คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
ผมคงตอบไม่ตรงคำถามหรือตรงตามที่ จขกท อยากรู้นะครับ
ตอนนี้ผมรอหนังสือเรียกรายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุอยู่ในบัญชีของกรมหนึ่ง
ถ้าลองไปค้นกูเกิ้ล รายชื่อผู้อยู่ในบัญชี จะมีสองคนเป็นข้าราชการอยู่ในกรมนั้น แต่คนละหน่วยกับที่ขึ้นบัญชี ซึ่งอันดับของผมอยู่สูงกว่าสองคนนี้ครับ
การสอบหนนี้ จะมีเส้นหรือไม่เส้นผมไม่รู้เบื้องหลังอะไรทั้งนั้น ตอนไปสอบ ภาค ข ผมก็สบายๆ อ่านข้อสอบเก่าเท่าที่หาได้ ไม่ได้จริงจังอะไรเท่าไรนัก
อาศัยความรู้พื้นฐานทางวิทย์ที่มี ส่วนภาษาอังกฤษก็ตามแต่สัมผัสพิเศษจะสั่งให้เลือก
ต้นตระกูลของผม ไม่มีใครเคยรับราชการ พ่อผมอายุ 85 คงจะมีเพื่อนที่มีเส้นอยู่หรอก แม่รับจ้างอยู่เมืองจีน จะไปว่าจ้างใครมาช่วยลูกชายให้เข้ารับราชการได้
ทีนี้ จขกท จะอ้างเรื่องเด็กฝาก เด็กเส้นหรืออะไรก็แล้วแต่ ดูลักษณะงานและตำแหน่งก่อนนะครับ
มหาวิทยาลัยตอนนี้ การเข้าทำงาน จะเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ ข้าราชการเหมือนครั้งที่ยังไม่ออกนอกระบบแล้วนะครับ ทำให้การรับคนเข้าทำงาน สามารถทำได้โดยมหาวิทยาลัยนั้นๆ โดยตรง ซึ่งค่อนข้างเอื้อต่อการมีเด็กเส้น เด็กฝากอยู่พอสมควร ที่ผมเห็นรับพวกตำแหน่งอาจารย์ทั้งหลาย ก็มักจะเป็นลูกหม้อเก่าของสถาบันนั้นๆ เอง ส่วนใหญ่ก็พวกนักเรียนทุน ดังนั้นก็มีคุณสมบัติพร้อมบ้างพอสมควร ส่วนตำแหน่งสนับสนุนอื่นๆ ก็มีบ้างที่เป็นลูกหลานคนทำงานข้างใน ตำแหน่งงานพวกนี้ ผมไม่เคยคิดจะไปสมัครเลยสักนิด หาก จขกท ต้องการสมัคร ก็มีบ้างที่ต้องทำใจ
งานราชการ ผมจะยกมาเฉพาะสองประเภทนี้ คือ ข้าราชการ กับ พนักงานราชการ นะครับ
พนง.ราชการ จะทำสัญญาจ้างเป็นคราวๆ ไป สวัสดิการใช้ประกันสังคม ตำแหน่งงานนี้ ส่วนใหญ่หากเคยมีคนเก่าอยู่แล้ว การเปิดสอบมักจะเป็นแค่ทำให้เป็นทางการ หากผู้เข้าสอบหน้าใหม่ไม่มีคุณสมบัติเด่นพอที่หน่วยงานนั้นอยากได้ ตำแหน่งก็มักจะเป็นของคนเก่า แต่ก็ไม่เสมอไป อาจจะมีการช่วยเหลือกันแบบปกติหรือน่าเกลียดก็แล้วแต่หน่วยงาน
ข้าราชการพลเรือน (ไม่นับพวก ราชการปกครองส่วนท้องถิ่น พวกนี้แทบจะเป็นหน่วยงานเครือญาติ) ตำแหน่งนี้แหละครับ ที่มีบำเหน็จ บำนาญ สวัสดิการให้กับญาติสายตรง ซึ่งที่ผมได้ผ่านสนามสอบมาสี่สนาม ก็ยังไม่เห็นว่าจะมีการกีดกันคนนอกไม่ให้ได้รับการเข้าทำงานแต่อย่างใด อย่างน้อยผู้ที่จะเข้ารับการคัดเลือก ภาค ข ก็ต้องผ่าน ภาค ก (ไอ้ที่สอบกันหลายแสน แล้วผ่านกันไม่เท่าไหร่ทุกปีนั่นแหละครับ อาจจะมีที่ต้องไปสอบ ภาค ก พิเศษ บ้าง แต่ถ้าไม่ผ่าน ก็อดเข้าสอบ ภาค ค ต่ออยู่ดี แม้จะผ่าน ภาค ข ในรอบนั้น) ดังนั้น ก่อนที่หน่วยงานจะใช้เส้น เด็กที่ว่าก็ต้องฟันฝ่า ภาค ก มาก่อนนะครับ ซึ่งก็พอรับได้ว่ามีคุณสมบัติบ้าง (ภาค ก นี่ใครสามารถใช้เส้นผ่านได้ ประกาศรับช่วยให้คนทั่วไปสอบผ่านเป็นอาชีพได้เลยนะครับ มีคนต้องการมากแน่ๆ รวยไม่รู้เรื่องเลยทีเดียว)
ทีนี้ ภาค ข เป็นส่วนที่หน่วยงานออกข้อสอบเอง สามารถทำหนังสือขอดูผลการสอบ แต่ก็ไม่ค่อยเห็นมีใครข้องใจขอดูหลังจากประกาศผลออกมา เพราะผู้เข้าสอบน่าจะรู้ตัวเองอยู่แล้ว หลังจากที่ทำข้อสอบในห้องสอบเสร็จ จากที่ผมเคยสอบ หากจะมีการช่วยเหลือกัน ก็คงจะเป็นการบอกแนวข้อสอบ อย่างเลวที่สุดคือบอกคำตอบไว้ก่อน คงยากที่จะใช้การแก้ไขกระดาษคำตอบ (อาจมีคนทำ) แต่ในการสอบ ภาค ข ผู้ที่เข้าสอบต้องเต็มที่กับข้อสอบอยู่แล้วครับ เพราะ ภาค ข นี้แค่ผ่านร้อยละหกสิบเหมือน ภาค ก ยังไม่เพียงพอ ต้องทำให้ได้คะแนนมากที่สุดเท่าที่จะทำไหว ข้อสอบไม่ได้มีจำนวนข้อน้อยนะครับ ต่อให้บอกคำตอบให้เด็กเส้นไว้ก่อนก็มีลืมหรือจำสับสนได้ละกันครับ
ต่อมา ก็ ภาค ค ส่วนนี้เป็นคณะกรรมการ (มากกว่าสองคน) ถ้าจะเส้น ก็ต้องเส้นหมดทั้งคณะนะครับ จะเส้นแค่กรรมการคนเดียวคงไม่ไหว เพราะจะหาเหตุตอบกรรมการที่เหลือไม่ได้ หากคะแนนที่ให้เด็กเส้นมันค้านกับกรรมการท่านอื่น ตอนผมสอบ อธิบดี กับรองฯ และ ผอ.ศูนยสองท่าน (จำชื่อได้เพราะสัมภาษณ์วันจันทร์ คณะกรรมการแต่เครื่องแบบ ขรก.)
คร่าวๆ เกี่ยวกับการสอบแค่นี้นะครับ จะได้พอเห็นภาพ ว่าที่สอบๆ กันมา เส้นหรือไม่เส้น ถ้าเส้นจะเริ่มพบที่ขั้นตอนใด
เอาเข้าจริงๆ ผมก็ไม่ค่อยเห็นใครไปทำเรื่องขอดูผลการสอบหลังจากประกาศขึ้นบัญชี หากผู้เข้าสอบมั่นใจว่าตัวเองทำได้ดีทั้ง ภาค ข และ ค แต่ผลการประกาศไม่เป็นที่ถูกใจ มันเพราะอะไรหรือครับ จะบอกว่าไม่คุ้มกับเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและทำหนังสือ หรือกลัวจะเห็นคะแนนที่แท้จริง หรือ ฯลฯ
ตอนนี้ผมรอหนังสือเรียกรายงานตัวเพื่อเข้ารับการบรรจุอยู่ในบัญชีของกรมหนึ่ง
ถ้าลองไปค้นกูเกิ้ล รายชื่อผู้อยู่ในบัญชี จะมีสองคนเป็นข้าราชการอยู่ในกรมนั้น แต่คนละหน่วยกับที่ขึ้นบัญชี ซึ่งอันดับของผมอยู่สูงกว่าสองคนนี้ครับ
การสอบหนนี้ จะมีเส้นหรือไม่เส้นผมไม่รู้เบื้องหลังอะไรทั้งนั้น ตอนไปสอบ ภาค ข ผมก็สบายๆ อ่านข้อสอบเก่าเท่าที่หาได้ ไม่ได้จริงจังอะไรเท่าไรนัก
อาศัยความรู้พื้นฐานทางวิทย์ที่มี ส่วนภาษาอังกฤษก็ตามแต่สัมผัสพิเศษจะสั่งให้เลือก
ต้นตระกูลของผม ไม่มีใครเคยรับราชการ พ่อผมอายุ 85 คงจะมีเพื่อนที่มีเส้นอยู่หรอก แม่รับจ้างอยู่เมืองจีน จะไปว่าจ้างใครมาช่วยลูกชายให้เข้ารับราชการได้
ทีนี้ จขกท จะอ้างเรื่องเด็กฝาก เด็กเส้นหรืออะไรก็แล้วแต่ ดูลักษณะงานและตำแหน่งก่อนนะครับ
มหาวิทยาลัยตอนนี้ การเข้าทำงาน จะเป็น พนักงานมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ ข้าราชการเหมือนครั้งที่ยังไม่ออกนอกระบบแล้วนะครับ ทำให้การรับคนเข้าทำงาน สามารถทำได้โดยมหาวิทยาลัยนั้นๆ โดยตรง ซึ่งค่อนข้างเอื้อต่อการมีเด็กเส้น เด็กฝากอยู่พอสมควร ที่ผมเห็นรับพวกตำแหน่งอาจารย์ทั้งหลาย ก็มักจะเป็นลูกหม้อเก่าของสถาบันนั้นๆ เอง ส่วนใหญ่ก็พวกนักเรียนทุน ดังนั้นก็มีคุณสมบัติพร้อมบ้างพอสมควร ส่วนตำแหน่งสนับสนุนอื่นๆ ก็มีบ้างที่เป็นลูกหลานคนทำงานข้างใน ตำแหน่งงานพวกนี้ ผมไม่เคยคิดจะไปสมัครเลยสักนิด หาก จขกท ต้องการสมัคร ก็มีบ้างที่ต้องทำใจ
งานราชการ ผมจะยกมาเฉพาะสองประเภทนี้ คือ ข้าราชการ กับ พนักงานราชการ นะครับ
พนง.ราชการ จะทำสัญญาจ้างเป็นคราวๆ ไป สวัสดิการใช้ประกันสังคม ตำแหน่งงานนี้ ส่วนใหญ่หากเคยมีคนเก่าอยู่แล้ว การเปิดสอบมักจะเป็นแค่ทำให้เป็นทางการ หากผู้เข้าสอบหน้าใหม่ไม่มีคุณสมบัติเด่นพอที่หน่วยงานนั้นอยากได้ ตำแหน่งก็มักจะเป็นของคนเก่า แต่ก็ไม่เสมอไป อาจจะมีการช่วยเหลือกันแบบปกติหรือน่าเกลียดก็แล้วแต่หน่วยงาน
ข้าราชการพลเรือน (ไม่นับพวก ราชการปกครองส่วนท้องถิ่น พวกนี้แทบจะเป็นหน่วยงานเครือญาติ) ตำแหน่งนี้แหละครับ ที่มีบำเหน็จ บำนาญ สวัสดิการให้กับญาติสายตรง ซึ่งที่ผมได้ผ่านสนามสอบมาสี่สนาม ก็ยังไม่เห็นว่าจะมีการกีดกันคนนอกไม่ให้ได้รับการเข้าทำงานแต่อย่างใด อย่างน้อยผู้ที่จะเข้ารับการคัดเลือก ภาค ข ก็ต้องผ่าน ภาค ก (ไอ้ที่สอบกันหลายแสน แล้วผ่านกันไม่เท่าไหร่ทุกปีนั่นแหละครับ อาจจะมีที่ต้องไปสอบ ภาค ก พิเศษ บ้าง แต่ถ้าไม่ผ่าน ก็อดเข้าสอบ ภาค ค ต่ออยู่ดี แม้จะผ่าน ภาค ข ในรอบนั้น) ดังนั้น ก่อนที่หน่วยงานจะใช้เส้น เด็กที่ว่าก็ต้องฟันฝ่า ภาค ก มาก่อนนะครับ ซึ่งก็พอรับได้ว่ามีคุณสมบัติบ้าง (ภาค ก นี่ใครสามารถใช้เส้นผ่านได้ ประกาศรับช่วยให้คนทั่วไปสอบผ่านเป็นอาชีพได้เลยนะครับ มีคนต้องการมากแน่ๆ รวยไม่รู้เรื่องเลยทีเดียว)
ทีนี้ ภาค ข เป็นส่วนที่หน่วยงานออกข้อสอบเอง สามารถทำหนังสือขอดูผลการสอบ แต่ก็ไม่ค่อยเห็นมีใครข้องใจขอดูหลังจากประกาศผลออกมา เพราะผู้เข้าสอบน่าจะรู้ตัวเองอยู่แล้ว หลังจากที่ทำข้อสอบในห้องสอบเสร็จ จากที่ผมเคยสอบ หากจะมีการช่วยเหลือกัน ก็คงจะเป็นการบอกแนวข้อสอบ อย่างเลวที่สุดคือบอกคำตอบไว้ก่อน คงยากที่จะใช้การแก้ไขกระดาษคำตอบ (อาจมีคนทำ) แต่ในการสอบ ภาค ข ผู้ที่เข้าสอบต้องเต็มที่กับข้อสอบอยู่แล้วครับ เพราะ ภาค ข นี้แค่ผ่านร้อยละหกสิบเหมือน ภาค ก ยังไม่เพียงพอ ต้องทำให้ได้คะแนนมากที่สุดเท่าที่จะทำไหว ข้อสอบไม่ได้มีจำนวนข้อน้อยนะครับ ต่อให้บอกคำตอบให้เด็กเส้นไว้ก่อนก็มีลืมหรือจำสับสนได้ละกันครับ
ต่อมา ก็ ภาค ค ส่วนนี้เป็นคณะกรรมการ (มากกว่าสองคน) ถ้าจะเส้น ก็ต้องเส้นหมดทั้งคณะนะครับ จะเส้นแค่กรรมการคนเดียวคงไม่ไหว เพราะจะหาเหตุตอบกรรมการที่เหลือไม่ได้ หากคะแนนที่ให้เด็กเส้นมันค้านกับกรรมการท่านอื่น ตอนผมสอบ อธิบดี กับรองฯ และ ผอ.ศูนยสองท่าน (จำชื่อได้เพราะสัมภาษณ์วันจันทร์ คณะกรรมการแต่เครื่องแบบ ขรก.)
คร่าวๆ เกี่ยวกับการสอบแค่นี้นะครับ จะได้พอเห็นภาพ ว่าที่สอบๆ กันมา เส้นหรือไม่เส้น ถ้าเส้นจะเริ่มพบที่ขั้นตอนใด
เอาเข้าจริงๆ ผมก็ไม่ค่อยเห็นใครไปทำเรื่องขอดูผลการสอบหลังจากประกาศขึ้นบัญชี หากผู้เข้าสอบมั่นใจว่าตัวเองทำได้ดีทั้ง ภาค ข และ ค แต่ผลการประกาศไม่เป็นที่ถูกใจ มันเพราะอะไรหรือครับ จะบอกว่าไม่คุ้มกับเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและทำหนังสือ หรือกลัวจะเห็นคะแนนที่แท้จริง หรือ ฯลฯ
แสดงความคิดเห็น
ใครเคยรู้สึกแบบผมบ้างระบายกันหน่อย