สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องหลักฐานที่กล่าวถึงพระมารดาของพระเจ้าเสือไว้ ว่าความน่าจะเป็นที่พระเจ้าเสือเป็นโอรสลับน่าจะมีน้อย ในประเด็นนี้ผมขออธิบายเป็นส่วนๆไป อาจจะยาวสักหน่อยแต่เชื่อว่าคงสามารถทำให้เข้าใจได้ละเอียดครับ
หลักฐานประเภทคำให้การเชลย
หนึ่งในเอกสารที่กล่าวถึงพระมารดาของพระเจ้าเสือคือ "คำให้การชาวกรุงเก่า" แปลมาจากเอกสารต้นฉบับภาษาพม่าชื่อ "โยธยา ยาสะวิน" หรือ "ราชวงศ์อยุทธยา" ที่ราชสำนักพม่าเรียบเรียงจากจากคำให้การเชลยอยุทธยาที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าหลังจากเสียกรุงศรีอยุทธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ เอกสารชิ้นนี้ระบุพระนามมารดาพระเจ้าเสือว่า "นางกุสาวดี"
เอกสารชิ้นเดียวกันนี้มีฉบับภาษามอญด้วย แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ "คำให้การขุนหลวงหาวัด" แต่มีเนื้อหาต่างกันบ้าง ฉบับนี้เรียกพระนามพระมารดาพระเจ้าเสือว่า "เจ้าจอมสมบุญ" ภายหลังเรียกว่า "พระราชชายาเทวี"
คำให้การทั้งสองฉบับกล่าวตรงกันว่าพระมารดาพระเจ้าเสือเป็นสนมของสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อนางตั้งครรภ์สมเด็จพระนารายณ์จึงยกให้เจ้าพระยาสุรสีห์ (พระเพทราชา) ไปเลี้ยงแทน เนื่องจากสมเด็จพระนารายณ์ไม่โปรดจะมีโอรสกับพระสนมเพราะในอดีตทรงถูกพระศรีสิงห์โอรสที่เกิดจากสนมก่อกบฏ (แต่เมื่อตรวจสอบกับหลักฐานชั้นต้น พระศรีสิงห์เป็นอนุชาพระเจ้าทรงธรรม และก่อกบฏในรัชกาลพระเชษฐาธิราช แต่สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงถูกพระอนุชาคือพระไตรภูวนาทิตยวงศ์กับพระองค์ทองวางแผนก่อกบฏเช่นเดียวกัน) แต่คำให้การไม่ได้กล่าวว่านางเป็นธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ทั้งที่เอกสารนี้ระบุถึงเรื่องสงครามกับเชียงใหม่ด้วย
เอกสารฉบับระเภทคำให้การนี้เรียบเรียงขึ้นหลังเหตุการณ์มาก เนื้อหาหลายตอนไม่สอดคล้องกับหลักฐานร่วมสมัยและมีความพิสดารสูง หลายตอนคล้ายกับมุขปาฐะมากกว่าจดหมายเหตุที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะชื่อคนที่มีความคลาดเคลื่อนบ้าง ดังนั้นอาจยากจะยึดถือเป็นข้อเท็จจริงได้ทั้งหมดครับ
เรื่องที่ว่ามีพระนามเดิมคือ "กุลธิดา" ไม่มีหลักฐานใดๆ ครับ
หลักฐานประเภทพงศาวดาร
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาที่พบในปัจจุบันมีเนื้อหาไม่สมบูรณ์อยู่มาก เข้าใจว่าเพราะสูญหายไปในช่วงสงครามเสียกรุง จึงต้องชำระขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเนื้อหาหลายตอนมีความคลาดเคลื่อนจากหลักฐานร่วมสมัย หลายตอนเชื่อว่าถูกแต่งเสริมขึ้นในภายหลัง มีพงศาวดารที่กล่าวถึงพระเจ้าเสือที่ควรกล่าวถึงคือ
พระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด)
เชื่อว่าชำระในสมัยอยุทธยาตอนปลาย เพราะมีเนื้อหาในช่วงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มาจนจบในรัชกาลพระเจ้าท้ายสระต่างจากพงศาวดารที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ ศักราชส่วนใหญ่ตรงตามหลักฐานต้น และไม่มีเนื้อหาประณามกษัตริย์อยุทธยาเหมือนฉบับที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ มีการกล่าวถึงชาติกำเนิดพระเจ้าเสือว่า
"ลุศักราช ๑๐๖๗ ปีระกาสัปตศก พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไป ณ เมืองพระพิษณุโลกถึงที่โพทับช้าง มีพระโองการตรัสว่า สมเด็จพระนารายเป็นเจ้า เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปตีเมืองล้านช้างสมเด็จพระมารดาทรงพระครรภ์แก่ เสด็จมาส่งตั้งจวนใต้ต้นมะเดื่อประสูติกู...."
ข้อมูลนี้ไม่ได้ระบุว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับ และประสูติเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ยกทัพไปตีล้านช้าง ต่างจากพงศาวดารสมัยหลังที่ระบุว่าไปตีเชียงใหม่ พบในหลักฐานดัตช์ว่าใน กลางปี พ.ศ.๒๒๑๑ มีการเตรียมทัพไปตีล้านช้างแต่ล้มเลิกไป ต่อมาใน พ.ศ.๒๒๑๓ จึงมีการกำหนดทำสงครามกับล้านช้างอีกครั้ง แล้วจึงเกิดสงครามใหญ่ในช่วง พ.ศ.๒๒๑๔-๒๒๑๖ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
ชำระใน จ.ศ.๑๑๕๗ (พ.ศ.๒๒๓๘) สมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระราชพงศาวดารฉบับที่มีเนื้อหาตั้งแต่สถาปนากรุงจนเสียกรุงครั้งที่ ๒ ที่เก่าที่สุดที่พบในปัจจุบันคือ มีเนื้อหาแบ่งออกเป็นสองส่วน
ส่วนแรกเรียกเข้าใจว่าอ้างอิงจากเอกสารเก่าที่เหลืออยู่หรืออาจมีการชำระมาก่อนหน้า บรรยายเหตุการณ์ตั้งแต่สถาปนากรุงศรีอยุทธยามาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ตอนพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ไปตีเมืองไทรโยค แล้วมีข้อความระบุต่อจากนั้นว่า "ยังขาดอยู่ ๒ สมุด แต่ศักราช ๑๐๓๐ เศษ" คือขาดสมุดไทยไปสองเล่ม เนื้อหาที่ปรากฏต่อมากล่าวถึงการสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์ต่อเนื่องไปจนจบใน จ.ศ.๑๐๖๐ (พ.ศ.๒๒๔๑) รัชกาลพระเจ้าเสือ
ส่วนที่สอง ชำระขึ้นใหม่โดยเจ้าพระยาพิพิธพิชัย มีเนื้อหาตั้งแต่สมัยปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์จนถึงเสียกรุงครั้งที่ ๒ โดยมีข้อความในบานแพนกระบุว่า "เพียงนี้เรื่องพระเพทราชากับพระเจ้าเสือทำไว้แต่ก่อน บัดนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีรับสั่ง ให้เจ้าพระยาพิพิธพิชัยกระทำเรื่องพระนารายณ์เป็นเจ้า กับพระเพทราชาพระเจ้าเสือ พระบรมโกศ พระเจ้าพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ทำศักราชถัดกันไป"
พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน
ปรากฏในบานแพนกว่ารัชกาลที่ ๒ เมื่อยังเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๑ เมื่อ จ.ศ. ๑๑๖๙ (พ.ศ. ๒๓๕๐) มีการรวมเนื้อหาที่แยกเป็น ๒ ส่วนของฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ให้ต่อเนื่องกัน และเพิ่มเติดิมด้วยมรายละเอียดหลายอย่างรวมถึงเนื้อหาที่ขาดไปสองเล่มด้วย เรื่องราวเกี่ยวกับชาติกำเนิดของพระเจ้าเสือก็ถูกเพิ่มขึ้นมาในพงศาวดารฉบับนี้เอง และพงศาวดารฉบับนี้กลายเป็นแม่แบบให้พงศาวดารที่ชำระในภายหลัง เนื้อหาในพงศาวดารฉบับต่อๆ มาไม่ค่อยต่างจากฉบับนี้มากนัก
แต่เนื้อหาที่ถูกเพิ่มมาเมื่อเทียบกับพงศาวดารเก่าๆ ส่วนใหญ่ไม่มีการระบุศักราชชัดเจน มีการเพิ่มประวัติบุคคลสามัญมามากทั้งพระเจ้าเสือในวัยเยาว์ พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนซ์ ฟอลคอน) โกษาเหล็ก โกษาปานไปฝรั่งเศสซึ่งผิดกับคติการเขียนพงศาวดารเดิมเน้นเรื่องพระมหากษัตริย์หรือเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง เนื้อหาหลายเรื่องดูเหมือนเรื่องเล่า มีความพิสดารเหนือจริงเช่น เรื่องพระยาช้างที่รู้ภาษามนุษย์ พระยาสีหราชเดโชหายตัวไล่ฆ่าพม่า โกษาปานเอาหมอผีไปโชว์อาคมที่ฝรั่งเศสซึ่งขัดแย้งกับหลักฐานชั้นต้นคือจดหมายเหตุของคณะทูตขณะอยู่ในฝรั่งเศสที่ตีพิมพ์ที่ฝรั่งเศสหลังจากคณะทูตกลับไทยแค่ปีเดียวอย่างมาก นอกจากนี้บันทึกของโกษาปานที่เหลืออยู่ก็แสดงให้เห็นว่าท่านจดทุกสิ่งตามท่านเห็นอย่างละเอียดตามความเป็นจริง (บันทึกโกษาปานถูกเก็บอยู่ที่กรุงศรีอยุทธยามาตลอด ยังมีหลักฐานฝรั่งเศสระบุว่าเจ้าศรีสังข์โอรสเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ทรงเคยเอามาอ่าน แต่ก็คงหายไปแล้วตอนเสียกรุง สันนิษฐานว่าผู้ชำระพงศาวดารในสมัยรัตนโกสินทร์แต่งเสริมเนื้อหาขึ้นใหม่จากมุขปาฐะที่จดจำมาได้)
พระราชพงศาวดารฉบับนี้กล่าวว่าเมื่อโกษาปาน (ที่ถูกควรเป็นโกษาเหล็ก) ตีเมืองเชียงใหม่ได้ สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงเลือกบุตรีเจ้าเมืองเชียงใหม่มาเป็นสนม "แล้วเมื่อเสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้นพระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ แลนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราชาแล้วดำรัสว่า นางลาวคนนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงในพระราชวัง ก็คิดละอายแก่พระสนามทั้งปวงและท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด"
ต่อมาในปีขาล จ.ศ.๑๐๒๔ (พ.ศ.๒๒๐๕) ระหว่างที่นางกับพระเพทราชาตามเสด็จพระนารายณ์ไปพิษณุโลกนางก็คลอดบุตรชายที่โพธิ์ประทับช้าง ชื่อ "เดื่อ" คือพระเจ้าเสือ เป็นพงศาวดารฉบับแรกที่ระบุพระนามเดิมและปีประสูติอย่างชัดเจน
หลายคนเข้าใจกันว่าพระมารดาพระเจ้าเสือผู้นี้เป็น "เจ้าหญิงเชียงใหม่" แต่ตามพงศาวดารระบุว่าเป็นธิดาของพระยาแสนหลวง ซึ่งตำแหน่ง "แสนหลวง" เป็น "สิงเมือง" หรือเสนาบดีผู้ใหญ่ของเชียงใหม่ ไม่ใช่กษัตริย์ครับ
นอกจากเหตุผลที่ทรงไม่อยากมีโอรสที่เกิดจากสนมที่ถูกอ้างถึงในเอกสารประเภทคำให้การแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่พระนารายณ์จะพระราชทานธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่นี้ให้พระเพทราชา รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์สันนิษฐานว่าอาจจะอยู่ที่ฐานะของมารดาของนางด้วย เป็นไปได้ว่าแม้บิดาจะเป็นเจ้าเมือง แต่มารดาอาจไม่ได้มีฐานะสูงส่ง อาจจะเป็นเพียงหญิงรับใช้หรือภรรยาทาสก็ได้ ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระนารายณ์จึงอาจจะทรงรังเกียจและละอายพระทัย
อย่างไรก็ตามเรื่องปีประสูติในพระราชพงศาวดารยังน่าสงสัย เพราะเมื่อตรวจสอบกับ มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า ระบุว่าอยุทธยาตีเชียงใหม่ได้ใน วันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๔ จ.ศ.๑๐๒๔ ซึ่งเดือน ๔ จัดเป็นปลายปีแล้ว ถึงเดือน ๕ ต้องเปลี่ยนศักราช จึงเป็นไปไม่ได้ที่ธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่จะตั้งครรภ์และคลอดให้ทันในศักราช ๑๐๒๔
หลักฐานชั้นต้นของชาวต่างประเทศ
จดหมายเหตุราชอาณาจักรสยามของลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ บันทึกเรื่องพระเจ้าเสือเพียงว่าเป็นบุตรของออกพระเพทราชา ไม่ได้ระบุว่าเป็นโอรสลับ และกล่าวว่า "ออกหลวงสุรศักดิ์ ชายหนุ่มอายุราว ๒๘ ถึง ๓๐ ปี" แสดงว่าประสูติในช่วง พ.ศ. ๒๒๐๐-๒๒๐๓ ก่อนสงครามตีเมืองเชียงใหม่เล็กน้อย
จดหมายเหตุของเอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์เยอรมันที่ตามคณะทูตบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์เข้ามาในกรุงศรีอยุทธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๓ รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ระบุว่าพระเจ้าเสือที่ทรงเป็นพระมหาอุปราชเวลานั้นมีพระชนม์ ๒๐ พรรษาลองหักลบแบบหยาบๆจะได้ปีพระราชสมภพประมาณ พ.ศ.๒๒๑๓ แต่เมื่อคำนวณกับพระชนม์ของพระโอรสองค์ใหญ่คือพระเจ้าท้ายสระที่ประสูติราว พ.ศ. ๒๒๒๑
แสดงว่าพระเจ้าเสือต้องมีโอรสตั้งแต่ราว ๘ พรรษา อายุที่เค็มพ์เฟอร์บันทึกจึงไม่น่าถูกต้อง ลาลูแบร์น่าจะถูกต้องกว่า
สรุปแล้ว เรื่องที่พระเจ้าเสือเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ที่ประสูติจากสนมธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ยังไม่มีหลักฐานอื่นนอกจากคำให้การสมัยหลังกับพระราชพงศาวดารของไทยที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ครับ
หลักฐานชั้นต้นของชาวต่างชาติจำนวนมากตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ถึงพระเจ้าเสือ ไม่เคยกล่าวว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสสมเด็จพระนารายณ์เลย มีแต่ร่ำลือกันว่า "พระปีย์" เป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ (จากคลิป อ.สุเนตรบอกว่ามีในหลักฐานของแชรแวส แต่เมื่อตรวจสอบเนื้อหาแล้วพบว่าโอรสลับในที่นี้หมายถึงพระปีย์) ความน่าเชื่อเรื่องความเป็นโอรสลับของพระเจ้าเสือจึงมีน้อยครับ
แต่มีแนวโน้มว่าพระมารดาน่าจะเป็นชาวเชียงใหม่จริง เพราะปรากฏในหลักฐานของพ่อค้าดัตช์ (ไม่ทราบว่าฉบับใด แต่ อ.ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์เคยอ้างอิงเอาไว้) ว่าในสมัยพระเพทราชา พระเจ้าเสือซึ่งเป็นวังหน้าได้เสด็จไปพระราชทานเพลิงของพระมารดาที่วัดซึ่งตรงอยู่ตรงข้ามหมู่บ้านฮอลันดา ดูตำแหน่งแล้วเป็นวัดบางกะจะ ซึ่งภายในวัดมีพระเจดีย์ศิลปะล้านนาอยู่ จึงสันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะสร้างโดยชุมชนชาวล้านนาซึ่งอยู่ในกรุงศรีอยุทธยา และที่เลือกวัดนี้ก็น่าจะเพราะพระมารดาเป็นชาวล้านนาเหมือนกันครับ
หลักฐานประเภทคำให้การเชลย
หนึ่งในเอกสารที่กล่าวถึงพระมารดาของพระเจ้าเสือคือ "คำให้การชาวกรุงเก่า" แปลมาจากเอกสารต้นฉบับภาษาพม่าชื่อ "โยธยา ยาสะวิน" หรือ "ราชวงศ์อยุทธยา" ที่ราชสำนักพม่าเรียบเรียงจากจากคำให้การเชลยอยุทธยาที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าหลังจากเสียกรุงศรีอยุทธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ เอกสารชิ้นนี้ระบุพระนามมารดาพระเจ้าเสือว่า "นางกุสาวดี"
เอกสารชิ้นเดียวกันนี้มีฉบับภาษามอญด้วย แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ "คำให้การขุนหลวงหาวัด" แต่มีเนื้อหาต่างกันบ้าง ฉบับนี้เรียกพระนามพระมารดาพระเจ้าเสือว่า "เจ้าจอมสมบุญ" ภายหลังเรียกว่า "พระราชชายาเทวี"
คำให้การทั้งสองฉบับกล่าวตรงกันว่าพระมารดาพระเจ้าเสือเป็นสนมของสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อนางตั้งครรภ์สมเด็จพระนารายณ์จึงยกให้เจ้าพระยาสุรสีห์ (พระเพทราชา) ไปเลี้ยงแทน เนื่องจากสมเด็จพระนารายณ์ไม่โปรดจะมีโอรสกับพระสนมเพราะในอดีตทรงถูกพระศรีสิงห์โอรสที่เกิดจากสนมก่อกบฏ (แต่เมื่อตรวจสอบกับหลักฐานชั้นต้น พระศรีสิงห์เป็นอนุชาพระเจ้าทรงธรรม และก่อกบฏในรัชกาลพระเชษฐาธิราช แต่สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงถูกพระอนุชาคือพระไตรภูวนาทิตยวงศ์กับพระองค์ทองวางแผนก่อกบฏเช่นเดียวกัน) แต่คำให้การไม่ได้กล่าวว่านางเป็นธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ทั้งที่เอกสารนี้ระบุถึงเรื่องสงครามกับเชียงใหม่ด้วย
เอกสารฉบับระเภทคำให้การนี้เรียบเรียงขึ้นหลังเหตุการณ์มาก เนื้อหาหลายตอนไม่สอดคล้องกับหลักฐานร่วมสมัยและมีความพิสดารสูง หลายตอนคล้ายกับมุขปาฐะมากกว่าจดหมายเหตุที่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะชื่อคนที่มีความคลาดเคลื่อนบ้าง ดังนั้นอาจยากจะยึดถือเป็นข้อเท็จจริงได้ทั้งหมดครับ
เรื่องที่ว่ามีพระนามเดิมคือ "กุลธิดา" ไม่มีหลักฐานใดๆ ครับ
หลักฐานประเภทพงศาวดาร
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยาที่พบในปัจจุบันมีเนื้อหาไม่สมบูรณ์อยู่มาก เข้าใจว่าเพราะสูญหายไปในช่วงสงครามเสียกรุง จึงต้องชำระขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเนื้อหาหลายตอนมีความคลาดเคลื่อนจากหลักฐานร่วมสมัย หลายตอนเชื่อว่าถูกแต่งเสริมขึ้นในภายหลัง มีพงศาวดารที่กล่าวถึงพระเจ้าเสือที่ควรกล่าวถึงคือ
พระราชพงศาวดารฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด)
เชื่อว่าชำระในสมัยอยุทธยาตอนปลาย เพราะมีเนื้อหาในช่วงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มาจนจบในรัชกาลพระเจ้าท้ายสระต่างจากพงศาวดารที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ ศักราชส่วนใหญ่ตรงตามหลักฐานต้น และไม่มีเนื้อหาประณามกษัตริย์อยุทธยาเหมือนฉบับที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ มีการกล่าวถึงชาติกำเนิดพระเจ้าเสือว่า
"ลุศักราช ๑๐๖๗ ปีระกาสัปตศก พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไป ณ เมืองพระพิษณุโลกถึงที่โพทับช้าง มีพระโองการตรัสว่า สมเด็จพระนารายเป็นเจ้า เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปตีเมืองล้านช้างสมเด็จพระมารดาทรงพระครรภ์แก่ เสด็จมาส่งตั้งจวนใต้ต้นมะเดื่อประสูติกู...."
ข้อมูลนี้ไม่ได้ระบุว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับ และประสูติเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ยกทัพไปตีล้านช้าง ต่างจากพงศาวดารสมัยหลังที่ระบุว่าไปตีเชียงใหม่ พบในหลักฐานดัตช์ว่าใน กลางปี พ.ศ.๒๒๑๑ มีการเตรียมทัพไปตีล้านช้างแต่ล้มเลิกไป ต่อมาใน พ.ศ.๒๒๑๓ จึงมีการกำหนดทำสงครามกับล้านช้างอีกครั้ง แล้วจึงเกิดสงครามใหญ่ในช่วง พ.ศ.๒๒๑๔-๒๒๑๖ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
ชำระใน จ.ศ.๑๑๕๗ (พ.ศ.๒๒๓๘) สมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระราชพงศาวดารฉบับที่มีเนื้อหาตั้งแต่สถาปนากรุงจนเสียกรุงครั้งที่ ๒ ที่เก่าที่สุดที่พบในปัจจุบันคือ มีเนื้อหาแบ่งออกเป็นสองส่วน
ส่วนแรกเรียกเข้าใจว่าอ้างอิงจากเอกสารเก่าที่เหลืออยู่หรืออาจมีการชำระมาก่อนหน้า บรรยายเหตุการณ์ตั้งแต่สถาปนากรุงศรีอยุทธยามาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ตอนพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ไปตีเมืองไทรโยค แล้วมีข้อความระบุต่อจากนั้นว่า "ยังขาดอยู่ ๒ สมุด แต่ศักราช ๑๐๓๐ เศษ" คือขาดสมุดไทยไปสองเล่ม เนื้อหาที่ปรากฏต่อมากล่าวถึงการสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์ต่อเนื่องไปจนจบใน จ.ศ.๑๐๖๐ (พ.ศ.๒๒๔๑) รัชกาลพระเจ้าเสือ
ส่วนที่สอง ชำระขึ้นใหม่โดยเจ้าพระยาพิพิธพิชัย มีเนื้อหาตั้งแต่สมัยปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์จนถึงเสียกรุงครั้งที่ ๒ โดยมีข้อความในบานแพนกระบุว่า "เพียงนี้เรื่องพระเพทราชากับพระเจ้าเสือทำไว้แต่ก่อน บัดนี้สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวมีรับสั่ง ให้เจ้าพระยาพิพิธพิชัยกระทำเรื่องพระนารายณ์เป็นเจ้า กับพระเพทราชาพระเจ้าเสือ พระบรมโกศ พระเจ้าพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ทำศักราชถัดกันไป"
พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน
ปรากฏในบานแพนกว่ารัชกาลที่ ๒ เมื่อยังเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ ๑ เมื่อ จ.ศ. ๑๑๖๙ (พ.ศ. ๒๓๕๐) มีการรวมเนื้อหาที่แยกเป็น ๒ ส่วนของฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ให้ต่อเนื่องกัน และเพิ่มเติดิมด้วยมรายละเอียดหลายอย่างรวมถึงเนื้อหาที่ขาดไปสองเล่มด้วย เรื่องราวเกี่ยวกับชาติกำเนิดของพระเจ้าเสือก็ถูกเพิ่มขึ้นมาในพงศาวดารฉบับนี้เอง และพงศาวดารฉบับนี้กลายเป็นแม่แบบให้พงศาวดารที่ชำระในภายหลัง เนื้อหาในพงศาวดารฉบับต่อๆ มาไม่ค่อยต่างจากฉบับนี้มากนัก
แต่เนื้อหาที่ถูกเพิ่มมาเมื่อเทียบกับพงศาวดารเก่าๆ ส่วนใหญ่ไม่มีการระบุศักราชชัดเจน มีการเพิ่มประวัติบุคคลสามัญมามากทั้งพระเจ้าเสือในวัยเยาว์ พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนซ์ ฟอลคอน) โกษาเหล็ก โกษาปานไปฝรั่งเศสซึ่งผิดกับคติการเขียนพงศาวดารเดิมเน้นเรื่องพระมหากษัตริย์หรือเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง เนื้อหาหลายเรื่องดูเหมือนเรื่องเล่า มีความพิสดารเหนือจริงเช่น เรื่องพระยาช้างที่รู้ภาษามนุษย์ พระยาสีหราชเดโชหายตัวไล่ฆ่าพม่า โกษาปานเอาหมอผีไปโชว์อาคมที่ฝรั่งเศสซึ่งขัดแย้งกับหลักฐานชั้นต้นคือจดหมายเหตุของคณะทูตขณะอยู่ในฝรั่งเศสที่ตีพิมพ์ที่ฝรั่งเศสหลังจากคณะทูตกลับไทยแค่ปีเดียวอย่างมาก นอกจากนี้บันทึกของโกษาปานที่เหลืออยู่ก็แสดงให้เห็นว่าท่านจดทุกสิ่งตามท่านเห็นอย่างละเอียดตามความเป็นจริง (บันทึกโกษาปานถูกเก็บอยู่ที่กรุงศรีอยุทธยามาตลอด ยังมีหลักฐานฝรั่งเศสระบุว่าเจ้าศรีสังข์โอรสเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ทรงเคยเอามาอ่าน แต่ก็คงหายไปแล้วตอนเสียกรุง สันนิษฐานว่าผู้ชำระพงศาวดารในสมัยรัตนโกสินทร์แต่งเสริมเนื้อหาขึ้นใหม่จากมุขปาฐะที่จดจำมาได้)
พระราชพงศาวดารฉบับนี้กล่าวว่าเมื่อโกษาปาน (ที่ถูกควรเป็นโกษาเหล็ก) ตีเมืองเชียงใหม่ได้ สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงเลือกบุตรีเจ้าเมืองเชียงใหม่มาเป็นสนม "แล้วเมื่อเสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้นพระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ แลนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราชาแล้วดำรัสว่า นางลาวคนนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงในพระราชวัง ก็คิดละอายแก่พระสนามทั้งปวงและท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด"
ต่อมาในปีขาล จ.ศ.๑๐๒๔ (พ.ศ.๒๒๐๕) ระหว่างที่นางกับพระเพทราชาตามเสด็จพระนารายณ์ไปพิษณุโลกนางก็คลอดบุตรชายที่โพธิ์ประทับช้าง ชื่อ "เดื่อ" คือพระเจ้าเสือ เป็นพงศาวดารฉบับแรกที่ระบุพระนามเดิมและปีประสูติอย่างชัดเจน
หลายคนเข้าใจกันว่าพระมารดาพระเจ้าเสือผู้นี้เป็น "เจ้าหญิงเชียงใหม่" แต่ตามพงศาวดารระบุว่าเป็นธิดาของพระยาแสนหลวง ซึ่งตำแหน่ง "แสนหลวง" เป็น "สิงเมือง" หรือเสนาบดีผู้ใหญ่ของเชียงใหม่ ไม่ใช่กษัตริย์ครับ
นอกจากเหตุผลที่ทรงไม่อยากมีโอรสที่เกิดจากสนมที่ถูกอ้างถึงในเอกสารประเภทคำให้การแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่พระนารายณ์จะพระราชทานธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่นี้ให้พระเพทราชา รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์สันนิษฐานว่าอาจจะอยู่ที่ฐานะของมารดาของนางด้วย เป็นไปได้ว่าแม้บิดาจะเป็นเจ้าเมือง แต่มารดาอาจไม่ได้มีฐานะสูงส่ง อาจจะเป็นเพียงหญิงรับใช้หรือภรรยาทาสก็ได้ ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระนารายณ์จึงอาจจะทรงรังเกียจและละอายพระทัย
อย่างไรก็ตามเรื่องปีประสูติในพระราชพงศาวดารยังน่าสงสัย เพราะเมื่อตรวจสอบกับ มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า ระบุว่าอยุทธยาตีเชียงใหม่ได้ใน วันจันทร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๔ จ.ศ.๑๐๒๔ ซึ่งเดือน ๔ จัดเป็นปลายปีแล้ว ถึงเดือน ๕ ต้องเปลี่ยนศักราช จึงเป็นไปไม่ได้ที่ธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่จะตั้งครรภ์และคลอดให้ทันในศักราช ๑๐๒๔
หลักฐานชั้นต้นของชาวต่างประเทศ
จดหมายเหตุราชอาณาจักรสยามของลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ บันทึกเรื่องพระเจ้าเสือเพียงว่าเป็นบุตรของออกพระเพทราชา ไม่ได้ระบุว่าเป็นโอรสลับ และกล่าวว่า "ออกหลวงสุรศักดิ์ ชายหนุ่มอายุราว ๒๘ ถึง ๓๐ ปี" แสดงว่าประสูติในช่วง พ.ศ. ๒๒๐๐-๒๒๐๓ ก่อนสงครามตีเมืองเชียงใหม่เล็กน้อย
จดหมายเหตุของเอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์เยอรมันที่ตามคณะทูตบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์เข้ามาในกรุงศรีอยุทธยาเมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๓ รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ระบุว่าพระเจ้าเสือที่ทรงเป็นพระมหาอุปราชเวลานั้นมีพระชนม์ ๒๐ พรรษาลองหักลบแบบหยาบๆจะได้ปีพระราชสมภพประมาณ พ.ศ.๒๒๑๓ แต่เมื่อคำนวณกับพระชนม์ของพระโอรสองค์ใหญ่คือพระเจ้าท้ายสระที่ประสูติราว พ.ศ. ๒๒๒๑
แสดงว่าพระเจ้าเสือต้องมีโอรสตั้งแต่ราว ๘ พรรษา อายุที่เค็มพ์เฟอร์บันทึกจึงไม่น่าถูกต้อง ลาลูแบร์น่าจะถูกต้องกว่า
สรุปแล้ว เรื่องที่พระเจ้าเสือเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ที่ประสูติจากสนมธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ยังไม่มีหลักฐานอื่นนอกจากคำให้การสมัยหลังกับพระราชพงศาวดารของไทยที่ชำระสมัยรัตนโกสินทร์ครับ
หลักฐานชั้นต้นของชาวต่างชาติจำนวนมากตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ถึงพระเจ้าเสือ ไม่เคยกล่าวว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสสมเด็จพระนารายณ์เลย มีแต่ร่ำลือกันว่า "พระปีย์" เป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์ (จากคลิป อ.สุเนตรบอกว่ามีในหลักฐานของแชรแวส แต่เมื่อตรวจสอบเนื้อหาแล้วพบว่าโอรสลับในที่นี้หมายถึงพระปีย์) ความน่าเชื่อเรื่องความเป็นโอรสลับของพระเจ้าเสือจึงมีน้อยครับ
แต่มีแนวโน้มว่าพระมารดาน่าจะเป็นชาวเชียงใหม่จริง เพราะปรากฏในหลักฐานของพ่อค้าดัตช์ (ไม่ทราบว่าฉบับใด แต่ อ.ปฏิพัฒน์ พุ่มพงษ์แพทย์เคยอ้างอิงเอาไว้) ว่าในสมัยพระเพทราชา พระเจ้าเสือซึ่งเป็นวังหน้าได้เสด็จไปพระราชทานเพลิงของพระมารดาที่วัดซึ่งตรงอยู่ตรงข้ามหมู่บ้านฮอลันดา ดูตำแหน่งแล้วเป็นวัดบางกะจะ ซึ่งภายในวัดมีพระเจดีย์ศิลปะล้านนาอยู่ จึงสันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะสร้างโดยชุมชนชาวล้านนาซึ่งอยู่ในกรุงศรีอยุทธยา และที่เลือกวัดนี้ก็น่าจะเพราะพระมารดาเป็นชาวล้านนาเหมือนกันครับ
แสดงความคิดเห็น
ใครเป็น พระมารดา พระเจ้าเสือ คะ??