ลุ้นให้เกิด FINTECH อย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมไทย
โดย อรรถพล สาธิตคณิตกุล
ผู้อำนวยการฝ่ายที่ปรึกษาในสายงานกลยุทธ์และธุรกิจไอซีที– MKS (Thailand)
จากกระแสความนิยมจับจ่ายซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา และยังเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่องในประเทศ ทั้งนี้จากผลการศึกษาของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ว่ามูลค่าการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทาง e-commerce ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 3.65% ในปีที่ผ่านมาโดยมีมูลค่าสูงถึง 2.1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นหนึ่งในช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ก่อให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดกำลังซื้อจากกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่นิยมเลือกหาสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตจากช่องทาง e-commerce มากที่สุดได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่พักและอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต และกลุ่มอุตสาหกรรมค้าปลีก-ค้าส่ง ตามลำดับ (ข้อมูลอ้างอิงจาก ETDA)
นอกเหนือจากการรับชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ให้บริการที่เป็นกลุ่มธนาคารแล้ว ปัจจุบันผู้ให้บริการการสื่อสารไร้สายหรือโมบายโอเปอเรเตอร์เกือบจะทุกรายในประเทศต่างได้นำบริการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Payment มาให้บริการ (ติดตามได้ในบทความยุคของ e-Payment สำหรับโมบายโอเปอเรเตอร์ และเป็นหนึ่งในช่องทางหลักที่ได้รับความนิยมสำหรับการรับชำระเงินหลังจากได้เลือกซื้อสินค้าหรือบริการผ่านช่องทาง e-commerce แล้วนั่นเอง นอกจากนี้ e-Payment สำหรับการให้บริการ ณ ขณะนี้ ยังมีความเกี่ยวข้องในแง่มุมที่เป็นช่องทางของการสร้างรายได้เพิ่มจากธุรกิจเดิมและต่อยอดให้แนวคิดที่โมบายโอเปอเรเตอร์เข้าใกล้โมเดลของ Mobile Banking มากขึ้นนั่นเอง ที่มีจำนวนฐานลูกค้าและยังเป็นผู้ถือครองบัญชีผู้ใช้บริการ (เป็นฐานลูกค้าทางอ้อมที่สามารถสร้างมูลค่าได้จากจำนวนผู้ใช้บริการหรือ Subscribers) มากกว่าธนาคารเสียอีก
การเข้ามาช่วยเติมเต็มความต้องการในบริการรับชำระเงินจากโมบายโอเปอเรเตอร์นั้น เบื้องหลังแล้วยังต้องอาศัยการพัฒนาแอพลิเคชั่นที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง และยังต้องมีความเกี่ยวข้องกับธนาคารอย่างสมบูรณ์แบบ จึงเป็นหนึ่งในความท้าทายที่เสมือนเป็นความขาดแคลนบุคลากรในบางช่วงเวลา อีกทั้งถ้ายังต้องจ้างผู้ให้บริการโซลูชั่นเพื่อพัฒนาระบบแบบครบวงจร (Financial solution services providers) เหมือนในอดีตที่ผ่านมา ก็ยังต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การถูกเสนอเทคโนโลยีที่เข้าถึงยากในการใช้งานจริง และเป็นการจำกัดกรอบแนวคิดของการพัฒนาบริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกกำหนดจากโมบายโอเปอเรเตอร์หรือผู้ให้บริการโซลูชั่นเพียงฝ่ายเดียว อีกทั้งยังเป็นการวางกรอบการพัฒนาด้านนวัตกรรมการให้บริการที่จำกัดอีกด้วย ส่งผลให้โมบายโอเปอเรเตอร์เองได้มองหาตัวเชื่อมสำหรับระบบนิเวศน์ทางธุรกิจที่สามารถ “เลือก” และ “หยิบ” โซลูชั่นใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการเงินมาเป็นหนึ่งในพอร์ตโฟลิโอได้อย่างรวดเร็ว และยังเป็นการฉีกแนวคิดสำหรับการให้บริการทางการเงินอีกด้วย หนึ่งในนั้นก็คือการบ่มเพาะหรือการสนับสนุนให้เกิดนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นหน้าใหม่โดยตรงเพื่อสร้างความหลากหลายทางนวัตกรรมการให้บริการทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ หรือกลุ่ม FinTech Startup โดยแอพพลิเคชั่นที่นำเสนอนั้นจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ สมาร์ทดีไวซ์ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แทบเล็ต หรืออุปกรณ์ไอโอที (IoT devices) เป็นต้น
แน่นอนว่าในบางจังหวะ ธุรกิจที่ช่วยสร้างแหล่งรายได้ใหม่นี้ ก็อาจจะก่อให้เกิดการแข่งกับผู้ให้บริการในกลุ่มธนาคารด้วย !!!
สร้างระบบนิเวศน์ใหม่ผ่านการบ่มเพาะ FinTech Startup
ในบรรดา Tech Startup ในประเทศไทย นักพัฒนาที่อยู่ในกลุ่ม FinTech จัดว่ามีอัตราส่วนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ Tech Startup ประเภทอื่น แต่เป็นที่น่ายินดีว่า โมบายโอเปอเรเตอร์เองต่างให้ความสนใจในโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการเงินมากขึ้น โดยมีโครงการริเริ่มในการพัฒนาบุคลากรในกลุ่ม FinTech นี้ทั้งทางตรง (เลือกซื้อและหยิบโซลูชั่นที่พอจะทำธุรกิจได้) และทางอ้อม (ผ่านช่องทาง Venture Capital หรือ VC) เพื่อนำโซลูชั่นที่เข้าตามาเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในอนาคต ขณะที่โมบายโอเปอเรเตอร์เองจะต้องมีความชัดเจนทางด้านการลงทุนและแบกรับความเสี่ยงกับโซลูชั่นที่นำเสนอ “นวัตกรรมการให้บริการทางการเงิน” ที่ดีพอ เพื่อแข่งขันและแย่งชิงส่วนแบ่งลูกค้าจากกลุ่มธนาคารเพื่อเข้าสู่ยุคของการเป็น Mobile Banking อย่างแท้จริง ซึ่งสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดสร้างห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืนจากแต่เดิมมีเพียงการให้บริการรับชำระค่าสาธารณูปโภคเป็นหลักเพียงอย่างเดียว ส่วนบริการอื่น ๆ ก็เสมือนยังถูกผูกติดกับผู้ให้บริการในกลุ่มธนาคาร จะติดอยู่ก็แต่ประเด็นด้านกฎระเบียบบางประการสำหรับการประกอบกิจการในการให้บริการทางการเงินที่โอเปอเรเตอร์เองอาจจะต้องให้ความสนใจมากขึ้น และผู้ดูแลกฎเองก็ต้องนำข้อปฏิบัติและการบังคับใช้มาใช้อย่างเต็มที่ สุดท้ายก็เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถใช้บริการได้อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมนั่นเอง
แหล่งข่าว
Website : TelecomJournal Thailand
http://www.telecomjournalthailand.com/ลุ้นให้เกิด-fintech-อย่างยั่งย/
ข่าวอื่นเพิ่มเติม
ศาลยกฟ้องคดี TOT ขอใช้คลื่น 470MHz
http://ppantip.com/topic/35024165
กดปุ่มประมูล 4จี คลื่น 900 ยกสองวัดใจเอไอเอส-ค่ายมือถือสู้ชิงไลเซนส์ 75,654 ล้าน!
http://ppantip.com/topic/35024568
'ควอลคอมม์' ดันชิพเซ็ต 'สแนปดราก้อน 820' ลุย 4จี
http://ppantip.com/topic/35024227
ลุ้นให้เกิด "FINTECH" อย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมไทย
ลุ้นให้เกิด FINTECH อย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมไทย
โดย อรรถพล สาธิตคณิตกุล
ผู้อำนวยการฝ่ายที่ปรึกษาในสายงานกลยุทธ์และธุรกิจไอซีที– MKS (Thailand)
จากกระแสความนิยมจับจ่ายซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา และยังเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่องในประเทศ ทั้งนี้จากผลการศึกษาของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ว่ามูลค่าการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทาง e-commerce ในประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 3.65% ในปีที่ผ่านมาโดยมีมูลค่าสูงถึง 2.1 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นหนึ่งในช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ก่อให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดกำลังซื้อจากกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่นิยมเลือกหาสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตจากช่องทาง e-commerce มากที่สุดได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการที่พักและอาหาร กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต และกลุ่มอุตสาหกรรมค้าปลีก-ค้าส่ง ตามลำดับ (ข้อมูลอ้างอิงจาก ETDA)
นอกเหนือจากการรับชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ให้บริการที่เป็นกลุ่มธนาคารแล้ว ปัจจุบันผู้ให้บริการการสื่อสารไร้สายหรือโมบายโอเปอเรเตอร์เกือบจะทุกรายในประเทศต่างได้นำบริการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Payment มาให้บริการ (ติดตามได้ในบทความยุคของ e-Payment สำหรับโมบายโอเปอเรเตอร์ และเป็นหนึ่งในช่องทางหลักที่ได้รับความนิยมสำหรับการรับชำระเงินหลังจากได้เลือกซื้อสินค้าหรือบริการผ่านช่องทาง e-commerce แล้วนั่นเอง นอกจากนี้ e-Payment สำหรับการให้บริการ ณ ขณะนี้ ยังมีความเกี่ยวข้องในแง่มุมที่เป็นช่องทางของการสร้างรายได้เพิ่มจากธุรกิจเดิมและต่อยอดให้แนวคิดที่โมบายโอเปอเรเตอร์เข้าใกล้โมเดลของ Mobile Banking มากขึ้นนั่นเอง ที่มีจำนวนฐานลูกค้าและยังเป็นผู้ถือครองบัญชีผู้ใช้บริการ (เป็นฐานลูกค้าทางอ้อมที่สามารถสร้างมูลค่าได้จากจำนวนผู้ใช้บริการหรือ Subscribers) มากกว่าธนาคารเสียอีก
การเข้ามาช่วยเติมเต็มความต้องการในบริการรับชำระเงินจากโมบายโอเปอเรเตอร์นั้น เบื้องหลังแล้วยังต้องอาศัยการพัฒนาแอพลิเคชั่นที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง และยังต้องมีความเกี่ยวข้องกับธนาคารอย่างสมบูรณ์แบบ จึงเป็นหนึ่งในความท้าทายที่เสมือนเป็นความขาดแคลนบุคลากรในบางช่วงเวลา อีกทั้งถ้ายังต้องจ้างผู้ให้บริการโซลูชั่นเพื่อพัฒนาระบบแบบครบวงจร (Financial solution services providers) เหมือนในอดีตที่ผ่านมา ก็ยังต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การถูกเสนอเทคโนโลยีที่เข้าถึงยากในการใช้งานจริง และเป็นการจำกัดกรอบแนวคิดของการพัฒนาบริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกกำหนดจากโมบายโอเปอเรเตอร์หรือผู้ให้บริการโซลูชั่นเพียงฝ่ายเดียว อีกทั้งยังเป็นการวางกรอบการพัฒนาด้านนวัตกรรมการให้บริการที่จำกัดอีกด้วย ส่งผลให้โมบายโอเปอเรเตอร์เองได้มองหาตัวเชื่อมสำหรับระบบนิเวศน์ทางธุรกิจที่สามารถ “เลือก” และ “หยิบ” โซลูชั่นใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางการเงินมาเป็นหนึ่งในพอร์ตโฟลิโอได้อย่างรวดเร็ว และยังเป็นการฉีกแนวคิดสำหรับการให้บริการทางการเงินอีกด้วย หนึ่งในนั้นก็คือการบ่มเพาะหรือการสนับสนุนให้เกิดนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นหน้าใหม่โดยตรงเพื่อสร้างความหลากหลายทางนวัตกรรมการให้บริการทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์ หรือกลุ่ม FinTech Startup โดยแอพพลิเคชั่นที่นำเสนอนั้นจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ สมาร์ทดีไวซ์ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แทบเล็ต หรืออุปกรณ์ไอโอที (IoT devices) เป็นต้น
สร้างระบบนิเวศน์ใหม่ผ่านการบ่มเพาะ FinTech Startup
ในบรรดา Tech Startup ในประเทศไทย นักพัฒนาที่อยู่ในกลุ่ม FinTech จัดว่ามีอัตราส่วนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับ Tech Startup ประเภทอื่น แต่เป็นที่น่ายินดีว่า โมบายโอเปอเรเตอร์เองต่างให้ความสนใจในโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการเงินมากขึ้น โดยมีโครงการริเริ่มในการพัฒนาบุคลากรในกลุ่ม FinTech นี้ทั้งทางตรง (เลือกซื้อและหยิบโซลูชั่นที่พอจะทำธุรกิจได้) และทางอ้อม (ผ่านช่องทาง Venture Capital หรือ VC) เพื่อนำโซลูชั่นที่เข้าตามาเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในอนาคต ขณะที่โมบายโอเปอเรเตอร์เองจะต้องมีความชัดเจนทางด้านการลงทุนและแบกรับความเสี่ยงกับโซลูชั่นที่นำเสนอ “นวัตกรรมการให้บริการทางการเงิน” ที่ดีพอ เพื่อแข่งขันและแย่งชิงส่วนแบ่งลูกค้าจากกลุ่มธนาคารเพื่อเข้าสู่ยุคของการเป็น Mobile Banking อย่างแท้จริง ซึ่งสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดสร้างห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มอย่างยั่งยืนจากแต่เดิมมีเพียงการให้บริการรับชำระค่าสาธารณูปโภคเป็นหลักเพียงอย่างเดียว ส่วนบริการอื่น ๆ ก็เสมือนยังถูกผูกติดกับผู้ให้บริการในกลุ่มธนาคาร จะติดอยู่ก็แต่ประเด็นด้านกฎระเบียบบางประการสำหรับการประกอบกิจการในการให้บริการทางการเงินที่โอเปอเรเตอร์เองอาจจะต้องให้ความสนใจมากขึ้น และผู้ดูแลกฎเองก็ต้องนำข้อปฏิบัติและการบังคับใช้มาใช้อย่างเต็มที่ สุดท้ายก็เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถใช้บริการได้อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมนั่นเอง
แหล่งข่าว
Website : TelecomJournal Thailand
http://www.telecomjournalthailand.com/ลุ้นให้เกิด-fintech-อย่างยั่งย/
ข่าวอื่นเพิ่มเติม
ศาลยกฟ้องคดี TOT ขอใช้คลื่น 470MHz
http://ppantip.com/topic/35024165
กดปุ่มประมูล 4จี คลื่น 900 ยกสองวัดใจเอไอเอส-ค่ายมือถือสู้ชิงไลเซนส์ 75,654 ล้าน!
http://ppantip.com/topic/35024568
'ควอลคอมม์' ดันชิพเซ็ต 'สแนปดราก้อน 820' ลุย 4จี
http://ppantip.com/topic/35024227