เรา เป็นเพียงผู้หญิงธรรมดาๆคนนึง ที่อยากมีงานแต่งงานเหมือนกับฝันที่ตัวเองเคยวาดเอาไว้ และเนื่องจากอายุของเราก็ไม่ใช่น้อยๆแล้ว นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เราโดนกดดันจากทางบ้านเป็นอย่างหนัก ซึ่งครอบครัวเราก็ครอบครัวธรรมดา ไม่ได้ร่ำรวยมีเงินมากมายก่ายกอง ฝั่งครอบครัวแฟนก็เช่นเดียวกัน ในงานแต่งงานเรา เราอยากเก็บเงินเองทุกบาททุกสตางค์ เราตั้งปณิธานไว้ว่าเราจะไม่รับซอง เราไม่ได้ต้องการงานใหญ่โต เราต้องการแค่คนที่มาร่วมงานที่อยากมาร่วมด้วยใจที่รู้สึกยินดีกับเราจริงๆ ซึ่งจะเชิญเฉพาะญาติและเพื่อนที่เราและแฟนสนิทเท่านั้น
และในมุมมองของเรื่องสิดสอดเราคิดว่า
1. ในสมัยก่อนก่อนที่เราจะเกิด เงินสินสอดพ่อแม่ฝ่ายชายเป็นคนจัดเตรียม พ่อแม่ฝ่ายหญิงจัดเตรียมเรื่องงานเลี้ยง เจ้าบ่าวและเจ้าสาวมีหน้าที่ เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับวันงานเท่านั้น
-สิ่งที่แตกต่างกับสมัยนี้อย่างเห็นได้ชัดคือ เงินสินสอดรวมไปถึงงานเลี้ยงต่างๆ เจ้าบ่าวและเจ้าสาวเป็นคนจัดเตรียมเองหมด พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่เตรียมพร้อมสำหรับวันงานเท่านั้น (เราคิดว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุ ที่ทำให้คนเราแต่งงานกันช้าขึ้น เพราะกว่าจะเรียนจบ กว่าจะมีงานทำ กว่าจะเก็บเงินได้ น่าจะใช้เวลาพอตัวอยู่) *แม่เราชอบถามว่าเมื่อไหร่เราจะแต่งงาน เราเคยแซวเล่นๆไปว่า "ถ้าแม่บอกว่า เนี่ย เมื่อไหร่จะมาแต่งงาน ทุกอย่างแม่เตรียมไว้พร้อมแล้วนะ หนูจะรีบกระโดด ไปเลยแม่"
2. ในสมัยนั้น เมื่อเราแต่งงานไปแล้ว ในกรณีที่ผู้หญิงแต่ง ออก จากบ้านไปอาศัยบ้านฝ่ายชาย นั่นหมายความว่าฝ่ายหญิงต้องจากอกแม่ ทั้งที่ยังไม่ได้ทดแทนในบุญคุณของท่าน เงินสินสอดที่ให้แม่ไปนั้น คงจะเป็นเงินให้แม่ได้ใช้จ่าย เพื่อทดแทนในส่วนที่เราไม่สามารถอยู่ช่วยเหลือท่านได้ตลอดเวลา (และในกรณีที่มีลูกหลายคน พ่อแม่ก็จะยกที่ดิน ปลูกบ้านให้อีกหนึ่งหลังใกล้ๆกัน)
-สิ่งที่แตกต่างจากสมัยนี้คือ ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อแต่งงาน ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายแยกครอบครัวออกมาต่างหาก โดยใช้เงินของตัวเองในการสร้างครอบครัวใหม่ทั้งหมด
เราวางแผนไว้ว่าแต่งงานแล้วเราก็จะแยกไปสร้างครอบครัวกันเองเช่นเดียวกัน เราจึงไม่มีสินสอดให้แม่ ตามที่ท่านเรียกร้อง ถึงแม้แม่เราไม่ได้ต้องการสินสอดจริงๆ แค่นำมาวางให้มันครบเท่าที่แม่ต้องการก็เถอะ
สมมติแม่เราเรียก 500,000 บาท เราไม่มีเงิน เราต้องไปกู้มา สมมติดอกเบี้ยซัก 5% เราเอามันออกมาแค่วันเดียว เราต้องจ่ายดอกเบี้ยให้เขาถึง 25,000 บาทเลยทีเดียว ซึ่งเป็นเงินที่เยอะนะ เราเสียดายเงิน เราคงให้เท่าทีเราหามาได้โดยไม่เดือดร้อนใคร
อีกอย่างนึง เราคิดว่า "ถ้าจัดงานแต่งงานเพียงเพื่อ แค่ให้มันผ่านๆไป ไม่ขอจัดดีกว่า จดทะเบียนสมรสอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว เพราะเราตั้งใจจะแต่งงานครั้งเดียว อย่างน้อยมันจะกลายเป็นความทรงจำที่ดีที่สุด ไม่ใช่นึกย้อนกลับไปแล้วมีแต่ความทรงจำและความรู้สึกที่ ไม่ดี "
เรามีความคิดแปลกไปไหมกับเรื่องสินสอด
และในมุมมองของเรื่องสิดสอดเราคิดว่า
1. ในสมัยก่อนก่อนที่เราจะเกิด เงินสินสอดพ่อแม่ฝ่ายชายเป็นคนจัดเตรียม พ่อแม่ฝ่ายหญิงจัดเตรียมเรื่องงานเลี้ยง เจ้าบ่าวและเจ้าสาวมีหน้าที่ เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับวันงานเท่านั้น
-สิ่งที่แตกต่างกับสมัยนี้อย่างเห็นได้ชัดคือ เงินสินสอดรวมไปถึงงานเลี้ยงต่างๆ เจ้าบ่าวและเจ้าสาวเป็นคนจัดเตรียมเองหมด พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่เตรียมพร้อมสำหรับวันงานเท่านั้น (เราคิดว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุ ที่ทำให้คนเราแต่งงานกันช้าขึ้น เพราะกว่าจะเรียนจบ กว่าจะมีงานทำ กว่าจะเก็บเงินได้ น่าจะใช้เวลาพอตัวอยู่) *แม่เราชอบถามว่าเมื่อไหร่เราจะแต่งงาน เราเคยแซวเล่นๆไปว่า "ถ้าแม่บอกว่า เนี่ย เมื่อไหร่จะมาแต่งงาน ทุกอย่างแม่เตรียมไว้พร้อมแล้วนะ หนูจะรีบกระโดด ไปเลยแม่"
2. ในสมัยนั้น เมื่อเราแต่งงานไปแล้ว ในกรณีที่ผู้หญิงแต่ง ออก จากบ้านไปอาศัยบ้านฝ่ายชาย นั่นหมายความว่าฝ่ายหญิงต้องจากอกแม่ ทั้งที่ยังไม่ได้ทดแทนในบุญคุณของท่าน เงินสินสอดที่ให้แม่ไปนั้น คงจะเป็นเงินให้แม่ได้ใช้จ่าย เพื่อทดแทนในส่วนที่เราไม่สามารถอยู่ช่วยเหลือท่านได้ตลอดเวลา (และในกรณีที่มีลูกหลายคน พ่อแม่ก็จะยกที่ดิน ปลูกบ้านให้อีกหนึ่งหลังใกล้ๆกัน)
-สิ่งที่แตกต่างจากสมัยนี้คือ ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อแต่งงาน ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายแยกครอบครัวออกมาต่างหาก โดยใช้เงินของตัวเองในการสร้างครอบครัวใหม่ทั้งหมด
เราวางแผนไว้ว่าแต่งงานแล้วเราก็จะแยกไปสร้างครอบครัวกันเองเช่นเดียวกัน เราจึงไม่มีสินสอดให้แม่ ตามที่ท่านเรียกร้อง ถึงแม้แม่เราไม่ได้ต้องการสินสอดจริงๆ แค่นำมาวางให้มันครบเท่าที่แม่ต้องการก็เถอะ
สมมติแม่เราเรียก 500,000 บาท เราไม่มีเงิน เราต้องไปกู้มา สมมติดอกเบี้ยซัก 5% เราเอามันออกมาแค่วันเดียว เราต้องจ่ายดอกเบี้ยให้เขาถึง 25,000 บาทเลยทีเดียว ซึ่งเป็นเงินที่เยอะนะ เราเสียดายเงิน เราคงให้เท่าทีเราหามาได้โดยไม่เดือดร้อนใคร
อีกอย่างนึง เราคิดว่า "ถ้าจัดงานแต่งงานเพียงเพื่อ แค่ให้มันผ่านๆไป ไม่ขอจัดดีกว่า จดทะเบียนสมรสอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว เพราะเราตั้งใจจะแต่งงานครั้งเดียว อย่างน้อยมันจะกลายเป็นความทรงจำที่ดีที่สุด ไม่ใช่นึกย้อนกลับไปแล้วมีแต่ความทรงจำและความรู้สึกที่ ไม่ดี "