ไม่นานมานี้เราได้เพิ่งได้เริ่มศึกษาบทความเกี่ยวกับธรรมะของพระอาจารย์ท่านหนึ่ง
ซึ่งในหลายๆบทความก็มีข้อคิดที่แตกต่างกันไป แต่ความหมายโดยรวมทั้งหมดที่พอสรุปได้ก็คือ
การฝึกใจยอมรับความเป็นจริงแห่งทุกข์ ว่าทุกสรรพสิ่งล้วนอยู่ใต้กฏของไตรลักษณ์ที่ว่า
ทุกสิ่งบนโลกใบนี้ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
พยายามฝึกใจยอมรับความเป็นจริงสิ่งนี้อยู่ทุกเวลาที่เกิดสุขทุกข์ใดๆ
แต่ในความเป็นจริงคือ
จิตของเราก็ยังคงทำหน้าที่ไปตามแบบที่เคยชิน แบบที่เคยทำ ที่คิดว่าเป็นสุข แต่หากมีเหตุอันใดที่ทำให้หลุดจากสิ่งนั้น
หลุดจากกฎที่ยึดถือไว้ ก็เป็นทุกข์ จิตใจก็ครุ่นคิดแต่สิ่งไม่ดี สิ่งร้ายๆที่เคยเกิดขึ้นอยู่เสมอ จนกว่าสิ่งที่เรายึดถือไว้จะคืนสภาพกลับมา ถึงจะดึงสติกลับมาได้ เช่น การที่เราต้องออกนอกบ้านไปเจออากาศร้อนจัด พยายามควบคุมจิตด้วยธรรมะ แต่ทุกข์จากร่างกายก็ไม่อาจทัดทานได้ ก็แสดงอาการว่าร้อน ว่าหงุดหงิด จากนั้นความคิดก็คิดแต่เรื่องไม่ดี ฟุ้งซ่าน อยากพ้นทุกข์ ก็หนีทุกข์ด้วยการกลับไปอาบน้ำ เปิดแอร์จึงพ้นทุกข์ ซึ่งก็พบว่า ตนเองยังคงล้มเหลวตามเคย คือไม่อาจปล่อยวางเรื่องต่างๆได้เลย นั่นทุกข์เพราะร่างกายเป็นทุกข์ แต่กลับไม่สามารถแยกแยะว่าไม่ควรไปยึดถือ กลับมีอาการหงุดหงิดรำคาญใจไปจนกว่าจะพ้นจากสภาวะนั้นๆได้
ส่วนทุกข์ทางใจที่เกิดขึ้น เราก็สามารถปล่อยวางไปได้ในระดับนึง คือจิตใจของคนย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกิเลสตัณหาที่คอยบงการ จะยึดถือว่าต้องเหมือนเดิมไม่ได้เลย เราจึงปล่อยวางกับเรื่องราวที่เคยมีปัญหากับผู้คนในอดีตได้ แต่ใจก็ยังไม่กล้าเผชิญกับสิ่งนี้ในอนาคต เพราะถึงแม้จะเข้าใจ แต่ก็ไม่อยากเป็นทุกข์ที่จะต้องพบเจออีกในวันข้างหน้า นั่นแปลว่าแม้ใจจะเข้าใจ แต่ก็ยังคงยึดติดกับสุขทุกข์ที่จะเกิดขึ้น ทั้งๆที่ในความเป็นจริงทางธรรมไม่ใช่สิ่งที่เป็นสาระสำคัญเลย
ประกอบกับการที่จะประกอบกิจกรรมอะไรซักอย่าง เราก็ยังยึดถือว่า ถ้ามีความสุขก็จะทำ ถ้าทุกข์ก็จะไม่ทำ อย่างเช่นเราอยากเรียนอะไรซักอย่างนึง หากเราเรียนเข้าใจ (ง่าย) ก็เท่ากับเป็นสุข แต่ถ้าไม่เข้าใจ (ยาก) ก็เป็นทุกข์ ใจก็ยังปล่อยวางไม่ได้ว่าเป็นตามธรรมชาติของมัน เวลาสุขก็อยากร่วมสุข แต่เวลาทุกข์กลับไม่สามารถทำใจให้ร่วมกับมันได้ (ประมาณว่าถ้าเรียนยากเกินไปก็ไม่อดทน ก็ท้อ อยากเลิกเรียน) เท่ากับกิเลสตัณหายังครอบงำอยู่
หลายๆคนในที่นี้ที่ศึกษาธรรมะมาจนถ่องแท้แล้ว มีวิธีปล่อยวางจิตที่สำคัญผิดนี้ได้อย่างไรกันครับ
อยากหลุดพ้นจากทุกข์ด้วยการศึกษาธรรมะเบื้องต้น แต่ก็ยังไม่สามารถหลุดพ้นได้ทั้งหมด เป็นเพราะเหตุใด
ซึ่งในหลายๆบทความก็มีข้อคิดที่แตกต่างกันไป แต่ความหมายโดยรวมทั้งหมดที่พอสรุปได้ก็คือ
การฝึกใจยอมรับความเป็นจริงแห่งทุกข์ ว่าทุกสรรพสิ่งล้วนอยู่ใต้กฏของไตรลักษณ์ที่ว่า
ทุกสิ่งบนโลกใบนี้ไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
พยายามฝึกใจยอมรับความเป็นจริงสิ่งนี้อยู่ทุกเวลาที่เกิดสุขทุกข์ใดๆ
แต่ในความเป็นจริงคือ
จิตของเราก็ยังคงทำหน้าที่ไปตามแบบที่เคยชิน แบบที่เคยทำ ที่คิดว่าเป็นสุข แต่หากมีเหตุอันใดที่ทำให้หลุดจากสิ่งนั้น
หลุดจากกฎที่ยึดถือไว้ ก็เป็นทุกข์ จิตใจก็ครุ่นคิดแต่สิ่งไม่ดี สิ่งร้ายๆที่เคยเกิดขึ้นอยู่เสมอ จนกว่าสิ่งที่เรายึดถือไว้จะคืนสภาพกลับมา ถึงจะดึงสติกลับมาได้ เช่น การที่เราต้องออกนอกบ้านไปเจออากาศร้อนจัด พยายามควบคุมจิตด้วยธรรมะ แต่ทุกข์จากร่างกายก็ไม่อาจทัดทานได้ ก็แสดงอาการว่าร้อน ว่าหงุดหงิด จากนั้นความคิดก็คิดแต่เรื่องไม่ดี ฟุ้งซ่าน อยากพ้นทุกข์ ก็หนีทุกข์ด้วยการกลับไปอาบน้ำ เปิดแอร์จึงพ้นทุกข์ ซึ่งก็พบว่า ตนเองยังคงล้มเหลวตามเคย คือไม่อาจปล่อยวางเรื่องต่างๆได้เลย นั่นทุกข์เพราะร่างกายเป็นทุกข์ แต่กลับไม่สามารถแยกแยะว่าไม่ควรไปยึดถือ กลับมีอาการหงุดหงิดรำคาญใจไปจนกว่าจะพ้นจากสภาวะนั้นๆได้
ส่วนทุกข์ทางใจที่เกิดขึ้น เราก็สามารถปล่อยวางไปได้ในระดับนึง คือจิตใจของคนย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกิเลสตัณหาที่คอยบงการ จะยึดถือว่าต้องเหมือนเดิมไม่ได้เลย เราจึงปล่อยวางกับเรื่องราวที่เคยมีปัญหากับผู้คนในอดีตได้ แต่ใจก็ยังไม่กล้าเผชิญกับสิ่งนี้ในอนาคต เพราะถึงแม้จะเข้าใจ แต่ก็ไม่อยากเป็นทุกข์ที่จะต้องพบเจออีกในวันข้างหน้า นั่นแปลว่าแม้ใจจะเข้าใจ แต่ก็ยังคงยึดติดกับสุขทุกข์ที่จะเกิดขึ้น ทั้งๆที่ในความเป็นจริงทางธรรมไม่ใช่สิ่งที่เป็นสาระสำคัญเลย
ประกอบกับการที่จะประกอบกิจกรรมอะไรซักอย่าง เราก็ยังยึดถือว่า ถ้ามีความสุขก็จะทำ ถ้าทุกข์ก็จะไม่ทำ อย่างเช่นเราอยากเรียนอะไรซักอย่างนึง หากเราเรียนเข้าใจ (ง่าย) ก็เท่ากับเป็นสุข แต่ถ้าไม่เข้าใจ (ยาก) ก็เป็นทุกข์ ใจก็ยังปล่อยวางไม่ได้ว่าเป็นตามธรรมชาติของมัน เวลาสุขก็อยากร่วมสุข แต่เวลาทุกข์กลับไม่สามารถทำใจให้ร่วมกับมันได้ (ประมาณว่าถ้าเรียนยากเกินไปก็ไม่อดทน ก็ท้อ อยากเลิกเรียน) เท่ากับกิเลสตัณหายังครอบงำอยู่
หลายๆคนในที่นี้ที่ศึกษาธรรมะมาจนถ่องแท้แล้ว มีวิธีปล่อยวางจิตที่สำคัญผิดนี้ได้อย่างไรกันครับ