ฟ้องล้มละลายไปเพื่ออะไรครับ ?

สวัสดีครับ

ผมรบกวนขอคำแนะนำหน่อยครับพอดีตอนนี้ผมกำลังศึกษากฏหมายล้มละลายอยู่ครับ ผมกำลังสงสัยว่าในเมื่อเจ้าหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (หนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน) ซึ่งไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้อยู่แล้วคดีแพ่งศาลตัดสินแล้วก็บังคับชำระหนี้ไม่ได้ ผมเลยอยากทราบว่าการที่เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ให้เป็นบุคคลล้มละลายเจ้าหนี้ได้อะไรครับ เพราะในเมื่อลูกหนี้ก็อาจไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้

เท่าที่ผมศึกษามาการฟ้องเป็นคดีแพ่งบังคับชำระหนี้ได้เฉพาะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่ถ้าเป็นฟ้องคดีล้มละลายเจ้าหนี้ทุกคนก็สามารถยื่นขอรับชำระหนี้ได้โดยที่ไม่ต้องฟ้องก็ได้ ... ผมก็สงสัยเจ้าหนี้คนที่ฟ้องเค้าจะใจดีขนาดเป็นคนยื่นฟ้องแล้วให้เจ้าหนี้คนอื่นได้รับประโยชน์ด้วยอย่างงั้นหรือเปล่าครับ

ถ้าหากสมมุติผมเป็นเจ้าหนี้ผมก็ต้องฟ้องแพ่งสิครับผมซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนเดียวได้ประโยชน์ แต่ถ้าฟ้องล้มละลายเจ้าหนี้คนอื่นก็ได้ประโยชน์ไปด้วย ผมก็เลยสงสัยว่าเจ้าหนี้เค้าฟ้องให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายเพื่ออะไรครับ ?

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้



ขอบคุณมากครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
จริงๆอยากจะบอกว่า กม.ล้มละลาย นั้น
หากลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดา และ ไม่ได้รับราชการ
กม.นี้ แทบจะเป็นคุณต่อลูกหนี้ด้วยซ้ำไป

หนี้กี่ล้าน กี่พันล้าน ก็จบลงได้ภายในเวลา 3 ปี นับจากมีคำพิพากษาให้ล้มละลาย
ส่วนเจ้าหนี้สิ เสียหายมาก เพราะไม่ได้รับชำระหนี้เลย
ส่วนใหญ่เจ้าหนี้ที่ฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายจะเป็นสถาบันการเงินทั้งสิ้น
เพราะเค้าเอาไปตัดหนี้สูญได้ และ เอาไปหักทอนทางบัญชีได้ทั้งหมด

ซึ่งจริงๆแล้วหนี้จริงๆอาจแค่ 5 ล้าน แต่คิดดอกเบี้ย ทบไปทบมาเป็นเวลา 10 ปี ก็ปาไปหลายสิบล้าน
เพื่อนผมเป็นหนี้ทางแพ่ง 2 ล้าน ถูกฟ้องคดีผ่านไป 9 ปี รวมยอดเกือบ 11 ล้าน
เจ้าหนี้ไปฟ้องล้มละลายกลายเป็นยอด 52 ล้าน........... คิดดูว่ามันเกินไปมั้ย
สุดท้าย ลูกหนี้ไม่ได้จ่ายเงินสักบาท และปลดจากล้มละลายไปนานแล้วด้วย


เจตนารมณ์ของ กม.นี้ คือ ต้องการให้มีการเริ่มต้นชีวิตใหม่
ไม่ใช่อะไรๆชาตินี้ก็หนี้ท่วมหัว ไม่อาจตั้งต้นชีวิตได้เลย
แต่ก็ต้องแลกมากับการถูกจำกัดสิทธิบ้างในทางกฎหมาย
เครดิต ไม่ดี
รับราชการไม่ได้
จัดการเรื่องบางอย่างไม่ได้
ขาดคุณสมบัติในการสอบ การเข้าทำงานราชการบ้าง (หลังปลด)
มันก็ต้องยอมรับนะในจุดนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่