ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ หมอนยางพารา ของกลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดาน กับการบริจาคสิทธิบัตรให้เป็นของสาธารณะ

สืบเนื่องจากกระทู้นี้ รีวิวหมอนยางพารา ของกลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดาน จ.พัทลุง
http://ppantip.com/topic/34676257

ต่อมาทราบประวัติภายหลังว่า ผู้ที่ บริจาคสิทธิบัตร วิธีการทำหมอนยางพารา และ ที่นอนยางพารา คือ คุณ ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

เห็นไหมคะการทำบุญ ไม่จำเป็นต้อง บริจาคทรัพย์ แถมการบริจาคทรัพย์ เรายังไม่รู้ว่า เค้าเอาไปทำอะไรอีกด้วย แต่
การบริจาคสิทธิบัตรให้เป็นของสาธารณะ คือการสร้างบุญที่ยิ่งใหญ่จริงๆค่ะ ช่วยชาวบ้านตาดำๆ จากราคายางพาราตกต่ำ

ซึ่งคุณ ณัฐพัฒน์ นิธิอุทัย ก็เป็นพี่น้องกับ ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย เจ้าของธุรกิจ PATEX ที่หลายๆคนรู้จักดีค่ะ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ก็ว่ากันไป จริง ๆ ผมไม่เกี่ยวครับ สิทธิบัตรเราไม่เคยจด เลยไม่ได้แจก แต่บรรพบุรุษของเราใช้วิธีตั้งหลักสูตร สร้างคณะสอนซะเลย แต่ยังไงก็ตามสำหรับกระแสชาวบ้านทำหมอนยางพาราในตอนนี้นั้น เราไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรง อาจจะทางอ้อมด้วยการผลักดันให้ผลิตภัณฑ์หมอนที่นอนยางพาราเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับระดับโลกด้วยชื่อของประเทศไทย (มาไทยต้องมาซื้อหมอนยางพารา) สุดท้าย ในอนาคตเราอาจจะต้องเข้าไมมีส่วนร่วมบ้างเล็กน้อยเพราะตอนนี้ มีการขอให้เราไปช่วยฝึกอบรมให้กับชาวบ้านที่สนใจ หรือ มีปัญหา ร่วมกับ การยางแห่งประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม รูปแบบของหมอนทั้งหมดที่เห็นในท้องตลาดในปัจจุบันนี้ ทั้งโลก เป็นรูปแบบหมอนที่ออกแบบโดยเราครับ นี่คือสิ่งที่ผมพูดถึงในบางส่วนว่าเราไม่ได้มีการจดสิทธิบัตร (ไม่รวมเรื่องอื่น ๆ ที่ มาในระยะหลังเราเลือกที่จะไม่จดสิทธิบัตร) ถ้าสังเกตุดูให้ดี บางครั้งบางผู้ผลิตยังเรียกชื่อหมอนต่าง ๆ ว่า PT ตามด้วยหมายเลขต่าง ๆ แล้วมีตัวย่อต่าง ๆ เช่น C หรือ M    บางครั้งเรียกชื่อตามชื่อที่เราตั้งขึ้นเป็นชื่อเล่นภายในโรงงาน เช่น หมอนหัวใจ หมอนแอปเปิ้ล เป็นต้น   ตัวหนังสือ PT นั้นเราย่อจาก PATEX ส่วนตัวเลข เราก็เรียงเรียกไปตามลำดับของการออกแบบ ตอนนี้มีถึง PT13 แล้วครับ    ตัว C เราย่อมาจาก Convoluted หลายคนเรียกมันว่าทุเรียน แต่ในโรงงานเราเรียก รังไข่    ส่วน M เราใช้เพื่อเรียกหมอนรูปร่างเดียวกัน ตามขนาด S M L เพื่อง่ายต่อการอ้างอิง ซึ่งเมื่อก่อนเราเคยใช้การเปลี่ยนตัวเลข เช่น PT7 PT8 PT9 เป็นหมอนรูปร่างเดียวกันแต่ขนาด SML เป็นต้น

ความรู้อีกเรื่องหนึ่งก็คือ สิทธิบัตร เป็นการเขียนเพื่อสอนในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อแลกกับการปกป้องสิทธิในการทำสิ่งนั้น ๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง ถ้าเราไม่จด เราไม่บอก ไม่สอน ปิดเป็นความลับ ก็เป็นความลับทางการค้า ไม่มีสิทธิปกป้องทางกฏหมายใด ๆ ถ้าเราจดก็มีสิทธิในการปกป้อง แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะใช้สิทธินั้น ๆ ในการปกป้อง เราอาจจะจดเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ แล้วให้ใคร ๆ ก็ได้มานั่งอ่านทำกันไปเอง แต่เราไม่ฟ้องเรียกร้องใด ๆ นั่นก็เป็นการให้ในอีกรูปแบบหนึ่ง อีกวิธีหนึ่งในการให้ เราสามารถคิดค้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมา แล้วก็เผยแพร่ออกไป อย่างเช่นรูปแบบของหมอนเหล่านี้  เมื่อเผยแพร่ออกไปแล้ว มันก็กลายเป็นความรู้สาธารณะ ใคร ๆ ก็นำไปให้ประโยชน์ได้  ไม่มีใครสามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้  (จริง ๆ เขาให้สิทธิ์เจ้าของผู้เผยแพร่ในการจดสิทธิบัตรได้ภายในหนึ่งปีหลังเผยแพร่)

อย่าไปเอาอะไรมันมากับสิทธิบัตรเลยครับ โลกมันหมุนเลยยุคสิทธิบัตรไปแล้ว ตอนนี้เราวิ่งอยู่ในโลกของ Open Innovation การแข่งขันเป็นเรื่องของ fast mover, first mover ....   เดี๋ยวกระแสนี้มันก็จะตกไปพร้อม ๆ กับราคายางพาราที่กระเตี้องขึ้น ในชั่วชีวิตของผม ผมเห็นมาหลายรอบแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่