:: THE JUNGLE BOOK (2016) ::
"
“ผืนป่ากับอารยธรรมที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง”
. THE JUNGLE BOOK หรือ เราคุ้นเคยกันอย่างดีในชื่อไทยว่า “เมาคลี ลูกหมาป่า” ที่เมื่อสมัยประถม เรียนลูกเสือครั้งใด เปิดให้ดูเป็นสิบๆรอบเท่าที่จำความได้...ครั้นนั้นดูไปไม่คิดอะไร คิดแต่ทว่า จงทำดี จงทำดี เหมือนบาดคียร่า งง มาก แต่ก็ช่างมัน ในรายวิชาอาจจะให้เห็นการเอาชีวิตรอดในป่าก็เป็นได้ แต่กระนั้น เมื่อรู้จักการดูหนัง ตีแผ่ประเด็นก็เริ่มดูภาพลักษณ์ที่สื่อผิดแปลกออกไปอย่างสิ้นเชิง....
. เมาคลี เป็นเรื่องราวของเด็กกำพร้า ที่ถูกทิ้งไว้กลางป่าเขาลำเนาไพร ซึ่งมีหมาป่าแม่ลูกอ่อน รับเลี้ยงดูเด็กน้อยไว้ในฝูง พร้อมด้วยเสือดำ อย่างบาเคียร่า คอยอารักขาเลี้ยงดูลูกมนุษย์น้อยผู้นี้ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้ที่เป็นใหญ่ในป่าเขาลำเนาไพรเขตแคว้นอินเดียก็หนีไม่พ้น เสือโคร่ง นามว่า เชียคาน ซึ่งมีอดีตแค้นฝังลึกในตัวของมนุษย์นั่นเอง...เมาคลีเติบใหญ่อันตรายก็ใกล้เข้ามา เขาตัดสินใจจะออกจากฝูงและไปค้นหาเพื่ออยู่ร่วมกับฝูงใหม่ หรือ กลับเข้าหมู่บ้านมนุษย์...แต่แล้วก็มีเหตุการณ์ให้เมาคลีเอง ย้อนกลับเข้ามา..
. เนื้อเรื่องไม่ผิดแปลกไปจากเดิม ด้วยการคงไว้ซึ่งเสน่ห์ในตัวของมัน แต่ทว่ามีประเด็นนึง ซึ่งไม่ว่าจะเป็น เวอชั่นการ์ตูน หรือ ปัจจุบันก็แล้วแต่ ประเด็นนี้คือ ประเด็นที่ถูกสอดแทรกไว้ใน ภาพที่ปรากฏในหนังเรื่องนี้ทุกตัวละคร นั่นก็คือ การลุกล้ำวัฒนธรรมของติะวันตก ที่เริ่มตีแผ่เข้ามาในอารยธรรมของอินเดีย ! โดยการบอกผ่าน ตัวละครหลัก นั่นคือ เมาคลี และบรรดาสิงสาราสัตว์ต่างๆนั่นเอง เมาคลี ถือเป็นตัวแทนของชนชาติตะวันตก ที่ลุกล้ำเข้ามาในอินเดีย ด้วยเหตุนี้เพราะสมัยก่อน อารยธรรมของอินเดียนั้น ไม่ได้สะดวกสบายอะไรมากนัก จะสังเกตได้จากเครื่องทุ่นแรงต่างๆนานาที่เมาคลีประดิษฐกรรมขึ้นมา...แต่ก็ถูกแม่หมาป่าห้ามด้วยเหตุที่ว่า เราอย่าทำตัวแปลกแยก!
. บรรดาสัตว์น้อยใหญ่ ต่างก็เปรียบได้กับอารยธรรมตะวันออกหรือชาวอินเดียนั่นเอง ซึ่งก็ตื่นตาตื่นใจไม่น้อยหรอกที่จะเห็น เมาคลี ทำเรื่องผิดแผกไปจากพวกเขา เมื่ออารยธรรมเข้ามาก็ต่างมีผู้เห็นด้วย ผู้ต่อต้าน และผู้เฉยๆ
. ผู้ต่อต้าน จะเป็นใครอื่นไปไม่ได้นั้น นั่นคือ เชียคาน นั่นเอง เป็นตัวแทนของกลุ่มต่อต้านอารยธรรม ที่ตะวันตก หรือ เมาคลีนำเข้ามา เพราะ จะมาเป็นใหญ่เหนือตนไม่ได้ และ เชียคานเอง “กลัว” ในตัว เมาคลี เป็นอย่างมาก
. ผู้ที่เห็นด้วยและอยากจะเป็นแบบตะวันตก นั่นคือ ราชาวานรตัวบิ้กเบิ้มอย่าง ลู ที่ใฝ่อยากจะเป็นเช่นดังมนุษย์ แสดงถึงพวกหัวสมัยใหม่ ที่ต้องการรับอารยธรรมต่างชาติเข้ามา และแสดงถึงความ “อยากเป็น” !!
. อ่ะแค่นี้ก็พอจะเชื่อมโยงไปตอนคณะราษฎรปฏิวัติเลยก็ได้นะ ฮ่าๆ พูดง่ายๆ เหมือนประเทศไทย ตอนรับอารยธรรมตะวันตกมา ไม่ว่าจะเป็น แฟชั่น หรืออะไรก็อแล้วแต่ หรือเรื่องใหญ่โตแบบทุกวันนี้คือ รัฐธรรมนูญ ที่ได้แนวคิดจากฝั่งตะวันตก ก็เปรียบได้กับเรื่องนี้เหมือนกันนะ !! จริงหรือไม่จริง !
ท้ายสุดอารยธรรมตะวันตกกับอินเดียก็เข้าผสมกันได้อย่างกลมกลืน จากตอนจบของเรื่อง จากที่จะเห็นได้ว่า “อย่าสู้แบบหมาป่า..เจ้าจงสู้แบบมนุษย์” นั่นคือการยอมรับวัฒนธรรมของตะวันตกเป็นที่เรียบร้อย ดั่งที่ เมาคลี ยอมรับ ในพระเจ้าของป่า นั่นคือ ช้าง เปรียบได้กับ ตะวันตกก็ต่างยอมรับพระเจ้าของชาวอินเดียนั่นเอง ซึ่งช้างก็เปรียบได้กับเทพองค์หนึ่ง ไม่รู้ว่า จะแสดงถึง พระพิฆเนศวร ของอินเดียหรือเปล่านี่สิ
. ประเด็นมีเยอะมาก ถึงแม้เนื้อเรื่องจะไม่แปลกใหม่อย่างที่ควร แต่ก็ขอชื่นชมการแสดงของเด็กน้ออย ที่นางเอาอยู่ทั้งเรื่องเลยจริงๆ และ CG ที่ตระการตาเหมือนอยู่ในป่าเขตร้อนชื้น มีโอกาสจะกลับไปดูพากย์ไทยอีกสักรอบ
.แท่น แท้น แท๊นนน ให้คะแนนตามท้องเรื่อง 4.5 / 5 คะแนนล้วนมาจากภาพจำที่เกิดขึ้นในวัยเด็กที่ดูการ์ตูนเรื่องนี้เป็นสิบๆรอบ และทำให้หวนคิดถึงคิดมา และการที่เคารพต้นฉบับของเรื่องนี้ รวมถึงประเด็นที่ไม่ยอมลดละเลิกที่สอดใส่เข้ามา อีก 0.5 ไม่ได้ไปไหนนะ หักตรงที่ ยังไม่เซอไพร้อะไ/รเท่าที่ควร
สุดท้ายนะคะ ถ้าชอบการรีวิวหนัง ฝากติดตามเพจ ตุ๊ดนั่งดูหนัง ได้ที่ ::
https://www.facebook.com/reviewmoviesbytode/
รีวิว :: THE JUNGLE BOOK (2016) :: “ผืนป่ากับอารยธรรมที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง”
"
. THE JUNGLE BOOK หรือ เราคุ้นเคยกันอย่างดีในชื่อไทยว่า “เมาคลี ลูกหมาป่า” ที่เมื่อสมัยประถม เรียนลูกเสือครั้งใด เปิดให้ดูเป็นสิบๆรอบเท่าที่จำความได้...ครั้นนั้นดูไปไม่คิดอะไร คิดแต่ทว่า จงทำดี จงทำดี เหมือนบาดคียร่า งง มาก แต่ก็ช่างมัน ในรายวิชาอาจจะให้เห็นการเอาชีวิตรอดในป่าก็เป็นได้ แต่กระนั้น เมื่อรู้จักการดูหนัง ตีแผ่ประเด็นก็เริ่มดูภาพลักษณ์ที่สื่อผิดแปลกออกไปอย่างสิ้นเชิง....
. เมาคลี เป็นเรื่องราวของเด็กกำพร้า ที่ถูกทิ้งไว้กลางป่าเขาลำเนาไพร ซึ่งมีหมาป่าแม่ลูกอ่อน รับเลี้ยงดูเด็กน้อยไว้ในฝูง พร้อมด้วยเสือดำ อย่างบาเคียร่า คอยอารักขาเลี้ยงดูลูกมนุษย์น้อยผู้นี้ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้ที่เป็นใหญ่ในป่าเขาลำเนาไพรเขตแคว้นอินเดียก็หนีไม่พ้น เสือโคร่ง นามว่า เชียคาน ซึ่งมีอดีตแค้นฝังลึกในตัวของมนุษย์นั่นเอง...เมาคลีเติบใหญ่อันตรายก็ใกล้เข้ามา เขาตัดสินใจจะออกจากฝูงและไปค้นหาเพื่ออยู่ร่วมกับฝูงใหม่ หรือ กลับเข้าหมู่บ้านมนุษย์...แต่แล้วก็มีเหตุการณ์ให้เมาคลีเอง ย้อนกลับเข้ามา..
. เนื้อเรื่องไม่ผิดแปลกไปจากเดิม ด้วยการคงไว้ซึ่งเสน่ห์ในตัวของมัน แต่ทว่ามีประเด็นนึง ซึ่งไม่ว่าจะเป็น เวอชั่นการ์ตูน หรือ ปัจจุบันก็แล้วแต่ ประเด็นนี้คือ ประเด็นที่ถูกสอดแทรกไว้ใน ภาพที่ปรากฏในหนังเรื่องนี้ทุกตัวละคร นั่นก็คือ การลุกล้ำวัฒนธรรมของติะวันตก ที่เริ่มตีแผ่เข้ามาในอารยธรรมของอินเดีย ! โดยการบอกผ่าน ตัวละครหลัก นั่นคือ เมาคลี และบรรดาสิงสาราสัตว์ต่างๆนั่นเอง เมาคลี ถือเป็นตัวแทนของชนชาติตะวันตก ที่ลุกล้ำเข้ามาในอินเดีย ด้วยเหตุนี้เพราะสมัยก่อน อารยธรรมของอินเดียนั้น ไม่ได้สะดวกสบายอะไรมากนัก จะสังเกตได้จากเครื่องทุ่นแรงต่างๆนานาที่เมาคลีประดิษฐกรรมขึ้นมา...แต่ก็ถูกแม่หมาป่าห้ามด้วยเหตุที่ว่า เราอย่าทำตัวแปลกแยก!
. บรรดาสัตว์น้อยใหญ่ ต่างก็เปรียบได้กับอารยธรรมตะวันออกหรือชาวอินเดียนั่นเอง ซึ่งก็ตื่นตาตื่นใจไม่น้อยหรอกที่จะเห็น เมาคลี ทำเรื่องผิดแผกไปจากพวกเขา เมื่ออารยธรรมเข้ามาก็ต่างมีผู้เห็นด้วย ผู้ต่อต้าน และผู้เฉยๆ
. ผู้ต่อต้าน จะเป็นใครอื่นไปไม่ได้นั้น นั่นคือ เชียคาน นั่นเอง เป็นตัวแทนของกลุ่มต่อต้านอารยธรรม ที่ตะวันตก หรือ เมาคลีนำเข้ามา เพราะ จะมาเป็นใหญ่เหนือตนไม่ได้ และ เชียคานเอง “กลัว” ในตัว เมาคลี เป็นอย่างมาก
. ผู้ที่เห็นด้วยและอยากจะเป็นแบบตะวันตก นั่นคือ ราชาวานรตัวบิ้กเบิ้มอย่าง ลู ที่ใฝ่อยากจะเป็นเช่นดังมนุษย์ แสดงถึงพวกหัวสมัยใหม่ ที่ต้องการรับอารยธรรมต่างชาติเข้ามา และแสดงถึงความ “อยากเป็น” !!
. อ่ะแค่นี้ก็พอจะเชื่อมโยงไปตอนคณะราษฎรปฏิวัติเลยก็ได้นะ ฮ่าๆ พูดง่ายๆ เหมือนประเทศไทย ตอนรับอารยธรรมตะวันตกมา ไม่ว่าจะเป็น แฟชั่น หรืออะไรก็อแล้วแต่ หรือเรื่องใหญ่โตแบบทุกวันนี้คือ รัฐธรรมนูญ ที่ได้แนวคิดจากฝั่งตะวันตก ก็เปรียบได้กับเรื่องนี้เหมือนกันนะ !! จริงหรือไม่จริง !
ท้ายสุดอารยธรรมตะวันตกกับอินเดียก็เข้าผสมกันได้อย่างกลมกลืน จากตอนจบของเรื่อง จากที่จะเห็นได้ว่า “อย่าสู้แบบหมาป่า..เจ้าจงสู้แบบมนุษย์” นั่นคือการยอมรับวัฒนธรรมของตะวันตกเป็นที่เรียบร้อย ดั่งที่ เมาคลี ยอมรับ ในพระเจ้าของป่า นั่นคือ ช้าง เปรียบได้กับ ตะวันตกก็ต่างยอมรับพระเจ้าของชาวอินเดียนั่นเอง ซึ่งช้างก็เปรียบได้กับเทพองค์หนึ่ง ไม่รู้ว่า จะแสดงถึง พระพิฆเนศวร ของอินเดียหรือเปล่านี่สิ
. ประเด็นมีเยอะมาก ถึงแม้เนื้อเรื่องจะไม่แปลกใหม่อย่างที่ควร แต่ก็ขอชื่นชมการแสดงของเด็กน้ออย ที่นางเอาอยู่ทั้งเรื่องเลยจริงๆ และ CG ที่ตระการตาเหมือนอยู่ในป่าเขตร้อนชื้น มีโอกาสจะกลับไปดูพากย์ไทยอีกสักรอบ
.แท่น แท้น แท๊นนน ให้คะแนนตามท้องเรื่อง 4.5 / 5 คะแนนล้วนมาจากภาพจำที่เกิดขึ้นในวัยเด็กที่ดูการ์ตูนเรื่องนี้เป็นสิบๆรอบ และทำให้หวนคิดถึงคิดมา และการที่เคารพต้นฉบับของเรื่องนี้ รวมถึงประเด็นที่ไม่ยอมลดละเลิกที่สอดใส่เข้ามา อีก 0.5 ไม่ได้ไปไหนนะ หักตรงที่ ยังไม่เซอไพร้อะไ/รเท่าที่ควร
สุดท้ายนะคะ ถ้าชอบการรีวิวหนัง ฝากติดตามเพจ ตุ๊ดนั่งดูหนัง ได้ที่ :: https://www.facebook.com/reviewmoviesbytode/