ยกเลิกบำนาญขององค์กรรัฐ - มติคณะรัฐมนตรีที่เป็นไปได้ (หรือไม่?) ในโลกความจริง

เนื่องจากระบบบำนาญในรัฐวิสาหกิจทำให้พนักงานเดิมมีรายได้รายเดือนหลังเกษียณ
มากกว่าเงินเดือนของปลัดกระทรวง ("พวกนี้เงินเดือนสูงกว่าข้าราชการทั้งนั้น แล้วถ้าเอาเงินเดือนพนักงานปัจจุบัน
เป็นตัวตั้ง มันเกินหน้าปลัดกระทรวงเลยนะครับ
" http://thaipublica.org/2014/12/the-truth-of-thailand-rail-system-10/ )

"รัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่งดังกล่าว ควรยกเลิกระบบบำเหน็จบำนาญและดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และเนื่องจากระบวนการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง ล่าช้ากว่ากำหนดมากว่า 5 ปีแล้ว กระทรวงการคลังจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกำหนดหลักการสมมติฐานในการคำนวณและเงื่อนไขบางประการเพื่อเป็นแรงจูงใจ โดยมีหลักการให้รัฐวิสาหกิจที่มีระบบบำเหน็จบำนาญในปัจจุบันดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยให้สิทธิแก่พนักงานปัจจุบันที่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญสามารถเลือกเข้าเป็นสมาชิกระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งมีหลักการให้ผลประโยชน์ที่ได้รับจากระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่น้อยไปกว่าระบบบำนาญเดิม" http://www.ryt9.com/s/cabt/138607

ผมถามว่ามันเป็นไปได้เหรอครับ ว่า ผลประโยชน์จะไม่น้อยไปกว่าระบบบำนาญเดิม
พนักงานบางคนกำลังจะได้บำนาญขึ้นหลักแสนแล้ว และยังได้สวัสดิการรักษาพยาบาลเทียบเท่าข้าราชการโดยอนุโลม
ตลอดชีพ (กฎเขียนไว้แบบนั้น)

ขณะนี้บางแห่งยังไม่ได้ตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วยซ้ำ ทำให้พนักงานเดิม
ได้มากกว่าพนักงานใหม่ (เทียบมูลค่าปัจจุบัน ณ ตอนเกษียณ หรือ คิด deflator) เทียบไม่ติดเลยนะครับ

พนักงานบำนาญบางท่านมีพ่อแม่ลูกเมีย ผ่าตัดใหญ่ๆ เป็นมะเร็ง ทานยาดีที่สุดของโรงเรียนแพทย์ มาเบิกมากสุดที่เห็น คือ
7 แสนกว่าบาทต่อครั้ง รวมๆ แล้วต่อคนอาจเป็นสิบๆล้าน (เฉพาะเบิกสิทธิประโยชน์นอกจากเงินสงเคราะห์รายเดือน หรือ บำนาญ)
ขณะที่พนักงานใหม่ๆ จะได้แค่บำเหน็จ ตัดสวัสดิการรักษาพยาบาล และจากกันไป  แรงจูงใจที่จะอยู่เอามาจากไหน

องค์กรอื่น - สภากาชาด http://www.redcross.or.th/forum/27/23644


ปล.
เรียน พนักงานใหม่
คุณเคยพล็อตกราฟหรือคำนวณดูไหมครับว่ามันต่างกันเป็น สิบเท่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่