นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายฯ แนะ ‘ผู้มีทรัพย์สิน-พ่อ-แม่’ ควรแบ่งทรัพย์สินไว้ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ และควรให้ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในวัยทำมาหากิน เพื่อให้ลูกหลานสามารถไปต่อยอดได้ เช่นกรณีร้านทองแบรนด์ดัง ขณะเดียวกันก็มีวิธีป้องกันไม่ให้ลูกหลานนำทรัพย์สินไปขายขณะพ่อ-แม่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนผู้ที่ยังไม่แบ่งมรดก ต้องทำพินัยกรรม 4 รูปแบบ พร้อมวิธีการทำพินัยกรรมให้รัดกุมเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดตามมาทั้งพินัยกรรมปลอม-ผู้จัดการมรดกฉ้อฉล แจงทายาทโดยพินัยกรรมได้สิทธิ์เหนือผู้สืบสันดาน!
กระแสข่าวการแย่งชิง “มรดก” ในครอบครัว ที่ผ่านมาหลายครั้งนั้น เป็นกรณีตัวอย่างที่ดีให้ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นบิดาและมารดา ต้องตระหนักว่าเราควรต้องมีการวางแผนทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ทายาทต้องเกิดเรื่องทะเลาะวิวาท และหากตกลงกันไม่ได้ก็นำไปสู่การฟ้องร้องในศาล และบางรายอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงถึงขั้นปลิดชีวิตคนในตระกูลเดียวกันก็เป็นได้
ดังนั้นหากย้อนมองคดีดังๆ ที่เกี่ยวกับมรดก นับตั้งแต่ข่าวดัง ศึกมรดกเลือดของ “นายห้างทอง ธรรมวัฒนะ” ที่จบชีวิตลงไปเมื่อ 20 ปีก่อน ตลอดจนความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ในกิจการของซ้อ 7 คนในตระกูล "วิญญรัตน์" เจ้าของธุรกิจซอสภูเขาทอง ซึ่งหายสาบสูญไป และกรณีพิพาทของคนตระกูล “โตทับเที่ยง” เจ้าของปลากระป๋องปุ้มปุ้ย และอีกหลายๆ คดี กระทั่ง "ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์" ในวันนี้กรณีของน้ำพริกแม่ประนอม ที่เป็นการเปิดศึกระหว่างแม่กับลูกสาวซึ่งดูเหมือนจะสามารถยุติปัญหาและจบลงอย่างแฮปปี้เอนดิ้งได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม สาเหตุอะไรที่ทำให้คนในครอบครัวต้องมีเรื่องบาดหมางเกี่ยวข้องกับ “มรดก” นางสุทธินี เมธิประภา นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวกับ “Special Scoop” ว่า ในกรณีที่เป็นการจัดการ “มรดก” ในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งมักจะเป็นแบบที่ “ไม่มีปัญหา” และสามารถตกลงกันได้ภายในครอบครัว ส่วนใหญ่ที่ยังคงมีลักษณะนี้อยู่จะเป็นครอบครัวในชนบท ซึ่งมีจำนวนพี่น้องในครอบครัวไม่มากนัก เพียง 2-3 คน และทุกคนมีหน้าที่การงานทำ เช่น กรณีพ่อเสียชีวิต ทายาทเป็นพี่น้องกัน ก็ไม่ได้ขอให้แม่ซึ่งมีชีวิตอยู่เป็นผู้แบ่งมรดกในทันที แม้จะมีทรัพย์สินเป็นที่ดินกว่า 40 ไร่
เพราะส่วนใหญ่พี่น้องทุกคนจะไม่พูดกันเรื่องสมบัติของพ่อแม่ และยังถือเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี หากว่าใครไปพูดจะเอาสมบัติของพ่อแม่ก่อน จะถูกมองว่าไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้นจะไม่มีใครกล้าเอ่ยถึงการแบ่ง “สมบัติของพ่อแม่” ที่ดินมรดกเคยให้คนเช่าอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น ทุกคนเมื่อถึงเวลากลับไปเยี่ยมบ้าน พ่อแม่พี่น้องจะมารวมญาติกันตามวิถีของชาวชนบทปกติ ใครอยากได้ผลผลิตจากไร่สวนก็นำกลับมาที่กรุงเทพฯ อย่างที่เคยทำ
อีกกรณีคือ พ่อเสียชีวิตและมรดกอยู่ที่แม่ซึ่งยังมีชีวิตอยู่นั้น แทนที่ผู้เป็นแม่จะจัดการทรัพย์สินมรดกทันที ปรากฏว่าทายาททุกคนลงความเห็นให้ทิ้งไว้ที่แม่ และไม่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกในตอนนั้น ถ้าในอนาคต เมื่อผู้เป็น “แม่เสียชีวิตลง จึงค่อยจัดการกับทรัพย์สิน”
ส่วนกรณีที่ “เจ้ามรดกตายไปแต่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้” บางครั้งทายาทก็ไม่ได้สนใจนัก เพราะต่างคนต่างก็ทำมาหากิน มีอาชีพ มีหลักฐาน ลักษณะแบบนี้จะไม่ต้องการเงินทรัพย์สิน เพราะมีความเป็นอยู่ที่ดี และมีความพอเพียงแล้ว
บางรายพ่อเสียชีวิตนานกว่า 10 ปี มรดกยังอยู่และแม่ก็ยังอยู่ในบ้านหลังนั้น ที่ดินทรัพย์สิน แม่เคยจัดการอย่างไรก็ยังคงเป็นแบบนั้น
อันที่จริงแล้ว สามีภรรยาเมื่ออยู่ด้วยกัน มีเงินทอง ทรัพย์สิน เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายไป จะเกิดมรดกขึ้น ในส่วนของคนตาย เช่น มีที่ดิน 10 ไร่ จะถูกแบ่งครึ่งเป็นสินสมรส เป็นทรัพย์สินของภรรยาที่ทำมาหากินได้ 5 ไร่ ส่วนอีก 5 ไร่เป็นมรดกที่จะนำมาแบ่งให้ทายาทหรือบุตรทั้งหมด รวมทั้งภรรยาก็มีสิทธิที่จะได้ในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน เช่น ลูก 3 คน ภรรยา และพ่อแม่ ก็จะแบ่งเป็น 5 ส่วน และมีตัวอย่างในบางครั้งที่พ่อหรือแม่ ปู่ย่าตายายขอสละสิทธิ์ ไม่รับมรดกนั้น ด้วยความรัก ความเข้าใจ และครอบครัวมีความอบอุ่น ผูกพันกัน
นี่คือตัวอย่างของครอบครัวที่มีความรักและความอบอุ่น มีความผูกพันเป็นพี่เป็นน้องกัน จะสามารถจัดการมรดกได้โดยไม่มีข้อพิพาท ทุกขั้นตอนจะง่าย ไม่ต้องเสียเงินมาก เป็นลักษณะของการจัดการทรัพย์มรดกที่บุตรและทายาททุกคนไปพร้อมพยาน นำทรัพย์สิน โฉนดที่ผู้จากไปทิ้งไว้เป็นมรดก เพื่อทำเรื่องที่กรมที่ดินได้เลย
การจัดการมรดกแบบมีปัญหา
ปัญหาการแบ่งมรดกที่กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวของหลายครอบครัวนั้น ในบางคดีความที่เกิดขึ้น เจ้ามรดกมีการเตรียมการเรื่องนี้ไว้อย่างดี โดยทำพินัยกรรมชัดเจน และวิธีการแบ่งอยู่บนพื้นฐานที่ต้องการให้พี่น้องรักกัน ไม่แบ่งแยกสมบัติกัน
แต่เมื่อเจ้ามรดกจากไป ผู้รับมรดกไม่สามารถตกลงกันได้ จึงทำให้เกิดกรณีแย่งชิงทรัพย์สิน ไปจนถึงการทำร้ายถึงแก่ชีวิต ซึ่งสาเหตุของปัญหา ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดภายในครอบครัวแต่แรก เพราะเป็นลักษณะของการอยู่ร่วมกัน พูดจาประสาพ่อแม่ลูกซึ่งเข้าใจง่าย แต่เมื่อแต่งงาน แยกออกไปมีครอบครัว บุตรสาวมีสามี บุตรชายมีภรรยา ซึ่งถือว่ามีบุคคลที่ 3 เข้ามา ทำให้เหตุการณ์ในครอบครัวเปลี่ยนไป
ส่วนที่ดีก็มี “เพราะหากได้คู่ชีวิตที่มีคุณธรรม ไม่โลภ ก็จะไม่มีปัญหา” จะเห็นว่าที่ผ่านมามีหลายตัวอย่างของครอบครัวที่พี่น้องรักกัน เมื่อถึงเวลาที่ต้องแบ่งเงินทอง ทรัพย์สินและที่ดิน กรณีที่พ่อเสียชีวิตลงนั้น พบว่าต่างคนต่างถ้อยทีถ้อยอาศัย แบ่งกันอย่างยุติธรรม ให้เกียรติกัน ใครอยากได้สมบัติชิ้นไหนก็เลือกไปได้
ในกรณีที่การแบ่งทรัพย์สินตกลงกันไม่ได้ จนเกิดปัญหาทะเลาะวิวาทกันในครอบครัวนั้น สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะสังคมเปลี่ยนไป เช่น การย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในสังคมเมือง และจากการพัฒนาของสังคมเมืองที่มีความเจริญ มีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพที่สูงขึ้นตามมา เกิดความต้องการในทรัพย์สิน เงินทอง เพราะการทำมาหาได้ไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต ส่งผลทำให้เกิดปัญหา ยิ่งมีครอบครัวและบุตรก็ยิ่งมีความจำเป็นมาก
ส่วนที่มีการแย่งชิงสมบัติกันนั้น มีหลากหลายกรณีตัวอย่าง ที่เป็นคดีความให้เห็นเป็นระยะ ซึ่งบางกรณีมีปัญหากันตั้งแต่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น บางคนกลับมาขอให้พ่อแม่ช่วยเพราะเป็นหนี้เป็นสิน ถึงขนาดนำทรัพย์สินของพ่อแม่ไปจำนองไว้กับธนาคาร ขณะที่พ่อแม่เองก็อยากให้ลูกทำมาหากินมีรายได้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง จึงให้ทรัพย์สินไปจำนอง ซึ่งการค้าขาย ก็ใช่ว่าทุกอย่างจะได้กำไร หรือมีความราบรื่นจนประสบความสำเร็จ หากล้มเหลวก็จะไม่สามารถชำระหนี้ที่นำมาลงทุนได้
ซึ่งตรงนี้จะเกิดผลกระทบต่อบ้านที่พ่อแม่อยู่อาศัย ต้องนำไปจำนองหรือไปขายเพื่อแก้ปัญหา เหตุการณ์นี้ทำให้พี่น้องเริ่มเกิดความไม่พอใจ เพราะโดยธรรมชาติ พ่อแม่จะไม่กล้าตัดสินใจ ต้องถามความเห็นจากพี่คนโตหรือพี่น้องคนที่มีทรัพย์สินมากที่สุด เพื่อแก้สถานการณ์ไม่ให้บ้านถูกนำไปจำนอง หรือบางครั้งเมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ พ่อแม่จะเรียกพี่น้องทุกคนให้รวมเงินมาช่วยเหลือบุตรคนที่มีหนี้สิน ซึ่งบุตรบางคนก็อาจปฏิเสธการช่วยเหลือ และหากมีความช่วยเหลือจากบุตรคนใด เช่นพี่คนโต ก็จะได้รับความเห็นใจจากพ่อแม่ จนโอนบ้านหรือทรัพย์สินให้ ทำให้เป็นปัญหาเมื่อพ่อแม่จากไป เกิดการทวงถามและการโต้แย้งในหมู่พี่น้อง
แนะวิธีจัดการทรัพย์สินป้องกันศึกชิงมรดก โอนให้ทายาทแต่‘พ่อ-แม่’เก็บผลประโยชน์จนตาย!
นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายฯ แนะ ‘ผู้มีทรัพย์สิน-พ่อ-แม่’ ควรแบ่งทรัพย์สินไว้ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ และควรให้ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในวัยทำมาหากิน เพื่อให้ลูกหลานสามารถไปต่อยอดได้ เช่นกรณีร้านทองแบรนด์ดัง ขณะเดียวกันก็มีวิธีป้องกันไม่ให้ลูกหลานนำทรัพย์สินไปขายขณะพ่อ-แม่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนผู้ที่ยังไม่แบ่งมรดก ต้องทำพินัยกรรม 4 รูปแบบ พร้อมวิธีการทำพินัยกรรมให้รัดกุมเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดตามมาทั้งพินัยกรรมปลอม-ผู้จัดการมรดกฉ้อฉล แจงทายาทโดยพินัยกรรมได้สิทธิ์เหนือผู้สืบสันดาน!
กระแสข่าวการแย่งชิง “มรดก” ในครอบครัว ที่ผ่านมาหลายครั้งนั้น เป็นกรณีตัวอย่างที่ดีให้ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นบิดาและมารดา ต้องตระหนักว่าเราควรต้องมีการวางแผนทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นอาจทำให้ทายาทต้องเกิดเรื่องทะเลาะวิวาท และหากตกลงกันไม่ได้ก็นำไปสู่การฟ้องร้องในศาล และบางรายอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงถึงขั้นปลิดชีวิตคนในตระกูลเดียวกันก็เป็นได้
ดังนั้นหากย้อนมองคดีดังๆ ที่เกี่ยวกับมรดก นับตั้งแต่ข่าวดัง ศึกมรดกเลือดของ “นายห้างทอง ธรรมวัฒนะ” ที่จบชีวิตลงไปเมื่อ 20 ปีก่อน ตลอดจนความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ในกิจการของซ้อ 7 คนในตระกูล "วิญญรัตน์" เจ้าของธุรกิจซอสภูเขาทอง ซึ่งหายสาบสูญไป และกรณีพิพาทของคนตระกูล “โตทับเที่ยง” เจ้าของปลากระป๋องปุ้มปุ้ย และอีกหลายๆ คดี กระทั่ง "ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์" ในวันนี้กรณีของน้ำพริกแม่ประนอม ที่เป็นการเปิดศึกระหว่างแม่กับลูกสาวซึ่งดูเหมือนจะสามารถยุติปัญหาและจบลงอย่างแฮปปี้เอนดิ้งได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม สาเหตุอะไรที่ทำให้คนในครอบครัวต้องมีเรื่องบาดหมางเกี่ยวข้องกับ “มรดก” นางสุทธินี เมธิประภา นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ กล่าวกับ “Special Scoop” ว่า ในกรณีที่เป็นการจัดการ “มรดก” ในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งมักจะเป็นแบบที่ “ไม่มีปัญหา” และสามารถตกลงกันได้ภายในครอบครัว ส่วนใหญ่ที่ยังคงมีลักษณะนี้อยู่จะเป็นครอบครัวในชนบท ซึ่งมีจำนวนพี่น้องในครอบครัวไม่มากนัก เพียง 2-3 คน และทุกคนมีหน้าที่การงานทำ เช่น กรณีพ่อเสียชีวิต ทายาทเป็นพี่น้องกัน ก็ไม่ได้ขอให้แม่ซึ่งมีชีวิตอยู่เป็นผู้แบ่งมรดกในทันที แม้จะมีทรัพย์สินเป็นที่ดินกว่า 40 ไร่
เพราะส่วนใหญ่พี่น้องทุกคนจะไม่พูดกันเรื่องสมบัติของพ่อแม่ และยังถือเป็นเรื่องของศักดิ์ศรี หากว่าใครไปพูดจะเอาสมบัติของพ่อแม่ก่อน จะถูกมองว่าไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้นจะไม่มีใครกล้าเอ่ยถึงการแบ่ง “สมบัติของพ่อแม่” ที่ดินมรดกเคยให้คนเช่าอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น ทุกคนเมื่อถึงเวลากลับไปเยี่ยมบ้าน พ่อแม่พี่น้องจะมารวมญาติกันตามวิถีของชาวชนบทปกติ ใครอยากได้ผลผลิตจากไร่สวนก็นำกลับมาที่กรุงเทพฯ อย่างที่เคยทำ
อีกกรณีคือ พ่อเสียชีวิตและมรดกอยู่ที่แม่ซึ่งยังมีชีวิตอยู่นั้น แทนที่ผู้เป็นแม่จะจัดการทรัพย์สินมรดกทันที ปรากฏว่าทายาททุกคนลงความเห็นให้ทิ้งไว้ที่แม่ และไม่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกในตอนนั้น ถ้าในอนาคต เมื่อผู้เป็น “แม่เสียชีวิตลง จึงค่อยจัดการกับทรัพย์สิน”
ส่วนกรณีที่ “เจ้ามรดกตายไปแต่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้” บางครั้งทายาทก็ไม่ได้สนใจนัก เพราะต่างคนต่างก็ทำมาหากิน มีอาชีพ มีหลักฐาน ลักษณะแบบนี้จะไม่ต้องการเงินทรัพย์สิน เพราะมีความเป็นอยู่ที่ดี และมีความพอเพียงแล้ว
บางรายพ่อเสียชีวิตนานกว่า 10 ปี มรดกยังอยู่และแม่ก็ยังอยู่ในบ้านหลังนั้น ที่ดินทรัพย์สิน แม่เคยจัดการอย่างไรก็ยังคงเป็นแบบนั้น
อันที่จริงแล้ว สามีภรรยาเมื่ออยู่ด้วยกัน มีเงินทอง ทรัพย์สิน เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายไป จะเกิดมรดกขึ้น ในส่วนของคนตาย เช่น มีที่ดิน 10 ไร่ จะถูกแบ่งครึ่งเป็นสินสมรส เป็นทรัพย์สินของภรรยาที่ทำมาหากินได้ 5 ไร่ ส่วนอีก 5 ไร่เป็นมรดกที่จะนำมาแบ่งให้ทายาทหรือบุตรทั้งหมด รวมทั้งภรรยาก็มีสิทธิที่จะได้ในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน เช่น ลูก 3 คน ภรรยา และพ่อแม่ ก็จะแบ่งเป็น 5 ส่วน และมีตัวอย่างในบางครั้งที่พ่อหรือแม่ ปู่ย่าตายายขอสละสิทธิ์ ไม่รับมรดกนั้น ด้วยความรัก ความเข้าใจ และครอบครัวมีความอบอุ่น ผูกพันกัน
นี่คือตัวอย่างของครอบครัวที่มีความรักและความอบอุ่น มีความผูกพันเป็นพี่เป็นน้องกัน จะสามารถจัดการมรดกได้โดยไม่มีข้อพิพาท ทุกขั้นตอนจะง่าย ไม่ต้องเสียเงินมาก เป็นลักษณะของการจัดการทรัพย์มรดกที่บุตรและทายาททุกคนไปพร้อมพยาน นำทรัพย์สิน โฉนดที่ผู้จากไปทิ้งไว้เป็นมรดก เพื่อทำเรื่องที่กรมที่ดินได้เลย
การจัดการมรดกแบบมีปัญหา
ปัญหาการแบ่งมรดกที่กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวของหลายครอบครัวนั้น ในบางคดีความที่เกิดขึ้น เจ้ามรดกมีการเตรียมการเรื่องนี้ไว้อย่างดี โดยทำพินัยกรรมชัดเจน และวิธีการแบ่งอยู่บนพื้นฐานที่ต้องการให้พี่น้องรักกัน ไม่แบ่งแยกสมบัติกัน
แต่เมื่อเจ้ามรดกจากไป ผู้รับมรดกไม่สามารถตกลงกันได้ จึงทำให้เกิดกรณีแย่งชิงทรัพย์สิน ไปจนถึงการทำร้ายถึงแก่ชีวิต ซึ่งสาเหตุของปัญหา ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดภายในครอบครัวแต่แรก เพราะเป็นลักษณะของการอยู่ร่วมกัน พูดจาประสาพ่อแม่ลูกซึ่งเข้าใจง่าย แต่เมื่อแต่งงาน แยกออกไปมีครอบครัว บุตรสาวมีสามี บุตรชายมีภรรยา ซึ่งถือว่ามีบุคคลที่ 3 เข้ามา ทำให้เหตุการณ์ในครอบครัวเปลี่ยนไป
ส่วนที่ดีก็มี “เพราะหากได้คู่ชีวิตที่มีคุณธรรม ไม่โลภ ก็จะไม่มีปัญหา” จะเห็นว่าที่ผ่านมามีหลายตัวอย่างของครอบครัวที่พี่น้องรักกัน เมื่อถึงเวลาที่ต้องแบ่งเงินทอง ทรัพย์สินและที่ดิน กรณีที่พ่อเสียชีวิตลงนั้น พบว่าต่างคนต่างถ้อยทีถ้อยอาศัย แบ่งกันอย่างยุติธรรม ให้เกียรติกัน ใครอยากได้สมบัติชิ้นไหนก็เลือกไปได้
ในกรณีที่การแบ่งทรัพย์สินตกลงกันไม่ได้ จนเกิดปัญหาทะเลาะวิวาทกันในครอบครัวนั้น สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะสังคมเปลี่ยนไป เช่น การย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในสังคมเมือง และจากการพัฒนาของสังคมเมืองที่มีความเจริญ มีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพที่สูงขึ้นตามมา เกิดความต้องการในทรัพย์สิน เงินทอง เพราะการทำมาหาได้ไม่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต ส่งผลทำให้เกิดปัญหา ยิ่งมีครอบครัวและบุตรก็ยิ่งมีความจำเป็นมาก
ส่วนที่มีการแย่งชิงสมบัติกันนั้น มีหลากหลายกรณีตัวอย่าง ที่เป็นคดีความให้เห็นเป็นระยะ ซึ่งบางกรณีมีปัญหากันตั้งแต่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น บางคนกลับมาขอให้พ่อแม่ช่วยเพราะเป็นหนี้เป็นสิน ถึงขนาดนำทรัพย์สินของพ่อแม่ไปจำนองไว้กับธนาคาร ขณะที่พ่อแม่เองก็อยากให้ลูกทำมาหากินมีรายได้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง จึงให้ทรัพย์สินไปจำนอง ซึ่งการค้าขาย ก็ใช่ว่าทุกอย่างจะได้กำไร หรือมีความราบรื่นจนประสบความสำเร็จ หากล้มเหลวก็จะไม่สามารถชำระหนี้ที่นำมาลงทุนได้
ซึ่งตรงนี้จะเกิดผลกระทบต่อบ้านที่พ่อแม่อยู่อาศัย ต้องนำไปจำนองหรือไปขายเพื่อแก้ปัญหา เหตุการณ์นี้ทำให้พี่น้องเริ่มเกิดความไม่พอใจ เพราะโดยธรรมชาติ พ่อแม่จะไม่กล้าตัดสินใจ ต้องถามความเห็นจากพี่คนโตหรือพี่น้องคนที่มีทรัพย์สินมากที่สุด เพื่อแก้สถานการณ์ไม่ให้บ้านถูกนำไปจำนอง หรือบางครั้งเมื่อเกิดเรื่องแบบนี้ พ่อแม่จะเรียกพี่น้องทุกคนให้รวมเงินมาช่วยเหลือบุตรคนที่มีหนี้สิน ซึ่งบุตรบางคนก็อาจปฏิเสธการช่วยเหลือ และหากมีความช่วยเหลือจากบุตรคนใด เช่นพี่คนโต ก็จะได้รับความเห็นใจจากพ่อแม่ จนโอนบ้านหรือทรัพย์สินให้ ทำให้เป็นปัญหาเมื่อพ่อแม่จากไป เกิดการทวงถามและการโต้แย้งในหมู่พี่น้อง