แอ่น แอ๊น แอน เพิ่งไปรับลูกรักมาสามหน่อ เมื่อเช้านี้
CK Obession, Jean Paul Gaultier Kocorico, Lacost pour homme
ลองทายดูจิ ว่า ตัวไหน หรือลูกรักสุดสวาทขาดใจ
อย่าเสียเวลากันเรยส์ เฉลยก็แล้วกัน
ตัวแรกเรยส์ Calvin Klein Obsession
ขอรีวิวเป็นสองส่วนเรยส์นะฮัฟ ส่วนแรก เป็นข้อมูลทั่วไปที่ได้จาก Fragantica เป็นหลัก ส่วนที่สอง จะเป็นความรู้สึกส่วนตัว ในเหตุผลในการตัดสินใจสั่งซื้อทั้งๆ ที่ไม่เคยดมกลิ่นมาก่อน
CK Obsession for men เป็นน้ำหอมแนวกลุ่ม Woody, spicy, aromatic ตามส่วนผสมที่ได้จากเปลือกไม้ เครื่องเทศ เป็นหลัก
ผู้รังสรรค์สุคนธภัณฑ์กลิ่นนี้คือ Bob Slattery โดยมี Pierre Dinand เป็นผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกตลาดครั้งแรกในช่วงกลางทศวรรษที่ 80 (1986)
โดยออกตามหลัง Obsession for woman ได้ 1 ปี
Obsession for men นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในบรรดาสุคนธภัณฑ์ท็อปฮิตติดอันดับตัวหนึ่งในยุคทศวรรษ 80 ก็ว่าได้
พอ 20 ปีคล้อยหลัง คือในปี 2005 ก็มีเวอร์ชั่นลูกตามมาคือ Obession Night ซึ่งมีทั้งเวอร์ชั้นสตรี และบุรุษ
Obsession for men ได้รับรางวัล FIFI จากมูลนิธิสุคนธภัณฑ์ (Fragrance Foundation) ประจำนครนิวยอร์ค ในปี 1987
โครงสร้างของกลิ่น เปิดด้วย ส้มแทนเจอรีน (tangerine) ผลเกรปฟรุต (grapefruit) มะนาว (lime) และมะกรูด (bergamot) ผสานด้วยกลิ่นคมๆ จาก ลาเวนเดอร์ และเมล็ดนัต ตามด้วย เมล็ดผักชี และอบเชยอุ่นอวล
กลมกลืนไปกับกลิ่นกลาง ได้จาก ดอกไม้ เช่น คาร์เนชั่น มะลิ ดอกเสจ และ ผลไม้อย่าง ผลเบอร์รีแดง รวมทั้งเปลือกไม้ และเครื่องเทศ ได้แก่ มดยอบ (Myrrh) ไม้กุหลาบ (rosewood) จากบราซิล และเปลือกสน
ปิดท้ายด้วย พิมเสนเทศ (patchouli) ไม้แซนดัล (sandalwood) หญ้าแฝกเทศ (vetiver) เบ็นโซอีน (benzoin) วานิลลา และ แอมเบอร์
กลิ่นละมุนลไมจากผลเบอรรี่แดง เน้นความเด่นชัดในเชิงโครงสร้าง โดยเสริมด้วยความเย้ายวน และเติมเต็มบุคคลิก ให้กับสุคนธภัณฑ์กลิ่นนี้
เหตุผลในการเลือกซื้อ กดซื้อแบบ ไม่เคยทดลองกลิ่นมาก่อน (แน่ใจว่าไม่เคย แม้ว่าจะผ่านเชลฟ์ของ เซฟอร่า หรือ มาริโอโนต์ มาร้อยๆๆๆๆร้านแล้วก็ตาม สงสัยขวดมันดูเชยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆฝุดๆ กระมัง)
แต่กดซื้อด้วยความแน่ใจ จากจำนวนรีวิว 205 เสียง คึดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59 จากจำนวนโหวดทั้งหมด
และมีแนวโน้ม ที่จะหลงไหลกลิ่นในยุค 80 เป็นพิเศษ (เช่นเดียวกับแนวเพลง ที่โปรดปราน โปรดกรุณาอย่าเดาอายุ ขอสงวน!!!!!! คริคริ)
ความรู้สึกส่วนตัว ยามฉีดข้อแขนครั้งแรก สัมผัสได้แห่งความเป็นบุรพาทิศ (oriental notes or tones) ได้อย่างชัดเจน รู้สึกได้ถึงการผสมผสานที่ลงตัวชนิดดีเลิศประเสริฐล้ำ แบบไม่มีกลิ่นใด เด่นเปรี้ยงแหลมออกมาเรยส์ คือแนวกลิ่นส้ม-มะนาวในท็อปโน๊ตนั้น ขอสารภาพจากจมูกตนเองว่า ไม่ค่อยได้กลิ่น แต่จะสัมผัสได้ซึ่ง พิมเสนเทศ (คิดว่าจมูกตนเองไว กับป้าชุลี เป็นอย่างยิ่ง) และรู้สึกถึงกลิ่นผลไม้แนวแปลกแตกถี่น (exotic fruit) อย่างเรดเบอรรี่ประดามี ผสมกับกลิ่นลาเว็นเดอร์อ่อนๆ ไม่แหลมคมชัดเหมือน Un homme de caron ที่ใช้อยู่บ่อย
หากจะเปรียบเทียบกับซอสครีม ที่มีเนื้อละเอียดละมุน เนียน จนแทบจะแยกส่วนผสมต่างๆออกจากกันยาก กลิ่นออกแนวหอมมัน ออกเข้มข้น แต่ไม่จัดจ้าน ชวนลิ้มลอง
ใครเหมาะที่จะใช้ คงต้องเป็นวัยทำงานไปแล้วสัก 2-3 หรือ 25 อัพ น่าจะเหมาะ จนไปถึง 70-80 ก็ไม่ว่ากัน ขอการันตีว่าไม่แก่ ไม่ใช่แนว old school แม้ว่าจะเกิดมาในยุคนั้น จะชาย หรือหญิง ก็ใช้ได้ทั้งสิ้น ไม่แมนมั่น หรือสาวจ๋า จนเกินไป
เอ แต่บนหิ้งเมืองไทย ไม่แน่ใจว่าจะมีขายอะปะนะ เพราะเวลาไปงานเซล ไม่เคยมีโผล่หน้ามาให้เห็นกันเลย
ถือเป็น subtle blend ตัวหนึ่งที่สมควรได้รับรางวัล โดยมิต้องสงสัย
Scent of the Day : Obsession for Men
CK Obession, Jean Paul Gaultier Kocorico, Lacost pour homme
ลองทายดูจิ ว่า ตัวไหน หรือลูกรักสุดสวาทขาดใจ
อย่าเสียเวลากันเรยส์ เฉลยก็แล้วกัน
ตัวแรกเรยส์ Calvin Klein Obsession
ขอรีวิวเป็นสองส่วนเรยส์นะฮัฟ ส่วนแรก เป็นข้อมูลทั่วไปที่ได้จาก Fragantica เป็นหลัก ส่วนที่สอง จะเป็นความรู้สึกส่วนตัว ในเหตุผลในการตัดสินใจสั่งซื้อทั้งๆ ที่ไม่เคยดมกลิ่นมาก่อน
CK Obsession for men เป็นน้ำหอมแนวกลุ่ม Woody, spicy, aromatic ตามส่วนผสมที่ได้จากเปลือกไม้ เครื่องเทศ เป็นหลัก
ผู้รังสรรค์สุคนธภัณฑ์กลิ่นนี้คือ Bob Slattery โดยมี Pierre Dinand เป็นผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกตลาดครั้งแรกในช่วงกลางทศวรรษที่ 80 (1986)
โดยออกตามหลัง Obsession for woman ได้ 1 ปี
Obsession for men นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในบรรดาสุคนธภัณฑ์ท็อปฮิตติดอันดับตัวหนึ่งในยุคทศวรรษ 80 ก็ว่าได้
พอ 20 ปีคล้อยหลัง คือในปี 2005 ก็มีเวอร์ชั่นลูกตามมาคือ Obession Night ซึ่งมีทั้งเวอร์ชั้นสตรี และบุรุษ
Obsession for men ได้รับรางวัล FIFI จากมูลนิธิสุคนธภัณฑ์ (Fragrance Foundation) ประจำนครนิวยอร์ค ในปี 1987
โครงสร้างของกลิ่น เปิดด้วย ส้มแทนเจอรีน (tangerine) ผลเกรปฟรุต (grapefruit) มะนาว (lime) และมะกรูด (bergamot) ผสานด้วยกลิ่นคมๆ จาก ลาเวนเดอร์ และเมล็ดนัต ตามด้วย เมล็ดผักชี และอบเชยอุ่นอวล
กลมกลืนไปกับกลิ่นกลาง ได้จาก ดอกไม้ เช่น คาร์เนชั่น มะลิ ดอกเสจ และ ผลไม้อย่าง ผลเบอร์รีแดง รวมทั้งเปลือกไม้ และเครื่องเทศ ได้แก่ มดยอบ (Myrrh) ไม้กุหลาบ (rosewood) จากบราซิล และเปลือกสน
ปิดท้ายด้วย พิมเสนเทศ (patchouli) ไม้แซนดัล (sandalwood) หญ้าแฝกเทศ (vetiver) เบ็นโซอีน (benzoin) วานิลลา และ แอมเบอร์
กลิ่นละมุนลไมจากผลเบอรรี่แดง เน้นความเด่นชัดในเชิงโครงสร้าง โดยเสริมด้วยความเย้ายวน และเติมเต็มบุคคลิก ให้กับสุคนธภัณฑ์กลิ่นนี้
เหตุผลในการเลือกซื้อ กดซื้อแบบ ไม่เคยทดลองกลิ่นมาก่อน (แน่ใจว่าไม่เคย แม้ว่าจะผ่านเชลฟ์ของ เซฟอร่า หรือ มาริโอโนต์ มาร้อยๆๆๆๆร้านแล้วก็ตาม สงสัยขวดมันดูเชยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆฝุดๆ กระมัง)
แต่กดซื้อด้วยความแน่ใจ จากจำนวนรีวิว 205 เสียง คึดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59 จากจำนวนโหวดทั้งหมด
และมีแนวโน้ม ที่จะหลงไหลกลิ่นในยุค 80 เป็นพิเศษ (เช่นเดียวกับแนวเพลง ที่โปรดปราน โปรดกรุณาอย่าเดาอายุ ขอสงวน!!!!!! คริคริ)
ความรู้สึกส่วนตัว ยามฉีดข้อแขนครั้งแรก สัมผัสได้แห่งความเป็นบุรพาทิศ (oriental notes or tones) ได้อย่างชัดเจน รู้สึกได้ถึงการผสมผสานที่ลงตัวชนิดดีเลิศประเสริฐล้ำ แบบไม่มีกลิ่นใด เด่นเปรี้ยงแหลมออกมาเรยส์ คือแนวกลิ่นส้ม-มะนาวในท็อปโน๊ตนั้น ขอสารภาพจากจมูกตนเองว่า ไม่ค่อยได้กลิ่น แต่จะสัมผัสได้ซึ่ง พิมเสนเทศ (คิดว่าจมูกตนเองไว กับป้าชุลี เป็นอย่างยิ่ง) และรู้สึกถึงกลิ่นผลไม้แนวแปลกแตกถี่น (exotic fruit) อย่างเรดเบอรรี่ประดามี ผสมกับกลิ่นลาเว็นเดอร์อ่อนๆ ไม่แหลมคมชัดเหมือน Un homme de caron ที่ใช้อยู่บ่อย
หากจะเปรียบเทียบกับซอสครีม ที่มีเนื้อละเอียดละมุน เนียน จนแทบจะแยกส่วนผสมต่างๆออกจากกันยาก กลิ่นออกแนวหอมมัน ออกเข้มข้น แต่ไม่จัดจ้าน ชวนลิ้มลอง
ใครเหมาะที่จะใช้ คงต้องเป็นวัยทำงานไปแล้วสัก 2-3 หรือ 25 อัพ น่าจะเหมาะ จนไปถึง 70-80 ก็ไม่ว่ากัน ขอการันตีว่าไม่แก่ ไม่ใช่แนว old school แม้ว่าจะเกิดมาในยุคนั้น จะชาย หรือหญิง ก็ใช้ได้ทั้งสิ้น ไม่แมนมั่น หรือสาวจ๋า จนเกินไป
เอ แต่บนหิ้งเมืองไทย ไม่แน่ใจว่าจะมีขายอะปะนะ เพราะเวลาไปงานเซล ไม่เคยมีโผล่หน้ามาให้เห็นกันเลย
ถือเป็น subtle blend ตัวหนึ่งที่สมควรได้รับรางวัล โดยมิต้องสงสัย