ้ายสุดไม่ได้เปิดไฟ
ทั้งหมดนี้ถ้าน้องพิสูจน์ได้ว่าคำกล่าวอ้างน้องถูกทั้งหมด ใครเป็นคนผิดครับ จะเข้าเคสไหน
1. น้องผิดคนเดียว
2. คู่กรณีผิดคนเดียว
3. ประมาทร่วม
ตามที่พอศึกษามาบริเวณทางร่วมทางแยกนี่ห้ามแซงกันใช่หรือเปล่าครับ ตามนี้ พรบ.จราจรทางบก 2552
มาตรา ๔๖ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในกรณีต่อไปนี้
(๑) เมื่อรถกำ ลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง เว้นแต่จะมี
เครื่องหมายจราจรให้แซงได้
(๒) ภายในระยะสามสิบเมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วมทางแยก วงเวียนหรือเกาะ
ที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ
ถ้าคู่กรณีแซงขวารถที่กำลังจอดเปิดไฟเลี้ยวรอเลี้ยวขวาที่ทางร่วมทางแยกแล้วเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ จะถือว่าคู่กรณีผิดฝ่ายเดียวหรือประมาทร่วมครับ
มาตรา ๗๑ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๖ เมื่อผู้ขับขี่ขับรถมาถึงทาง
ร่วมทางแยก ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติดังนี้
(๑) ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยกผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้น
ผ่านไปก่อน
(๒) ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกันและไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่
ต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนผ่านไปก่อน เว้นแต่ในทางร่วมทางแยกใดมีทางเดินรถทางเอก
ตัดผ่านทางเดินรถทางโท ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางเอกมีสิทธิขับผ่านไปก่อน
กรณีด้านบนถ้าน้องมาถึงก่อน(ล้ำไปในผิวจราจรแล้วครึ่งหนึ่ง และขับรถมาจอดมองซ้ายขวาก่อนแล้วค่อยเคลื่อนรถ) แล้วคู่กรณีขับมาทางตรงแล้วแซงใครเป็นฝ่ายถูกครับ (อันนี้ในความเห็นผม้องน่าจะถูกตาม 1 น่ะครับ แต่น้องมาสายโท)
และถ้าคดีขึ้นศาลจริงบทสรุปน่าจะออกมาแบบไหนครับ
ป.ล. ในกรณีนี้ไม่ได้หนีความผิดน่ะครับ เพราะรถก็ซ่อมให้ไปแล้ว ช่วยดูแลผู้บาดเจ็บและญาติในระดับหนึ่งแล้ว และมีแผนจะจ่ายค่าเสียหายเพิ่มเติม แต่อยากจ่ายเมื่อผิดจริงๆเท่านั้น (ตอนนี้ยังคิดว่าประมาทร่วมครับ)
จักรยานยนต์เฉี่ยวกันยังไม่รู้ใครผิดใครถูก แต่โดนเรียกค่าเสียหาย
มีเคสน้องชายที่รู้จักกันขี่จักรยานยนต์เผื่อจะข้ามถนนแล้วชนกับจักรยานยนต์อีกคันที่วิ่งมาทางตรง และคู่กรณีบาดเจ็บแขนขวาหัก และไหปลาร้าแตก
ส่วนน้องชายก็เจ็บศีรษะแต่เบื้องต้นหมอเช็คแล้วว่าไม่เป็นอะไรมาก
หลังบาดเจ็บค่ารักษาพยาบาลคู่กรณีเบิกจาก พรบ. ของผู้บาดเจ็บและภรรยา และหมอให้หยุดงาน 2 เดือน และน้องได้รับผิดชอบซ่อมจักรยานยนต์ให้ และในช่วงคู่กรณีเข้าโรงพยาบาลน้องได้ลางาน 3 วันเพื่อไปเยี่ยมและอำนวยความสะดวกและซื้ออาหารให้เล็กๆน้อยๆ (ทั้งตัวมีเงิน 2,000) แต่ผู้บาดเจ็บเรียกร้องเงินเพิ่มอีก 10,000 บาท (เยอะมากสำหรับน้องเพราะทำงานโรงงานปีแรก และมีภาระผ่อนจักรยานยนต์ของตัวเองอยู่) น้องมีแพลนที่จะจ่ายน่ะครับ ไม่เกิน 5,000 บาทเพราะเป็นประมาทร่วม
ส่วนคำกล่าวอ้างของน้องเกี่ยวกับเหตุการณ์คือ
-น้องมองซ้ายมองขวาก่อนออกจากซอยและไม่เห็นรถจักรยานยนต์คู่กรณี แต่เจอรถกระบะคันนึงกำลังเปิดไฟเลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้าน
-น้องเห็นว่าถนนว่างและค่อยๆเคลื่อนรถออกไปแล้วปรากฎว่ามีรถจักรยานยนต์คู่กรณีแซงขวารถกระบะที่กำลังเปิดไฟเลี้ยวและพอพ้นรถก็หักกลับเข้าเลนทำให้เฉี่ยวชนกับน้องบริเวณกลางเลนซ้ายเหลื่อมมาทางเส้นกลางถนนหน่อยๆ (ุ60:40)
ส่วนคำกล่าวอ้างคู่กรณี
-ไม่มีรถกระบะที่กำลังเปิดไฟเลี้ยว รถกระบะจอดอยู่ซ้ายสุดไม่ได้เปิดไฟ
ทั้งหมดนี้ถ้าน้องพิสูจน์ได้ว่าคำกล่าวอ้างน้องถูกทั้งหมด ใครเป็นคนผิดครับ จะเข้าเคสไหน
1. น้องผิดคนเดียว
2. คู่กรณีผิดคนเดียว
3. ประมาทร่วม
ตามที่พอศึกษามาบริเวณทางร่วมทางแยกนี่ห้ามแซงกันใช่หรือเปล่าครับ ตามนี้ พรบ.จราจรทางบก 2552
มาตรา ๔๖ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่นในกรณีต่อไปนี้
(๑) เมื่อรถกำ ลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพาน หรืออยู่ในทางโค้ง เว้นแต่จะมี
เครื่องหมายจราจรให้แซงได้
(๒) ภายในระยะสามสิบเมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วมทางแยก วงเวียนหรือเกาะ
ที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ
ถ้าคู่กรณีแซงขวารถที่กำลังจอดเปิดไฟเลี้ยวรอเลี้ยวขวาที่ทางร่วมทางแยกแล้วเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ จะถือว่าคู่กรณีผิดฝ่ายเดียวหรือประมาทร่วมครับ
มาตรา ๗๑ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๖ เมื่อผู้ขับขี่ขับรถมาถึงทาง
ร่วมทางแยก ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติดังนี้
(๑) ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยกผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้น
ผ่านไปก่อน
(๒) ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกันและไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่
ต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนผ่านไปก่อน เว้นแต่ในทางร่วมทางแยกใดมีทางเดินรถทางเอก
ตัดผ่านทางเดินรถทางโท ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางเอกมีสิทธิขับผ่านไปก่อน
กรณีด้านบนถ้าน้องมาถึงก่อน(ล้ำไปในผิวจราจรแล้วครึ่งหนึ่ง และขับรถมาจอดมองซ้ายขวาก่อนแล้วค่อยเคลื่อนรถ) แล้วคู่กรณีขับมาทางตรงแล้วแซงใครเป็นฝ่ายถูกครับ (อันนี้ในความเห็นผม้องน่าจะถูกตาม 1 น่ะครับ แต่น้องมาสายโท)
และถ้าคดีขึ้นศาลจริงบทสรุปน่าจะออกมาแบบไหนครับ
ป.ล. ในกรณีนี้ไม่ได้หนีความผิดน่ะครับ เพราะรถก็ซ่อมให้ไปแล้ว ช่วยดูแลผู้บาดเจ็บและญาติในระดับหนึ่งแล้ว และมีแผนจะจ่ายค่าเสียหายเพิ่มเติม แต่อยากจ่ายเมื่อผิดจริงๆเท่านั้น (ตอนนี้ยังคิดว่าประมาทร่วมครับ)