ทั้งที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศผลิตผลชูรสส่งออกแต่คนในประเทศญี่ปุ่นกลับรณรงค์ไม่ให้ใส่ในอาหารเพราะอันตรายจริงไหมคะ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
เรื่องของผงชูรสในประเทศไทยคือ ความผิดพลาดของแผนการโฆษณา ที่มุ่งหวังเพิ่มยอดขาย มีเรื่องเล่ากันมาว่า

บริษัทผู้ขายผงชูรสในบางประเทศ (ใช้บางประเทศเดาเองก็แล้วกันว่าประเทศใด) ต้องการเพิ่มยอดขาย ฝ่ายบริหารมีการประชุมกันหลายวันจนล่วงเข้าดึกดื่น แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ไม่ได้วิธีการที่ต้องการ จนคืนหนึ่งดึกมากแล้ว ฝ่ายบริหารก็เลิกประชุมกันด้วยความล้มเหลว และนัดประชุมกันใหม่ในวันรุ่งขึ้น พนักงานคนหนึ่งที่เข้าประชุมก็ออกจากห้องประชุมมาพบแม่บ้าน ซึ่งนั่งรอที่จะปิดห้องประชุมอยู่ทุกคืน แม่บ้านเห็นพนักงานคนนั้นก็จำได้ว่าเป็นพนักงานระดับธรรมดาๆ ไม่ใช่ผู้บริหารระดับสูง จึงกล้าเอ่ยปากถามว่า

"คุณคะ คุณประชุมอะไรกันดึกดื่นทุกคืน"

พนักงานหนุ่มคนน้นก้อารมณ์ดีพอที่จะตอบแม่บ้านว่า

"ก็หาทางให้ยอดขายผงชูรสของเราเพิ่มขึ้นยังไงล่ะป้า"

แม่บ้านก็สงสัย ขมวดคิ้ว พนักงานหนุ่มจึงอธิบายต่อ

"ก็แบบว่า ผงชูรสของเรา เวลาคนทำกับข้าวเขาใช้งาน เขาก็เทออกจากขวดใส่หม้อใส่กะทะที่ทำกับข้าว ส่วนใหญ่ก็เทกันหนเดียว กว่าจะหมดขวดมันก็นานใช่ไหมล่ะป้า เราก็พยายามหาทางชักชวนให้เขาเทสักสองหนสามหน เขาจะได้ใช้ผงชูรสเพิ่มมากขึ้นยังไงล่ะป้า"

แม่บ้านก็พยักหน้า ท่าทางเข้าใจ แล้วก็พูดขึ้นมาว่า

"ก็ทำไมคุณไม่ทำรูที่ขวดให้มันโตๆล่ะคะ เทหนเดียวมันจะได้ลงไปเยอะๆ"

เรื่องมันก็ประมาณนี้ ถ้าคุณเห็นโฆษณาผงชูรสในบ้านเรา คุณจะเห็นการสอนให้ผู้ใช้ผงชูรสกระหน่ำเทลงไปเป็นจำนวนมาก เทลงไปหลายๆครั้ง และผงชูรสจะไม่นิยมใส่ขวดแล้ว แต่จะใส่ซอง เพื่อให้ชื้นและเสียหายได้โดยเร็ว ผู้ใช้จะได้ใช้ในปริมาณมากๆ

โฆษณาที่มีครกส้มตำเป็นพรีเซนเตอร์ คนตำจะใช้ทัพพีตักผงชูรสใส่ลงไปในครกทีละครึ่งทัพพี โฆษณาที่มีการผัดอาหาร ผู้ปรุงอาหารจะเทผงชูรสจากซองที่ปาดปากไว้กว้าง ลงไปในกระทะหลายครั้งจนเห็นผงชูรสหรือปรุงรสเต็มกระทะ เป็นการสร้างภาพว่าจำนวนที่ใช้ยิ่งมากยิ่งทำให้อร่อย

คงนอกเรื่องที่เจ้าของกระทู้ถาม แต่การใช้ผงชูรสนั้นไม่จำเป็นในการปรุงอาหาร เชฟระดับกะทะเหล็ก มิชชิลิน หรือระดับโลกที่ไหนๆเขาก็ไม่ใช้ผงชูรส การใช้ผงชูรสคือการแสดงความไม่มีฝีมือในการปรุงอาหารครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่