ดันลูกเป็นทหารเรื่องปกติหรือคิดไปว่าปกติ : ทีมข่าวสืบสวนสอบสวน
กลายประเด็นร้อนของ "รัฐบาล คสช.” ภายหลังเอกสารการรับบรรจุทหารกองหนุนเข้ารับราชการและแต่งตั้งยศทหาร ของ นายปฏิพัทธ์ จันทร์โอชา หรือ ว่าที่ ร.ต.ปฏิพัทธ์ จันทร์โอชา ลูกชายของ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวมทั้งยังเป็นหลานชาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เข้ารับราชการเป็นนายทหารสังกัดกองทัพภาคที่ 3 ออกมาเผยแพร่สู่สาธารณะ
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมและขั้นตอนการรับสมัครว่าถูกต้องหรือใช้ระบบอุปถัมภ์ก็เกิดขึ้นทันที
นายปฏิพัทธ์ หรือ ว่าที่ ร.ต.ปฏิพัทธ์ สมัครเข้ารับราชการทหารในสาขาวิชาเฉพาะ ซึ่งอยู่ในประเภทที่ 3 ของการบรรจุบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในอัตราต่างๆ ของกองทัพ ซึ่งประเภทที่ 3 นี้ ส่วนใหญ่จะเป็น บุตร หรือเครือญาติของนายทหาร และไม่จำเป็นต้องผ่านการทดสอบร่างกายเหมือนกับเหมือน 2 ประเภทแรก คือ 1.การเลื่อนฐานะจากทหารชั้นประทวนเป็นชั้นสัญญาบัตร 2.การรับบุคคลพลเรือนจากภายนอกเข้าเป็นทหาร
สองประเภทหลังนี้ มีทั้งชั้นประทวนและสัญญาบัตร
แต่ต้องมีคุณสมบัติพิเศษตามที่หน่วยต้องการ และเป็นสาขาวิชาหายากหรือที่กองทัพขาดแคลน หรือเป็นไปตามนโยบายของกองทัพ เช่น บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาจีน, นักวิทยาศาสตร์ในสาขาที่ขาดแคลน โดยวิธีการจะเป็นการรับวิธีพิเศษ ไม่มีเปิดสอบเป็นการทั่วไป เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ทั้งนี้การบรรจุเข้ารับราชการต้องผ่านการอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ เช่น ปลัดกระทรวงกลาโหม
“เป็นอำนาจของผม ที่จะรับใครทำงานได้ทันที เพราะว่าบางตำแหน่งกองทัพกำลังขาดแคลนอยู่ อีกทั้งเป็นสาขาพิเศษที่ผมมีอำนาจในการรับบุคคลได้ หากมีคุณสมบัติครบ เช่น จบปริญญาตรี รับการตรวจสุขภาพเรียบร้อย และไม่มีคดีความติดตัวก็สามารถรับเข้าเป็นทหารได้เลย ซึ่งบางตำแหน่งไม่จำเป็นต้องมีการสอบแข่งขัน และบางครั้งต้องขอร้อง เพราะบางทีเขาไม่อยากจะมา โดยเฉพาะพวกที่มีคุณสมบัติพิเศษของแต่ละบุคคล” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าว
แต่คนทั่วไปดูเหมือนว่าจะไม่คุ้นเคยกับการคัดเลือกคนด้วยวิธีการนี้โดยเฉพาะ “ศรีสุวรรณ จรรยา” เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ที่ได้เข้าไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ตรวจสอบว่าการใช้อำนาจดังกล่าว อาจจะขัดหรือแย้งต่อระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยประมวลจริยธรรม 2551 และขัดต่อข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิก สนช.และกรรมาธิการ 2558 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) 2542 แก้ไขเพิ่มเติม 2554 และ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 มาตรา 13(3)
ขณะที่ พล.อ.ปรีชา เองก็บอกว่า พร้อมไปพบ ป.ป.ช.และผู้ตรวจการแผ่นดิน เพราะเชื่อว่าการดำเนินการถูกต้องแล้ว
ก่อนหน้านี้ ก็มีลูกสาว-ลูกชายของนายทหารที่สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ทั้งในและนอกราชการ เมื่อจบปริญญาตรีแล้วก็เข้าเป็นทหารกันไม่ใช่น้อย
ถ้าว่ากันตามชื่อเสียง ก็อย่างเช่น ลูกสาวของ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม คือ ร.ต.หญิงจุฑาภัค สีตบุตร จบคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนภาษาจีนที่กรมยุทธศึกษาทหารบก
ร.ท.หญิงนันทณัทธ์ จันทร์สุวานิชย์ ลูกสาว พล.ร.อ.ไกรสรณ์ จันทร์สุวานิชย์ อดีต ผบ.ทร.และอดีตสมาชิก คสช. ปัจจุบัน ประจำแผนกวิเทศสัมพันธ์ กองการต่างประเทศ กรมข่าวทหารเรือ ก่อนหน้านี้ก็เคยเป็นนายทหารติดตาม พล.ร.อ.ไกรสรณ์ ในช่วงที่อยู่ในตำแหน่ง
รวมถึงลูกสาวของ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และอดีต ผบ.ทหารสูงสุด คือ ร.ท.หญิง ฐานิสรา ปฏิมาประกร นายทหารล่าม แผนกล่ามต่างประเทศ กรมการข่าวทหาร สังกัดศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.) กองบัญชาการกองทัพไทย เข้ารับราชการในช่วงปีสุดท้ายก่อน พล.อ.ธนะศักดิ์ เกษียณอายุราชการ
การให้โอกาส ถึงแม้ว่าไม่ได้จบโรงเรียนเตรียมทหาร หรือ จบจาก จปร. นายเรือ นายเรืออากาศ และตำรวจ โดยตรง แต่ละหน่วยงานก็มีแผนกงานที่ต่างกัน
เรื่องนี้จะจบอย่างไร ก็ต้องรอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานจนได้ข้อยุติเสียก่อน ว่ามาตรฐานการรับคนเข้าทำงานเป็นนายทหารนั้นจะวางกันไว้อย่างไร จะว่ากันดุ่ยๆ ด้วยความมีอำนาจ หรือจะยึดตามหลักจริยธรรม
ติดดาววิธีพิเศษ...เรื่องปกติของลูกผู้ใหญ่หรือสะท้อนความไร้ธรรมาภิบาล
ประเด็นร้อนว่าด้วยคำสั่งลับกระทรวงกลาโหมที่ให้บรรจุ นายปฏิพัทธ์ จันทร์โอชา ลูกชายของ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม เข้าเป็นนายทหารยศร้อยตรี กลายเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในโลกออนไลน์
หลายคนรวมทั้ง พล.อ.ปรีชา เองบอกว่า เรื่องแบบนี้นายทหารชั้นผู้ใหญ่ทำกันทั้งนั้น ไม่ได้มีกรณีนี้กรณีเดียว ขณะที่อีกบางกระแสมองสวนทางว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะ พล.อ.ปรีชา เป็นคนลงนามในคำสั่งด้วยตัวเอง เพื่อบรรจุลูกชายของตัวเองเข้ารับราชการโดยไม่ได้ผ่านกระบวนการสอบคัดเลือกที่เปิดกว้างตามปกติ
วันวิชิต บุญโปร่ง นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ที่เชี่ยวชาญงานความมั่นคง และติดตามความเคลื่อนไหวในแวดวงการทหารอย่างใกล้ชิด ให้สัมภาษณ์ “ทีมข่าวอิศรา” ว่า ยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติที่นายทหารชั้นผู้ใหญ่ในกองทัพหลายรายนิยมให้บุตรหลานเข้ารับราชการตามแบบของตน แม้ไม่ได้เรียนจบทหาร หรือโรงเรียนนายร้อยก็ตาม อาจจะเป็นเรื่องของความห่วงใย ความสบายใจ เป็นหลักประกันในอาชีพ ซึ่งเรื่องแบบนี้ทำกันมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ปัญหาที่ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ คือ การไม่เปิดสอบอย่างตรงไปตรงมา หรือเปิดสอบคัดเลือกเป็นการทั่วไป แต่เลี่ยงไปใช้วิธีเปิดอัตราพิเศษ ซึ่งนายทหารชั้นผู้ใหญ่ในอดีตทำกันมาตลอด
“ที่ผ่านมามีการเปิดอัตราพิเศษเฉพาะบางสาขาบ้างเหมือนกัน และลูกหลานผู้ใหญ่ก็ได้เข้าไปเป็นทหาร แต่เป็นพวกที่จบสาขาวิชาที่จำเป็นหรือกองทัพขาดแคลน เช่น วิทยาศาสตร์บางแขนง หรือภาษาต่างประเทศ จึงเปิดรับบุคคลภายนอกเข้าไปเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อย หรือกรมยุทธศึกษาของกองทัพ ซึ่งถ้าเป็นสาขาวิชาเฉพาะจริงๆ ก็อาจมีเสียงวิจารณ์ไม่มากนัก แต่กรณีจบนิเทศศาสตร์ จบสื่อสารมวลชน อาจเกิดคำถามว่าจะไปทำงานอะไรในกองทัพหรือ บางคนบอกว่างานกิจการพลเรือน งานประชาสัมพันธ์ ก็ต้องถามว่าจำเป็นแค่ไหน”
อาจารย์วันวิชิตชี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่ากองทัพเป็นระบบอุปถัมภ์ขนาดใหญ่ที่เข้มแข็งมาก คล้ายๆ กับกระทรวงมหาดไทย หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
“เรื่องนี้เป็นความเชื่อดั้งเดิม พวกลูกท่านหลานเธอ ผู้ใหญ่ในกองทัพก็เอาเข้ามารับราชการเหมือนพ่อ เหมือนปู่ หรือต้นตระกูล แต่ผลที่เกิดตามมาอีกด้านหนึ่งคือ การไม่เปิดโอกาสให้คนเก่งที่ไม่มีเส้นสายเข้าสู่ระบบราชการตามปกติ เท่ากับเป็นการกัดกร่อนระบบธรรมาภิบาลของสังคมไทย แม้จะไม่ใช่การทุจริตคอร์รัปชั่นโดยตรง แต่ก็กระทบกับนโยบายและค่านิยมที่ คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) กำลังพยายามบอกกับสังคม ทั้งเรื่องธรรมาภิบาล และความเท่าเทียม”
อาจารย์วันวิชิต บอกด้วยว่า เท่าที่เคยศึกษาและรวบรวม พบว่ามีบุตรหลานของนายทหารชั้นผู้ใหญ่ได้รับการบรรจุเข้าเป็นทหารสัญญาบัตรจำนวนไม่น้อย และมีแทบทุกยุค
“ที่ผ่านมาก็เช่น ลูกสาวอดีต ผบ.ทบ.ที่เพิ่งเกษียณอายุไปเมื่อไม่นานนี้ จบการศึกษาด้านภาษาจีน ก็บรรจุเข้าเป็นอาจารย์ที่กรมยุทธศึกษาทหารบก, ลูกสาวของอดีต ผบ.ทบ.อีกคนที่เป็นญาติผู้พี่ของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้โด่งดัง ก็ได้รับการบรรจุเข้าเป็นทหาร เช่นเดียวกับลูกของอดีตผู้ช่วย ผบ.ทบ.ตระกูลใหญ่ หรือแม้แต่อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกท่านหนึ่งที่เกษียณอายุไปนานหลายปีแล้ว ลูกชายไม่ได้จบโรงเรียนนายร้อย แต่ก็เข้ามาเป็นทหาร ไม่เว้นแม้แต่อดีตนายทหารที่เคยเป็นผู้นำการชุมนุมขับไล่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็มีลูกสาวรับราชการทหารเช่นกัน”
“หลายกรณีเท่าที่ตรวจพบ บางคนเอาลูกเข้ามาเป็นทหารเพื่อเลี่ยงการเกณฑ์ทหารก็มี พอพ้นกำหนดเกณฑ์ก็โอนไปอยู่หน่วยงานอื่น หรือไม่ก็ลาออกไปประกอบอาชีพอื่น หรือไปทำธุรกิจส่วนตัว ทำให้เกิดปัญหากับกองทัพและสิ้นเปลืองงบงประมาณ แต่เทรนด์ในระยะหลังๆ ลูกคนใหญ่คนโตที่ฝากกันเข้ามาเป็นทหารมักจะเป็นลูกสาวมากกว่าลูกชาย” อาจารย์วันวิชิต ระบุ
http://www.komchadluek.net/detail/20160419/226122.html
เพื่อนๆ PANTIP คิดเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ
ดันลูกเป็นทหารเรื่องปกติหรือคิดไปว่าปกติ คมชัดลึกออนไลน์ 19 เมษายน 2559
ดันลูกเป็นทหารเรื่องปกติหรือคิดไปว่าปกติ : ทีมข่าวสืบสวนสอบสวน
กลายประเด็นร้อนของ "รัฐบาล คสช.” ภายหลังเอกสารการรับบรรจุทหารกองหนุนเข้ารับราชการและแต่งตั้งยศทหาร ของ นายปฏิพัทธ์ จันทร์โอชา หรือ ว่าที่ ร.ต.ปฏิพัทธ์ จันทร์โอชา ลูกชายของ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวมทั้งยังเป็นหลานชาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เข้ารับราชการเป็นนายทหารสังกัดกองทัพภาคที่ 3 ออกมาเผยแพร่สู่สาธารณะ
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมและขั้นตอนการรับสมัครว่าถูกต้องหรือใช้ระบบอุปถัมภ์ก็เกิดขึ้นทันที
นายปฏิพัทธ์ หรือ ว่าที่ ร.ต.ปฏิพัทธ์ สมัครเข้ารับราชการทหารในสาขาวิชาเฉพาะ ซึ่งอยู่ในประเภทที่ 3 ของการบรรจุบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในอัตราต่างๆ ของกองทัพ ซึ่งประเภทที่ 3 นี้ ส่วนใหญ่จะเป็น บุตร หรือเครือญาติของนายทหาร และไม่จำเป็นต้องผ่านการทดสอบร่างกายเหมือนกับเหมือน 2 ประเภทแรก คือ 1.การเลื่อนฐานะจากทหารชั้นประทวนเป็นชั้นสัญญาบัตร 2.การรับบุคคลพลเรือนจากภายนอกเข้าเป็นทหาร
สองประเภทหลังนี้ มีทั้งชั้นประทวนและสัญญาบัตร
แต่ต้องมีคุณสมบัติพิเศษตามที่หน่วยต้องการ และเป็นสาขาวิชาหายากหรือที่กองทัพขาดแคลน หรือเป็นไปตามนโยบายของกองทัพ เช่น บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาจีน, นักวิทยาศาสตร์ในสาขาที่ขาดแคลน โดยวิธีการจะเป็นการรับวิธีพิเศษ ไม่มีเปิดสอบเป็นการทั่วไป เป็นผู้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ทั้งนี้การบรรจุเข้ารับราชการต้องผ่านการอนุมัติของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ เช่น ปลัดกระทรวงกลาโหม
“เป็นอำนาจของผม ที่จะรับใครทำงานได้ทันที เพราะว่าบางตำแหน่งกองทัพกำลังขาดแคลนอยู่ อีกทั้งเป็นสาขาพิเศษที่ผมมีอำนาจในการรับบุคคลได้ หากมีคุณสมบัติครบ เช่น จบปริญญาตรี รับการตรวจสุขภาพเรียบร้อย และไม่มีคดีความติดตัวก็สามารถรับเข้าเป็นทหารได้เลย ซึ่งบางตำแหน่งไม่จำเป็นต้องมีการสอบแข่งขัน และบางครั้งต้องขอร้อง เพราะบางทีเขาไม่อยากจะมา โดยเฉพาะพวกที่มีคุณสมบัติพิเศษของแต่ละบุคคล” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าว
แต่คนทั่วไปดูเหมือนว่าจะไม่คุ้นเคยกับการคัดเลือกคนด้วยวิธีการนี้โดยเฉพาะ “ศรีสุวรรณ จรรยา” เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ที่ได้เข้าไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ตรวจสอบว่าการใช้อำนาจดังกล่าว อาจจะขัดหรือแย้งต่อระเบียบกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยประมวลจริยธรรม 2551 และขัดต่อข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิก สนช.และกรรมาธิการ 2558 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ป.ป.ช.) 2542 แก้ไขเพิ่มเติม 2554 และ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 มาตรา 13(3)
ขณะที่ พล.อ.ปรีชา เองก็บอกว่า พร้อมไปพบ ป.ป.ช.และผู้ตรวจการแผ่นดิน เพราะเชื่อว่าการดำเนินการถูกต้องแล้ว
ก่อนหน้านี้ ก็มีลูกสาว-ลูกชายของนายทหารที่สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ทั้งในและนอกราชการ เมื่อจบปริญญาตรีแล้วก็เข้าเป็นทหารกันไม่ใช่น้อย
ถ้าว่ากันตามชื่อเสียง ก็อย่างเช่น ลูกสาวของ พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม คือ ร.ต.หญิงจุฑาภัค สีตบุตร จบคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนภาษาจีนที่กรมยุทธศึกษาทหารบก
ร.ท.หญิงนันทณัทธ์ จันทร์สุวานิชย์ ลูกสาว พล.ร.อ.ไกรสรณ์ จันทร์สุวานิชย์ อดีต ผบ.ทร.และอดีตสมาชิก คสช. ปัจจุบัน ประจำแผนกวิเทศสัมพันธ์ กองการต่างประเทศ กรมข่าวทหารเรือ ก่อนหน้านี้ก็เคยเป็นนายทหารติดตาม พล.ร.อ.ไกรสรณ์ ในช่วงที่อยู่ในตำแหน่ง
รวมถึงลูกสาวของ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และอดีต ผบ.ทหารสูงสุด คือ ร.ท.หญิง ฐานิสรา ปฏิมาประกร นายทหารล่าม แผนกล่ามต่างประเทศ กรมการข่าวทหาร สังกัดศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.) กองบัญชาการกองทัพไทย เข้ารับราชการในช่วงปีสุดท้ายก่อน พล.อ.ธนะศักดิ์ เกษียณอายุราชการ
การให้โอกาส ถึงแม้ว่าไม่ได้จบโรงเรียนเตรียมทหาร หรือ จบจาก จปร. นายเรือ นายเรืออากาศ และตำรวจ โดยตรง แต่ละหน่วยงานก็มีแผนกงานที่ต่างกัน
เรื่องนี้จะจบอย่างไร ก็ต้องรอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานจนได้ข้อยุติเสียก่อน ว่ามาตรฐานการรับคนเข้าทำงานเป็นนายทหารนั้นจะวางกันไว้อย่างไร จะว่ากันดุ่ยๆ ด้วยความมีอำนาจ หรือจะยึดตามหลักจริยธรรม
ติดดาววิธีพิเศษ...เรื่องปกติของลูกผู้ใหญ่หรือสะท้อนความไร้ธรรมาภิบาล
ประเด็นร้อนว่าด้วยคำสั่งลับกระทรวงกลาโหมที่ให้บรรจุ นายปฏิพัทธ์ จันทร์โอชา ลูกชายของ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม เข้าเป็นนายทหารยศร้อยตรี กลายเป็นหัวข้อวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในโลกออนไลน์
หลายคนรวมทั้ง พล.อ.ปรีชา เองบอกว่า เรื่องแบบนี้นายทหารชั้นผู้ใหญ่ทำกันทั้งนั้น ไม่ได้มีกรณีนี้กรณีเดียว ขณะที่อีกบางกระแสมองสวนทางว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะ พล.อ.ปรีชา เป็นคนลงนามในคำสั่งด้วยตัวเอง เพื่อบรรจุลูกชายของตัวเองเข้ารับราชการโดยไม่ได้ผ่านกระบวนการสอบคัดเลือกที่เปิดกว้างตามปกติ
วันวิชิต บุญโปร่ง นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ที่เชี่ยวชาญงานความมั่นคง และติดตามความเคลื่อนไหวในแวดวงการทหารอย่างใกล้ชิด ให้สัมภาษณ์ “ทีมข่าวอิศรา” ว่า ยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติที่นายทหารชั้นผู้ใหญ่ในกองทัพหลายรายนิยมให้บุตรหลานเข้ารับราชการตามแบบของตน แม้ไม่ได้เรียนจบทหาร หรือโรงเรียนนายร้อยก็ตาม อาจจะเป็นเรื่องของความห่วงใย ความสบายใจ เป็นหลักประกันในอาชีพ ซึ่งเรื่องแบบนี้ทำกันมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ปัญหาที่ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ คือ การไม่เปิดสอบอย่างตรงไปตรงมา หรือเปิดสอบคัดเลือกเป็นการทั่วไป แต่เลี่ยงไปใช้วิธีเปิดอัตราพิเศษ ซึ่งนายทหารชั้นผู้ใหญ่ในอดีตทำกันมาตลอด
“ที่ผ่านมามีการเปิดอัตราพิเศษเฉพาะบางสาขาบ้างเหมือนกัน และลูกหลานผู้ใหญ่ก็ได้เข้าไปเป็นทหาร แต่เป็นพวกที่จบสาขาวิชาที่จำเป็นหรือกองทัพขาดแคลน เช่น วิทยาศาสตร์บางแขนง หรือภาษาต่างประเทศ จึงเปิดรับบุคคลภายนอกเข้าไปเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อย หรือกรมยุทธศึกษาของกองทัพ ซึ่งถ้าเป็นสาขาวิชาเฉพาะจริงๆ ก็อาจมีเสียงวิจารณ์ไม่มากนัก แต่กรณีจบนิเทศศาสตร์ จบสื่อสารมวลชน อาจเกิดคำถามว่าจะไปทำงานอะไรในกองทัพหรือ บางคนบอกว่างานกิจการพลเรือน งานประชาสัมพันธ์ ก็ต้องถามว่าจำเป็นแค่ไหน”
อาจารย์วันวิชิตชี้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่ากองทัพเป็นระบบอุปถัมภ์ขนาดใหญ่ที่เข้มแข็งมาก คล้ายๆ กับกระทรวงมหาดไทย หรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
“เรื่องนี้เป็นความเชื่อดั้งเดิม พวกลูกท่านหลานเธอ ผู้ใหญ่ในกองทัพก็เอาเข้ามารับราชการเหมือนพ่อ เหมือนปู่ หรือต้นตระกูล แต่ผลที่เกิดตามมาอีกด้านหนึ่งคือ การไม่เปิดโอกาสให้คนเก่งที่ไม่มีเส้นสายเข้าสู่ระบบราชการตามปกติ เท่ากับเป็นการกัดกร่อนระบบธรรมาภิบาลของสังคมไทย แม้จะไม่ใช่การทุจริตคอร์รัปชั่นโดยตรง แต่ก็กระทบกับนโยบายและค่านิยมที่ คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) กำลังพยายามบอกกับสังคม ทั้งเรื่องธรรมาภิบาล และความเท่าเทียม”
อาจารย์วันวิชิต บอกด้วยว่า เท่าที่เคยศึกษาและรวบรวม พบว่ามีบุตรหลานของนายทหารชั้นผู้ใหญ่ได้รับการบรรจุเข้าเป็นทหารสัญญาบัตรจำนวนไม่น้อย และมีแทบทุกยุค
“ที่ผ่านมาก็เช่น ลูกสาวอดีต ผบ.ทบ.ที่เพิ่งเกษียณอายุไปเมื่อไม่นานนี้ จบการศึกษาด้านภาษาจีน ก็บรรจุเข้าเป็นอาจารย์ที่กรมยุทธศึกษาทหารบก, ลูกสาวของอดีต ผบ.ทบ.อีกคนที่เป็นญาติผู้พี่ของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้โด่งดัง ก็ได้รับการบรรจุเข้าเป็นทหาร เช่นเดียวกับลูกของอดีตผู้ช่วย ผบ.ทบ.ตระกูลใหญ่ หรือแม้แต่อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกท่านหนึ่งที่เกษียณอายุไปนานหลายปีแล้ว ลูกชายไม่ได้จบโรงเรียนนายร้อย แต่ก็เข้ามาเป็นทหาร ไม่เว้นแม้แต่อดีตนายทหารที่เคยเป็นผู้นำการชุมนุมขับไล่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็มีลูกสาวรับราชการทหารเช่นกัน”
“หลายกรณีเท่าที่ตรวจพบ บางคนเอาลูกเข้ามาเป็นทหารเพื่อเลี่ยงการเกณฑ์ทหารก็มี พอพ้นกำหนดเกณฑ์ก็โอนไปอยู่หน่วยงานอื่น หรือไม่ก็ลาออกไปประกอบอาชีพอื่น หรือไปทำธุรกิจส่วนตัว ทำให้เกิดปัญหากับกองทัพและสิ้นเปลืองงบงประมาณ แต่เทรนด์ในระยะหลังๆ ลูกคนใหญ่คนโตที่ฝากกันเข้ามาเป็นทหารมักจะเป็นลูกสาวมากกว่าลูกชาย” อาจารย์วันวิชิต ระบุ
http://www.komchadluek.net/detail/20160419/226122.html
เพื่อนๆ PANTIP คิดเห็นว่าอย่างไรบ้างครับ