เจ้าเวหา โปรเจกท์ยักษ์ ซีรีส์ 3 เรื่องต่อกัน ประกอบด้วย ฝั่งน้ำจรดฝั่งฟ้า, พิชิตแดนใจ และ ผู้ครองฟ้า ของผู้จัด “อั้ม” อธิชาติ ชุมนานนท์ และ นัท มีเรีย ที่ผลิตป้อน ช่อง ทรู โฟร์ ยู
ด้วยงบประมาณสูงมหาศาล ตอนแรกตามข่าวว่า 3 เรื่อง 150 ล้าน เฉลี่ยต่อเรื่องก็ 50 ล้าน ก็ว่าสูงแล้ว แต่ข่าวระลอกตามมาบอกว่าทุนจริงๆ คือ 220 ล้าน โอ้ววววแม่เจ้า แบบนี้เรียกว่าถ้าไม่มีเงินจริงทำไม่ได้
ทุนต่อเรื่องที่สูงขนาดนี้ ส่วนหนึ่งเพราะดึงดาราระดับแม่เหล็กอย่าง 3 พระเอก 3 นางเอก อธิชาติ ชุมนานนท์, แอนดริว เกร้กสัน, เจษฎาภรณ์ ผลดี, วรนุช ภิรมย์ภักดี, เขมนิจ จามิกรณ์ และ ดาวิกา โฮร์เน่ มาร่วมตัวในซีรีส์เรื่องนี้ ข่าวว่าแต่ละคนฟันค่าตัวกันสูงลิบ อดคิดไม่ได้ว่า เงินเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทุกคนเดินหน้าเข้าหาโปรเจกท์นี้ (สัญญาการเล่นละครของพระ-นางทั้ง 6 ถูกพ่วงด้วยการรับทรัพย์การเป็นพรีเซ็นเตอร์ของบริษัทด้วย)
ไม่แปลกที่ทันทีที่ละครเรื่องนี้ถูกประกาศสร้างจะกลายเป็นความฮือฮา เพราะจับพระ-นางแถวหน้ามารวมตัวกันในละครเรื่องเดียว ไม่ฮือฮาให้มันรู้ไป โดย ทรู ทุ่มทุนกับโปรเจกท์นี้ เรียกว่า เทหน้าตักก็ไม่แปลก ชนิดวัดดวงไปเลยว่า จะหมู่หรือจ่าเมื่อหวังให้ช่องติดตลาดผงาดในยุทธจักรละคร...ทิศทางละครของช่องจะเป็นอย่างไร ซีรีส์เรื่องนี้มีสิทธิ์ชี้ชะตา
กระแสยิ่งถูกพูดถึงมากขึ้นเมื่อทรูจัดเปิดตัวโปรเจกท์ละครเรื่องนี้ตั้งแต่ยังไม่ออกอากาศแบบต่อเนื่อง ด้วยงานที่อลังการ นำมาซึ่งความสนใจของสื่อมวลชนและผู้ชมคนดู ทรูใช้จุดแข็งของตัวเองในความเก่งด้านการตลาดเข้ามาเดินเครื่องในจุดนี้ ซึ่งผลลัพธ์จากความสนใจเบื้องต้นถือว่าตอบโจทย์
แต่ต้องไม่ลืมว่าการทุ่มในโปรเจกท์นี้ทั้งในส่วนเงินทุน ดารา การโปรโมท ไม่แปลกที่ ซีรีส์ เจ้าเวหา จะสร้างความคาดหวังให้คนดูไปโดยปริยายว่าละครเรื่องนี้จะต้องออกมายิ่งใหญ่
และเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึงเมื่อละคร ฝั่งน้ำจรดฝั่งฟ้า ตอนแรกของซีรีส์ เจ้าเวหา ออกอากาศ ด้วยการประกบกันของคู่พระ-นาง “อั้ม” อธิชาติ และ “นุ่น” วรนุช ภายใต้การกำกับฯ ของ “อ๊อด” บัณฑิต ทองดี
การเปิดตัวละครในช่วงแรกเน้นความยิ่งใหญ่ของฉากแอ็กชั่น ถือเป็นการใช้งบให้ช่องเห็นว่าลงทุนไปกับโปรดักชั่น แต่หลังจากนั้นดูเหมือนจะไม่เห็นความยิ่งใหญ่ใดๆ นักในส่วนโปรดักชั่น โดยกระแสคนดูต่อละครเรื่องนี้จากตอนแรกที่ละครออกอากาศ มีเสียงพูดถึงพอสมควรไปในทิศทางดี แต่ยิ่งละครออกไปเรื่อยๆ กลับเงียบลง เงียบลง
อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดผลลัพธ์เช่นนั้น ส่วนสำคัญเลยคือ บทโทรทัศน์ ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของละครเรื่องหนึ่งๆ ในการนำพาสู่เส้นชัย ดาราดีแค่ไหนหรือโปรดักชั่นแสดงให้เห็นว่าลงทุน แต่ถ้าบทไม่นำพาสู่ความสนุก ก็ยากจะฉุดให้ผู้ชมติดหนึบที่หน้าจอได้
ดูเหมือนผู้จัดและสถานีกำลังโฟกัสผิดจุด เพราะเน้นเรื่องการตลาดและการโปรโมทอันหนักหน่วงเสียมากกว่า แต่กลับมองข้ามบทโทรทัศน์ที่ขาดความสนุกเท่าที่ควรเป็น ยิ่งเดินเรื่องไป ยิ่งเนือย ภาษาชาวบ้านบอกเรื่อยๆ มาเรียงๆ ที่สำคัญขาดพลังและแรงดึงดูดในการที่ติดตามต่อ ส่วนการแสดงของคู่พระ-นาง “อั้ม-นุ่น” ถือว่ายังไม่เกิดเคมีที่จะพาให้แฟนละครเคลิ้มไปได้
ในยุคทีวีดิจิทัลที่การแข่งขันในวงการละครของสถานีต่างๆ ดุเดือดขึ้น ไม่ได้ผูกขาดแค่ช่องหลักอย่างช่อง 7 และ ช่อง 3 อย่างเดียว ถ้าบทโทรทัศน์และความสนุกของละครทำออกมาได้แค่ประมาณนี้ อย่าว่าแต่จะสู้ช่องเจ้าประจำเลย การจะต่อสู้กับช่องใหม่ๆ ที่พยายามแบ่งเค้กความนิยมกับแชมป์ก็ถือว่ายังไม่ผ่าน สะท้อนมุมกลับไปว่าบางครั้งการเอาดาราแม่เหล็กมาเรียกคนดูก็เรียกว่า “เสียของ”
ถ้านับเงินลงทุนมหาศาลที่ เจ้าเวหา ทุ่มไป การเปิดตัวเรื่องแรก ฝั่งน้ำจรดฝั่งฟ้า ถือว่ายังไปไม่ถึงฝั่งฝัน และบินได้ไม่สูงเสียดเวหาอย่างที่สถานีและผู้จัดวาดหวัง ให้เป็นห่วงเสียเหลือเกินว่า พิชิตแดนใจ และ ผู้ครองฟ้า ที่จะตามมาผลลัพธ์จะออกมาเป็นเช่นไรในเมื่อเรื่องเปิดไม่สวยหรูนัก แรงดึงดูดต่อตอนต่อๆ ไปก็ไม่ชวนตาม และถึงจะยังวัดทั้งหมดไม่ได้ แต่ครึ่งเรื่องของ ฝั่งน้ำจดฝั่งฟ้า คงทำให้ทรูได้รู้ประมาณหนึ่งว่าการลงทุนที่มหาศาลครั้งนี้คุ้มค่าหรือไม่...
มายาวิชั่น : เจ้าเวหาบินไม่สูง! : คอลัมน์ มายาวิชั่น โดย ... เทพิตา
ด้วยงบประมาณสูงมหาศาล ตอนแรกตามข่าวว่า 3 เรื่อง 150 ล้าน เฉลี่ยต่อเรื่องก็ 50 ล้าน ก็ว่าสูงแล้ว แต่ข่าวระลอกตามมาบอกว่าทุนจริงๆ คือ 220 ล้าน โอ้ววววแม่เจ้า แบบนี้เรียกว่าถ้าไม่มีเงินจริงทำไม่ได้
ทุนต่อเรื่องที่สูงขนาดนี้ ส่วนหนึ่งเพราะดึงดาราระดับแม่เหล็กอย่าง 3 พระเอก 3 นางเอก อธิชาติ ชุมนานนท์, แอนดริว เกร้กสัน, เจษฎาภรณ์ ผลดี, วรนุช ภิรมย์ภักดี, เขมนิจ จามิกรณ์ และ ดาวิกา โฮร์เน่ มาร่วมตัวในซีรีส์เรื่องนี้ ข่าวว่าแต่ละคนฟันค่าตัวกันสูงลิบ อดคิดไม่ได้ว่า เงินเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทุกคนเดินหน้าเข้าหาโปรเจกท์นี้ (สัญญาการเล่นละครของพระ-นางทั้ง 6 ถูกพ่วงด้วยการรับทรัพย์การเป็นพรีเซ็นเตอร์ของบริษัทด้วย)
ไม่แปลกที่ทันทีที่ละครเรื่องนี้ถูกประกาศสร้างจะกลายเป็นความฮือฮา เพราะจับพระ-นางแถวหน้ามารวมตัวกันในละครเรื่องเดียว ไม่ฮือฮาให้มันรู้ไป โดย ทรู ทุ่มทุนกับโปรเจกท์นี้ เรียกว่า เทหน้าตักก็ไม่แปลก ชนิดวัดดวงไปเลยว่า จะหมู่หรือจ่าเมื่อหวังให้ช่องติดตลาดผงาดในยุทธจักรละคร...ทิศทางละครของช่องจะเป็นอย่างไร ซีรีส์เรื่องนี้มีสิทธิ์ชี้ชะตา
กระแสยิ่งถูกพูดถึงมากขึ้นเมื่อทรูจัดเปิดตัวโปรเจกท์ละครเรื่องนี้ตั้งแต่ยังไม่ออกอากาศแบบต่อเนื่อง ด้วยงานที่อลังการ นำมาซึ่งความสนใจของสื่อมวลชนและผู้ชมคนดู ทรูใช้จุดแข็งของตัวเองในความเก่งด้านการตลาดเข้ามาเดินเครื่องในจุดนี้ ซึ่งผลลัพธ์จากความสนใจเบื้องต้นถือว่าตอบโจทย์
แต่ต้องไม่ลืมว่าการทุ่มในโปรเจกท์นี้ทั้งในส่วนเงินทุน ดารา การโปรโมท ไม่แปลกที่ ซีรีส์ เจ้าเวหา จะสร้างความคาดหวังให้คนดูไปโดยปริยายว่าละครเรื่องนี้จะต้องออกมายิ่งใหญ่
และเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึงเมื่อละคร ฝั่งน้ำจรดฝั่งฟ้า ตอนแรกของซีรีส์ เจ้าเวหา ออกอากาศ ด้วยการประกบกันของคู่พระ-นาง “อั้ม” อธิชาติ และ “นุ่น” วรนุช ภายใต้การกำกับฯ ของ “อ๊อด” บัณฑิต ทองดี
การเปิดตัวละครในช่วงแรกเน้นความยิ่งใหญ่ของฉากแอ็กชั่น ถือเป็นการใช้งบให้ช่องเห็นว่าลงทุนไปกับโปรดักชั่น แต่หลังจากนั้นดูเหมือนจะไม่เห็นความยิ่งใหญ่ใดๆ นักในส่วนโปรดักชั่น โดยกระแสคนดูต่อละครเรื่องนี้จากตอนแรกที่ละครออกอากาศ มีเสียงพูดถึงพอสมควรไปในทิศทางดี แต่ยิ่งละครออกไปเรื่อยๆ กลับเงียบลง เงียบลง
อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดผลลัพธ์เช่นนั้น ส่วนสำคัญเลยคือ บทโทรทัศน์ ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของละครเรื่องหนึ่งๆ ในการนำพาสู่เส้นชัย ดาราดีแค่ไหนหรือโปรดักชั่นแสดงให้เห็นว่าลงทุน แต่ถ้าบทไม่นำพาสู่ความสนุก ก็ยากจะฉุดให้ผู้ชมติดหนึบที่หน้าจอได้
ดูเหมือนผู้จัดและสถานีกำลังโฟกัสผิดจุด เพราะเน้นเรื่องการตลาดและการโปรโมทอันหนักหน่วงเสียมากกว่า แต่กลับมองข้ามบทโทรทัศน์ที่ขาดความสนุกเท่าที่ควรเป็น ยิ่งเดินเรื่องไป ยิ่งเนือย ภาษาชาวบ้านบอกเรื่อยๆ มาเรียงๆ ที่สำคัญขาดพลังและแรงดึงดูดในการที่ติดตามต่อ ส่วนการแสดงของคู่พระ-นาง “อั้ม-นุ่น” ถือว่ายังไม่เกิดเคมีที่จะพาให้แฟนละครเคลิ้มไปได้
ในยุคทีวีดิจิทัลที่การแข่งขันในวงการละครของสถานีต่างๆ ดุเดือดขึ้น ไม่ได้ผูกขาดแค่ช่องหลักอย่างช่อง 7 และ ช่อง 3 อย่างเดียว ถ้าบทโทรทัศน์และความสนุกของละครทำออกมาได้แค่ประมาณนี้ อย่าว่าแต่จะสู้ช่องเจ้าประจำเลย การจะต่อสู้กับช่องใหม่ๆ ที่พยายามแบ่งเค้กความนิยมกับแชมป์ก็ถือว่ายังไม่ผ่าน สะท้อนมุมกลับไปว่าบางครั้งการเอาดาราแม่เหล็กมาเรียกคนดูก็เรียกว่า “เสียของ”
ถ้านับเงินลงทุนมหาศาลที่ เจ้าเวหา ทุ่มไป การเปิดตัวเรื่องแรก ฝั่งน้ำจรดฝั่งฟ้า ถือว่ายังไปไม่ถึงฝั่งฝัน และบินได้ไม่สูงเสียดเวหาอย่างที่สถานีและผู้จัดวาดหวัง ให้เป็นห่วงเสียเหลือเกินว่า พิชิตแดนใจ และ ผู้ครองฟ้า ที่จะตามมาผลลัพธ์จะออกมาเป็นเช่นไรในเมื่อเรื่องเปิดไม่สวยหรูนัก แรงดึงดูดต่อตอนต่อๆ ไปก็ไม่ชวนตาม และถึงจะยังวัดทั้งหมดไม่ได้ แต่ครึ่งเรื่องของ ฝั่งน้ำจดฝั่งฟ้า คงทำให้ทรูได้รู้ประมาณหนึ่งว่าการลงทุนที่มหาศาลครั้งนี้คุ้มค่าหรือไม่...