มาดูกรรมการผู้ตัดสินเมืองนอก!!!เขาพกอะไรไปบ้างลงไปในสนาม

เป็นกรรมการจากเมืองนอกและใช้หลักแบบสากลนะครับ....แต่ผมคิดว่าเป็นประโยชน์ต่อวงการลีคบอลไทย ที่จะนำความรู้การใช้เทคโนโลยีมาใช้มาพัฒนาการการตัดสินให้มีความเที่ยงตรง ยุติธรรม แต่เหนืออื่นสิ่งใดผู้ตัดสินควรรับผิดชอบซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของตนเอง ( ผู้ตัดสินถือว่าเป็นปัจจัยที่มีส่วนต่อการพัฒนาบอลไทยครับ  คหสต.)  

ปล. เป่า1เกม  พกอุปกรณ์หลายรวมๆนี่หลายหมื่นเลย



Daily Mail สำนักข่าวดังแห่งประเทศอังกฤษ เปิดเผยอุปกรณ์ 14 ชิ้นที่ผู้ตัดสินใช้ระหว่างดูแลการแข่งขันพรีเมียร์ ลีก

แม้จะมีอุปกรณ์ไฮเทคเข้ามาช่วยมากมาย แต่เรายังได้เห็นความผิดพลาดหลายครั้งที่เกิดจากการทำหน้าที่ของกรรมการ

ไปลองส่องกันดูว่าบรรดาท่านเปาเขามีสิ่งอำนวยความสะดวกใดบ้าง

1.หูฟัง : อุปกรณ์ช่วยในการรับฟังข้อมูลจากผู้ช่วยผู้ตัดสินบริเวณริมเส้นทั้งสองคน รวมทั้งผู้ตัดสินที่สี่ (ราคาประมาณ 280 ปอนด์)

2.ไมโครโฟน : ใช้สำหรับพูดคุยกับผู้ช่วยผู้ตัดสินและผู้ตัดสินที่สี่

3.สายไฟ : ถูกแปะติดอยู่บริเวณหลังเสื้อ โดยจะเชื่อมโยงหูฟังและไมโครโฟนเข้ากับแบ็ตเตอรี่

4.ปากกา : อุปกรณ์ชิ้นนี้เป็นสิ่งที่อาจารย์ทั้งหลายต้องนำมาเอง

5.แบ็ตเตอรี่และเครื่องรับสัญญาณวิทยุ : ใช้เป็นแหล่งพลังงานของหูฟังและไมโครโฟน สำหรับเครื่องรับสัญญาณในตอนแรกที่ถูกนำมาใช้ ผู้ตัดสินบางคนได้รับเสียงรบกวนจากภายนอก ซึ่งตอนนี้อุปกรณ์อยู่ในระดับการทหาร โดยราคาสูงถึง 2,100 ปอนด์

6.ใบแดงในกระเป๋าด้านบน : ผู้ตัดสินบางรายเลือกจะเก็บใบแดงกับใบเหลืองในกระเป๋าเดียวกัน แต่บางรายก็เก็บแยกกัน ซึ่งอาจเดาการตัดสินใจลงโทษนักเตะได้ในขณะกำลังควักว่าหยิบจากกระเป๋าไหน

7.ใบเหลือง : ผู้ตัดสินหลายคนจะติดกระดาษเอาไว้เพื่อใช้จดชื่อนักเตะที่โดนใบเหลืองไปแล้ว โดยสติ๊กเกอร์นั้นจะเปลี่ยนใหม่หลังลงตัดสินในแต่ละเกม

8.เครื่องรับสัญญาณธงล้ำหน้า : ติดเข้ากับท่อนแขนด้านบน โดยจะมีการสั่นยามที่ผู้ช่วยผู้ตัดสินกดปุ่มธงล้ำหน้า ราคาอยู่ที่ 500 ปอนด์

9.สายรัดวัดการเต้นของหัวใจ : อุปกรณณ์นี้จะพันเข้ากับหน้าอกของผู้ตัดสิน โดยอ่านค่าเต้นของหัวใจก่อนส่งสัญญาณไปที่หน้าจอของนาฬิกา

10.นาฬิกาอ่านจังหวะการเต้นของหัวใจและจับเวลา : เวลา 90 นาทีของการแข่งขันจะถูกควบคุมโดยเจ้านาฬิกาชิ้นนี้ นอกจากนั้นจังหวะการเต้นของหัวใจก็จะมีนักวิทยาศาสตร์คอยดูแลเพื่อป้องกันอันตรายต่อตัวผู้ตัดสิน ราคาอยู่ที่ 400 ปอนด์

11.นาฬิกาที่ใช้ตัดสินประตูจากเทคโนโลยีโกล์ไลน์ : ดูคล้ายๆ กับนาฬิกาข้อมือโดยจะแสดงข้อความว่า 'GOAL' หากจังหวะก้ำกึ่งนั้นเป็นประตู ถูกสร้างขึ้นโดย Hawk-Eye เป็นของฟรีที่ได้จากการติดตั้งที่มีมูลค่า 250,000 ปอนด์

12.สเปรย์โฟม : ใช้ขีดเส้นจุดยืนของกำแพง มีมูลค่า 7.99 ปอนด์ต่อหนึ่งกระป๋อง

13.นกหวีดสำรอง : ตามชื่อ

14.เหรียญ : ผู้ตัดสินบางรายอาจใช้เหรียญนำโชค หรือเหรียญที่มีสีขาวกับดำ แทนการโยนหัวก้อย

เครดิต : ขอขอบคุณ http://www.soccersuck.in.th/boards/topic/1355157  ที่อำนวยความรู้ครับ

มาดูค่าเหนื่อยผู้ตัดสินระดับสากลกันครับ


*เป็นข้อมูลเมื่อปี 2011

พรีเมียร์ ลีก อังกฤษ : ผู้ ตัดสิน รับค่าเหนื่อยต่อแมตช์อยู่ที่ 1,170 ยูโร, ผู้ช่วยผู้ตัดสิน รับค่าเหนื่อยต่อแมตช์อยู่ที่ 375 ยูโร *** (ผู้ตัดสิน ในพรีเมียร์ ลีก อังกฤษ จะได้รับค่าเหนื่อยอยู่ที่ 38,500 ยูโรต่อปี)

ลาลีก้า สเปน : ผู้ตัดสิน รับค่าเหนื่อยต่อแมตช์อยู่ที่ 6,000 ยูโร, ผู้ช่วยผู้ตัดสิน รับค่าเหนื่อยต่อแมตช์อยู่ที่ 2,000 ยูโร

บุนเดส ลีก้า เยอรมีน : ผู้ตัดสิน รับค่าเหนื่อยต่อแมตช์อยู่ที่ 3,600 ยูโร, ผู้ช่วยผู้ตัดสิน รับค่าเหนื่อยต่อแมตช์อยู่ที่ 1,800 ยูโร

กัลโช่ เซเรีย อาร์ อิตาลี : ผู้ตัดสิน รับค่าเหนื่อยต่อแมตช์อยู่ที่ 3,400 ยูโร, ผู้ช่วยผู้ตัดสิน รับค่าเหนื่อยต่อแมตช์อยู่ที่ 1,700 ยูโร

ลีกเอิง ฝรั่งเศส : ผู้ตัดสิน รับค่าเหนื่อยต่อแมตช์อยู่ที่ 3,600 ยูโร, ผู้ช่วยผู้ตัดสิน ไม่เปิดเผย

พรีไมร่า ลีก้า โปรตุเกส : ผู้ตัดสิน รับค่าเหนื่อยต่อแมตช์อยู่ที่ 1,188 ยูโร, ผู้ช่วยผู้ตัดสิน รับค่าเหนื่อยต่อแมตช์อยู่ที่ 594 ยูโร

ไทยพรีเ้มียร์ ลีก : ผู้ ตัดสิน รับค่าเหนื่อยต่อแมตช์อยู่ที่ 5,000 บาท (ใบรับรองจากฟีฟ่า), ผู้ช่วยผู้ตัดสิน รับค่าเหนื่อยต่อแมตช์อยู่ที่ 3,000 บาท, ผู้ตัดสินที่ 4 1,500 บาท *(เป็นข้อมูลในฤดูกาลนี้)

อันนี้เป็นข้อมูลเก่านะครับของปี2011    ตอนนี้ปี2016  ค่าเหนื่อยการตัดสินน่าจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เพราะรายได้ของสมาคมแต่ละสมาคมมหาศาลมาก ทั้งในระดับลีคและระดับโลก  จะตีเป็นเงินบาทก็ขึ้นอยู่ค่าเงินยูโรละครับ  

เครดิต : ขอขอบคุณ http://www.oknation.net/blog/nun2504/2013/10/11/entry-1
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่