SKET DANCE (Kenta Shinohara)
*ภาพประกอบไม่ชัดเจนขออภัยด้วยครับ
การ์ตูนเกี่ยวกับนักเรียนมัธยมปลายในโรงเรียนไคเมย์ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งดูผิวเผินคงจะเหมือนการ์ตูนตลกปล่อยมุกธรรมดาๆ ให้คนอ่านขำเป็นตอนๆ ตอนที่ผมอ่านก็รู้สึกแค่นั้นครับ แต่พอติดตามมาซักพักก็รู้สึกว่าในเรื่อง SKET DANCE มีประเด็นบางอย่างดึงดูดให้ติดตามมาเรื่อยๆ จนเล่มสุดท้าย (32) เพิ่งวางขายและผมก็เพิ่งได้อ่าน SKET DANCE จบลงแล้ว จบลงอย่างสวยงาม และจบลงอย่างน่าอัศจรรย์แบบที่ไม่คิดว่าการ์ตูนเด็กมัธยมปลายจะเรียกน้ำตาจากผมได้
วัตถุประสงค์ที่เขียนนี้อยากจะแนะนำให้หลายๆท่านได้ลองอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ดูครับ ผมว่ามันสะท้อนสิ่งที่เราเรียกว่า “เด็กนักเรียน” ได้ดีเลย ผมเริ่มอ่านเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นเด็กนักเรียนมัธยม จนปัจจุบันเรียนจบทำงานแล้ว (แต่ก็ยังถือว่าเด็กนะครับ 55) รู้สึกว่า SKET DANCE ไม่เพียงเป็นการ์ตูนบันเทิงที่บทจะฮาก็ฮาแบบน้ำตาเล็ด แต่ช่วงที่ซึ้งก็ซึ้งแบบที่ทำเอาอึ้งได้เหมือนกัน นอกจากนี้ยังซ่อนสิ่งหนึ่งเอาไว้คือเรื่องของปัญหาในวัยเด็กได้ดีเลยครับ อยากให้เด็กได้อ่านเพื่อให้เข้าใจตัวเอง เข้าใจเพื่อนมากขึ้น และอยากให้ผู้ใหญ่ได้อ่านเพื่อจะได้เข้าใจเด็กมากขึ้นด้วยครับ
สิ่งที่แทบทุกเล่ม (หรืออาจจะแทบทุกตอน) SKET DANCE นำเสนอ จะนำเสนอโดยใช้ตัวกลาง 3 ตัว (หรือบางทีตัวกลางนี้แหละก็เป็นตัวที่ถูกนำเสนอเสียเอง และนำเสนออย่างลึกซึ้งเสียด้วย) คือ บอสเซ็น สวิตช์ และฮิเมโกะ ทั้งสามคนเป็นสมาชิกของชมรมที่ชื่อสเก็ตดัน หรือ สเก็ตดานซ์ (SKET DANCE) หน้าที่ของชมรมคือชมรมที่คอยช่วยเหลือผู้อื่น ฟังดูอาจจะเหมือนการ์ตูนไก่กาอาราเล่นะครับ แบบเด็กเล่นๆกัน ทะเลาะกัน แล้วมีเด็กที่ทำตัวเป็นพี่ใหญ่มาแก้ปัญหา ไม่ครับ SKET DANCE ไม่ใช่การ์ตูนแบบนั้นเท่าไหร่ (แม้บางครั้งไอ้ 3 ตัวนี้มันจะเก่งฉลาดเว่อร์ซะเหลือเกินก็ตาม 555)
สิ่งที่ทำให้ผมรักการ์ตูนเรื่องนี้คือ ในขณะที่มันทำให้เรารู้สึกว่ามันเป็นการ์ตูนแนวโลกสมมติ คือมีตัวละครเด็กนักเรียนที่เป็นซามูไร หรือนินจา เดินเพ่นพ่านอยู่ในโรงเรียน หลายๆท่านที่ไม่อินคงคิดขำๆว่านี่มันการ์ตูนแก๊กชัดๆ ผมกลับคิดว่ามันมีความเป็นโลกเสมือนจริงไปพร้อมๆกัน คือให้เหตุผลและที่มาที่ไปของเด็กแต่ละคนว่าทำไมถึงเป็นคนแบบนี้ ทำไมถึงมีพฤติกรรมแบบนี้ และมันสะท้อนชีวิตวัยเด็กของพวกเราอยู่ครับ
โดยธีมหลักๆที่ผมได้จากการ์ตูนเรื่องนี้คือ...
เด็กทุกคนมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว
ผมรู้สึกว่า SKET DANCE สื่อภาพนี้ออกมาได้ชัดเจนมาก ในขณะที่ในบ้านเมืองเราจะไม่ค่อยเห็นภาพเหล่านี้ในโรงเรียนมัธยมเท่าไหร่นัก อาจเป็นเพราะสังคมญี่ปุ่นส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่หลากหลายตามที่ชอบ (ผมไม่มีความรู้เรื่องวัฒนธรรมโรงเรียนของญี่ปุ่นเลยครับ ท่านใดมีช่วยเสริมได้นะครับ) ในการ์ตูนเราจะเห็นชมรมที่หลายหลาก และการร่วมกิจกรรมชมรมอย่างจริงจัง กีฬาก็เล่นจริงจัง เกมก็เล่นจริงจัง กิจกรรมก็ทำจริงจัง คลั่งไคล้อะไรก็คือคลั่งไคล้จริงจัง ดังนั้นใน SKET DANCE จะเต็มไปด้วยเด็กระดับ Extreme ในทุกๆกิจกรรม เด็กที่คลั่งไคล้ไสยศาสตร์ การ์ตูนตาหวาน ดนตรีพั้งค์ร็อค หรือแม้กระทั่งคลั่งไคล้ระเบียบวินัย นอกจากอัตลักษณ์ที่แสดงผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ยังมีอัตลักษณ์ที่เป็นลักษณะนิสัยส่วนตัวของแต่ละคน เช่น เป็นคนไม่พูด คนขี้อาย หรือคนโผงผางแข็งกระด้าง มีหลากหลายแนวครับ
คาโต้ คิริ ตัวละครที่แม้จะโผล่มาช้ากว่าเพื่อนแต่มีคาแรคเตอร์ที่เจ๋งมาก และเป็นหนึ่งในตัวโปรดของผมที่ได้เห็นพัฒนาการทางความคิดของเขาแล้วอดชอบไม่ได้ครับ
ในอัตลักษณ์นั้นมีที่มา
คาแรคเตอร์แต่ละคนชัดเจนมาก แต่มีมิติ คือไม่ใช่ว่าก้มหน้าก้มตาเป็นคนขี้อาย แต่ตัวละครจะมีที่มาที่ไปว่าเกิดอะไรขึ้น และปมปัญหาคืออะไร SKET DANCE ช่วยแก้ปัญหา หรือพัฒนาเพื่อนอย่างไร
เนื้อหาส่วนใหญ่ของการ์ตูนอยู่ที่ การส่งเสริม สนับสนุน ให้กำลังใจกันและกันในสิ่งที่เพื่อนเป็นและชอบ เด็กหลายคนในเรื่องเริ่มต้นจากการมีปมปัญหาในชีวิต มีความขัดแย้ง มีการพยายามหนีอะไรบางอย่างเป็นที่มาของตัวตนของเขา ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอการคลี่คลายปมปัญหา การต่อสู้กับปัญหาแบบที่น่ารักลงตัว ไม่ยัดเยียด และดูสะท้อนความเป็นเด็กออกมาได้ดีมาก บางทีการแก้ปัญหาแบบเด็กๆ ก็อาจจะส่งผลดีกับตัวเด็กมากกว่าการแก้ปัญหาแบบผู้ใหญ่ได้ เพราะเด็กไม่มองว่าเรื่องของเด็กเป็นเรื่องเด็กๆ เรื่องเล็กๆ ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่ผ่านโลกมาโชกโชนกลับยึดติดกับคำว่า “สมัยพ่อลำบากกว่านี้อีก” บ้าง หรือ “ปัญหาของเธอมันเรื่องเล็กๆ” และยัดเยียดการแก้ปัญหาในแบบตัวเองให้เด็ก โดยลืมไปว่าเรากำลังใช้คำนั้นกับเด็ก และสิ่งเหล่านี้บางครั้งอาจจะไม่มีอะไร แต่ใครจะไปรู้ว่าสิ่งที่เราพูด มันเคยให้คำตอบที่ดีต่อเด็กหรือไม่ แล้วมันอาจก่อให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิดอะไรกับเด็กได้บ้าง
ในอัตลักษณ์นั้นมีการยอมรับ
สิ่งที่ทำให้ผมหลงรักการ์ตูนเรื่องนี้คือภาพการอยู่ร่วมกันของเด็กที่มีอัตลักษณ์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในโรงเรียนได้ แน่นอนว่าในเนื้อเรื่องมันก็ไม่ได้สวยหรูไปตลอดเวลา มีปัญหาและความขัดแย้งระหว่างเด็กในโรงเรียนไคเมย์ตลอด ทั้งในเลเวลของการไม่ยอมรับตัวเอง การไม่ยอมรับเพื่อน จนถึงการไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ใหญ่ ผมรู้สึกว่าในวัยเด็กเราทุกคนย่อมเคยมีความรู้สึกประเภทที่ว่า ฉันไม่มีตัวตนในห้องนี้เลย ฉันไม่ Fit in กับเพื่อนกลุ่มนี้ ฉันเป็นตัวประหลาดหรือเปล่า เพื่อนไม่ชอบขี้หน้าฉันรึเปล่า เป็นปัญหาสุดคลาสสิคในวัยเด็กทั้งนั้น ซึ่งหลายครั้งผู้ใหญ่มองไม่เห็นและคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ เดี๋ยวก็ปรับตัวได้เอง จริงหรือครับ?
ใน SKET DANCE เราได้เห็นการเติบโตทางอารมณ์ ตั้งแต่เด็กที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ พยายามปรับตัวให้เป็นที่ยอมรับ ไปจนถึงการวางตัวเมื่อได้รับการยอมรับ โดยมีตัวช่วยก็คือ SKET DANCE เรียกได้ว่า เติบโตไปพร้อมกับเด็กในการ์ตูนเลยครับ
การยอมรับ กับการสะท้อนภาพปัญหาของเด็ก
แน่นอนว่าในวัยเด็กเราก็ได้พบปัญหาแบบเด็กๆกันเยอะครับ บางคนวุ่นวายกับปัญหาจากการคบเพื่อน ต้องการการยอมรับจากเพื่อน บางคนเจอปัญหาด้านความรักวัยรุ่น ต้องการการยอมรับจากแฟน บางคนเจอปัญหาด้านการเรียน ต้องการการยอมรับจากครูและพ่อแม่ ใน SKET DANCE นำปัญหาเหล่านี้มาผสมผสานกันตลอด มีปมปัญหาตั้งแต่ระดับเบาสมอง ไปจนถึงระดับคอขาดบาดตาย บทจะขำก็ขำกันสุดๆครับ บทจะเครียดก็เล่นเอาพูดไม่ออกเลย แต่ได้อ่านแล้วก็ชวนให้คิดครับว่า เราก็เคยเจอปัญหาแบบนี้มาบ้างรึเปล่านะ แล้วเราแก้มันยังไง หรือจริงๆเราอาจจะยังแก้ไม่ได้ด้วยซ้ำ?
แล้วจะเกิดอะไรขึ้นครับถ้าผู้ใหญ่เติบโตมาโดยที่มีปมปัญหามาตั้งแต่เด็ก ปัญหาที่ไม่เคยได้รับการแก้ไขก็ไม่ได้รับการแก้ไข แม้จะโตขึ้นก็ไม่ได้ช่วยอะไรครับ เผลอๆจะส่งต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานไปอีก
สิ่งที่ผมได้จาก SKET DANCE ที่สำคัญเลยคือการยอมรับในตัวตนของคนที่อยู่ร่วมกับเราครับ โดยเฉพาะกับเด็ก ผมว่าสำหรับเด็กแล้วเขาไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่าการยอมรับจากคนที่เขารักหรือผูกพันเลย ไม่จำเป็นต้องมีของขวัญราคาแพงอะไรเลย บางทีแค่คำว่า
“พ่อภูมิใจในตัวลูกนะ” หรือว่า
“ไม่เป็นไรนะหนูทำดีที่สุดแล้ว” ก็มีค่าเหนือสิ่งอื่นใดเลยครับ หนำซ้ำมันยังทำให้เด็กมีความเชื่อมั่นศรัทธาในตัวเอง (Self-Esteem) รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ซึ่งผมว่าตอนนี้มันคือสิ่งที่สังคมไทยกำลังต้องการครับ เราต้องการเยาวชนที่เชื่อมั่นในตัวเองว่าเขาสามารถเป็นกำลังสำคัญของสังคมในอนาคต เขามีคุณค่าและเขาสามารถสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้โลกได้ ไม่ใช่แค่เป้าหมายฉาบฉวยอย่างเช่น ทำยังไงให้คนไลค์รูปเยอะๆ ทำยังไงให้เกรดสวยๆ แล้วก็จบกันไป
Self-Esteem คือต้นทางที่จะสร้างอนาคตเด็กครับ
ผู้เขียน SKET DANCE ใช้ตัวละครหลักบอสเซ็น เป็นตัวแทนของคนที่รับฟังคนอื่นอย่างใจกว้าง และช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เป็นคาแรคเตอร์ที่มีความจริงใจ น้ำใจ ใช้หัวใจเป็นจุดขาย ในขณะที่เพื่อนร่วมทีมมีคาแรคเตอร์ที่โดดเด่น สวิตช์มีสเน่ห์ตามสไตล์การ์ตูนญี่ปุ่น หนุ่มแว่นมาดเข้ม ลึกลับ กับฮิเมโกะ สาวห้าวซึน นักสู้ไร้เทียมทาน แต่ด้วยความซื่อและจริงใจของบอสเซ็นก็สามารถดึงตัวละครที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงให้มาร่วมมือกันใช้ความสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ ในขณะเดียวกันก็ค่อยๆรักษาแผลในใจของแต่ละคนไปพร้อมๆกัน รวบรวมคนที่หมดหวังในตัวเอง ให้กลับมามีความหวังในชีวิตอีกครั้ง
บทบาทของผู้ใหญ่ ?
แม้ SKET DANCE จะดำเนินเรื่องด้วยเด็กนักเรียน แต่ตัวละครผู้ใหญ่ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เรื่องเดินไปได้ครับ โดยเฉพาะตัวละครครูและพ่อแม่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของปัญหาและทางแก้ปัญหาของเด็ก ในการ์ตูนมีผู้ใหญ่ที่หลากหลายครับ มีทั้งผู้ใหญ่ที่โคตรน่าหมั่นไส้ และผู้ใหญ่ที่โคตรน่ารัก ที่สำคัญคือเราจะได้เห็นพัฒนาการของผู้ใหญ่ไปพร้อมๆกับเด็กด้วย และบางครั้งก็อาจได้เห็นว่า ผู้ใหญ่บางคนก็สะสมปมปัญหาของตัวเองมาตั้งแต่สมัยเด็ก ปมที่พอโตขึ้นก็ไม่มีความเป็นเด็กหลงเหลืออยู่ให้นำมาแก้ปมแล้ว จนสุดท้ายได้เด็กนี่แหละมากระตุกต่อมคิดและช่วยแก้ปมให้ แม้จะเป็นการ์ตูนเด็ก แต่ก็สะท้อนภาพได้ชัดเจนครับว่า
ส่วนสำคัญที่จะชี้ทางให้เด็กเติบโตคือผู้ใหญ่ที่รายล้อมตัวเด็กในแต่ละวัยนั่นแหละ
เราจะเห็นพัฒนาการของ SKET DANCE ตั้งแต่เล่มแรกๆ ที่เป็นเหมือนการแนะนำตัวละครในโรงเรียน จนเล่มกลางๆที่จะได้เห็นการต่อยอดความสัมพันธ์ของ SKET DANCE กับตัวละครแต่ละตัวทีละเล็กละน้อย ค่อยๆ เปิดเผยเรื่องราวและปมปัญหาของตัวละครไปด้วย จนถึงช่วงท้ายๆ ที่เน้นไปที่ภาพหลังจากที่ตัวละครแทบทุกตัวสนิทสนมกันดีมาก การร่วมมือกันแก้ปัญหาในสเกลที่ใหญ่ขึ้น และแสดงพลังของเด็กให้ผู้ใหญ่ได้เห็น
ผู้เขียนทำได้ดีมากเรื่องการสร้างสรรค์ตัวละคร แต่ละตัวถูกสร้างขึ้นอย่างมีมิติหลายมุมมอง มีเหตุผล มีเรื่องราวให้เล่า และไม่มาแบบส่งๆ คือผลัดกันแวะเวียนมาสานต่อเนื้อเรื่องให้เดินไปได้ ใช้ตัวละครอย่างคุ้มค่า และนำเสนออย่างครบถ้วน สำหรับผมที่ค่อยๆ ติดตามอ่านตั้งแต่เล่ม 1 จนวันนี้มาจบที่เล่ม 32 รู้สึกเหมือนได้โตมาพร้อมกับเด็กในการ์ตูนครับ ได้เห็นพัฒนาการของพวกเขา แล้วตอนจบก็แอบรู้สึกโหวงๆเหมือนกัน
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมในการ์ตูน SKET DANCE นั้นเป็นโลกในญี่ปุ่นที่เทียบกับไทยไม่ได้เลย แต่ผมเชื่อว่าในประเทศไหนๆ เด็กล้วนมีโจทย์ของเด็กที่ต้องต่อสู้เพื่อเติบโตกันทั้งนั้น SKET DANCE เป็นหนังสือการ์ตูนที่ออกมาตีตลาดวัยรุ่น ดังนั้นสาระสำคัญอาจไม่ได้เพ่งเล็งไปที่การนำเสนอปัญหาที่จะทำให้หนักและเครียดแต่เน้นไปที่ความบันเทิง ปัญหาต่างๆจึงมักคลี่คลายลงด้วยดี แฮปปี้เอ็นดิ้ง แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้นปัญหาในการ์ตูนนี้มีอยู่จริง บางครั้งอ่านแล้วก็รู้สึกว่าเสียงของเด็กเหล่านี้เคยได้รับการรับฟังจากผู้ใหญ่บ้างไหม หรือแม้กระทั่งว่า เสียงเหล่านี้ของเพื่อนๆเคยได้รับการรับฟังจากเพื่อนด้วยกันเองบ้างไหม ลองมองไปรอบๆตัวถึงเพื่อนๆของเรา เราเคยทอดทิ้งตัวตนของเพื่อนคนไหนไปรึเปล่า เราเคยไม่ยอมรับตัวตนของเพื่อนคนไหนไปรึเปล่า หรือเคยมีช่วงเวลาไหนที่เราไม่ยอมรับตัวเราเองรึเปล่า ?
สุดท้ายอยากฝากเพื่อนๆให้ลองอ่านดูครับ จะมองมันเป็นการ์ตูนเด็กน้อยอ่านเอาฮาก็ได้ แต่ผมเชื่อว่าท่านจะได้มุมมองเกี่ยวกับชีวิตและจิตใจของเด็กไม่น้อยเลยทีเดียวครับ
SKET DANCE การ์ตูนเด็กที่(เด็ก)อยากให้ผู้ใหญ่ได้อ่าน
*ภาพประกอบไม่ชัดเจนขออภัยด้วยครับ
การ์ตูนเกี่ยวกับนักเรียนมัธยมปลายในโรงเรียนไคเมย์ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งดูผิวเผินคงจะเหมือนการ์ตูนตลกปล่อยมุกธรรมดาๆ ให้คนอ่านขำเป็นตอนๆ ตอนที่ผมอ่านก็รู้สึกแค่นั้นครับ แต่พอติดตามมาซักพักก็รู้สึกว่าในเรื่อง SKET DANCE มีประเด็นบางอย่างดึงดูดให้ติดตามมาเรื่อยๆ จนเล่มสุดท้าย (32) เพิ่งวางขายและผมก็เพิ่งได้อ่าน SKET DANCE จบลงแล้ว จบลงอย่างสวยงาม และจบลงอย่างน่าอัศจรรย์แบบที่ไม่คิดว่าการ์ตูนเด็กมัธยมปลายจะเรียกน้ำตาจากผมได้
วัตถุประสงค์ที่เขียนนี้อยากจะแนะนำให้หลายๆท่านได้ลองอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ดูครับ ผมว่ามันสะท้อนสิ่งที่เราเรียกว่า “เด็กนักเรียน” ได้ดีเลย ผมเริ่มอ่านเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นเด็กนักเรียนมัธยม จนปัจจุบันเรียนจบทำงานแล้ว (แต่ก็ยังถือว่าเด็กนะครับ 55) รู้สึกว่า SKET DANCE ไม่เพียงเป็นการ์ตูนบันเทิงที่บทจะฮาก็ฮาแบบน้ำตาเล็ด แต่ช่วงที่ซึ้งก็ซึ้งแบบที่ทำเอาอึ้งได้เหมือนกัน นอกจากนี้ยังซ่อนสิ่งหนึ่งเอาไว้คือเรื่องของปัญหาในวัยเด็กได้ดีเลยครับ อยากให้เด็กได้อ่านเพื่อให้เข้าใจตัวเอง เข้าใจเพื่อนมากขึ้น และอยากให้ผู้ใหญ่ได้อ่านเพื่อจะได้เข้าใจเด็กมากขึ้นด้วยครับ
สิ่งที่แทบทุกเล่ม (หรืออาจจะแทบทุกตอน) SKET DANCE นำเสนอ จะนำเสนอโดยใช้ตัวกลาง 3 ตัว (หรือบางทีตัวกลางนี้แหละก็เป็นตัวที่ถูกนำเสนอเสียเอง และนำเสนออย่างลึกซึ้งเสียด้วย) คือ บอสเซ็น สวิตช์ และฮิเมโกะ ทั้งสามคนเป็นสมาชิกของชมรมที่ชื่อสเก็ตดัน หรือ สเก็ตดานซ์ (SKET DANCE) หน้าที่ของชมรมคือชมรมที่คอยช่วยเหลือผู้อื่น ฟังดูอาจจะเหมือนการ์ตูนไก่กาอาราเล่นะครับ แบบเด็กเล่นๆกัน ทะเลาะกัน แล้วมีเด็กที่ทำตัวเป็นพี่ใหญ่มาแก้ปัญหา ไม่ครับ SKET DANCE ไม่ใช่การ์ตูนแบบนั้นเท่าไหร่ (แม้บางครั้งไอ้ 3 ตัวนี้มันจะเก่งฉลาดเว่อร์ซะเหลือเกินก็ตาม 555)
สิ่งที่ทำให้ผมรักการ์ตูนเรื่องนี้คือ ในขณะที่มันทำให้เรารู้สึกว่ามันเป็นการ์ตูนแนวโลกสมมติ คือมีตัวละครเด็กนักเรียนที่เป็นซามูไร หรือนินจา เดินเพ่นพ่านอยู่ในโรงเรียน หลายๆท่านที่ไม่อินคงคิดขำๆว่านี่มันการ์ตูนแก๊กชัดๆ ผมกลับคิดว่ามันมีความเป็นโลกเสมือนจริงไปพร้อมๆกัน คือให้เหตุผลและที่มาที่ไปของเด็กแต่ละคนว่าทำไมถึงเป็นคนแบบนี้ ทำไมถึงมีพฤติกรรมแบบนี้ และมันสะท้อนชีวิตวัยเด็กของพวกเราอยู่ครับ
โดยธีมหลักๆที่ผมได้จากการ์ตูนเรื่องนี้คือ...
เด็กทุกคนมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว
ผมรู้สึกว่า SKET DANCE สื่อภาพนี้ออกมาได้ชัดเจนมาก ในขณะที่ในบ้านเมืองเราจะไม่ค่อยเห็นภาพเหล่านี้ในโรงเรียนมัธยมเท่าไหร่นัก อาจเป็นเพราะสังคมญี่ปุ่นส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่หลากหลายตามที่ชอบ (ผมไม่มีความรู้เรื่องวัฒนธรรมโรงเรียนของญี่ปุ่นเลยครับ ท่านใดมีช่วยเสริมได้นะครับ) ในการ์ตูนเราจะเห็นชมรมที่หลายหลาก และการร่วมกิจกรรมชมรมอย่างจริงจัง กีฬาก็เล่นจริงจัง เกมก็เล่นจริงจัง กิจกรรมก็ทำจริงจัง คลั่งไคล้อะไรก็คือคลั่งไคล้จริงจัง ดังนั้นใน SKET DANCE จะเต็มไปด้วยเด็กระดับ Extreme ในทุกๆกิจกรรม เด็กที่คลั่งไคล้ไสยศาสตร์ การ์ตูนตาหวาน ดนตรีพั้งค์ร็อค หรือแม้กระทั่งคลั่งไคล้ระเบียบวินัย นอกจากอัตลักษณ์ที่แสดงผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ยังมีอัตลักษณ์ที่เป็นลักษณะนิสัยส่วนตัวของแต่ละคน เช่น เป็นคนไม่พูด คนขี้อาย หรือคนโผงผางแข็งกระด้าง มีหลากหลายแนวครับ
คาโต้ คิริ ตัวละครที่แม้จะโผล่มาช้ากว่าเพื่อนแต่มีคาแรคเตอร์ที่เจ๋งมาก และเป็นหนึ่งในตัวโปรดของผมที่ได้เห็นพัฒนาการทางความคิดของเขาแล้วอดชอบไม่ได้ครับ
ในอัตลักษณ์นั้นมีที่มา
คาแรคเตอร์แต่ละคนชัดเจนมาก แต่มีมิติ คือไม่ใช่ว่าก้มหน้าก้มตาเป็นคนขี้อาย แต่ตัวละครจะมีที่มาที่ไปว่าเกิดอะไรขึ้น และปมปัญหาคืออะไร SKET DANCE ช่วยแก้ปัญหา หรือพัฒนาเพื่อนอย่างไร
เนื้อหาส่วนใหญ่ของการ์ตูนอยู่ที่ การส่งเสริม สนับสนุน ให้กำลังใจกันและกันในสิ่งที่เพื่อนเป็นและชอบ เด็กหลายคนในเรื่องเริ่มต้นจากการมีปมปัญหาในชีวิต มีความขัดแย้ง มีการพยายามหนีอะไรบางอย่างเป็นที่มาของตัวตนของเขา ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอการคลี่คลายปมปัญหา การต่อสู้กับปัญหาแบบที่น่ารักลงตัว ไม่ยัดเยียด และดูสะท้อนความเป็นเด็กออกมาได้ดีมาก บางทีการแก้ปัญหาแบบเด็กๆ ก็อาจจะส่งผลดีกับตัวเด็กมากกว่าการแก้ปัญหาแบบผู้ใหญ่ได้ เพราะเด็กไม่มองว่าเรื่องของเด็กเป็นเรื่องเด็กๆ เรื่องเล็กๆ ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่ผ่านโลกมาโชกโชนกลับยึดติดกับคำว่า “สมัยพ่อลำบากกว่านี้อีก” บ้าง หรือ “ปัญหาของเธอมันเรื่องเล็กๆ” และยัดเยียดการแก้ปัญหาในแบบตัวเองให้เด็ก โดยลืมไปว่าเรากำลังใช้คำนั้นกับเด็ก และสิ่งเหล่านี้บางครั้งอาจจะไม่มีอะไร แต่ใครจะไปรู้ว่าสิ่งที่เราพูด มันเคยให้คำตอบที่ดีต่อเด็กหรือไม่ แล้วมันอาจก่อให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิดอะไรกับเด็กได้บ้าง
ในอัตลักษณ์นั้นมีการยอมรับ
สิ่งที่ทำให้ผมหลงรักการ์ตูนเรื่องนี้คือภาพการอยู่ร่วมกันของเด็กที่มีอัตลักษณ์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในโรงเรียนได้ แน่นอนว่าในเนื้อเรื่องมันก็ไม่ได้สวยหรูไปตลอดเวลา มีปัญหาและความขัดแย้งระหว่างเด็กในโรงเรียนไคเมย์ตลอด ทั้งในเลเวลของการไม่ยอมรับตัวเอง การไม่ยอมรับเพื่อน จนถึงการไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ใหญ่ ผมรู้สึกว่าในวัยเด็กเราทุกคนย่อมเคยมีความรู้สึกประเภทที่ว่า ฉันไม่มีตัวตนในห้องนี้เลย ฉันไม่ Fit in กับเพื่อนกลุ่มนี้ ฉันเป็นตัวประหลาดหรือเปล่า เพื่อนไม่ชอบขี้หน้าฉันรึเปล่า เป็นปัญหาสุดคลาสสิคในวัยเด็กทั้งนั้น ซึ่งหลายครั้งผู้ใหญ่มองไม่เห็นและคิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ เดี๋ยวก็ปรับตัวได้เอง จริงหรือครับ?
ใน SKET DANCE เราได้เห็นการเติบโตทางอารมณ์ ตั้งแต่เด็กที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ พยายามปรับตัวให้เป็นที่ยอมรับ ไปจนถึงการวางตัวเมื่อได้รับการยอมรับ โดยมีตัวช่วยก็คือ SKET DANCE เรียกได้ว่า เติบโตไปพร้อมกับเด็กในการ์ตูนเลยครับ
การยอมรับ กับการสะท้อนภาพปัญหาของเด็ก
แน่นอนว่าในวัยเด็กเราก็ได้พบปัญหาแบบเด็กๆกันเยอะครับ บางคนวุ่นวายกับปัญหาจากการคบเพื่อน ต้องการการยอมรับจากเพื่อน บางคนเจอปัญหาด้านความรักวัยรุ่น ต้องการการยอมรับจากแฟน บางคนเจอปัญหาด้านการเรียน ต้องการการยอมรับจากครูและพ่อแม่ ใน SKET DANCE นำปัญหาเหล่านี้มาผสมผสานกันตลอด มีปมปัญหาตั้งแต่ระดับเบาสมอง ไปจนถึงระดับคอขาดบาดตาย บทจะขำก็ขำกันสุดๆครับ บทจะเครียดก็เล่นเอาพูดไม่ออกเลย แต่ได้อ่านแล้วก็ชวนให้คิดครับว่า เราก็เคยเจอปัญหาแบบนี้มาบ้างรึเปล่านะ แล้วเราแก้มันยังไง หรือจริงๆเราอาจจะยังแก้ไม่ได้ด้วยซ้ำ? แล้วจะเกิดอะไรขึ้นครับถ้าผู้ใหญ่เติบโตมาโดยที่มีปมปัญหามาตั้งแต่เด็ก ปัญหาที่ไม่เคยได้รับการแก้ไขก็ไม่ได้รับการแก้ไข แม้จะโตขึ้นก็ไม่ได้ช่วยอะไรครับ เผลอๆจะส่งต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานไปอีก
สิ่งที่ผมได้จาก SKET DANCE ที่สำคัญเลยคือการยอมรับในตัวตนของคนที่อยู่ร่วมกับเราครับ โดยเฉพาะกับเด็ก ผมว่าสำหรับเด็กแล้วเขาไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่าการยอมรับจากคนที่เขารักหรือผูกพันเลย ไม่จำเป็นต้องมีของขวัญราคาแพงอะไรเลย บางทีแค่คำว่า “พ่อภูมิใจในตัวลูกนะ” หรือว่า “ไม่เป็นไรนะหนูทำดีที่สุดแล้ว” ก็มีค่าเหนือสิ่งอื่นใดเลยครับ หนำซ้ำมันยังทำให้เด็กมีความเชื่อมั่นศรัทธาในตัวเอง (Self-Esteem) รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ซึ่งผมว่าตอนนี้มันคือสิ่งที่สังคมไทยกำลังต้องการครับ เราต้องการเยาวชนที่เชื่อมั่นในตัวเองว่าเขาสามารถเป็นกำลังสำคัญของสังคมในอนาคต เขามีคุณค่าและเขาสามารถสร้างสรรค์สิ่งดีๆให้โลกได้ ไม่ใช่แค่เป้าหมายฉาบฉวยอย่างเช่น ทำยังไงให้คนไลค์รูปเยอะๆ ทำยังไงให้เกรดสวยๆ แล้วก็จบกันไป Self-Esteem คือต้นทางที่จะสร้างอนาคตเด็กครับ
ผู้เขียน SKET DANCE ใช้ตัวละครหลักบอสเซ็น เป็นตัวแทนของคนที่รับฟังคนอื่นอย่างใจกว้าง และช่วยเหลืออย่างเต็มที่ เป็นคาแรคเตอร์ที่มีความจริงใจ น้ำใจ ใช้หัวใจเป็นจุดขาย ในขณะที่เพื่อนร่วมทีมมีคาแรคเตอร์ที่โดดเด่น สวิตช์มีสเน่ห์ตามสไตล์การ์ตูนญี่ปุ่น หนุ่มแว่นมาดเข้ม ลึกลับ กับฮิเมโกะ สาวห้าวซึน นักสู้ไร้เทียมทาน แต่ด้วยความซื่อและจริงใจของบอสเซ็นก็สามารถดึงตัวละครที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงให้มาร่วมมือกันใช้ความสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ ในขณะเดียวกันก็ค่อยๆรักษาแผลในใจของแต่ละคนไปพร้อมๆกัน รวบรวมคนที่หมดหวังในตัวเอง ให้กลับมามีความหวังในชีวิตอีกครั้ง
บทบาทของผู้ใหญ่ ?
แม้ SKET DANCE จะดำเนินเรื่องด้วยเด็กนักเรียน แต่ตัวละครผู้ใหญ่ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เรื่องเดินไปได้ครับ โดยเฉพาะตัวละครครูและพ่อแม่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของปัญหาและทางแก้ปัญหาของเด็ก ในการ์ตูนมีผู้ใหญ่ที่หลากหลายครับ มีทั้งผู้ใหญ่ที่โคตรน่าหมั่นไส้ และผู้ใหญ่ที่โคตรน่ารัก ที่สำคัญคือเราจะได้เห็นพัฒนาการของผู้ใหญ่ไปพร้อมๆกับเด็กด้วย และบางครั้งก็อาจได้เห็นว่า ผู้ใหญ่บางคนก็สะสมปมปัญหาของตัวเองมาตั้งแต่สมัยเด็ก ปมที่พอโตขึ้นก็ไม่มีความเป็นเด็กหลงเหลืออยู่ให้นำมาแก้ปมแล้ว จนสุดท้ายได้เด็กนี่แหละมากระตุกต่อมคิดและช่วยแก้ปมให้ แม้จะเป็นการ์ตูนเด็ก แต่ก็สะท้อนภาพได้ชัดเจนครับว่า ส่วนสำคัญที่จะชี้ทางให้เด็กเติบโตคือผู้ใหญ่ที่รายล้อมตัวเด็กในแต่ละวัยนั่นแหละ
เราจะเห็นพัฒนาการของ SKET DANCE ตั้งแต่เล่มแรกๆ ที่เป็นเหมือนการแนะนำตัวละครในโรงเรียน จนเล่มกลางๆที่จะได้เห็นการต่อยอดความสัมพันธ์ของ SKET DANCE กับตัวละครแต่ละตัวทีละเล็กละน้อย ค่อยๆ เปิดเผยเรื่องราวและปมปัญหาของตัวละครไปด้วย จนถึงช่วงท้ายๆ ที่เน้นไปที่ภาพหลังจากที่ตัวละครแทบทุกตัวสนิทสนมกันดีมาก การร่วมมือกันแก้ปัญหาในสเกลที่ใหญ่ขึ้น และแสดงพลังของเด็กให้ผู้ใหญ่ได้เห็น
ผู้เขียนทำได้ดีมากเรื่องการสร้างสรรค์ตัวละคร แต่ละตัวถูกสร้างขึ้นอย่างมีมิติหลายมุมมอง มีเหตุผล มีเรื่องราวให้เล่า และไม่มาแบบส่งๆ คือผลัดกันแวะเวียนมาสานต่อเนื้อเรื่องให้เดินไปได้ ใช้ตัวละครอย่างคุ้มค่า และนำเสนออย่างครบถ้วน สำหรับผมที่ค่อยๆ ติดตามอ่านตั้งแต่เล่ม 1 จนวันนี้มาจบที่เล่ม 32 รู้สึกเหมือนได้โตมาพร้อมกับเด็กในการ์ตูนครับ ได้เห็นพัฒนาการของพวกเขา แล้วตอนจบก็แอบรู้สึกโหวงๆเหมือนกัน
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมในการ์ตูน SKET DANCE นั้นเป็นโลกในญี่ปุ่นที่เทียบกับไทยไม่ได้เลย แต่ผมเชื่อว่าในประเทศไหนๆ เด็กล้วนมีโจทย์ของเด็กที่ต้องต่อสู้เพื่อเติบโตกันทั้งนั้น SKET DANCE เป็นหนังสือการ์ตูนที่ออกมาตีตลาดวัยรุ่น ดังนั้นสาระสำคัญอาจไม่ได้เพ่งเล็งไปที่การนำเสนอปัญหาที่จะทำให้หนักและเครียดแต่เน้นไปที่ความบันเทิง ปัญหาต่างๆจึงมักคลี่คลายลงด้วยดี แฮปปี้เอ็นดิ้ง แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้นปัญหาในการ์ตูนนี้มีอยู่จริง บางครั้งอ่านแล้วก็รู้สึกว่าเสียงของเด็กเหล่านี้เคยได้รับการรับฟังจากผู้ใหญ่บ้างไหม หรือแม้กระทั่งว่า เสียงเหล่านี้ของเพื่อนๆเคยได้รับการรับฟังจากเพื่อนด้วยกันเองบ้างไหม ลองมองไปรอบๆตัวถึงเพื่อนๆของเรา เราเคยทอดทิ้งตัวตนของเพื่อนคนไหนไปรึเปล่า เราเคยไม่ยอมรับตัวตนของเพื่อนคนไหนไปรึเปล่า หรือเคยมีช่วงเวลาไหนที่เราไม่ยอมรับตัวเราเองรึเปล่า ?
สุดท้ายอยากฝากเพื่อนๆให้ลองอ่านดูครับ จะมองมันเป็นการ์ตูนเด็กน้อยอ่านเอาฮาก็ได้ แต่ผมเชื่อว่าท่านจะได้มุมมองเกี่ยวกับชีวิตและจิตใจของเด็กไม่น้อยเลยทีเดียวครับ