[สาระ]ใช้ไข่ทัชสกรีนหน้าจอได้เพราะอะไรครับ

เรื่องมีอยู่ว่าผมต้องการทัชสกรีนหน้าจอค้างไว้เลยหาข้อมูลว่าจะใช้อะไรทัชแทนนิ้วมือเรา ก็ไปเจอกล้วยแต่บ้านเราดันไม่มีแต่มีมะม่วงเลยเอามาลองผลปรากฎว่าได้วางไว้เฉยๆมันก็ทัชค้างไว้อย่างนั้น(ไม่ต้องใช้มือจับ) และแล้วมะม่วงก็ถูกปอก เราจึงต้องหาวัตถุใหม่แทนลองไปเรื่อยๆ เหรียญ,เหล็ก(ทัชได้แต่ต้องใช้มือจับ) จนไปเจอไข่ไก่,ไข่เป็ดเอาไปวางปุ๊บทัชค้างให้เหมือนกัน(ไม่ต้องใช้มือจับ)

หน้าจอทัชสกรีนจะทำงานก็ต่อเมื่อวัตถุที่ไปสัมผัสนั้นมีไฟฟ้า เลยอยากถามว่า ไข่มันสร้างไฟฟ้าได้ด้วยหรอคับ แล้วมะม่วงหรือผลไม้อื่นๆหล่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ก่อนอื่นต้องเข้าใจหลักการทำงานของหน้าจอโทรศัพท์ระบบสัมผัสก่อนครับ


หน้าจอโทรศัพท์ระบบที่เราใช้ส่วนใหญ่นั้นคือ หน้าจอระบบ Capacitive
ตามความหมายของชื่อเลยคือ เกี่ยวข้องกับการเก็บประจุไฟฟ้า


อธิบายหลักการ(ง่ายๆแบบไม่ลึกเกินไป)ก็คือ...

หน้าจอสัมผัสถูกสร้างขึ้นโดยมีเส้นตัวนำ(บางมากมองด้วยตาไม่เห็น)
ซ่อนไว้ในชั้นระหว่างกระจกซึ่งจะทำให้จอมีคุณสมบัติเป็นตัวเก็บประจุ
สร้างสนามไฟฟ้าขึ้นมา(ดูรูป)



ดังนั้นเมื่อมีวัตถุ/วัสดุ ที่นำไฟฟ้า หรือ มีประจุในตัวเองมาใกล้
ก็จะไปรบกวนสนามไฟฟ้าปกติ ที่ตัวนำสร้างไว้ก่อนแล้วให้เปลี่ยนไป
[แน่นอน ร่างกายคนเรา(รวมถึงไข่ไก่ของคุณ)ก็ประกอบไปด้วยน้ำ
ซึ่งมีประจุไฟฟ้าอยู่เต็มไปหมด เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ว่าทำไมเวลา
หน้าจอโทรศัพท์มีหยดน้ำ อยู่จึงใช้ไม่ได้และรวนไปหมด]
(ดูรูปต่อมา)



และก็จะมีเซ็นเซอร์มาทำหน้าที่วัดครับ วัดตำแหน่งว่า ไอ้สนามไฟฟ้าที่
เปลี่ยนแปลงไปเนี่ย ไอ้ตัวรบกวนมันมาจากตรงไหน



ส่วนตัวผมปกติใส่ถุงมือขี่มอเตอร์ไซค์หรือปั่นจักรยาน
จะใช้จมูกครับ ชาวบ้านเค้าเห็นกันแล้วก็ขำๆ

ว่างๆบางทีก็ใช้ไส้กรอกครับ ตลกดี กินได้ด้วย 555

ผมขออธิบายแบบภาษาง่ายๆจริงๆแค่ให้เข้าใจหลักการ
ถ้ามีตรงไหนใช้คำพูดผิดไปหรือใครเสริมได้ ช่วยแก้ไขให้ด้วยครับ

อ้างอิงรูป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

*แก้ไข คำผิด เรียบเรียงคำพูดใหม่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่