สวัสดีค่ะ หลังจากที่ JJ ได้มารีวิวตกแต่งคอนโดขนาด 40 ตร.ม. ด้วย built-in แบบจัดเต็มไว้ก่อนหน้านี้นะคะ หลังจากย้ายเข้าอยู่เรียบร้อยตามฤกษ์งามยามดีที่ได้รับคำแนะนำจากพี่ Google แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการย้ายชื่อจากทะเบียนบ้านเดิมมาที่คอนโดกันแล้วค่ะ หลังจากได้ทำการย้ายทะเบียนบ้านเรียบร้อยก็เลยนำมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกท่าน ไว้ใช้อ้างอิงค่ะ
สำหรับกระทู้รีวีวตกแต่งคอนโดตามไปอ่านและดูรูปเพลินๆ ได้ที่นี่นะคะ
http://ppantip.com/topic/34937662
สำหรับกรณีของ JJ เป็นการย้ายจากทะเบียนบ้านเดิมที่มีฐานะเป็นผู้อาศัยมาเข้าทะเบียนบ้านใหม่ซึ่งเป็นคอนโดนะคะ โดยทะเบียนบ้านของคอนโดเป็นทะเบียนบ้านเปล่า ซึ่งยังไม่มีเจ้าบ้านค่ะ ดังนั้น พอ JJ ย้ายเข้ามาในทะเบียนบ้านใหม่จึงต้องมีฐานะเป็นเจ้าบ้านด้วยค่ะ
วิธ๊การย้าย
กรณีของ JJ เลือกแบบที่ง่ายและสะดวกที่สุด คือ การแจ้งย้ายที่ปลายทางค่ะ โดยติดต่อที่สำนักงานเขตที่มีเขตอำนาจในเขตที่คอนโดตั้งอยู่ค่ะ ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็น่าจะเป็นที่ว่าการอำเภอ หรือ อบต แล้วแต่พื้นที่นะคะ โดยแผนกที่ติดต่อ คือ แผนกทะเบียนราษฎรค่ะ
วิธีนี้ไม่ต้องดำเนินการอะไรที่สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอีกค่ะ แต่เจ้าบ้านของบ้านตามทะเบียนบ้านเดิมสามารถนำทะเบียนบ้านตัวจริงไปติดต่อที่สำนักงานเขตเพื่อขอคัดชื่อออกจากทะเบียนบ้านได้ค่ะ โดยไม่มีกำหนดว่าต้องทำเมื่อไหร่
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับกรณีย้ายเข้าคอนโดหรือบ้านที่ไม่มีเจ้าบ้าน
1. เอกสารตัวจริง
a. บัตรประชาชนของคนที่จะย้ายทะเบียนบ้าน
b. เล่มทะเบียนบ้านของบ้านที่จะย้ายเข้า
c. สัญญาซื้อขายบ้านหรือคอนโดฉบับสำนักงานที่ดิน (ตราครุฑ)
d. เอกสารสิทธิ์ เช่น โฉนด หรือ หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.4) ของบ้านหรือคอนโดที่จะย้ายเข้า
* สำหรับ JJ เนื่องจากคอนโดยังติดจำนองกับธนาคารเลยต้องใช้สำเนาสัญญาซื้อขายฉบับที่ถ่ายเอกสารมาจากธนาคารแทนค่ะ
e. สำหรับกรณีที่บุคคลที่จะย้ายเข้าไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านหรือคอนโดนั้นๆ (ไม่ได้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขายและเอกสารสิทธิ์) ต้องใช้หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของบ้านที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องเพิ่มเติมด้วยนะคะ ถ้ามีชื่อเป็นเจ้าของอยู่แล้วไม่ต้องใช้ค่ะ
* สำหรับแบบฟอร์มของหนังสือมอบอำนาจไม่จำเป็นต้องใช้ฟอร์มของสำนักงานเขตนะคะ แต่ถ้าใช้ไม่ต้องติดอากรค่ะ หากเป็นฟอร์มทั่วไปจะต้องติดอากรสแตมป์ 30 บาทให้เรียบร้อยนะคะ แบบฟอร์มของสำนักงานเขตที่ JJ ไป (เขตคลองเตย) ไม่มีใน website ต้องไปขอรับที่สำนักงานเขตเท่านั้นค่ะ
สัญญาซื้อขายและเอกสารสิทธิ์นี่สำคัญมากๆ นะคะ เพราะว่าเจ้าหน้าที่ต้องใช้เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของในบ้านหรือคอนโดที่เราจะย้ายเข้าค่ะ JJ เองไปถึงสำนักงานเขตแล้วแต่ลืมเอาสัญญาตัวจริงไปด้วย พกไปแต่สำเนาเลยต้องกลับไปเอาเอกสารแล้วไปใหม่อีกรอบ แง๊
2. เอกสารสำเนา
a. สำเนาสัญญาซื้อขายบ้านหรือคอนโดฉบับสำนักงานที่ดิน (ตราครุฑ) 1 ชุด พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง
b. สำเนาเอกสารสิทธิ์ เช่น โฉนด หรือ หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.4) ของบ้านหรือคอนโดที่จะย้ายเข้า 1 ชุด พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง
คำถามเจ้าหนูจำไมสำหรับมือใหม่:
1. เจ้าบ้านมีหน้าที่อะไรบ้าง
ตามกฎหมาย เจ้าบ้านมีหน้าที่หลักๆ คือ แจ้งการเกิด (แจ้งภายใน 15 วัน) การตาย (แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง) ที่เกิดขึ้นในบ้าน และการย้ายที่อยู่ของลูกบ้าน (ผู้อาศัย) ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ตนเองมีชื่อเป็นเจ้าบ้านค่ะ รวมทั้งแจ้งการรื้อบ้าน ปลูกบ้านใหม่ และให้ความยินยอมในกรณีที่มีคนจะย้ายเข้ามาในทะเบียนบ้านนั้นๆ ด้วยค่ะ
2. บ้านแต่ละหลังจำเป็นต้องมีเจ้าบ้านหรือไม่?
บ้านแต่ละหลังหรือคอนโดแต่ละห้องไม่จำเป็นต้องมีเจ้าบ้านค่ะ แต่ต้องมีทะเบียนบ้านซึ่งจะได้รับเมื่อมีการขอเลขที่บ้านค่ะ แต่เมื่อมีผู้ย้ายเข้าคนแรกคนๆนั้นก็จะทำหน้าที่เจ้าบ้านไปด้วยค่ะ
3. เจ้าบ้านต้องเป็นเจ้าของบ้านด้วยหรือไม่
เจ้าบ้านและเจ้าของบ้านไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลเดียวกันค่ะ แต่สามารถเป็นบุคคลเดียวกันได้ อย่างในกรณีของ JJ เป็นทั้งเจ้าบ้านและเจ้าของบ้านด้วยค่ะ ในหลายๆ กรณี เจ้าของบ้านและเจ้าบ้านเป็นบุคคลคนละคนกันค่ะ เช่น เจ้าของบ้านมีชื่อเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านอื่นแล้ว หรือ เจ้าของบ้านมีเหตุจำเป็นไม่สะดวกทำหน้าที่เจ้าบ้านตามกฎหมายได้ เช่น อยู่ต่างประเทศ
4. ถ้าไม่ใช่เจ้าของบ้านสามารถเป็นเจ้าบ้านได้มั้ย?
นิยามของ “เจ้าบ้าน” ตามตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 คือ “ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใดก็ตาม”
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าแม้เราจะไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านเราก็สามารถมีชื่อเป็นเจ้าบ้านได้ค่ะ โดยเจ้าบ้านจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือคณะบุคคลไม่สามารถเป็นเจ้าบ้านได้แต่สามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ค่ะ และสามารถเอาชื่อมาตั้งเป็น “ชื่อบ้าน” ได้นะคะ
บุคคลแต่ละคนสามารถมีชื่อเป็นเจ้าบ้านได้เพียงครั้งละ 1 ที่เท่านั้นค่ะ (แต่เป็นเจ้าของได้ไม่จำกัดนะเออ แล้วแต่กำลังทรัพย์จะอำนวยเลยค่ะ อิอิ)
5. ย้ายทะเบียนบ้านแล้วต้องเปลี่ยนบัตรประชาชนด้วยรึเปล่า?
ไม่ต้องค่ะ สามารถใช้บัตรประชาชนเดิมได้จนกว่าจะหมดอายุ เมื่อบัตรหมดอายุค่อยแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ตามบัตรประชาชนให้ตรงกับทะเบียนบ้านค่ะ ซึ่งจะไม่เหมือนกับกรณีเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลที่ต้องเปลี่ยนบัตรประชาชน รวมทั้งเอกสารสำคัญทางราชการอื่นๆ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หรือหนังสือเดินทางค่ะ
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับกรณีย้ายเข้าคอนโดหรือบ้านที่มีเจ้าบ้านอยู่แล้ว
1. บัตรประชาชนตัวจริงของคนที่จะย้ายทะเบียนบ้าน
2. เล่มทะเบียนบ้านตัวจริงของบ้านที่จะย้ายเข้า
3. สำหรับกรณีที่เจ้าบ้านไม่ได้ไปด้วยต้องใช้หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้านที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องเพิ่มเติมด้วยนะคะ ถ้าเจ้าบ้านไปด้วยใช้บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าบ้านแทนค่ะ
สำหรับแบบฟอร์มของหนังสือมอบอำนาจไม่จำเป็นต้องใช้ฟอร์มของสำนักงานเขตนะคะ แต่ถ้าใช้ไม่ต้องติดอากรค่ะ หากเป็นฟอร์มทั่วไปจะต้องติดอากรสแตมป์ 30 บาทให้เรียบร้อยนะคะ แบบฟอร์มของสำนักงานเขตที่ JJ ไป (เขตคลองเตย) ไม่มีใน website ต้องไปขอรับที่สำนักงานเขตเท่านั้นค่ะ
เปลี่ยนที่อยู่ทางทะเบียนแล้ว อย่าลืมแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ในการติดต่อสำหรับส่งเอกสารต่างๆ กันด้วยนะคะ เช่น ใบแจ้งหนี้ต่างๆ เอกสารจะได้เดินทางตามมาบ้านใหม่กับเราด้วยค่ะ
รีวิวนี้ เขียนตามประสบการณ์จริงของ JJ ณ สำนักงานเขตคลองเตยในวันที่ 11 เมษายน 2559 นะคะ เชื่อว่าแนวทางการปฏิบัติงานของเขตหรือที่ว่าการอำเภอต่างๆ น่าจะเป็นไปในแนวเดียวกันค่ะ ถ้าไม่แน่ใจสอบถามกับเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานที่จะไปดำเนินการอีกครั้งเพื่อความแน่ใจได้ค่ะ
ปอลิง ขอขอบคุณข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตคลองเตยผู้ใจดีที่ตอบคำถามเจ้าหนูจำไมของ JJ ด้วยค่ะ
แบ่งปันประสบการณ์การย้ายทะเบียนบ้านเข้าคอนโดตามสไตล์มือใหม่ :D
สำหรับกระทู้รีวีวตกแต่งคอนโดตามไปอ่านและดูรูปเพลินๆ ได้ที่นี่นะคะ http://ppantip.com/topic/34937662
สำหรับกรณีของ JJ เป็นการย้ายจากทะเบียนบ้านเดิมที่มีฐานะเป็นผู้อาศัยมาเข้าทะเบียนบ้านใหม่ซึ่งเป็นคอนโดนะคะ โดยทะเบียนบ้านของคอนโดเป็นทะเบียนบ้านเปล่า ซึ่งยังไม่มีเจ้าบ้านค่ะ ดังนั้น พอ JJ ย้ายเข้ามาในทะเบียนบ้านใหม่จึงต้องมีฐานะเป็นเจ้าบ้านด้วยค่ะ
วิธ๊การย้าย
กรณีของ JJ เลือกแบบที่ง่ายและสะดวกที่สุด คือ การแจ้งย้ายที่ปลายทางค่ะ โดยติดต่อที่สำนักงานเขตที่มีเขตอำนาจในเขตที่คอนโดตั้งอยู่ค่ะ ถ้าเป็นต่างจังหวัดก็น่าจะเป็นที่ว่าการอำเภอ หรือ อบต แล้วแต่พื้นที่นะคะ โดยแผนกที่ติดต่อ คือ แผนกทะเบียนราษฎรค่ะ
วิธีนี้ไม่ต้องดำเนินการอะไรที่สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอีกค่ะ แต่เจ้าบ้านของบ้านตามทะเบียนบ้านเดิมสามารถนำทะเบียนบ้านตัวจริงไปติดต่อที่สำนักงานเขตเพื่อขอคัดชื่อออกจากทะเบียนบ้านได้ค่ะ โดยไม่มีกำหนดว่าต้องทำเมื่อไหร่
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับกรณีย้ายเข้าคอนโดหรือบ้านที่ไม่มีเจ้าบ้าน
1. เอกสารตัวจริง
a. บัตรประชาชนของคนที่จะย้ายทะเบียนบ้าน
b. เล่มทะเบียนบ้านของบ้านที่จะย้ายเข้า
c. สัญญาซื้อขายบ้านหรือคอนโดฉบับสำนักงานที่ดิน (ตราครุฑ)
d. เอกสารสิทธิ์ เช่น โฉนด หรือ หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.4) ของบ้านหรือคอนโดที่จะย้ายเข้า
* สำหรับ JJ เนื่องจากคอนโดยังติดจำนองกับธนาคารเลยต้องใช้สำเนาสัญญาซื้อขายฉบับที่ถ่ายเอกสารมาจากธนาคารแทนค่ะ
e. สำหรับกรณีที่บุคคลที่จะย้ายเข้าไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านหรือคอนโดนั้นๆ (ไม่ได้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขายและเอกสารสิทธิ์) ต้องใช้หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของบ้านที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องเพิ่มเติมด้วยนะคะ ถ้ามีชื่อเป็นเจ้าของอยู่แล้วไม่ต้องใช้ค่ะ
* สำหรับแบบฟอร์มของหนังสือมอบอำนาจไม่จำเป็นต้องใช้ฟอร์มของสำนักงานเขตนะคะ แต่ถ้าใช้ไม่ต้องติดอากรค่ะ หากเป็นฟอร์มทั่วไปจะต้องติดอากรสแตมป์ 30 บาทให้เรียบร้อยนะคะ แบบฟอร์มของสำนักงานเขตที่ JJ ไป (เขตคลองเตย) ไม่มีใน website ต้องไปขอรับที่สำนักงานเขตเท่านั้นค่ะ
สัญญาซื้อขายและเอกสารสิทธิ์นี่สำคัญมากๆ นะคะ เพราะว่าเจ้าหน้าที่ต้องใช้เพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของในบ้านหรือคอนโดที่เราจะย้ายเข้าค่ะ JJ เองไปถึงสำนักงานเขตแล้วแต่ลืมเอาสัญญาตัวจริงไปด้วย พกไปแต่สำเนาเลยต้องกลับไปเอาเอกสารแล้วไปใหม่อีกรอบ แง๊
2. เอกสารสำเนา
a. สำเนาสัญญาซื้อขายบ้านหรือคอนโดฉบับสำนักงานที่ดิน (ตราครุฑ) 1 ชุด พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง
b. สำเนาเอกสารสิทธิ์ เช่น โฉนด หรือ หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.4) ของบ้านหรือคอนโดที่จะย้ายเข้า 1 ชุด พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง
คำถามเจ้าหนูจำไมสำหรับมือใหม่:
1. เจ้าบ้านมีหน้าที่อะไรบ้าง
ตามกฎหมาย เจ้าบ้านมีหน้าที่หลักๆ คือ แจ้งการเกิด (แจ้งภายใน 15 วัน) การตาย (แจ้งภายใน 24 ชั่วโมง) ที่เกิดขึ้นในบ้าน และการย้ายที่อยู่ของลูกบ้าน (ผู้อาศัย) ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ตนเองมีชื่อเป็นเจ้าบ้านค่ะ รวมทั้งแจ้งการรื้อบ้าน ปลูกบ้านใหม่ และให้ความยินยอมในกรณีที่มีคนจะย้ายเข้ามาในทะเบียนบ้านนั้นๆ ด้วยค่ะ
2. บ้านแต่ละหลังจำเป็นต้องมีเจ้าบ้านหรือไม่?
บ้านแต่ละหลังหรือคอนโดแต่ละห้องไม่จำเป็นต้องมีเจ้าบ้านค่ะ แต่ต้องมีทะเบียนบ้านซึ่งจะได้รับเมื่อมีการขอเลขที่บ้านค่ะ แต่เมื่อมีผู้ย้ายเข้าคนแรกคนๆนั้นก็จะทำหน้าที่เจ้าบ้านไปด้วยค่ะ
3. เจ้าบ้านต้องเป็นเจ้าของบ้านด้วยหรือไม่
เจ้าบ้านและเจ้าของบ้านไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลเดียวกันค่ะ แต่สามารถเป็นบุคคลเดียวกันได้ อย่างในกรณีของ JJ เป็นทั้งเจ้าบ้านและเจ้าของบ้านด้วยค่ะ ในหลายๆ กรณี เจ้าของบ้านและเจ้าบ้านเป็นบุคคลคนละคนกันค่ะ เช่น เจ้าของบ้านมีชื่อเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านอื่นแล้ว หรือ เจ้าของบ้านมีเหตุจำเป็นไม่สะดวกทำหน้าที่เจ้าบ้านตามกฎหมายได้ เช่น อยู่ต่างประเทศ
4. ถ้าไม่ใช่เจ้าของบ้านสามารถเป็นเจ้าบ้านได้มั้ย?
นิยามของ “เจ้าบ้าน” ตามตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 คือ “ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใดก็ตาม”
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าแม้เราจะไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านเราก็สามารถมีชื่อเป็นเจ้าบ้านได้ค่ะ โดยเจ้าบ้านจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือคณะบุคคลไม่สามารถเป็นเจ้าบ้านได้แต่สามารถเป็นเจ้าของบ้านได้ค่ะ และสามารถเอาชื่อมาตั้งเป็น “ชื่อบ้าน” ได้นะคะ
บุคคลแต่ละคนสามารถมีชื่อเป็นเจ้าบ้านได้เพียงครั้งละ 1 ที่เท่านั้นค่ะ (แต่เป็นเจ้าของได้ไม่จำกัดนะเออ แล้วแต่กำลังทรัพย์จะอำนวยเลยค่ะ อิอิ)
5. ย้ายทะเบียนบ้านแล้วต้องเปลี่ยนบัตรประชาชนด้วยรึเปล่า?
ไม่ต้องค่ะ สามารถใช้บัตรประชาชนเดิมได้จนกว่าจะหมดอายุ เมื่อบัตรหมดอายุค่อยแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ตามบัตรประชาชนให้ตรงกับทะเบียนบ้านค่ะ ซึ่งจะไม่เหมือนกับกรณีเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลที่ต้องเปลี่ยนบัตรประชาชน รวมทั้งเอกสารสำคัญทางราชการอื่นๆ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หรือหนังสือเดินทางค่ะ
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับกรณีย้ายเข้าคอนโดหรือบ้านที่มีเจ้าบ้านอยู่แล้ว
1. บัตรประชาชนตัวจริงของคนที่จะย้ายทะเบียนบ้าน
2. เล่มทะเบียนบ้านตัวจริงของบ้านที่จะย้ายเข้า
3. สำหรับกรณีที่เจ้าบ้านไม่ได้ไปด้วยต้องใช้หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้านที่ลงนามรับรองสำเนาถูกต้องเพิ่มเติมด้วยนะคะ ถ้าเจ้าบ้านไปด้วยใช้บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าบ้านแทนค่ะ
สำหรับแบบฟอร์มของหนังสือมอบอำนาจไม่จำเป็นต้องใช้ฟอร์มของสำนักงานเขตนะคะ แต่ถ้าใช้ไม่ต้องติดอากรค่ะ หากเป็นฟอร์มทั่วไปจะต้องติดอากรสแตมป์ 30 บาทให้เรียบร้อยนะคะ แบบฟอร์มของสำนักงานเขตที่ JJ ไป (เขตคลองเตย) ไม่มีใน website ต้องไปขอรับที่สำนักงานเขตเท่านั้นค่ะ
เปลี่ยนที่อยู่ทางทะเบียนแล้ว อย่าลืมแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ในการติดต่อสำหรับส่งเอกสารต่างๆ กันด้วยนะคะ เช่น ใบแจ้งหนี้ต่างๆ เอกสารจะได้เดินทางตามมาบ้านใหม่กับเราด้วยค่ะ
รีวิวนี้ เขียนตามประสบการณ์จริงของ JJ ณ สำนักงานเขตคลองเตยในวันที่ 11 เมษายน 2559 นะคะ เชื่อว่าแนวทางการปฏิบัติงานของเขตหรือที่ว่าการอำเภอต่างๆ น่าจะเป็นไปในแนวเดียวกันค่ะ ถ้าไม่แน่ใจสอบถามกับเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานที่จะไปดำเนินการอีกครั้งเพื่อความแน่ใจได้ค่ะ
ปอลิง ขอขอบคุณข้อมูลจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตคลองเตยผู้ใจดีที่ตอบคำถามเจ้าหนูจำไมของ JJ ด้วยค่ะ