เมื่อเจ้าสัวแสนจิตอาสา แล่นเรือประชารัฐ เปลี่ยนโจทย์ธุรกิจสู่โจทย์ชาติ พลิกฟื้นศก.ฐากราก ที่สุดแล้วจะ“วกกลับ” มาเคลื่อนธุรกิจเจ้าสัว
ความเดิมจากปัญหาการเมืองที่เรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2549
10 ปีผ่านไป การบริหารประเทศสลับขั้วอำนาจกันไปมา
สังคมเริ่มแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เหล่านี้เป็นเหมือน “แผลกดทับ” เศรษฐกิจไทยมาอย่างต่อเนื่อง
เพราะเมื่อการเมืองเปลี่ยนขั้ว นโยบายการบริหารประเทศก็เปลี่ยนตาม ทำให้การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ ไม่ได้รับการแก้ไขสักที
โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างประเทศ เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากการส่งออก ที่มีสัดส่วนสูงถึง 70-75 % ของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP)
เมื่อเศรษฐกิจโลกผันผวน เศรษฐกิจไทยจึงทรุดหนัก เพราะไม่อาจ “ยืนบนลำแข้งของตัวเองได้”
หน่ำซ้ำผู้ส่งออกไทยส่วนใหญ่ ยังคงผลิตสินค้าตามใบสั่ง (รับจ้างผลิต -OEM) ขาดการคิดค้นนวัตกรรม (Innovation) ขณะที่ธุรกิจส่วนใหญ่ ต่างคนต่างเติบโต มีการเชื่อมโยงการผลิตจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำตลาดซัพพลายเชนไม่ดีพอ โดยเฉพาะซัพพลายเชนที่มาจาก “ประชากรฐานราก” ที่มีอยู่กว่า 30 ล้านคน
หรือ “เกือบครึ่ง” ของจำนวนประชากรไทย 67 ล้านคน
เคยประเมินกันว่า ประชากรฐานรากเหล่านี้ แม้จะมีจำนวนมาก ทว่า มีส่วนในการ “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” ไม่ถึง 10 % ของ GDP ทำให้การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา “ขาดสมดุล”
“ขาโตข้างเดียว อีกข้างเล็กลีบ”
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กูรูการตลาด (ปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ การจัดการด้านการตลาด มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา) ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ พูดเสมอว่า ไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนโครงสร้างประเทศ ให้เข้มแข็งจากภายใน ลดภาคพึ่งพาการส่งออก
นั่นคือ การผลักดันกำลังซื้อจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ กลายเป็นการระดมสรรพกำลัง 3 ประสานความร่วมมือ “รัฐ-เอกชน-และประชาชน” ผ่านโครงการสานพลังประชารัฐ คืนความสมดุลเศรษฐกิจภายในและภายนอก ในยุค 4.0 ที่ต้องพึ่งพาธุรกิจที่มีนวัตกรรม มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม แทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก แบบเดิมๆ
ทั้งนี้ แนวคิดการจัดตั้งคณะทำงานสานพลังประชารัฐ เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2558 รูปธรรมที่เห็นชัดเกิดขึ้นเมื่อ 3 ธ.ค.2558 “ดร.สมคิด” ได้นำคณะนักธุรกิจ เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายประชารัฐ
จนเกิดการประชุมคณะทำงานสานพลังประชารัฐ นัดแรกเมื่อวันที่ 13 ม.ค. ต่อเนื่องอีกหลายคณะในหลายคณะทำงานตามมา
“ตลอดเวลา 10 กว่าปี ที่ไทยยืนอยู่บนฐานเศรษฐกิจพึ่งพาการค้าภายนอก เหมือนวงจรที่งูกินหางตัวเองไปเรื่อยๆ ที่ในไม่ช้าเมื่อพื้นฐานเศรษฐกิจไทยอ่อนแอยากที่จะรับมือวิกฤติ” ดร.สมคิด เคยกล่าวไว้เช่นนั้น
ขณะเดียวกัน ช่วงเวลาที่รัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทำอะไรได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด จึงถือเป็น “จังหวะเหมาะ” ที่เปิดทางให้ “ทัพนักธุรกิจหมื่นแสนล้าน” ร่วมกันพลิกหัวขบวนประเทศ จัดตั้งคณะกรรมการสานพลังประชารัฐ ที่ประกอบด้วย 12 คณะทำงาน
โดยแต่ละคณะทำงานจะประกอบด้วย หัวหน้าทีมภาครัฐ และหัวหน้าทีมภาคเอกชน
บนความเชื่อของ ดร.สมคิด ที่ว่า คนที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศได้ไม่ใช่ภาครัฐ แต่คือ “ภาคเอกชน”
โดยสิ่งที่ดร.สมคิดฝากไว้กับเอกชนว่า..
“อยากทำอะไรไม่ต้องบ่น อยากทำอะไรลงมาทำเลย โครงการจะขับเคลื่อนโดยภาคประชาชน”
เวลาผ่านไปไม่นาน เห็นการทำงานของแต่ละคณะทำงานที่ตั้งขึ้นอยู่เนืองๆ โดยคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ที่มี “ฐาปน สิริวัฒนภักดี” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ในฐานะหัวหน้าทีมเอกชนคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ เล่าว่า
คณะทำงานทั้ง 12 คณะทำงาน จะพูดถึงเรื่องคล้ายๆกัน คือ การหาหนทางปฏิวัติอุตสาหกรรมในรูปแบบอุตสาหกรรมใหม่ หรือ New S Curve คือการสร้างรายได้จากภาคบริการ สร้างมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรม ดังนั้นจากนี้ไปจะเรื่องราวเหล่านี้ออกมาต่อเนื่อง
สำหรับคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากฯ เขาเล่าว่า สามารถสรุปโมเดลสร้างความเข้มแข็งจากชุมชน โดยกำลังจะจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง ในชื่อ “บริษัทประชารัฐ รักสามัคคี” เพื่อเป็นบริษัทกำกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เข้าไปสนับสนุนการสร้างรายได้กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผ่าน 3 กลยุทธ์ ได้แก่
ส่งเสริมภาคเกษตร การแปรรูปสินค้าผ่านผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และโอทอป และท่องเที่ยวชุมชน
ภายใต้บริษัทโฮลดิ้งฯดังกล่าว จะประกอบด้วย “บริษัทลูก” จำนวน 18 กลุ่มภูมิภาค (คลัสเตอร์) ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ
โดยในระยะ(เฟส)แรกจะนำร่องด้วย 5 กลุ่มภูมิภาค (จัดตั้ง 5 บริษัทกลุ่มภูมิภาค) ได้แก่ 1.ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง 2.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม 3.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน 4. อุดรธานี เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ และ 5.บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์
ประเดิมการจัดตั้งบริษัทไปแล้วที่ภูเก็ต ในชื่อบริษัทประชารัฐ รักสามัคคี ภูเก็ต จำกัด โดยการระดมทุนร่วมกันระหว่างทุนท้องถิ่น และไทยเบฟ
ทั้งนี้ คาดว่า 5 บริษัทในกลุ่มภูมิภาคตามเฟสแรก จะจัดตั้งได้ภายในเดือนเม.ย.นี้ และตั้งเป้าจะตั้งบริษัทให้ครบ 18 กลุ่มภูมิภาค ภายในปีนี้
บริษัทดังกล่าว จะทำหน้าที่เป็นบริษัทเพื่อสังคม (Social Enterprise)จะเป็นแกนกลางในการเชื่อมโยงผู้ผลิต ผู้แปรรูปและผู้ซื้อให้มาพบกันเข้าไปเติมเติมองค์ความรู้ และพัฒนาการการตลาดยกระดับสินค้าไทยไปสู่สากล สร้างรายได้ที่ยั่งยืนและสร้างความสุขให้กับชุมชน ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และลดความเหลื่อมล้ำอย่างแท้จริง
ฐาปน ยังกล่าวอีกว่า สำหรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ Social Enterprise มีหลักการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วย 1.สร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการเป็นหลักไม่ใช่การบริจาค 2. เป็นธุรกิจที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อผู้ถือหุ้น แต่จะนำกำไรที่ได้มาขยายการลงทุนสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคม 3. การบริหารจัดการโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล และ 4.มีการจดทะเบียนรูปแบบธุรกิจมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทชัดเจน
“ทั้ง12คณะทำงานล้วนเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจฐานราก เพราะเมื่อเศรษฐกิจฐานรากเติบโต ก็จะเชื่อมต่อไปกับคณะทำงานของคุณทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารเซ็นทรัลกรุ๊ป (หัวหน้าทีมเอกชนคณะทำงานการสร้างรายได้และการกระตุ้นการใช้จ่ายของประเทศ) และคณะทำงานของคุณชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ (หัวหน้าทีมเอกชนคณะทำงานการดึงดูดการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ) ขณะที่คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการกลุ่มมิตรผล หัวหน้าทีมเอกชนคณะทำงานการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ก็จะเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจฐากราก คุณกานต์ ตระกูลฮุน อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี ดูเรื่องสำคัญมาก เป็นหัวหน้าทีมเอกชนคณะทำงานการยกระดับนวัตกรรมและผลิตภาพและการปรับแก้กฎหมายและกลไกภาครัฐ ทุกคณะจะทำงานเชื่อมโยงกันภายใต้เป้าหมายใหญ่ และเป้าหมายย่อยของแต่ละคณะ”
ฐาปน ยังมองว่าวิธีการบริหารธุรกิจ กับการทำงานเพื่อชาตินั้นไม่ต่างกัน คือ ต้องทุ่มเท เอาใจใส่ เปิดกว้างรับความความเห็นรอบด้าน ปรับตัว ขณะที่เป้าหมายของการดำเนินธุรกิจคือ “ผลกำไร”
จะต่างกันตรงนี้ เงินปันผลของธุรกิจเพื่อสังคมจะคืนสู่สังคม ส่วนเงินปันผลของภาคธุรกิจ จะคืนสู่ผู้ถือหุ้น
เขายังบอกว่า คณะทำงานเศรษฐกิจฐานรากฯ ไม่ได้เดินลำพังเพียงไทยเบฟ แต่ยังชวนกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องให้มาลงขันตั้งบริษัทในครบ18 บริษัทกลุ่มภูมิภาค เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) สนใจจะร่วมตั้งบริษัทที่น่าน พื้นที่ที่ซี.พี.ถูกสังคมบางส่วนระบุว่ามีส่วนทำให้เกิดการทำลายป่า เนื่องจากเข้าไปรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกร
ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ลูกเจ้าสัวตัวแทนซี.พี. หัวหน้าทีมภาคเอกชน ในคณะทำงานการศึกษาพื้นฐาน และการพัฒนาผู้นำ เขายังนั่งเป็นกรรมการอีกหลายคณะทำงาน เช่น คณะทำงานเศรษฐกิจฐานรากฯ และคณะทำงานการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่
ศุภชัย อาสาเข้ามาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทเพื่อสังคมในจังหวัดน่าน ในชื่อบริษัท “ประชารัฐ รักสามัคคี น่าน จำกัด" เพราะรู้ว่าปัญหาของการเข้าไปแผ้วถางป่าเพื่อเพาะปลูก เนื่องจากเกษตรกรต้องการหารายได้เพื่อให้หลุดพ้นจากความยากจน แต่อาจขาดความรู้ในการบริหารจัดการเกษตรอย่างยั่งยืน นำไปสู่การทำลายพื้นที่ป่า
“ทุกคนฝันอยากมีเงินส่งลูกเรียนจบมหาวิทยาลัย ฝันอยากมีชีวิตที่ดีขึ้น เพียงแต่ขาดโอกาส และทุกคนก็มีจิตสำนึกดีเพียงแต่ปากท้องมาก่อน เราจึงต้องทำให้เขามีความมั่นคงในชีวิต" ศุภชัยอ่านความคิดประชาชนฐานราก และคิดวิธีแก้ปัญหา
โดยระบุว่า ซี.พี. ได้เข้าไปให้ความรู้การปลูก “พืชทางเลือก” ที่มีมูลค่ามากกว่าข้าวโพด เช่น กาแฟ มูลค่าสูงกว่าข้าวโพด พืชเชิงเดี่ยว รวมถึงการนำเทคโนโลยีเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลิตต่อไร่ การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของข้าวโพดที่รับซื้อต้องไม่ได้ผ่านการแผ่วถางทำลายป่าไม้ เป็นต้น
ว่ากันว่า ก่อนรับหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมเอกชน ในคณะทำงานการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ เขาเป็นคนสุดท้ายที่มีสิทธิ์เลือก ปล่อยให้นักธุรกิจรุ่นใหญ่คนอื่นเลือกกลุ่มต่างๆ ไปจนหมด เหลือเพียงการศึกษา ที่ไม่มีใครเลือก
การศึกษาเป็นปัญหาเรื้อรังและยากแก้ไข รวมถึงมองเห็นเป็นรูปธรรมจับต้องได้ยาก
แต่ศุภชัยมองว่า รากฐานของทุกปัญหาของสังคมไทย ล้วนเริ่มต้นจากพื้นฐานการศึกษา
จึงถือเป็นความท้าทายของซี.พี.ในฐานะทรู ทำโครงการซีเอสอาร์ “ทรูปลูกปัญญา” จนเป็นโครงการหนึ่งที่ค่อนข้างได้ใจครูทั่วประเทศ
ศุภชัยไม่เพียงทำงานลำพัง แต่เชิญชวนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เข้ามาทำหน้าที่เชื่อมต่อกับโรงเรียนต้นแบบทั่วประเทศ 7,424 แห่งทั่วประเทศ เริ่มต้นที่การคัดเลือกโรงเรียน 3,342 แห่ง เข้าร่วมโครงการระยะแรก
โดยให้ภาคธุรกิจทำหน้าที่เป็นพันธมิตรดูแลโรงเรียน (School Partner) โดยคัดเลือกผู้นำรุ่นใหม่ (Young Leader) จำนวน 1,000 คนจากบริษัทเอกชน เป็นอาสาสมัครดูแลโรงเรียน 1 คนต่อโรงเรียน 3 แห่ง ที่คาดว่าจะได้รายชื่อจะออกมาภายในเดือนเมษายนนี้
ในอนาคตเขาหวังถึงขั้นภาคธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ ระดมเงินทุนเพื่อตอบโจทย์ 4 เมกะเทรนด์ ได้แก่ ดิจิทัลเทคโนโลยี, นาโนเทคโนโลยี ,เทคโนโลยีชีวภาพ และโรโบติก เทคโนโลยี (หุ่นยนต์) ในอนาคตที่เชื่อว่า จะมีมูลค่าแตะแสนล้านบาท หากเอกชนมองว่าจะนำไปสู่จุดเปลี่ยนประเทศได้จริง
“เรามีเงินเริ่มต้น 5,000 ล้านบาท หากใส่เข้าไปขับเคลื่อนทั้ง 4 เมกะเทรนด์ จะสามารถระดมทุนได้ถึงแสนล้านบาท ที่มีผลทำให้ไทยอยู่ในแผนที่โลกได้อย่างแน่นอน”
เจ้าสัวอีกราย ผู้ช่ำชองค้าปลีก “ทศ จิราธิวัฒน์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ในฐานะหัวหน้าทีมเอกชนในคณะทำงานการสร้างรายได้และการกระตุ้นการใช้จ่ายของประเทศ บอกถึงเป้าหมายหลักของคณะทำงานฯว่า จะต้องเพิ่มมูลค่าการจับจ่ายในภาคท่องเที่ยวและค้าปลีกในประเทศ มากกว่า 2% เพื่อดันรายได้จากสองส่วนนี้ ให้มีสัดส่วนคิดเป็น 1 ใน 4 หรือ 25% ต่อ GDP
โดยสิ่งที่จะผลักดันรายได้ส่วนหนึ่งคือ เซ็นทรัล ค้าปลีกอันดับต้นของประเทศ จะเข้าไป “เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า” สินค้าเพื่อชุมชน และสินค้าเอสเอ็มอี ผ่านห้างค้าปลีกในเครือ รวมถึงส่งเสริมช่องทางกระจายสินค้าตามแนวชายแดน
“เราจะนำความรู้ด้านค้าปลีกที่เซ็นทรัลทำมากว่า60ปี มาช่วยพัฒนาช่องทางการจำหน่าย สกัดจุดอ่อนของเอสเอ็มอีและสินค้าชุมชน”
นอกจากนี้ ยังจะเชื่อมการท่องเที่ยวด้วยการฟื้นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นเมืองเก่าให้คืนชีวิต มีสีสัน แสง สี เสียง เพื่อรับนัองท่องเที่ยว เริ่มนำร่องที่จ.อยุธยา เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายจากการท่องเที่ยว เป็นต้น
-----------------------
ชุมนุมเจ้าสัวแสนล้าน แล่นเรือประชารัฐยุค 4.0
ความเดิมจากปัญหาการเมืองที่เรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2549
10 ปีผ่านไป การบริหารประเทศสลับขั้วอำนาจกันไปมา
สังคมเริ่มแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เหล่านี้เป็นเหมือน “แผลกดทับ” เศรษฐกิจไทยมาอย่างต่อเนื่อง
เพราะเมื่อการเมืองเปลี่ยนขั้ว นโยบายการบริหารประเทศก็เปลี่ยนตาม ทำให้การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศ ไม่ได้รับการแก้ไขสักที
โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างประเทศ เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากการส่งออก ที่มีสัดส่วนสูงถึง 70-75 % ของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP)
เมื่อเศรษฐกิจโลกผันผวน เศรษฐกิจไทยจึงทรุดหนัก เพราะไม่อาจ “ยืนบนลำแข้งของตัวเองได้”
หน่ำซ้ำผู้ส่งออกไทยส่วนใหญ่ ยังคงผลิตสินค้าตามใบสั่ง (รับจ้างผลิต -OEM) ขาดการคิดค้นนวัตกรรม (Innovation) ขณะที่ธุรกิจส่วนใหญ่ ต่างคนต่างเติบโต มีการเชื่อมโยงการผลิตจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำตลาดซัพพลายเชนไม่ดีพอ โดยเฉพาะซัพพลายเชนที่มาจาก “ประชากรฐานราก” ที่มีอยู่กว่า 30 ล้านคน
หรือ “เกือบครึ่ง” ของจำนวนประชากรไทย 67 ล้านคน
เคยประเมินกันว่า ประชากรฐานรากเหล่านี้ แม้จะมีจำนวนมาก ทว่า มีส่วนในการ “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ” ไม่ถึง 10 % ของ GDP ทำให้การพัฒนาประเทศที่ผ่านมา “ขาดสมดุล”
“ขาโตข้างเดียว อีกข้างเล็กลีบ”
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กูรูการตลาด (ปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ การจัดการด้านการตลาด มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา) ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ พูดเสมอว่า ไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนโครงสร้างประเทศ ให้เข้มแข็งจากภายใน ลดภาคพึ่งพาการส่งออก
นั่นคือ การผลักดันกำลังซื้อจากคนส่วนใหญ่ของประเทศ กลายเป็นการระดมสรรพกำลัง 3 ประสานความร่วมมือ “รัฐ-เอกชน-และประชาชน” ผ่านโครงการสานพลังประชารัฐ คืนความสมดุลเศรษฐกิจภายในและภายนอก ในยุค 4.0 ที่ต้องพึ่งพาธุรกิจที่มีนวัตกรรม มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม แทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานจำนวนมาก แบบเดิมๆ
ทั้งนี้ แนวคิดการจัดตั้งคณะทำงานสานพลังประชารัฐ เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2558 รูปธรรมที่เห็นชัดเกิดขึ้นเมื่อ 3 ธ.ค.2558 “ดร.สมคิด” ได้นำคณะนักธุรกิจ เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายประชารัฐ
จนเกิดการประชุมคณะทำงานสานพลังประชารัฐ นัดแรกเมื่อวันที่ 13 ม.ค. ต่อเนื่องอีกหลายคณะในหลายคณะทำงานตามมา
“ตลอดเวลา 10 กว่าปี ที่ไทยยืนอยู่บนฐานเศรษฐกิจพึ่งพาการค้าภายนอก เหมือนวงจรที่งูกินหางตัวเองไปเรื่อยๆ ที่ในไม่ช้าเมื่อพื้นฐานเศรษฐกิจไทยอ่อนแอยากที่จะรับมือวิกฤติ” ดร.สมคิด เคยกล่าวไว้เช่นนั้น
ขณะเดียวกัน ช่วงเวลาที่รัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทำอะไรได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด จึงถือเป็น “จังหวะเหมาะ” ที่เปิดทางให้ “ทัพนักธุรกิจหมื่นแสนล้าน” ร่วมกันพลิกหัวขบวนประเทศ จัดตั้งคณะกรรมการสานพลังประชารัฐ ที่ประกอบด้วย 12 คณะทำงาน
โดยแต่ละคณะทำงานจะประกอบด้วย หัวหน้าทีมภาครัฐ และหัวหน้าทีมภาคเอกชน
บนความเชื่อของ ดร.สมคิด ที่ว่า คนที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศได้ไม่ใช่ภาครัฐ แต่คือ “ภาคเอกชน”
โดยสิ่งที่ดร.สมคิดฝากไว้กับเอกชนว่า..
“อยากทำอะไรไม่ต้องบ่น อยากทำอะไรลงมาทำเลย โครงการจะขับเคลื่อนโดยภาคประชาชน”
เวลาผ่านไปไม่นาน เห็นการทำงานของแต่ละคณะทำงานที่ตั้งขึ้นอยู่เนืองๆ โดยคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ที่มี “ฐาปน สิริวัฒนภักดี” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ในฐานะหัวหน้าทีมเอกชนคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ เล่าว่า
คณะทำงานทั้ง 12 คณะทำงาน จะพูดถึงเรื่องคล้ายๆกัน คือ การหาหนทางปฏิวัติอุตสาหกรรมในรูปแบบอุตสาหกรรมใหม่ หรือ New S Curve คือการสร้างรายได้จากภาคบริการ สร้างมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรม ดังนั้นจากนี้ไปจะเรื่องราวเหล่านี้ออกมาต่อเนื่อง
สำหรับคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากฯ เขาเล่าว่า สามารถสรุปโมเดลสร้างความเข้มแข็งจากชุมชน โดยกำลังจะจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง ในชื่อ “บริษัทประชารัฐ รักสามัคคี” เพื่อเป็นบริษัทกำกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เข้าไปสนับสนุนการสร้างรายได้กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ผ่าน 3 กลยุทธ์ ได้แก่
ส่งเสริมภาคเกษตร การแปรรูปสินค้าผ่านผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และโอทอป และท่องเที่ยวชุมชน
ภายใต้บริษัทโฮลดิ้งฯดังกล่าว จะประกอบด้วย “บริษัทลูก” จำนวน 18 กลุ่มภูมิภาค (คลัสเตอร์) ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ
โดยในระยะ(เฟส)แรกจะนำร่องด้วย 5 กลุ่มภูมิภาค (จัดตั้ง 5 บริษัทกลุ่มภูมิภาค) ได้แก่ 1.ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง 2.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม 3.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน 4. อุดรธานี เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ และ 5.บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์
ประเดิมการจัดตั้งบริษัทไปแล้วที่ภูเก็ต ในชื่อบริษัทประชารัฐ รักสามัคคี ภูเก็ต จำกัด โดยการระดมทุนร่วมกันระหว่างทุนท้องถิ่น และไทยเบฟ
ทั้งนี้ คาดว่า 5 บริษัทในกลุ่มภูมิภาคตามเฟสแรก จะจัดตั้งได้ภายในเดือนเม.ย.นี้ และตั้งเป้าจะตั้งบริษัทให้ครบ 18 กลุ่มภูมิภาค ภายในปีนี้
บริษัทดังกล่าว จะทำหน้าที่เป็นบริษัทเพื่อสังคม (Social Enterprise)จะเป็นแกนกลางในการเชื่อมโยงผู้ผลิต ผู้แปรรูปและผู้ซื้อให้มาพบกันเข้าไปเติมเติมองค์ความรู้ และพัฒนาการการตลาดยกระดับสินค้าไทยไปสู่สากล สร้างรายได้ที่ยั่งยืนและสร้างความสุขให้กับชุมชน ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และลดความเหลื่อมล้ำอย่างแท้จริง
ฐาปน ยังกล่าวอีกว่า สำหรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ Social Enterprise มีหลักการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วย 1.สร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการเป็นหลักไม่ใช่การบริจาค 2. เป็นธุรกิจที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อผู้ถือหุ้น แต่จะนำกำไรที่ได้มาขยายการลงทุนสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคม 3. การบริหารจัดการโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล และ 4.มีการจดทะเบียนรูปแบบธุรกิจมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทชัดเจน
“ทั้ง12คณะทำงานล้วนเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจฐานราก เพราะเมื่อเศรษฐกิจฐานรากเติบโต ก็จะเชื่อมต่อไปกับคณะทำงานของคุณทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารเซ็นทรัลกรุ๊ป (หัวหน้าทีมเอกชนคณะทำงานการสร้างรายได้และการกระตุ้นการใช้จ่ายของประเทศ) และคณะทำงานของคุณชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ (หัวหน้าทีมเอกชนคณะทำงานการดึงดูดการลงทุนและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ) ขณะที่คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการกลุ่มมิตรผล หัวหน้าทีมเอกชนคณะทำงานการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ก็จะเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจฐากราก คุณกานต์ ตระกูลฮุน อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่เอสซีจี ดูเรื่องสำคัญมาก เป็นหัวหน้าทีมเอกชนคณะทำงานการยกระดับนวัตกรรมและผลิตภาพและการปรับแก้กฎหมายและกลไกภาครัฐ ทุกคณะจะทำงานเชื่อมโยงกันภายใต้เป้าหมายใหญ่ และเป้าหมายย่อยของแต่ละคณะ”
ฐาปน ยังมองว่าวิธีการบริหารธุรกิจ กับการทำงานเพื่อชาตินั้นไม่ต่างกัน คือ ต้องทุ่มเท เอาใจใส่ เปิดกว้างรับความความเห็นรอบด้าน ปรับตัว ขณะที่เป้าหมายของการดำเนินธุรกิจคือ “ผลกำไร”
จะต่างกันตรงนี้ เงินปันผลของธุรกิจเพื่อสังคมจะคืนสู่สังคม ส่วนเงินปันผลของภาคธุรกิจ จะคืนสู่ผู้ถือหุ้น
เขายังบอกว่า คณะทำงานเศรษฐกิจฐานรากฯ ไม่ได้เดินลำพังเพียงไทยเบฟ แต่ยังชวนกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องให้มาลงขันตั้งบริษัทในครบ18 บริษัทกลุ่มภูมิภาค เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) สนใจจะร่วมตั้งบริษัทที่น่าน พื้นที่ที่ซี.พี.ถูกสังคมบางส่วนระบุว่ามีส่วนทำให้เกิดการทำลายป่า เนื่องจากเข้าไปรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเกษตรกร
ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ลูกเจ้าสัวตัวแทนซี.พี. หัวหน้าทีมภาคเอกชน ในคณะทำงานการศึกษาพื้นฐาน และการพัฒนาผู้นำ เขายังนั่งเป็นกรรมการอีกหลายคณะทำงาน เช่น คณะทำงานเศรษฐกิจฐานรากฯ และคณะทำงานการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่
ศุภชัย อาสาเข้ามาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทเพื่อสังคมในจังหวัดน่าน ในชื่อบริษัท “ประชารัฐ รักสามัคคี น่าน จำกัด" เพราะรู้ว่าปัญหาของการเข้าไปแผ้วถางป่าเพื่อเพาะปลูก เนื่องจากเกษตรกรต้องการหารายได้เพื่อให้หลุดพ้นจากความยากจน แต่อาจขาดความรู้ในการบริหารจัดการเกษตรอย่างยั่งยืน นำไปสู่การทำลายพื้นที่ป่า
“ทุกคนฝันอยากมีเงินส่งลูกเรียนจบมหาวิทยาลัย ฝันอยากมีชีวิตที่ดีขึ้น เพียงแต่ขาดโอกาส และทุกคนก็มีจิตสำนึกดีเพียงแต่ปากท้องมาก่อน เราจึงต้องทำให้เขามีความมั่นคงในชีวิต" ศุภชัยอ่านความคิดประชาชนฐานราก และคิดวิธีแก้ปัญหา
โดยระบุว่า ซี.พี. ได้เข้าไปให้ความรู้การปลูก “พืชทางเลือก” ที่มีมูลค่ามากกว่าข้าวโพด เช่น กาแฟ มูลค่าสูงกว่าข้าวโพด พืชเชิงเดี่ยว รวมถึงการนำเทคโนโลยีเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลิตต่อไร่ การตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของข้าวโพดที่รับซื้อต้องไม่ได้ผ่านการแผ่วถางทำลายป่าไม้ เป็นต้น
ว่ากันว่า ก่อนรับหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมเอกชน ในคณะทำงานการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ เขาเป็นคนสุดท้ายที่มีสิทธิ์เลือก ปล่อยให้นักธุรกิจรุ่นใหญ่คนอื่นเลือกกลุ่มต่างๆ ไปจนหมด เหลือเพียงการศึกษา ที่ไม่มีใครเลือก
การศึกษาเป็นปัญหาเรื้อรังและยากแก้ไข รวมถึงมองเห็นเป็นรูปธรรมจับต้องได้ยาก
แต่ศุภชัยมองว่า รากฐานของทุกปัญหาของสังคมไทย ล้วนเริ่มต้นจากพื้นฐานการศึกษา
จึงถือเป็นความท้าทายของซี.พี.ในฐานะทรู ทำโครงการซีเอสอาร์ “ทรูปลูกปัญญา” จนเป็นโครงการหนึ่งที่ค่อนข้างได้ใจครูทั่วประเทศ
ศุภชัยไม่เพียงทำงานลำพัง แต่เชิญชวนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เข้ามาทำหน้าที่เชื่อมต่อกับโรงเรียนต้นแบบทั่วประเทศ 7,424 แห่งทั่วประเทศ เริ่มต้นที่การคัดเลือกโรงเรียน 3,342 แห่ง เข้าร่วมโครงการระยะแรก
โดยให้ภาคธุรกิจทำหน้าที่เป็นพันธมิตรดูแลโรงเรียน (School Partner) โดยคัดเลือกผู้นำรุ่นใหม่ (Young Leader) จำนวน 1,000 คนจากบริษัทเอกชน เป็นอาสาสมัครดูแลโรงเรียน 1 คนต่อโรงเรียน 3 แห่ง ที่คาดว่าจะได้รายชื่อจะออกมาภายในเดือนเมษายนนี้
ในอนาคตเขาหวังถึงขั้นภาคธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ ระดมเงินทุนเพื่อตอบโจทย์ 4 เมกะเทรนด์ ได้แก่ ดิจิทัลเทคโนโลยี, นาโนเทคโนโลยี ,เทคโนโลยีชีวภาพ และโรโบติก เทคโนโลยี (หุ่นยนต์) ในอนาคตที่เชื่อว่า จะมีมูลค่าแตะแสนล้านบาท หากเอกชนมองว่าจะนำไปสู่จุดเปลี่ยนประเทศได้จริง
“เรามีเงินเริ่มต้น 5,000 ล้านบาท หากใส่เข้าไปขับเคลื่อนทั้ง 4 เมกะเทรนด์ จะสามารถระดมทุนได้ถึงแสนล้านบาท ที่มีผลทำให้ไทยอยู่ในแผนที่โลกได้อย่างแน่นอน”
เจ้าสัวอีกราย ผู้ช่ำชองค้าปลีก “ทศ จิราธิวัฒน์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด ในฐานะหัวหน้าทีมเอกชนในคณะทำงานการสร้างรายได้และการกระตุ้นการใช้จ่ายของประเทศ บอกถึงเป้าหมายหลักของคณะทำงานฯว่า จะต้องเพิ่มมูลค่าการจับจ่ายในภาคท่องเที่ยวและค้าปลีกในประเทศ มากกว่า 2% เพื่อดันรายได้จากสองส่วนนี้ ให้มีสัดส่วนคิดเป็น 1 ใน 4 หรือ 25% ต่อ GDP
โดยสิ่งที่จะผลักดันรายได้ส่วนหนึ่งคือ เซ็นทรัล ค้าปลีกอันดับต้นของประเทศ จะเข้าไป “เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า” สินค้าเพื่อชุมชน และสินค้าเอสเอ็มอี ผ่านห้างค้าปลีกในเครือ รวมถึงส่งเสริมช่องทางกระจายสินค้าตามแนวชายแดน
“เราจะนำความรู้ด้านค้าปลีกที่เซ็นทรัลทำมากว่า60ปี มาช่วยพัฒนาช่องทางการจำหน่าย สกัดจุดอ่อนของเอสเอ็มอีและสินค้าชุมชน”
นอกจากนี้ ยังจะเชื่อมการท่องเที่ยวด้วยการฟื้นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นเมืองเก่าให้คืนชีวิต มีสีสัน แสง สี เสียง เพื่อรับนัองท่องเที่ยว เริ่มนำร่องที่จ.อยุธยา เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายจากการท่องเที่ยว เป็นต้น
-----------------------