หนังซุปเปอร์ฮีโร่ที่ดีคืออะไร ?
ถ้าจะให้พูดถึงความล้มเหลวของหนังที่ทำมาจากซุปเปอร์ฮีโร่ของ Marvel ก่อนหน้านี้นั้น ก็คงจะพอนึกชื่อขึ้นมาได้เยอะพอสมควร อย่างเช่น Daredevil , The Incredible Hulk (อ่านว่าฮัลค์) , Ghost Rider หรือแม้แต่ The Fantastic Four ซึ่งก่อนนี้ภาพลักษณ์ของหนังซุปเปอร์ฮีโร่จะดูเหมือนเป็นหนังที่ เล่นง่าย และต้องการสร้างจากเนื้อเรื่องอะไรซักอย่างที่มีอยู่แล้ว ตามด้วยการพยายามที่ทำให้เนื้อเรื่องที่มีมาอยู่ก่อนอย่างยาวนาน ถูกหยิบเลือกเพียงบางส่วนเท่านั้น เพื่อนำมาดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบภายใน 2 ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อทำแบบนี้ออกมา พวกแฟนการ์ตูนก็จะไม่ค่อยแฮปปี้ซักเท่าไหร่ รวมไปถึงคนที่ไม่ได้อินอะไรกับตัวละครพวกนี้มากนัก ก็จะไม่ค่อยอยากดู เพราะรู้สึกว่าไม่สนุก หนังประเภทซุปเปอร์ฮีโร่จึงมักจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ด้วยความฉลาดและการมองการณ์ไกลของ Marvel Studio จึงมีการวางแผนที่จะเชื่อมต่อทุกตัวละครที่มีอยู่เข้าด้วยกัน เพื่อนำมาสร้างเป็นหนังที่เกี่ยวโยงกันได้ต่อไปเรื่อยๆไม่รู้จบ ซึ่งจะว่าไปแล้วการทำแบบนี้ถือว่าเป็นไอเดียที่บ้าคลั่งมากๆ แต่ก็ถือว่าดีต่อทั้งคนดูและผู้ถือเรื่องราวต้นฉบับอย่าง Marvel Comic เช่นกัน เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องปล่อยให้ตัวละครตัวหนึ่งที่มีเรื่องราวดำเนินมาตลอดเกือบ 80 ปี ต้องถูกนำมาทำเป็นหนังที่หยิบยกเอาแค่เรื่องราวตอนสำคัญเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น แล้วก็ทำออกมาให้จบเพียงแค่ภายใน 1 หรือ 2 ภาค การเริ่มต้นทำ Iron Man (อ่านว่า ไอออนแมน) ในปี 2008 ถือว่าเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ของหนังซุปเปอร์ฮีโร่ ที่ต่อมาได้เชื่อมโยงมาสู่ Thor และ Captain America ในปี 2011 ตามลำดับ และต่อเนื่องยาวไปจนถึง Avengers (2012) ไปเรื่อยๆ จนมาถึงตอนนี้ Marvel Studio ได้วางแผนแพลนไว้ว่าจะมีหนังออกมาแทบทุกปียาวไปเรื่อยๆจนถึงปี 2019 แล้ว นั่นก็คือ Avengers : Infinity War ภาค 1 และ 2 ซึ่งถ้าให้คิดดูเล่นๆถึงพล็อทต่างๆที่เชื่อมโยงกัน แค่ข้อสงสัยที่ว่าเจ้าเม็ดสีเหลืองๆที่อยู่บนหน้าผากของ Vision นั้นคืออะไร กว่าเราจะรู้คำตอบก็คงจะเป็นในเรื่อง Avengers : Infinity War ภาค 1 ที่จะฉายเอาในปี 2018 นู่น แค่นี้ก็จะทำให้เห็นแล้วว่า สำหรับ Marvel แล้ว ทุกๆอย่างนั้นเชื่อมโยงกันหมด แล้วก็คงจะคลี่คลายกันต่อไปเรื่อยๆจนกว่าเราจะแก่ตายกันไปข้างนึง ตั้งแต่ปี 2008 ถ้าเราดูหนังของ Marvel Studio ทุกเรื่อง เราจะดูไปแล้วทั้งหมด 14 เรื่องในระยะเวลา 8 ปี และยิ่งถ้านับรวมหนังของ Marvel Comic อื่นๆทั้งหมดอีกด้วย (เช่น X-Men , Fantastic Four และ Deadpool) ก็จะมีเยอะถึง 23 เรื่องเลยทีเดียว การที่หนังที่ทำมาจากต้นฉบับของ Marvel Comic ทำออกมาเยอะมากขนาดนี้นั้นก็น่าจะส่งผลดีมากกว่าผลเสีย ซึ่งถ้ามองในมุมมองของคนดู เราก็จะได้เสพย์เรื่องราวที่ดีที่สุดของวัฒนธรรมหนังสือการ์ตูนของอเมริกาที่มีมาอย่างยาวนาน และถ้ามองในแง่มุมมองของการค้า แน่นอนว่าทั้งทาง Marvel Studio และ Walt Disney ก็คงจะได้ผลประโยชน์จากมันอย่างเต็มๆ ไม่ว่าจะเป็น ของเล่น เกมส์ หรือว่าการ์ตูน รวมไปถึงสินค้าเสื้อผ้าต่างๆ ซึ่งก็ถือว่าเป็นการครอบครองตลาดตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่เลยทีเดียว และข้อดีเหล่านั้นบางครั้งก็กลับกลายเป็นข้อเสียสำหรับตัวหนังไป
การที่ Marvel Studio อยู่ภายใต้ Disney และทำหนังที่ต้องคิดเผื่อยอดขายของๆเล่นและคนดูที่เป็นเด็ก บางครั้งก็ทำให้ขอบเขตและอิสระภาพในการนำเสนอหนังแต่ละเรื่องนั้นน้อยลง เนื้อเรื่องที่นำมานำเสนอต้องไม่ซับซ้อน ฉากแอ็คชั่นต้องไม่รุนแรงมาก และความเป็นดราม่าต้องไม่ลึกซึ้งจนเด็กไม่เข้าใจ ที่สำคัญสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คืออารมณ์ขัน ที่จะต้องมีสอดแทรกอยู่ตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งบางทีสิ่งเหล่านี้ก็ทำให้หนังนั้นขาดเสน่ห์ในเชิงภาพยนตร์ และทำให้ตัวละครขาดการแสดงออกในมุมมองที่มืดหม่นและจริงจังกว่านี้ ความขัดแย้งของ Captain America และ Iron Man จึงเป็นปมขัดแย้งที่เด็ก 8 ขวบจะต้องเข้าใจได้ และต้องเป็นการทะเลาะวิวาทที่เด็ก 8 ขวบนั้นจะสามารถดู และเข้าใจได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งนั่นคือ ข้อเสียที่ทำให้ Captain America : Civil War ไม่สนุกเท่าที่ควร
ภาพและแสง แรงจูงใจของตัวละคร และสิ่งที่คาดหวังจากฉากที่ตัวละครแต่ละตัวปะทะกัน ทำให้ผมรู้สึกผิดหวังที่ตั้งความหวังไว้สูงกว่านี้ จริงอยู่ว่านี่คือหนังที่ทำออกมาเพื่อความบันเทิง แต่ผมก็ได้ตั้งความคาดหวังไว้ที่ความบันเทิงที่จะได้มากกว่านี้ นั่นอาจเป็นเพราะว่าก่อนหน้านี้ Marvel Studio ได้ทุ่มเทกับการสร้างความตะลึงให้กับฉากต่างๆมานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว แต่ในเรื่อง Civil War นี้ ทุกอย่างกลับดูธรรมดา มีความเป็นไปได้ว่าด้วยพล็อทเรื่องที่ทับซ้อนกับ Batman V Superman แต่ด้วยความจริงจังที่น้อยลง ผมถึงรู้สึกว่ามันไม่สามารถพาคนดูเข้าไปสู่ปมขัดแย้งเท่าที่ควร ผมคาดหวังที่จะเห็นการดีไซน์ฉากแอ็คชั่น การไล่ล่า รวมไปถึงการต่อสู้ที่ดุเดือด ให้สมกับการที่สุดยอดซุปเปอร์ฮีโร่แต่ละตัวมารวมตัวกัน และงัดไม้เด็ดของตัวเองออกมาเพื่อล้มอีกฝ่ายให้ได้ ผมอยากเห็นความแตกหัก และอยากเห็นจุดยืนของแต่ละตัวละครที่ยืนยันจะต่อสู้กับอีกฝ่ายด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่น และความเชื่อเหล่านั้นจะสามารถสัมผัสได้ในหมัดทุกหมัดที่พวกเขาเหล่านี้กระหน่ำใส่เพื่อห้ำหั่นกัน และนั่นคือสิ่งที่ผมไม่สามารถสัมผัสได้เลย
ซีรี่ย์ Civil War ของ Marvel Comic ทำออกมาเมื่อปี 2006 และมีความยาว 7 เล่ม แถมยังมีเนื้อเรื่องปลีกย่อยที่แตกยอกออกมาอีกเกือบ 60 เล่ม ที่เกี่ยวโยงกัน โดยแบ่งออกเป็นเรื่องราวในมุมมองของซุปเปอร์ฮีโร่อื่นๆอีกมากมาย นี่คืออีเว้นท์ที่ยิ่งใหญ่ของ Marvel ที่มีผลกระทบรุนแรงกับจักรวาลของ Marvel ทั้งหมด โดยเริ่มจากเหตุการ์ณเล็กๆที่ขยายออกเป็นวงกว้าง และถึงแม้ว่าตัวภาพยนตร์ Captain America : Civil War นี้ จะนำเสนอผ่านมุมมองของ Captain America และ Iron Man แต่ก็มีซุปเปอร์ฮีโร่ตัวอื่นๆเข้ามาร่วมและเกี่ยวโยงด้วยมากมาย ดังนั้นจึงควรให้น้ำหนักแก่แรงจูงใจของตัวละครทุกตัว รวมไปถึงความนึกคิดของการที่ตัวละครแต่ละตัว จะมาร่วมสู้เพื่ออุดมการณ์ ให้คนดูได้รับรู้และสัมผัสได้ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าไม่อย่างนั้น Captain America : Civil War นี้ ก็คงไม่ต่างอะไรกับหนังซุปเปอร์ฮีโร่เรื่องก่อนๆ ที่หยิบยกเอาเฉพาะเนื้อเรื่องตอนสำคัญมาเล่า แล้วเอาตัวละครดังๆมาแปะใส่ไว้ในเรื่อง แต่เมื่อดูแล้ว กลับไม่สามารถสัมผัสได้ถึงพลังที่ตัวละครเหล่านี้มาอยู่ร่วมกัน และพอเป็นอย่างนั้นก็ทำให้รู้สึกว่า Marvel ได้ทำให้ตัวละครของตัวเองที่มีประวัติอันยาวนาน พากันเสียของเสียเอง
ขอบคุณที่ให้ความสนใจครับ ... เข้าไปดูรีวิวหนังเรื่องอื่นๆได้ที่
https://nospoil.wordpress.com/
ทำไม Captain America : Civil War ถึงไม่สนุก ...
หนังซุปเปอร์ฮีโร่ที่ดีคืออะไร ?
ถ้าจะให้พูดถึงความล้มเหลวของหนังที่ทำมาจากซุปเปอร์ฮีโร่ของ Marvel ก่อนหน้านี้นั้น ก็คงจะพอนึกชื่อขึ้นมาได้เยอะพอสมควร อย่างเช่น Daredevil , The Incredible Hulk (อ่านว่าฮัลค์) , Ghost Rider หรือแม้แต่ The Fantastic Four ซึ่งก่อนนี้ภาพลักษณ์ของหนังซุปเปอร์ฮีโร่จะดูเหมือนเป็นหนังที่ เล่นง่าย และต้องการสร้างจากเนื้อเรื่องอะไรซักอย่างที่มีอยู่แล้ว ตามด้วยการพยายามที่ทำให้เนื้อเรื่องที่มีมาอยู่ก่อนอย่างยาวนาน ถูกหยิบเลือกเพียงบางส่วนเท่านั้น เพื่อนำมาดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบภายใน 2 ชั่วโมง ดังนั้นเมื่อทำแบบนี้ออกมา พวกแฟนการ์ตูนก็จะไม่ค่อยแฮปปี้ซักเท่าไหร่ รวมไปถึงคนที่ไม่ได้อินอะไรกับตัวละครพวกนี้มากนัก ก็จะไม่ค่อยอยากดู เพราะรู้สึกว่าไม่สนุก หนังประเภทซุปเปอร์ฮีโร่จึงมักจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ด้วยความฉลาดและการมองการณ์ไกลของ Marvel Studio จึงมีการวางแผนที่จะเชื่อมต่อทุกตัวละครที่มีอยู่เข้าด้วยกัน เพื่อนำมาสร้างเป็นหนังที่เกี่ยวโยงกันได้ต่อไปเรื่อยๆไม่รู้จบ ซึ่งจะว่าไปแล้วการทำแบบนี้ถือว่าเป็นไอเดียที่บ้าคลั่งมากๆ แต่ก็ถือว่าดีต่อทั้งคนดูและผู้ถือเรื่องราวต้นฉบับอย่าง Marvel Comic เช่นกัน เพราะไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องปล่อยให้ตัวละครตัวหนึ่งที่มีเรื่องราวดำเนินมาตลอดเกือบ 80 ปี ต้องถูกนำมาทำเป็นหนังที่หยิบยกเอาแค่เรื่องราวตอนสำคัญเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น แล้วก็ทำออกมาให้จบเพียงแค่ภายใน 1 หรือ 2 ภาค การเริ่มต้นทำ Iron Man (อ่านว่า ไอออนแมน) ในปี 2008 ถือว่าเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ของหนังซุปเปอร์ฮีโร่ ที่ต่อมาได้เชื่อมโยงมาสู่ Thor และ Captain America ในปี 2011 ตามลำดับ และต่อเนื่องยาวไปจนถึง Avengers (2012) ไปเรื่อยๆ จนมาถึงตอนนี้ Marvel Studio ได้วางแผนแพลนไว้ว่าจะมีหนังออกมาแทบทุกปียาวไปเรื่อยๆจนถึงปี 2019 แล้ว นั่นก็คือ Avengers : Infinity War ภาค 1 และ 2 ซึ่งถ้าให้คิดดูเล่นๆถึงพล็อทต่างๆที่เชื่อมโยงกัน แค่ข้อสงสัยที่ว่าเจ้าเม็ดสีเหลืองๆที่อยู่บนหน้าผากของ Vision นั้นคืออะไร กว่าเราจะรู้คำตอบก็คงจะเป็นในเรื่อง Avengers : Infinity War ภาค 1 ที่จะฉายเอาในปี 2018 นู่น แค่นี้ก็จะทำให้เห็นแล้วว่า สำหรับ Marvel แล้ว ทุกๆอย่างนั้นเชื่อมโยงกันหมด แล้วก็คงจะคลี่คลายกันต่อไปเรื่อยๆจนกว่าเราจะแก่ตายกันไปข้างนึง ตั้งแต่ปี 2008 ถ้าเราดูหนังของ Marvel Studio ทุกเรื่อง เราจะดูไปแล้วทั้งหมด 14 เรื่องในระยะเวลา 8 ปี และยิ่งถ้านับรวมหนังของ Marvel Comic อื่นๆทั้งหมดอีกด้วย (เช่น X-Men , Fantastic Four และ Deadpool) ก็จะมีเยอะถึง 23 เรื่องเลยทีเดียว การที่หนังที่ทำมาจากต้นฉบับของ Marvel Comic ทำออกมาเยอะมากขนาดนี้นั้นก็น่าจะส่งผลดีมากกว่าผลเสีย ซึ่งถ้ามองในมุมมองของคนดู เราก็จะได้เสพย์เรื่องราวที่ดีที่สุดของวัฒนธรรมหนังสือการ์ตูนของอเมริกาที่มีมาอย่างยาวนาน และถ้ามองในแง่มุมมองของการค้า แน่นอนว่าทั้งทาง Marvel Studio และ Walt Disney ก็คงจะได้ผลประโยชน์จากมันอย่างเต็มๆ ไม่ว่าจะเป็น ของเล่น เกมส์ หรือว่าการ์ตูน รวมไปถึงสินค้าเสื้อผ้าต่างๆ ซึ่งก็ถือว่าเป็นการครอบครองตลาดตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่เลยทีเดียว และข้อดีเหล่านั้นบางครั้งก็กลับกลายเป็นข้อเสียสำหรับตัวหนังไป
การที่ Marvel Studio อยู่ภายใต้ Disney และทำหนังที่ต้องคิดเผื่อยอดขายของๆเล่นและคนดูที่เป็นเด็ก บางครั้งก็ทำให้ขอบเขตและอิสระภาพในการนำเสนอหนังแต่ละเรื่องนั้นน้อยลง เนื้อเรื่องที่นำมานำเสนอต้องไม่ซับซ้อน ฉากแอ็คชั่นต้องไม่รุนแรงมาก และความเป็นดราม่าต้องไม่ลึกซึ้งจนเด็กไม่เข้าใจ ที่สำคัญสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คืออารมณ์ขัน ที่จะต้องมีสอดแทรกอยู่ตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งบางทีสิ่งเหล่านี้ก็ทำให้หนังนั้นขาดเสน่ห์ในเชิงภาพยนตร์ และทำให้ตัวละครขาดการแสดงออกในมุมมองที่มืดหม่นและจริงจังกว่านี้ ความขัดแย้งของ Captain America และ Iron Man จึงเป็นปมขัดแย้งที่เด็ก 8 ขวบจะต้องเข้าใจได้ และต้องเป็นการทะเลาะวิวาทที่เด็ก 8 ขวบนั้นจะสามารถดู และเข้าใจได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งนั่นคือ ข้อเสียที่ทำให้ Captain America : Civil War ไม่สนุกเท่าที่ควร
ภาพและแสง แรงจูงใจของตัวละคร และสิ่งที่คาดหวังจากฉากที่ตัวละครแต่ละตัวปะทะกัน ทำให้ผมรู้สึกผิดหวังที่ตั้งความหวังไว้สูงกว่านี้ จริงอยู่ว่านี่คือหนังที่ทำออกมาเพื่อความบันเทิง แต่ผมก็ได้ตั้งความคาดหวังไว้ที่ความบันเทิงที่จะได้มากกว่านี้ นั่นอาจเป็นเพราะว่าก่อนหน้านี้ Marvel Studio ได้ทุ่มเทกับการสร้างความตะลึงให้กับฉากต่างๆมานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว แต่ในเรื่อง Civil War นี้ ทุกอย่างกลับดูธรรมดา มีความเป็นไปได้ว่าด้วยพล็อทเรื่องที่ทับซ้อนกับ Batman V Superman แต่ด้วยความจริงจังที่น้อยลง ผมถึงรู้สึกว่ามันไม่สามารถพาคนดูเข้าไปสู่ปมขัดแย้งเท่าที่ควร ผมคาดหวังที่จะเห็นการดีไซน์ฉากแอ็คชั่น การไล่ล่า รวมไปถึงการต่อสู้ที่ดุเดือด ให้สมกับการที่สุดยอดซุปเปอร์ฮีโร่แต่ละตัวมารวมตัวกัน และงัดไม้เด็ดของตัวเองออกมาเพื่อล้มอีกฝ่ายให้ได้ ผมอยากเห็นความแตกหัก และอยากเห็นจุดยืนของแต่ละตัวละครที่ยืนยันจะต่อสู้กับอีกฝ่ายด้วยอุดมการณ์ที่ยึดมั่น และความเชื่อเหล่านั้นจะสามารถสัมผัสได้ในหมัดทุกหมัดที่พวกเขาเหล่านี้กระหน่ำใส่เพื่อห้ำหั่นกัน และนั่นคือสิ่งที่ผมไม่สามารถสัมผัสได้เลย
ซีรี่ย์ Civil War ของ Marvel Comic ทำออกมาเมื่อปี 2006 และมีความยาว 7 เล่ม แถมยังมีเนื้อเรื่องปลีกย่อยที่แตกยอกออกมาอีกเกือบ 60 เล่ม ที่เกี่ยวโยงกัน โดยแบ่งออกเป็นเรื่องราวในมุมมองของซุปเปอร์ฮีโร่อื่นๆอีกมากมาย นี่คืออีเว้นท์ที่ยิ่งใหญ่ของ Marvel ที่มีผลกระทบรุนแรงกับจักรวาลของ Marvel ทั้งหมด โดยเริ่มจากเหตุการ์ณเล็กๆที่ขยายออกเป็นวงกว้าง และถึงแม้ว่าตัวภาพยนตร์ Captain America : Civil War นี้ จะนำเสนอผ่านมุมมองของ Captain America และ Iron Man แต่ก็มีซุปเปอร์ฮีโร่ตัวอื่นๆเข้ามาร่วมและเกี่ยวโยงด้วยมากมาย ดังนั้นจึงควรให้น้ำหนักแก่แรงจูงใจของตัวละครทุกตัว รวมไปถึงความนึกคิดของการที่ตัวละครแต่ละตัว จะมาร่วมสู้เพื่ออุดมการณ์ ให้คนดูได้รับรู้และสัมผัสได้ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าไม่อย่างนั้น Captain America : Civil War นี้ ก็คงไม่ต่างอะไรกับหนังซุปเปอร์ฮีโร่เรื่องก่อนๆ ที่หยิบยกเอาเฉพาะเนื้อเรื่องตอนสำคัญมาเล่า แล้วเอาตัวละครดังๆมาแปะใส่ไว้ในเรื่อง แต่เมื่อดูแล้ว กลับไม่สามารถสัมผัสได้ถึงพลังที่ตัวละครเหล่านี้มาอยู่ร่วมกัน และพอเป็นอย่างนั้นก็ทำให้รู้สึกว่า Marvel ได้ทำให้ตัวละครของตัวเองที่มีประวัติอันยาวนาน พากันเสียของเสียเอง
ขอบคุณที่ให้ความสนใจครับ ... เข้าไปดูรีวิวหนังเรื่องอื่นๆได้ที่
https://nospoil.wordpress.com/