เมื่อวันที่ 14 เมษายน นพ.นภดล นพคุณ นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีเว็บไซต์พยากรณ์อากาศของอังกฤษ weatheronline.co.uk ระบุว่า ดัชนีความเข้มข้นของรังสีอัลตราไวโอเล็ต(ยูวีอินเด็กซ์) ในประเทศไทยช่วงระหว่างวันที่ 14-21 เมษายน อยู่ที่ 12 ซึ่งเป็นความเสี่ยงสูงที่อาจส่งผลต่อผิวหนัง ว่า
ถึงจะมีการวัดดัชนีความเข้มข้นดังกล่าว แต่ไม่ใช่ว่าจะต้องหวาดวิตกจนไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศร้อนอยู่แล้ว และคนไทย รวมทั้งคนเอเชียจะมีสีผิวที่เข้มกว่าคนยุโรป ทำให้เม็ดสีมีความเข้มกว่า ป้องกันรังสียูวีได้มากกว่า ดังนั้น การทาครีมป้องกันแสงแดดก็สามารถช่วยได้ แต่อาจไม่จำเป็นต้องใช้ครีมกันแดดที่มีค่าประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดด หรือค่าเอสพีเอฟ(SPF) 30 ขึ้นไป เพราะค่าเอสพีเอฟ 15 ขึ้นไปก็สามารถป้องกันได้แล้ว รวมทั้งสวมเสื้อผ้าแขนยาว ใส่หมวก หรือกางร่ม รวมทั้งสวมแว่นตาก็ป้องกันได้
นพ.นภดล กล่าวอีกว่า รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี มีอยู่ 3 ชนิด คือ 1. รังสียูวีซี (UV C) เป็นรังสีที่อันตรายที่สุด แต่จะไม่ถึงพื้นโลก เนื่องจากจะมีโอโซนกั้นอยู่ โดยรังสีนี้หากถูกผิวหนังจะทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้ และอาจกระทบต่อดวงตา เป็นต้อกระจกได้ 2.รังสียูวีบี (UV B) มาถึงผิวโลก และมีผลต่อผิวไหม้ได้ หรือที่เรียกว่า ซันเบิร์น แต่ป้องกันได้ โดยการทาครีมกันแดด และ3.รังสียูวีเอ (UV A) จะทะลุเข้าไปภายในผิวหนัง ทำให้แก่เร็วขึ้น แต่ทั้งหมดไม่ใช่ว่าต้องหวาดวิตกเกินเหตุ เพราะไม่ว่าจะมีค่าดัชนีเท่าใด การป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดดมากเกินไปย่อมส่งผลดี ซึ่งปัจจุบันครีมกันแดดก็มีทั้งป้องกันรังสียูวีเอ และยูวีบี ประเด็นคือ ต้องทาให้ถูกต้อง โดยบีบครีมออกมาประมาณ 1 ข้อนิ้ว ทาทั่วหน้าและทิ้งห่างสัก 5 นาที ทาซ้ำประมาน 2 รอบ และหากต้องออกไปเล่นน้ำสงกรานต์ หรือเล่นน้ำทะเลก็ควรทาซ้ำบ่อยๆ
"จริงๆแล้ว ครีมกันแดดทามากก็เป็นสารเคมี ทางที่ดีควรมีร่ม สวมหมวกควบคู่ด้วยจะดีกว่า เพราะการถูกแดดมากเกินไปก็ไม่ส่งผลดีต่อผิว ไม่จำเป็นต้องดัชนีเท่าใด แต่ป้องกันก่อนดีที่สุด อย่างคนที่ทำงานกลางแจ้งก็ต้องป้องกันตัวเอง มีร่ม มีหมวก สวมเสื้อผ้าแขนยาว และสวมแว่นกันแดด ก็จะช่วยนอกจากผิว ยังช่วยป้องกันสายตาจากการถูกแสงจ้าด้วย" นพ.นภดล กล่าว
ที่มา มติชนออนไลน์
อย่าว่าแต่สัปดาห์นี้เลย
ที่ผ่านมาตอนเที่ยงๆนี้ spf 50 ยังรู้สึกจะสู้แดดไหวไหม
อย่ากลัวออกแดด! หลังเว็บอังกฤษชี้รังสียูวีไทยสูงสุด หมอผิวหนังชี้คนผิวคล้ำได้เปรียบ
ถึงจะมีการวัดดัชนีความเข้มข้นดังกล่าว แต่ไม่ใช่ว่าจะต้องหวาดวิตกจนไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศร้อนอยู่แล้ว และคนไทย รวมทั้งคนเอเชียจะมีสีผิวที่เข้มกว่าคนยุโรป ทำให้เม็ดสีมีความเข้มกว่า ป้องกันรังสียูวีได้มากกว่า ดังนั้น การทาครีมป้องกันแสงแดดก็สามารถช่วยได้ แต่อาจไม่จำเป็นต้องใช้ครีมกันแดดที่มีค่าประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดด หรือค่าเอสพีเอฟ(SPF) 30 ขึ้นไป เพราะค่าเอสพีเอฟ 15 ขึ้นไปก็สามารถป้องกันได้แล้ว รวมทั้งสวมเสื้อผ้าแขนยาว ใส่หมวก หรือกางร่ม รวมทั้งสวมแว่นตาก็ป้องกันได้
นพ.นภดล กล่าวอีกว่า รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี มีอยู่ 3 ชนิด คือ 1. รังสียูวีซี (UV C) เป็นรังสีที่อันตรายที่สุด แต่จะไม่ถึงพื้นโลก เนื่องจากจะมีโอโซนกั้นอยู่ โดยรังสีนี้หากถูกผิวหนังจะทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้ และอาจกระทบต่อดวงตา เป็นต้อกระจกได้ 2.รังสียูวีบี (UV B) มาถึงผิวโลก และมีผลต่อผิวไหม้ได้ หรือที่เรียกว่า ซันเบิร์น แต่ป้องกันได้ โดยการทาครีมกันแดด และ3.รังสียูวีเอ (UV A) จะทะลุเข้าไปภายในผิวหนัง ทำให้แก่เร็วขึ้น แต่ทั้งหมดไม่ใช่ว่าต้องหวาดวิตกเกินเหตุ เพราะไม่ว่าจะมีค่าดัชนีเท่าใด การป้องกันไม่ให้ถูกแสงแดดมากเกินไปย่อมส่งผลดี ซึ่งปัจจุบันครีมกันแดดก็มีทั้งป้องกันรังสียูวีเอ และยูวีบี ประเด็นคือ ต้องทาให้ถูกต้อง โดยบีบครีมออกมาประมาณ 1 ข้อนิ้ว ทาทั่วหน้าและทิ้งห่างสัก 5 นาที ทาซ้ำประมาน 2 รอบ และหากต้องออกไปเล่นน้ำสงกรานต์ หรือเล่นน้ำทะเลก็ควรทาซ้ำบ่อยๆ
"จริงๆแล้ว ครีมกันแดดทามากก็เป็นสารเคมี ทางที่ดีควรมีร่ม สวมหมวกควบคู่ด้วยจะดีกว่า เพราะการถูกแดดมากเกินไปก็ไม่ส่งผลดีต่อผิว ไม่จำเป็นต้องดัชนีเท่าใด แต่ป้องกันก่อนดีที่สุด อย่างคนที่ทำงานกลางแจ้งก็ต้องป้องกันตัวเอง มีร่ม มีหมวก สวมเสื้อผ้าแขนยาว และสวมแว่นกันแดด ก็จะช่วยนอกจากผิว ยังช่วยป้องกันสายตาจากการถูกแสงจ้าด้วย" นพ.นภดล กล่าว
ที่มา มติชนออนไลน์
อย่าว่าแต่สัปดาห์นี้เลย
ที่ผ่านมาตอนเที่ยงๆนี้ spf 50 ยังรู้สึกจะสู้แดดไหวไหม