ช่วงนี้เห็นถกเถียงกันเรื่องโปรแกรม AFF Cup ที่เวลาอาจใกล้เคียงกับ คัดบอลโลกรอบสุดท้ายเอเชีย เลยอยากลองเอาตัวอย่างการบริหารจัดการทีมอย่างญี่ปุ่นมาคุยๆ กัน เริ่มต้นก็ลองกดลิ๊งค์ไปดูรายชื่อนักเตะทีมชาติของพวก เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่นใน EAFF Cup ที่แข่งเมื่อปีที่แล้วดู
http://eaff.com/competitions/eafc2015/result3.html
http://eaff.com/competitions/eafc2015/result4.html
รายการ EAFF Cup นี่ ผมคิดว่าศักดิ์ศรีเท่ากับ AFF Cup นะครับ โดยรายการ EAFF 2015 นี่ เกาหลีใต้ได้แชมป์ จีนได้รองแชมป์ ที่ 3 และ 4 คือ เกาหลีเหนือ และญี่ปุ่น ดูแล้วไม่รู้ว่าแฟนบอลญี่ปุ่นเค้าจะด่าสมาคมฯ ว่าทำให้เค้ารู้สึกเสียศักดิ์ศรี และมองข้ามเพื่อนบ้านจนไม่ประสบความสำเร็จมั๊ย รวมไปถึงอันดับ Fifa จะลดลงทำยังไงดี
โดยในภาพรวมรายการนี้ จีน มีผลงานดีกว่าญี่ปุ่นมาก ซึ่งก็ไม่แปลกใจเพราะทีมที่ญี่ปุ่นส่งไปก็คือมีเป้าหมายเพื่อไปลองตัวนักเตะ และเป็นทัวร์นาเม้นท์วัดดาวรุ่ง (จริงๆ เกาหลีใต้ก็เหมือนกัน แต่อาจมีตัวชุดใหญ่ผสมเยอะกว่า) พอมองกลับมาที่ Asian Games ก็เหมือนกัน ญี่ปุ่นนี่แทบไม่เคยประสบความสำเร็จเลย แต่บทสรุปสุดท้ายคือ ญี่ปุ่นเข้าบอลโลกรอบสุดท้ายทุกครั้ง และได้ไปบอลโอลิมปิกทุกครั้ง .....
เปรียบเทียบกับเรา สมมติเราไม่ได้แชมป์ AFF Cup และอาจไม่ได้แชมป์ SEA Games (แต่เอาจริงส่งชุดไหนไป ผมว่าลึกๆ เราก็มีลุ้นเหอะ แต่จะถึงแชมป์ ไม่ถึงแชมป์นี่อีกเรื่อง) แต่สุดท้ายเราได้เข้าไปถึงคัดบอลโลกเอเชียรอบ 12 ทีมสุดท้ายสม่ำเสมอ เป็นขาประจำรอบสุดท้าย Asian Cup ทุกครั้ง .....เทียบกับที่ว่าเราตั้งเป้าว่าจะต้องเป็นแชมป์ AFF ทุกครั้ง (เพราะเป็นบอลโลกของชาว ASEAN เนื่องจากไม่มีถ้วยอื่นในโลกนี้ที่ให้ทีมใน ASEAN ได้ลุ้นถึงแชมป์กัน) เพราะศักดิ์ศรีค้ำคอบ้าง หรือเอาไว้ไปข่มเกรียนคีย์บอร์ดชาติอื่นไรงี้ เป็นผมๆ ขอเลือกแบบแรก คือไม่ได้แชมป์ไม่เป็นไร แต่ขอเป็นขาประจำเอเชีย ผมว่าแบบนี้มันดูมีอนาคตกว่าเยอะเลย
ผมคิดว่าสมาคมบอล (รวมถึงแฟนบอลด้วย) ก็ควรจะจัดความสำคัญของรายการให้ชัดเจน บริหารจัดการเป้าเล็กเพื่อพัฒนาไปยังเป้าหมายที่ใหญ่กว่า เพราะบางครั้งนอกจากจะเป็นการ safe พวกตัวผู้เล่น key man หลายๆ คนให้อยู่เล่นได้นานๆ หากจัดตัวแบบผสม คือเอาดาวรุ่งมาผสมกับตัวเด่นอื่นๆ ในลีกให้มารู้ระบบทีมชาติ :p แล้วให้พวกตัว key man ได้พักบ้าง ขณะเดียวกันมันก็น่าจะส่งผลดีต่อการหาตัวตายตัวแทนในทีมชาติ ทำให้ทีมชาติพัฒนาต่อเนื่อง ไม่ใช่แบบเมื่อก่อนที่ทีมเล่นดีก็เป็นความหวังทีนึง แต่พอถึงจุดที่ความหวังเริ่มตันและทนเสียงแฟนบอลไม่ไหว ก็ล้างไพ่นักเตะทีมชาติทีนึง แล้วพอกลับมามีความหวังกันใหม่ ก็ลุ้นกันไปจนหมดหวังก็โละทั้งทีมใหม่อีกเป็นวัฎจักรแบบนี้ไปเรื่อยๆ
มาดูตัวอย่างรายชื่อนักเตะของ เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่นใน EAFF Cup 2015
http://eaff.com/competitions/eafc2015/result3.html
http://eaff.com/competitions/eafc2015/result4.html
รายการ EAFF Cup นี่ ผมคิดว่าศักดิ์ศรีเท่ากับ AFF Cup นะครับ โดยรายการ EAFF 2015 นี่ เกาหลีใต้ได้แชมป์ จีนได้รองแชมป์ ที่ 3 และ 4 คือ เกาหลีเหนือ และญี่ปุ่น ดูแล้วไม่รู้ว่าแฟนบอลญี่ปุ่นเค้าจะด่าสมาคมฯ ว่าทำให้เค้ารู้สึกเสียศักดิ์ศรี และมองข้ามเพื่อนบ้านจนไม่ประสบความสำเร็จมั๊ย รวมไปถึงอันดับ Fifa จะลดลงทำยังไงดี
โดยในภาพรวมรายการนี้ จีน มีผลงานดีกว่าญี่ปุ่นมาก ซึ่งก็ไม่แปลกใจเพราะทีมที่ญี่ปุ่นส่งไปก็คือมีเป้าหมายเพื่อไปลองตัวนักเตะ และเป็นทัวร์นาเม้นท์วัดดาวรุ่ง (จริงๆ เกาหลีใต้ก็เหมือนกัน แต่อาจมีตัวชุดใหญ่ผสมเยอะกว่า) พอมองกลับมาที่ Asian Games ก็เหมือนกัน ญี่ปุ่นนี่แทบไม่เคยประสบความสำเร็จเลย แต่บทสรุปสุดท้ายคือ ญี่ปุ่นเข้าบอลโลกรอบสุดท้ายทุกครั้ง และได้ไปบอลโอลิมปิกทุกครั้ง .....
เปรียบเทียบกับเรา สมมติเราไม่ได้แชมป์ AFF Cup และอาจไม่ได้แชมป์ SEA Games (แต่เอาจริงส่งชุดไหนไป ผมว่าลึกๆ เราก็มีลุ้นเหอะ แต่จะถึงแชมป์ ไม่ถึงแชมป์นี่อีกเรื่อง) แต่สุดท้ายเราได้เข้าไปถึงคัดบอลโลกเอเชียรอบ 12 ทีมสุดท้ายสม่ำเสมอ เป็นขาประจำรอบสุดท้าย Asian Cup ทุกครั้ง .....เทียบกับที่ว่าเราตั้งเป้าว่าจะต้องเป็นแชมป์ AFF ทุกครั้ง (เพราะเป็นบอลโลกของชาว ASEAN เนื่องจากไม่มีถ้วยอื่นในโลกนี้ที่ให้ทีมใน ASEAN ได้ลุ้นถึงแชมป์กัน) เพราะศักดิ์ศรีค้ำคอบ้าง หรือเอาไว้ไปข่มเกรียนคีย์บอร์ดชาติอื่นไรงี้ เป็นผมๆ ขอเลือกแบบแรก คือไม่ได้แชมป์ไม่เป็นไร แต่ขอเป็นขาประจำเอเชีย ผมว่าแบบนี้มันดูมีอนาคตกว่าเยอะเลย
ผมคิดว่าสมาคมบอล (รวมถึงแฟนบอลด้วย) ก็ควรจะจัดความสำคัญของรายการให้ชัดเจน บริหารจัดการเป้าเล็กเพื่อพัฒนาไปยังเป้าหมายที่ใหญ่กว่า เพราะบางครั้งนอกจากจะเป็นการ safe พวกตัวผู้เล่น key man หลายๆ คนให้อยู่เล่นได้นานๆ หากจัดตัวแบบผสม คือเอาดาวรุ่งมาผสมกับตัวเด่นอื่นๆ ในลีกให้มารู้ระบบทีมชาติ :p แล้วให้พวกตัว key man ได้พักบ้าง ขณะเดียวกันมันก็น่าจะส่งผลดีต่อการหาตัวตายตัวแทนในทีมชาติ ทำให้ทีมชาติพัฒนาต่อเนื่อง ไม่ใช่แบบเมื่อก่อนที่ทีมเล่นดีก็เป็นความหวังทีนึง แต่พอถึงจุดที่ความหวังเริ่มตันและทนเสียงแฟนบอลไม่ไหว ก็ล้างไพ่นักเตะทีมชาติทีนึง แล้วพอกลับมามีความหวังกันใหม่ ก็ลุ้นกันไปจนหมดหวังก็โละทั้งทีมใหม่อีกเป็นวัฎจักรแบบนี้ไปเรื่อยๆ