Wargaming Asia เดินหน้าฉลองครบรอบ 4 ปี เผยข่าวใหญ่ เตรียมนำเรือรบหลวงธนบุรี ที่มีส่วนสำคัญใน 'ยุทธนาวีเกาะช้าง' ของไทย ลงสู่เกม World of Warships ในสายพัฒนาเรือรบญี่ปุ่น พร้อมอัพเดตใหม่อีกมากมาย...
บริษัท วอร์เกมมิ่ง (Wargaming) ประเทศไทย ได้จัดงาน Wargaming Gathering : Let's Celebrate เพื่อเป็นการฉลองการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ บริษัทฯ เป็นปีที่ 4 ในประเทศไทย และการพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้เล่นและทีมงาน ไม่ว่าจะเป็นเกมสงครามรถถัง เวิลด์ออฟแท็งก์ (World of Tanks) สงครามน่านน้ำ เวิลด์ออฟวอร์ชิพส์ (World of Warships) และสงครามรถถังบนมือถือ เวิลด์ออฟแท็งก์ บลิทซ์ (World of Tanks Blitz) ณ ร้านสิมิลัน 4 บุฟเฟ่ต์ทะเลเผา โดยมีการทำกิจกรรม และรับประทานอาหารร่วมกันระหว่างผู้เล่นและทีมงาน
งาน Wargaming Gathering : Let's Celebrate ฉลอง 4 ปีวอร์เกมมิ่งเอเชีย
ไฮไลต์สำคัญของงานนี้ คือ การเข้าร่วมงานของ นายฮิซาชิ ยากินูมะ โปรดิวเซอร์ ของเกมออนไลน์ เวิลด์ออฟวอร์ชิพส์ (World of Warships) ที่บินลัดฟ้ามาเพื่อบอกกล่าวถึงแผนการอัพเดตเกมในอนาคตอันใกล้ โดยหนึ่งในแผนการอัพเดตที่น่าตื่นเต้นที่สุด คือ การเตรียมแผนอัพเดตเรือรบของราชนาวีไทยลงสู่ตัวเกมด้วย โดยเรือรบที่น่าจะได้รับการอัพเดตนี้ คือ เรือหลวงธนบุรี (HTMS. Thonburi) ที่เป็นเรือที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ของไทย ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นำมาซึ่งความตื่นเต้นและยินดีปรีดาของผู้เล่นเกม เวิลด์ออฟวอร์ชิพส์ (World of Warships) ชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง
นายฮิซาชิ ยากินูมะ โปรดิวเซอร์ของเกมออนไลน์ เวิลด์ออฟวอร์ชิพส์ ประกบพริตตี้สาวไทย
และนอกเหนือไปจากการเตรียมการอัพเดตเรือหลวงธนบุรีลงสู่เกมแล้ว วอร์เกมมิ่งยังมีแผนการอัพเดตอื่นๆ ที่น่าสนใจดังนี้
1. อัพเดตระบบสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากในปัจจุบันการเล่นเกม World of Warships สภาพคลื่นและอากาศนั้นยังไม่ส่งผลใดๆ ในการบังคับเรือ ในอนาคตจะมีการอัพเดตให้สภาพภูมิอากาศมีผลต่อการต่อสู้กันด้วย เช่น เมื่อสู้กันขณะฝนตกจะส่งผลให้ระยะการมองเห็นและเล็งเป้าระยะไกลทำได้ยากขึ้น
2. อัพเดตท่าเรือในประเทศเอเชีย ซึ่งในอนาคตอาจจะมีการอัพเดตท่าเรือของประเทศไทยลงในเกมด้วยก็เป็นได้
3. อัพเดตแผนที่โหมดป้อมปราการ ฝ่ายใดที่สมารถยึดป้อมปราการได้สำเร็จ จะได้ป้อมปราการเป็นพันธมิตร ซึ่งจะช่วยโจมตีฝ่ายศัตรูเมื่อเข้ามาในระยะโจมตีของป้อมเหล่านั้น
4. ระบบปรับความหนาของเกราะของตัวเรือ โดยปัจจุบันเรือทุกลำจะมีความหนาของเกราะเท่ากัน แต่ในอนาคตจะมีการปรับให้เรือแต่ละลำมีความหนาของเกราะแต่ละส่วนที่แตกต่างกันออกไป 3 ระดับ คือ ระดับปกติ, ระดับหนา และระดับหนาสุด โดยระดับหนาสุดนี้จะอยู่บริเวณส่วนที่ติดตั้งอุปกรณ์สำคัญๆ ของเรือนั่นเอง
สาวๆ แท็งก์เกิร์ล และ วอร์ชิพส์เกิร์ล
ข้อมูลที่น่าสนใจของเรือหลวงธนบุรี
เรือหลวงธนบุรี เป็นเรือรบประเภท "เรือปืนยามฝั่ง" จัดอยู่ในชั้นธนบุรี โดยเป็นเรือที่มีลักษณะเดียวกันกับ เรือหลวงศรีอยุธยา ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือกาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2479 (เป็นเหตุผลที่ทีมพัฒนา นำเอา เรือหลวงธนบุรี มาอยู่ในสายการพัฒนาเรือของกองทัพเรือญี่ปุ่น)
เป็นขุมกำลังสำคัญของกองทัพเรือไทย ในช่วงกรณีพิพาทระหว่างไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส โดยเรือหลวงธนบุรีได้เข้าทำการรบอย่างกล้าหาญในยุทธนาวีเกาะช้าง เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 จนสามารถขับไล่ข้าศึกได้สำเร็จ โดยมีอาวุธที่เป็นหมัดหนักที่สุดในตอนนั้น คือ ปืนใหญ่ประจำเรือ ลำกล้องคู่ขนาด 8 นิ้ว 2 แท่น
เรือหลวงธนบุรี ที่โรงเรียนนายเรือ จ.สมุทรปราการ ภาพจากวิกิพีเดีย
ประเภท: เรือปืนยามฝั่ง
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 2,350 ตัน (เต็มที่)
ความยาว: 13.41 เมตร
ความกว้าง: 8.34 เมตร
กินน้ำลึก: 4.20 เมตร
เครื่องยนต์: เครื่องยนต์ดีเซล 2 เครื่อง กำลัง 5,200 แรงม้าต่อเครื่อง
ความเร็ว:
• 12.2 นอต (ต่ำสุด)
• 15.8 นอต (สูงสุด)
ระยะทางเชื้อเพลิง:
• 6,493 ไมล์ทะเล (ต่ำสุด)
• 11,100 ไมล์ทะเล (สูงสุด)
ลูกเรือ:234 นาย
ยุทโธปกรณ์:
• 4 × ปืน 8 นิ้ว (203 มม.) แท่นคู่
• 4 × ปตอ. 3 นิ้ว แท่นคู่
• ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2:
4 × ปตอ. Madsen 20 มม.
• ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2:
4 × ปตอ. AA Vickers 40 มม.
เกราะ:
• กราบเรือ: 2.5 นิ้ว (63.5 มม.)
• สะพานเดินเรือ: 1 นิ้ว (25 มม.)
• ป้อมปืน: 4 นิ้ว (102 มม.)
ที่มา
http://www.thairath.co.th/content/613295
ปลุกตำนาน 'รล.ธนบุรี' ลงเกม World of Warships
Wargaming Asia เดินหน้าฉลองครบรอบ 4 ปี เผยข่าวใหญ่ เตรียมนำเรือรบหลวงธนบุรี ที่มีส่วนสำคัญใน 'ยุทธนาวีเกาะช้าง' ของไทย ลงสู่เกม World of Warships ในสายพัฒนาเรือรบญี่ปุ่น พร้อมอัพเดตใหม่อีกมากมาย...
บริษัท วอร์เกมมิ่ง (Wargaming) ประเทศไทย ได้จัดงาน Wargaming Gathering : Let's Celebrate เพื่อเป็นการฉลองการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ บริษัทฯ เป็นปีที่ 4 ในประเทศไทย และการพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้เล่นและทีมงาน ไม่ว่าจะเป็นเกมสงครามรถถัง เวิลด์ออฟแท็งก์ (World of Tanks) สงครามน่านน้ำ เวิลด์ออฟวอร์ชิพส์ (World of Warships) และสงครามรถถังบนมือถือ เวิลด์ออฟแท็งก์ บลิทซ์ (World of Tanks Blitz) ณ ร้านสิมิลัน 4 บุฟเฟ่ต์ทะเลเผา โดยมีการทำกิจกรรม และรับประทานอาหารร่วมกันระหว่างผู้เล่นและทีมงาน
งาน Wargaming Gathering : Let's Celebrate ฉลอง 4 ปีวอร์เกมมิ่งเอเชีย
ไฮไลต์สำคัญของงานนี้ คือ การเข้าร่วมงานของ นายฮิซาชิ ยากินูมะ โปรดิวเซอร์ ของเกมออนไลน์ เวิลด์ออฟวอร์ชิพส์ (World of Warships) ที่บินลัดฟ้ามาเพื่อบอกกล่าวถึงแผนการอัพเดตเกมในอนาคตอันใกล้ โดยหนึ่งในแผนการอัพเดตที่น่าตื่นเต้นที่สุด คือ การเตรียมแผนอัพเดตเรือรบของราชนาวีไทยลงสู่ตัวเกมด้วย โดยเรือรบที่น่าจะได้รับการอัพเดตนี้ คือ เรือหลวงธนบุรี (HTMS. Thonburi) ที่เป็นเรือที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ของไทย ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นำมาซึ่งความตื่นเต้นและยินดีปรีดาของผู้เล่นเกม เวิลด์ออฟวอร์ชิพส์ (World of Warships) ชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง
นายฮิซาชิ ยากินูมะ โปรดิวเซอร์ของเกมออนไลน์ เวิลด์ออฟวอร์ชิพส์ ประกบพริตตี้สาวไทย
และนอกเหนือไปจากการเตรียมการอัพเดตเรือหลวงธนบุรีลงสู่เกมแล้ว วอร์เกมมิ่งยังมีแผนการอัพเดตอื่นๆ ที่น่าสนใจดังนี้
1. อัพเดตระบบสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากในปัจจุบันการเล่นเกม World of Warships สภาพคลื่นและอากาศนั้นยังไม่ส่งผลใดๆ ในการบังคับเรือ ในอนาคตจะมีการอัพเดตให้สภาพภูมิอากาศมีผลต่อการต่อสู้กันด้วย เช่น เมื่อสู้กันขณะฝนตกจะส่งผลให้ระยะการมองเห็นและเล็งเป้าระยะไกลทำได้ยากขึ้น
2. อัพเดตท่าเรือในประเทศเอเชีย ซึ่งในอนาคตอาจจะมีการอัพเดตท่าเรือของประเทศไทยลงในเกมด้วยก็เป็นได้
3. อัพเดตแผนที่โหมดป้อมปราการ ฝ่ายใดที่สมารถยึดป้อมปราการได้สำเร็จ จะได้ป้อมปราการเป็นพันธมิตร ซึ่งจะช่วยโจมตีฝ่ายศัตรูเมื่อเข้ามาในระยะโจมตีของป้อมเหล่านั้น
4. ระบบปรับความหนาของเกราะของตัวเรือ โดยปัจจุบันเรือทุกลำจะมีความหนาของเกราะเท่ากัน แต่ในอนาคตจะมีการปรับให้เรือแต่ละลำมีความหนาของเกราะแต่ละส่วนที่แตกต่างกันออกไป 3 ระดับ คือ ระดับปกติ, ระดับหนา และระดับหนาสุด โดยระดับหนาสุดนี้จะอยู่บริเวณส่วนที่ติดตั้งอุปกรณ์สำคัญๆ ของเรือนั่นเอง
สาวๆ แท็งก์เกิร์ล และ วอร์ชิพส์เกิร์ล
ข้อมูลที่น่าสนใจของเรือหลวงธนบุรี
เรือหลวงธนบุรี เป็นเรือรบประเภท "เรือปืนยามฝั่ง" จัดอยู่ในชั้นธนบุรี โดยเป็นเรือที่มีลักษณะเดียวกันกับ เรือหลวงศรีอยุธยา ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือกาวาซากิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2479 (เป็นเหตุผลที่ทีมพัฒนา นำเอา เรือหลวงธนบุรี มาอยู่ในสายการพัฒนาเรือของกองทัพเรือญี่ปุ่น)
เป็นขุมกำลังสำคัญของกองทัพเรือไทย ในช่วงกรณีพิพาทระหว่างไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส โดยเรือหลวงธนบุรีได้เข้าทำการรบอย่างกล้าหาญในยุทธนาวีเกาะช้าง เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 จนสามารถขับไล่ข้าศึกได้สำเร็จ โดยมีอาวุธที่เป็นหมัดหนักที่สุดในตอนนั้น คือ ปืนใหญ่ประจำเรือ ลำกล้องคู่ขนาด 8 นิ้ว 2 แท่น
เรือหลวงธนบุรี ที่โรงเรียนนายเรือ จ.สมุทรปราการ ภาพจากวิกิพีเดีย
ประเภท: เรือปืนยามฝั่ง
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 2,350 ตัน (เต็มที่)
ความยาว: 13.41 เมตร
ความกว้าง: 8.34 เมตร
กินน้ำลึก: 4.20 เมตร
เครื่องยนต์: เครื่องยนต์ดีเซล 2 เครื่อง กำลัง 5,200 แรงม้าต่อเครื่อง
ความเร็ว:
• 12.2 นอต (ต่ำสุด)
• 15.8 นอต (สูงสุด)
ระยะทางเชื้อเพลิง:
• 6,493 ไมล์ทะเล (ต่ำสุด)
• 11,100 ไมล์ทะเล (สูงสุด)
ลูกเรือ:234 นาย
ยุทโธปกรณ์:
• 4 × ปืน 8 นิ้ว (203 มม.) แท่นคู่
• 4 × ปตอ. 3 นิ้ว แท่นคู่
• ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2: 4 × ปตอ. Madsen 20 มม.
• ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2: 4 × ปตอ. AA Vickers 40 มม.
เกราะ:
• กราบเรือ: 2.5 นิ้ว (63.5 มม.)
• สะพานเดินเรือ: 1 นิ้ว (25 มม.)
• ป้อมปืน: 4 นิ้ว (102 มม.)
ที่มา
http://www.thairath.co.th/content/613295