การบริหารจัดการและออกแบบเครือข่ายระบบไร้สาย หากทำการไม่ดีแล้วละก็ อาจสร้างความปวดหัวให้กับเราได้ ทั้งในแง่ของผู้ใช้งานที่ใช้งานติดๆ ดับๆ, กระบวนการทำงานที่ล่าช้า และความไม่พอใจจากผู้คนต่างๆ อีกร้อยแปดพันเก้า หากระบบเครือข่ายไร้สายมีเหตุขัดข้องและไม่สมบูรณ์
ในบทความครั้งนี้ ผมจะพาไปพบกับเรื่องราวทั้ง 7 ประการที่น่าสนใจในการสร้างระบบเครือข่ายไร้สายที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดีกว่าเดิม และให้ทุกคนสนุกไปกับการใช้งานและเกิดความพึงพอใจสูงสุด ลองไปดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง
1. อย่าห่วงแต่จะเอาของถูก
เมื่อเรามาถึงจุดที่ต้องโฟกัสเรื่องความเร็วและความเสถียรของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ณ จุดๆ นี้บอกเลยจะเห็นความแตกต่างระหว่างพวกอุปกรณ์ประเภทคอนซูมเมอร์และเอ็นเทอร์ไพรส์ จริงอยู่ที่อุปกรณ์เอ็นเทอร์ไพรส์จะแพงกว่า แต่มันให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่ากันหลายเท่าตัว !
2. ออกแบบให้ครอบคลุมพื้นที่และอุปกรณ์
เวลาออกแบบเราควรจะต้องคำนึงถึงเป้าหมายที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ต้องให้สัญญาณครอบคลุมและต้องสามารถรับมือกับอุปกรณ์ดีไวซ์ต่างๆ ที่เชื่อม ต่อเข้ามากับระบบเครือข่ายพร้อมๆ กัน (มีความหนาแน่นสูง) ไม่ว่าจะมาจากอุปกรณ์โน้ตบุ๊ก, แท็บเล็ต, สมาร์ทโฟน และอื่นๆ ลองคิดดูคนหนึ่งคนมีหลาย อุปกรณ์ต่อเชื่อม แล้วบริษัทหนึ่งมีพนักงานกี่คนกันล่ะ ก็เยอะอยู่ไม่ใช่เหรอ? และต่อไปก็จะมีอุปกรณ์ที่ใช้งานประเภท IoT เข้ามาอีก ดังนั้นคงจะต้องวาง แผนกำหนด AP ต่างให้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อนล่ะ
3. พยายามทำการสำรวจเครือข่ายไร้สายเป็นประจำ
เป็นข้อหนึ่งที่คุณควรจะทำอย่างสม่ำเสมอ ! เลิกซะเหอะกับการที่สุ่มไปเดินดูสถานที่ใดที่หนึ่งแล้วก็ทำรายงาน แต่ควรจะหมั่นไปตรวจทุกๆ สถานที่เพื่อที่จะ มองเห็นและเข้าใจตัวสัญญาณ สามารถที่จะเห็นถึงการแทรกแซงของสัญญาณ, ระดับสัญญาณว่าอ่อนหรือแกร่ง, หรือมีการทับสัญญาณกันหรือไม่ เป็นต้น การสำรวจเครือข่ายนั้น ถ้าจะให้ดีทำเป็นประจำ (อาจจะสักทุกๆ 6 หรือ 12 เดือน ก็ยังดี)
4. เลือกปรับเสาสัญญาณอย่างชาญฉลาด
ปัจจุบันคุณมีออปชันให้เลือกใช้เสาแอเทนน่า (Antenna) มากมาย คุณจะเลือกใช้อันไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมการทำงานจริง แต่พึงระลึกไว้อย่าง หนึ่งว่าตัว APs ที่เป็นแบบเอ็นเทอร์ไพรส์-คลาส มักจะติดตั้งเสาที่ค่อนข้างใหญ่ เพื่อออกแบบให้ทำงานในออฟฟิศแบบดังเดิมซึ่งเป็นทรงสี่เหลี่ยม, มี เพดานต่ำ และกำแพงทั่วๆ ไป แต่ถ้าคุณต้องดีพลอยเครือข่ายไร้สายในสภาพแวดล้อมอื่นๆ เช่น คลังสินค้า, โรงพยาบาล, หรือนอกสถานที่ ก็จะต้องปรับ แอเทนน่าให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ
5. ชี้เป้าและกำจัดคอขวดซะ !
ปัญหาคอขวดในเครือข่ายไร้สายนั้นเกิดได้ในจุดสำคัญหลายๆ จุด โดยส่วนมากคอขวดจะเกิดขึ้นที่ตัว AP เอง หรือตรวจุดอัพลิงก์ระหว่าง AP ไปยังสวิตช์ ส่วนคอขวดจุดอื่นๆ อาจจะเกิดมื่อตอนใช้สถาปัตยกรรมระบบไว-ไฟ แบบที่เป็นคอนโทรเลอร์-เบส และทุกทราฟิกของเครือข่ายจะต้องมาที่ตำแหน่งศูนย์กลางเพียงหนึ่งเดียวเพื่อความปลอดภัย เราก็ต้องคำนึงถึงปัญหาตรงนี้และค่อยๆ จัดการให้สิ้นไป
6. เข้าใจถึงแอพพลิเคชันที่ใช้
ณ จุดนี้ ผมบอกเลยว่าไม่พอแน่ๆ ถ้าคุณทราบเพียงแค่จำนวนของอุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อหรือรู้แบนด์วิธที่พวกเขาใช้ แต่ทางที่ดีคุณจะต้องเข้าใจและทราบถึงแอพพลิเคชันต่างๆ ที่รันบนเครือข่ายด้วย ไม่ว่าจะรันงานอะไรอยู่ไฟล์, เสียง, วิดีโอ หรืออะไรก็แล้วแต่ เพื่อที่จะช่วยให้ระบบมีประสิทธิภาพบางทีอาจจะต้องนำเอาโพลิซี QoS มาใช้งานก็เป็นได้
7. ปรับปรุงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ให้ใหม่สด
เป็นข้อที่น่าสนใจ บางทีคุณอาจจะต้องดึงเอาควาสามารถพิเศษของเทคโนโลยีด้าน 802.11 มาใช้ เพื่อรองรับความต้องการด้านความเร็ว, ความเสถียรภาพและความปลอดภัยบนเครือข่ายไร้สาย แต่อย่างไรก็ตามเราเองก็อาจจะมองอนาคตอื่นๆ ด้วยเช่นอาจจะต้องปรับปรุงฮาร์ดแวร์ให้ใหม่ขึ้นรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ดีขึ้น บางองค์กร 802.11n เป็นอะไรที่ใหม่มาก แต่เชื่อเลยว่าในบางองค์กรลำพังแค่ 802.11n ไม่เพียงพอเสียแล้ว !
ที่มา :
http://enterpriseitpro.in.th/archives/5194
7 วิธีง่ายๆ ! ในการเพิ่มประสิทธิภาพ Wi-Fi ในองค์กรของคุณ
การบริหารจัดการและออกแบบเครือข่ายระบบไร้สาย หากทำการไม่ดีแล้วละก็ อาจสร้างความปวดหัวให้กับเราได้ ทั้งในแง่ของผู้ใช้งานที่ใช้งานติดๆ ดับๆ, กระบวนการทำงานที่ล่าช้า และความไม่พอใจจากผู้คนต่างๆ อีกร้อยแปดพันเก้า หากระบบเครือข่ายไร้สายมีเหตุขัดข้องและไม่สมบูรณ์
ในบทความครั้งนี้ ผมจะพาไปพบกับเรื่องราวทั้ง 7 ประการที่น่าสนใจในการสร้างระบบเครือข่ายไร้สายที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ดีกว่าเดิม และให้ทุกคนสนุกไปกับการใช้งานและเกิดความพึงพอใจสูงสุด ลองไปดูกันครับว่ามีอะไรบ้าง
1. อย่าห่วงแต่จะเอาของถูก
เมื่อเรามาถึงจุดที่ต้องโฟกัสเรื่องความเร็วและความเสถียรของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ณ จุดๆ นี้บอกเลยจะเห็นความแตกต่างระหว่างพวกอุปกรณ์ประเภทคอนซูมเมอร์และเอ็นเทอร์ไพรส์ จริงอยู่ที่อุปกรณ์เอ็นเทอร์ไพรส์จะแพงกว่า แต่มันให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่ากันหลายเท่าตัว !
2. ออกแบบให้ครอบคลุมพื้นที่และอุปกรณ์
เวลาออกแบบเราควรจะต้องคำนึงถึงเป้าหมายที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ที่ต้องให้สัญญาณครอบคลุมและต้องสามารถรับมือกับอุปกรณ์ดีไวซ์ต่างๆ ที่เชื่อม ต่อเข้ามากับระบบเครือข่ายพร้อมๆ กัน (มีความหนาแน่นสูง) ไม่ว่าจะมาจากอุปกรณ์โน้ตบุ๊ก, แท็บเล็ต, สมาร์ทโฟน และอื่นๆ ลองคิดดูคนหนึ่งคนมีหลาย อุปกรณ์ต่อเชื่อม แล้วบริษัทหนึ่งมีพนักงานกี่คนกันล่ะ ก็เยอะอยู่ไม่ใช่เหรอ? และต่อไปก็จะมีอุปกรณ์ที่ใช้งานประเภท IoT เข้ามาอีก ดังนั้นคงจะต้องวาง แผนกำหนด AP ต่างให้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อนล่ะ
3. พยายามทำการสำรวจเครือข่ายไร้สายเป็นประจำ
เป็นข้อหนึ่งที่คุณควรจะทำอย่างสม่ำเสมอ ! เลิกซะเหอะกับการที่สุ่มไปเดินดูสถานที่ใดที่หนึ่งแล้วก็ทำรายงาน แต่ควรจะหมั่นไปตรวจทุกๆ สถานที่เพื่อที่จะ มองเห็นและเข้าใจตัวสัญญาณ สามารถที่จะเห็นถึงการแทรกแซงของสัญญาณ, ระดับสัญญาณว่าอ่อนหรือแกร่ง, หรือมีการทับสัญญาณกันหรือไม่ เป็นต้น การสำรวจเครือข่ายนั้น ถ้าจะให้ดีทำเป็นประจำ (อาจจะสักทุกๆ 6 หรือ 12 เดือน ก็ยังดี)
4. เลือกปรับเสาสัญญาณอย่างชาญฉลาด
ปัจจุบันคุณมีออปชันให้เลือกใช้เสาแอเทนน่า (Antenna) มากมาย คุณจะเลือกใช้อันไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมการทำงานจริง แต่พึงระลึกไว้อย่าง หนึ่งว่าตัว APs ที่เป็นแบบเอ็นเทอร์ไพรส์-คลาส มักจะติดตั้งเสาที่ค่อนข้างใหญ่ เพื่อออกแบบให้ทำงานในออฟฟิศแบบดังเดิมซึ่งเป็นทรงสี่เหลี่ยม, มี เพดานต่ำ และกำแพงทั่วๆ ไป แต่ถ้าคุณต้องดีพลอยเครือข่ายไร้สายในสภาพแวดล้อมอื่นๆ เช่น คลังสินค้า, โรงพยาบาล, หรือนอกสถานที่ ก็จะต้องปรับ แอเทนน่าให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ
5. ชี้เป้าและกำจัดคอขวดซะ !
ปัญหาคอขวดในเครือข่ายไร้สายนั้นเกิดได้ในจุดสำคัญหลายๆ จุด โดยส่วนมากคอขวดจะเกิดขึ้นที่ตัว AP เอง หรือตรวจุดอัพลิงก์ระหว่าง AP ไปยังสวิตช์ ส่วนคอขวดจุดอื่นๆ อาจจะเกิดมื่อตอนใช้สถาปัตยกรรมระบบไว-ไฟ แบบที่เป็นคอนโทรเลอร์-เบส และทุกทราฟิกของเครือข่ายจะต้องมาที่ตำแหน่งศูนย์กลางเพียงหนึ่งเดียวเพื่อความปลอดภัย เราก็ต้องคำนึงถึงปัญหาตรงนี้และค่อยๆ จัดการให้สิ้นไป
6. เข้าใจถึงแอพพลิเคชันที่ใช้
ณ จุดนี้ ผมบอกเลยว่าไม่พอแน่ๆ ถ้าคุณทราบเพียงแค่จำนวนของอุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อหรือรู้แบนด์วิธที่พวกเขาใช้ แต่ทางที่ดีคุณจะต้องเข้าใจและทราบถึงแอพพลิเคชันต่างๆ ที่รันบนเครือข่ายด้วย ไม่ว่าจะรันงานอะไรอยู่ไฟล์, เสียง, วิดีโอ หรืออะไรก็แล้วแต่ เพื่อที่จะช่วยให้ระบบมีประสิทธิภาพบางทีอาจจะต้องนำเอาโพลิซี QoS มาใช้งานก็เป็นได้
7. ปรับปรุงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ให้ใหม่สด
เป็นข้อที่น่าสนใจ บางทีคุณอาจจะต้องดึงเอาควาสามารถพิเศษของเทคโนโลยีด้าน 802.11 มาใช้ เพื่อรองรับความต้องการด้านความเร็ว, ความเสถียรภาพและความปลอดภัยบนเครือข่ายไร้สาย แต่อย่างไรก็ตามเราเองก็อาจจะมองอนาคตอื่นๆ ด้วยเช่นอาจจะต้องปรับปรุงฮาร์ดแวร์ให้ใหม่ขึ้นรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ดีขึ้น บางองค์กร 802.11n เป็นอะไรที่ใหม่มาก แต่เชื่อเลยว่าในบางองค์กรลำพังแค่ 802.11n ไม่เพียงพอเสียแล้ว !
ที่มา : http://enterpriseitpro.in.th/archives/5194