[CR] รีวิวคีย์บอร์ด Unicomp ที่ถูกกล่าวขานว่า King of click ในยุคปัจจุบัน


สวัสดีครับชาว Pantip ทุกท่าน วันนี้ผมจะมารีวิวคีย์บอร์ดของแปลกที่ใช้เทคโนโลยีเมื่อ 30 ปีที่แล้วและก็ยังอยู่มาจนถึงปัจจุบัน กับยี่ห้อ Unicomp ที่หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นเคยเท่าไร

ก่อนอื่นเราย้อนประวัติศาสตร์คร่าวๆ กันก่อนละกันครับ
ถ้าพูดถึง Unicomp หลายคนคงต้องงงเป็นไก่ตาแตก แต่ถ้าเอ่ยชื่อ IBM น่าจะมีไม่น้อยที่เคยได้ยินชื่อนี้





IBM เป็นผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และให้บริการด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศรายใหญ่ของโลก สำนักงานใหญ่อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นบริษัทสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีเมนเฟรมและนาโนเทคโนโลยี ที่เราใช้กันทุกวันนี้พัฒนาจากเทคโนโลยีนี้ครับ

ผลผลิตที่สำคัญของ IBM คือ Personal Computer ในปี 1981 ที่กลายมาเป็นอุปกรณ์สามัญประจำบ้านในอีกหลายทศวรรษให้หลัง อย่างไรก็ตาม ด้วยการแข่งขันที่รุนแรง IBM กลับต้องถอนตัวจากการขายพีซี และปรับตัวมาขายบริการ Solution ทางไอทีแบบครบวงจร ซึ่งไม่มีบริษัทอื่นที่มีขนาดใหญ่พอจะต่อกรกับ IBM ได้ง่ายนัก

IBM เกือบล้มละลายในช่วงต้นทศวรรษ 1990s เหตุเพราะตลาดไอทีที่เปลี่ยนแปลงไป และวัฒนธรรมองค์กรที่อุ้ยอ้ายเคลื่อนไหวไม่ทันคู่แข่ง การแก้เกมของ IBM คือจ้าง หลุยส์ เกิร์ตสเนอร์ (Louis Gerstner) CEO คนนอกที่เดิมมีตำแหน่งเป็น CEO ของบริษัทอาหารและยาสูบ RJR Nabisco เข้ามากู้วิกฤต



เกิร์ตสเนอร์เข้ามาจัดระเบียบ IBM ใหม่และเปลี่ยนผ่านบริษัทจากการขายฮาร์ดแวร์ มาสู่การขายบริการหรือโซลูชัน ในช่วงนี้ IBM ซื้อบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่มากมาย เช่น Lotus (อดีตผู้สร้างซอฟต์แวร์ชุดออฟฟิศ Lotus 1-2-3), Tivoli ซอฟต์แวร์บริหารระบบงานไอที, ฐานข้อมูล Informix ฯลฯ รวมถึงซื้อฝ่ายที่ปรึกษาด้านธุรกิจไอทีจาก Price Waterhouse Coopers เข้ามาเสริมทัพ



Gerstner พลิกฟื้น IBM ให้กลับมาทำกำไรได้ในปี 1994 (เขาเริ่มทำงานที่ IBM ในปี 1993 ส่วนบริษัทขาดทุนติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 1990) จากนั้นในอีกเกือบ 10 ปีที่เหลือ Gerstner เปลี่ยนผ่าน IBM มาเป็นบริษัทที่ขายบริการทางไอทีได้อย่างงดงาม เท่

ย้อนกลับมาที่ PC การที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้จำเป็นต้องมีการป้อนข้อมูลลงไปเพื่อให้คอมประมวลแล้วถึงจะแสดงผลตามที่เราต้องการ ซึ่งหนึ่งในอุปกรณ์ป้อนข้อมูลคือ แป้นพิมพ์ หรือที่เรียกติดปากกันว่าคีย์บอร์ดครับ




โดยซีรี่ย์คีย์บอร์ดของ IBM ที่เปิดตัวจำหน่าย (ขอนับเฉพาะที่ทำมาขายให้คนทั่วไปครับ) จะมีซีรี่ย์

- Model F ของปี 1981 จุดเด่น ที่ปุ่ม Function key (มี F1 - F10) จะอัดไว้ที่ฝั่งซ้ายทั้งหมดครับ เด็กๆ เห็นครั้งแรกคงงงว่าคีย์บอร์ดโบราณพิลึกแบบนี้มี ปุ่มมาโคร ด้วย โดยรุ่นแรกนี้ใช้พอร์ด AT ในการเชื่อมต่อครับ



และใน 1984 ก็เพื่มมาจากของเดิมคือปุ่ม System Request (Sys Rq) ไฟโชว์สถานะของ Caplock, Scroll Lock, Nom Lock และปรับเปลี่ยนเลเอาส์จากเดิมครับ



และ Model F 122 key ที่เพิ่มปุ่ม Function key แบบล้นหลามชนิดที่ว่าเลือกใช้ไม่ถูกเลยครับ



***จริงๆ Model F จะซอยรุ่นค่อนข้างเยอะครับแต่หยิบยกแค่ตัวเด่นๆ ครับ

- Model M ของปี 1985 รุ่นนี้เรียกว่ามีการปรับเปลี่ยน Layout เดิมจาก Model F มากๆ โดยเลเอาส์ที่ใช้จะเป็น ANSI ที่ค่อนข้างคุ้นตากันแล้ว ได้ออกรุ่นที่มีพอร์ด AT, PS2, RJ45 รองรับ Interface ของคอมพิวเตอร์ค่อนข้างหลากหลายครับ



และเจ้า Model M เองได้ซอยรุ่นหลักๆ เพื่มเติมคือ

SSK เป็น TKL keyboard



Model M13 เพิ่ม Trackpoint คล้ายๆ laptop ใต้ปุ่ม spacebar



Model M5-2 มีลูกกลิ้งตรงมุมขวาบน



Model M2 เป็นตัวที่ลดขนาดลงมาจากรุ่นแรก



โดยคีย์บอร์ด IBM จะใช้เทคโนโลยี Buckling Spring กับตัวแป้น ชึ่งเทคโนโลยีเป็นที่นิยมมากๆ ในช่วงศตวรรษที่ 19


โดยการทำงานเมื่อกดลงไป keycap จะสปริงที่ยึดบนแผ่นที่จะเป็นตัวต่อวงจรให้กดลงไปจนทำงาน โดยสปริงจะงอคลายตัว V แล้วดีดเข้ากับแกนยึด keycap ทำให้เกิดเสียงคลิกและ Tactile จากการงอของสปริงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเสียงที่ได้จากการกดจะดังมากๆ เรียกว่าดังที่สุดเท่าที่เคยมีมาสำหรับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ ตัว Buckling Spring ของ IBM จึงได้ฉายาว่า King of Click



และหลังจากที่ช่วงหลังเรื่มมีการแทนที่ด้วยคีย์บอร์ดยางที่ราคาถูกกว่าเดิม 30 เท่า จึงทำให้ Buckling Spring ค่อยๆ หายไป แต่ก็ยังมีหลายคนที่ถูกใจในสัมผัสและเสียงคลิกของมันบวกกับความทนที่มากเป็นพิเศษอีก แต่ก็เป็นกลุ่มเล็กๆ

จนกระทั้งปี 1996 Unicomp ได้ซื้อลิขสิทธิ์ Buckling Spring ของ IBM ไปและทำการ Remake ใหม่ให้เข้ากับยุคสมัยตั้งแต่การใช้พอร์ด USB ที่คอมปัจจุบันต้องมีทุกเครื่อง จนไปถึงการลดขนาดเฟรมลงและรองรับเครื่อง Mac ครับ
ชื่อสินค้า:   Unicomp ultra classic
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่