http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1461572793
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 25 เม.ย. พ.ต.อ.ศุภิฏพงศ์ ภักดิ์จรุง รองประธานมูลนิธิวัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หมู่ 5 ต.สิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ในฐานะกรรมการบริษัท ไทยเกอร์ เทมเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ทางมูลนิธิวัดป่าหลวงตามหาบัวฯ ได้ยื่นแบบแปลนโครงสร้างการขออนุญาตสร้างสวนสัตว์สาธารณะถึงกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์ เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งกรมอุทยานฯได้ลงพื้นที่มาตรวจสอบสถานที่ที่จะใช้สำหรับก่อสร้างมาแล้วหลายครั้ง และกรมอุทยานฯได้ตรวจสอบแบบแปลนอย่างละเอียด และก็ให้การยอมรับว่าแบบแปลนของเราได้มาตรฐานและดีที่สุดในระดับประเทศ โดยมีเงื่อนไขที่ทางสวนสัตว์ฯ ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดรวม 11 ข้อ คือ 1.จัดให้มีนักวิชาการด้านสัตว์ป่าและผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งมาประจำที่สวนสัตว์สาธารณะ และหากดำเนินกิจการโดยมีสัตว์ป่าประเภทสัตว์น้ำด้วย ให้มีนักวิชาการด้านสัตว์น้ำมาประจำเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยหนึ่งคน ข้อ 2.จำนวนและขนาดของสัตว์ป่าต้องมีความเหมาะสมและสัมพันธ์กับขนาดของสิ่งปลูกสร้าง กรง คอก บ่อ หรือสิ่งอื่นที่เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า
ข้อ 3.จัดสภาพสถานที่ที่อยู่ของสัตว์ป่าให้มีความเหมาะสม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปกติสุขตามชนิดของสัตว์ป่านั้น ข้อ 4.ในกรณีที่มีการจัดให้แสดงของสัตว์ป่า ต้องไม่เป็นการทรมานหรืออาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า ข้อ 5.จัดให้มีระบบป้องกันมลพิษตามมาตรฐานของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ข้อ 6.จัดให้มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับประชาชนที่เข้าชมและที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงสวนสัตว์สาธารณะ ข้อ 7.ต้องยินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่ระบุในใบอนุญาต โดยต้องอำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ข้อ 8.ในการดำเนินการสวนสัตว์สาธารณะหากมีสัตวืป่าที่เป็นสัตว์น้ำให้ยื่นใบขอรับอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะต่อกรมประมงด้วย
ข้อ 9.กรณีประสงค์จะดำเนินการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง จะต้องได้รับอนุญาต ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ข้อ 10.จัดทำเครื่องหมายหรือหลักฐานประจำสัตว์ป่า และซากของสัตว์ป่าตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด และข้อ 11.ดำเนินการให้เป็นไปตามโครงการและแผนการดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยเคร่งครัด และรายงานความคืบหน้าการดำเนินการให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทราบ
พ.ต.อ.ศุภิฏพงศ์ เปิดเผยต่อว่า ต่อมาเราก็ได้รับข่าวดี โดยเมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก็ได้เซ็นต์หนังสือออกใบอนุญาตให้กับมูลนิธิฯในนาม บริษัท ไทยเกอร์ เทมเพิล จำกัด จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ (สป.21) บนเนื้อที่ 25 ไร่ 1 งาน 36 ตารางวา โดยหลังจากที่ได้รับการอนุญาตแล้ว เราจะเร่งดำเนินการก่อสร้างสวนสัตว์สาธารณะให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เบื้องต้นคาดว่าคงจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 6 เดือน ด้วยการทุ่มเงินประมาณ 120 ล้านบาท
ในที่สุด..กรมอุทยานฯออกใบอนุญาตจัดตั้งสวนสัตว์สาธารณะ "วัดเสือ" ทุ่มทุนสูง 120 ล้าน
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 25 เม.ย. พ.ต.อ.ศุภิฏพงศ์ ภักดิ์จรุง รองประธานมูลนิธิวัดป่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หมู่ 5 ต.สิงห์ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ในฐานะกรรมการบริษัท ไทยเกอร์ เทมเพิล จำกัด เปิดเผยว่า ทางมูลนิธิวัดป่าหลวงตามหาบัวฯ ได้ยื่นแบบแปลนโครงสร้างการขออนุญาตสร้างสวนสัตว์สาธารณะถึงกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์ เมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งกรมอุทยานฯได้ลงพื้นที่มาตรวจสอบสถานที่ที่จะใช้สำหรับก่อสร้างมาแล้วหลายครั้ง และกรมอุทยานฯได้ตรวจสอบแบบแปลนอย่างละเอียด และก็ให้การยอมรับว่าแบบแปลนของเราได้มาตรฐานและดีที่สุดในระดับประเทศ โดยมีเงื่อนไขที่ทางสวนสัตว์ฯ ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดรวม 11 ข้อ คือ 1.จัดให้มีนักวิชาการด้านสัตว์ป่าและผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่งมาประจำที่สวนสัตว์สาธารณะ และหากดำเนินกิจการโดยมีสัตว์ป่าประเภทสัตว์น้ำด้วย ให้มีนักวิชาการด้านสัตว์น้ำมาประจำเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยหนึ่งคน ข้อ 2.จำนวนและขนาดของสัตว์ป่าต้องมีความเหมาะสมและสัมพันธ์กับขนาดของสิ่งปลูกสร้าง กรง คอก บ่อ หรือสิ่งอื่นที่เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า
ข้อ 3.จัดสภาพสถานที่ที่อยู่ของสัตว์ป่าให้มีความเหมาะสม และสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปกติสุขตามชนิดของสัตว์ป่านั้น ข้อ 4.ในกรณีที่มีการจัดให้แสดงของสัตว์ป่า ต้องไม่เป็นการทรมานหรืออาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า ข้อ 5.จัดให้มีระบบป้องกันมลพิษตามมาตรฐานของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ข้อ 6.จัดให้มีระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับประชาชนที่เข้าชมและที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงสวนสัตว์สาธารณะ ข้อ 7.ต้องยินยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบสถานที่ที่ระบุในใบอนุญาต โดยต้องอำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ข้อ 8.ในการดำเนินการสวนสัตว์สาธารณะหากมีสัตวืป่าที่เป็นสัตว์น้ำให้ยื่นใบขอรับอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะต่อกรมประมงด้วย
ข้อ 9.กรณีประสงค์จะดำเนินการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง จะต้องได้รับอนุญาต ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ข้อ 10.จัดทำเครื่องหมายหรือหลักฐานประจำสัตว์ป่า และซากของสัตว์ป่าตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด และข้อ 11.ดำเนินการให้เป็นไปตามโครงการและแผนการดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยเคร่งครัด และรายงานความคืบหน้าการดำเนินการให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทราบ
พ.ต.อ.ศุภิฏพงศ์ เปิดเผยต่อว่า ต่อมาเราก็ได้รับข่าวดี โดยเมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก็ได้เซ็นต์หนังสือออกใบอนุญาตให้กับมูลนิธิฯในนาม บริษัท ไทยเกอร์ เทมเพิล จำกัด จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะ (สป.21) บนเนื้อที่ 25 ไร่ 1 งาน 36 ตารางวา โดยหลังจากที่ได้รับการอนุญาตแล้ว เราจะเร่งดำเนินการก่อสร้างสวนสัตว์สาธารณะให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เบื้องต้นคาดว่าคงจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 6 เดือน ด้วยการทุ่มเงินประมาณ 120 ล้านบาท