พลเอก นิวัตร มีนะโยธิน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม
ได้กล่าวในงานบรรพชาและอบรมสามเณร (ภาคฤดูร้อน) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ
ในวันที่ 2 เม.ย.2559 ไว้ว่า
“การบรรพชาและอบรมสามเณรถือเป็นสิ่งดี สิ่งมงคล
การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศาสนาให้กับลูกหลานไม่ใช่เป็นหน้าที่ของใคร คนใดคนหนึ่ง
ซึ่งบ้าน วัด โรงเรียนและชุมชน ได้แก่ พระสงฆ์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และประชาชนในชุมชน
ต่างมีบทบาทสำคัญและสามารถมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้กับลูกหลานได้
โดยใช้เวลาช่วงปิดภาคเรียน จัดกิจกรรมทางศาสนา ได้แก่ การบรรพชา
และการจัดค่ายศาสนธรรมเพื่อพัฒนาจิตใจของเยาวชนและพัฒนาตนในทางที่ดี "
“
การทำความดี ในการบวชเรียนนอกจากจะส่งผลดีโดยตรงต่อตัวเด็กและเยาวชนเองแล้ว
ยังส่งผลดีต่อคนใกล้ชิดด้วย เพราะการได้บวชเรียน หรือ การปฏิบัติธรรมนับได้ว่า เป็นมงคลสูงสุดของชีวิต
เป็นที่ปลาบปลื้มใจของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ คนชุมชน
สำหรับเด็กและเยาวชนที่บรรพชาก็ต้องตั้งใจพากเพียร ศึกษาหลักธรรมคำสอนของศาสนาให้เต็มที่
เพื่อน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ให้ประพฤติ ปฏิบัติดี และรักษาความดีของตน
ให้ห่างไกลจากสิ่งไม่ดี ทั้งที่เป็นอบายมุขและยาเสพติด ไม่หลงไปในทางเสื่อมเสีย ”
นายณรงค์ รัตนานุกูล เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า
"
เด็กในวัยนี้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ยังเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ อาจตกเป็นเหยื่อหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงจรของยาเสพติด
แล้วนำไปสู่ปัญหายาเสพติดตามมา การนำหลักทางศาสนาเข้ามาขัดเกลาจิตใจ
และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนเพื่อให้มีสติ ปัญญา สามารถไตร่ตรอง
แยกแยะสิ่งถูกผิด รวมทั้งปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในช่วงปิดภาคการศึกษา
และไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขและยาเสพติด"
แจ้งเบาะแสยาเสพติด สายด่วน ป.ป.ส. 1386 ประชารัฐร่วมใจ สร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคง ปลอดภัยยาเสพติด"
credit : www.matichon.co.th/news/92789
พลเอก นิวัตร ผู้ช่วย รมต.ยุติธรรม เปิดใจ "บวชเณร ช่วยพัฒนาเยาวชน และสังคม"
พลเอก นิวัตร มีนะโยธิน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม
ได้กล่าวในงานบรรพชาและอบรมสามเณร (ภาคฤดูร้อน) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ
ในวันที่ 2 เม.ย.2559 ไว้ว่า
“การบรรพชาและอบรมสามเณรถือเป็นสิ่งดี สิ่งมงคล
การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักศาสนาให้กับลูกหลานไม่ใช่เป็นหน้าที่ของใคร คนใดคนหนึ่ง
ซึ่งบ้าน วัด โรงเรียนและชุมชน ได้แก่ พระสงฆ์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และประชาชนในชุมชน
ต่างมีบทบาทสำคัญและสามารถมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้กับลูกหลานได้
โดยใช้เวลาช่วงปิดภาคเรียน จัดกิจกรรมทางศาสนา ได้แก่ การบรรพชา
และการจัดค่ายศาสนธรรมเพื่อพัฒนาจิตใจของเยาวชนและพัฒนาตนในทางที่ดี "
“การทำความดี ในการบวชเรียนนอกจากจะส่งผลดีโดยตรงต่อตัวเด็กและเยาวชนเองแล้ว
ยังส่งผลดีต่อคนใกล้ชิดด้วย เพราะการได้บวชเรียน หรือ การปฏิบัติธรรมนับได้ว่า เป็นมงคลสูงสุดของชีวิต
เป็นที่ปลาบปลื้มใจของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ คนชุมชน
สำหรับเด็กและเยาวชนที่บรรพชาก็ต้องตั้งใจพากเพียร ศึกษาหลักธรรมคำสอนของศาสนาให้เต็มที่
เพื่อน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ให้ประพฤติ ปฏิบัติดี และรักษาความดีของตน
ให้ห่างไกลจากสิ่งไม่ดี ทั้งที่เป็นอบายมุขและยาเสพติด ไม่หลงไปในทางเสื่อมเสีย ”
นายณรงค์ รัตนานุกูล เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า
"เด็กในวัยนี้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ยังเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ อาจตกเป็นเหยื่อหรือเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงจรของยาเสพติด
แล้วนำไปสู่ปัญหายาเสพติดตามมา การนำหลักทางศาสนาเข้ามาขัดเกลาจิตใจ
และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนเพื่อให้มีสติ ปัญญา สามารถไตร่ตรอง
แยกแยะสิ่งถูกผิด รวมทั้งปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในช่วงปิดภาคการศึกษา
และไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขและยาเสพติด"
แจ้งเบาะแสยาเสพติด สายด่วน ป.ป.ส. 1386 ประชารัฐร่วมใจ สร้างหมู่บ้านชุมชนมั่นคง ปลอดภัยยาเสพติด"
credit : www.matichon.co.th/news/92789