ขอ tag รวม เพราะแนวทางหรือทฤษฎีต่างๆ มาจากหลากหลายชนิดกีฬา
เนื่องจากกีฬาแต่ละประเภทไม่ว่าจะเป็นในนามสโมสรหรือในนามตัวแทนประเทศ ต่างก็มีการพูดถึง Friendly Match กันทั้งนั้น
โดยผมขอพยายามสรุปสั้นๆ ให้อ่านกัน หากผิดพลาดขออภัย
อะไรคือสิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือก "คู่แข่ง" สำหรับ Friendly Match
สำหรับการเลือกคู่แข่งขันนั้นต้องมองถึงวัตถุประสงค์และปัจจัยแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกประกอบ
โดยเราจะต้องมองในหลายๆ มิติ ไม่ใช่มองเพียงด้านเดียวแล้วตัดสินใจ ซึ่งอาจทำให้ขาดประสิทธิภาพของการจัดงานแข่งได้
และเราต้องมองถึง "ข้อจำกัด" พื้นฐานที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาสำหรับการวางแผนโครงการใดๆ ก็ตาม โดยขอแบ่งเป็นข้อดังต่อไปนี้
1.
ขอบเขต
เราต้องกำหนดขอบเขตของการแข่ง Friendly Match ในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะระยะสั้นและระยะยาว
โดยการตั้ง "วัตถุประสงค์ของการแข่ง" ขึ้นมา ว่าการแข่งขันครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่ออะไร เช่น
เพื่อฝึกซ้อม, เพื่อคัดเลือกผู้เล่น, เพื่อทดสอบแผนการ, เพื่อสำรวจคู่แข่ง, เพื่อสร้างความสัมพันธ์, เพื่อธุรกิจ,
เพื่อแก้ปัญหาของประเทศ หรือ อื่นๆ
*ข้อสำคัญคือ คู่แข่งขัน อาจจะไม่ได้มี "วัตถุประสงค์ของการแข่ง" เหมือนเราก็ได้
เพราะการที่คู่แข่งขันทำการเข้าร่วมด้วยนั้นอาจมีวัตถุประสงค์อื่นที่แตกต่างกันไป
ดังนั้น ทั้ง 2 ฝ่าย อาจมี "สิ่งที่คาดหวัง" และ "สิ่งที่ได้หลังจากการแข่งขัน" ที่อาจจะไม่ได้เป็นไปตามต้องการ
2.
วันและเวลา
วันและเวลาของการแข่งขัน Friendly Match ต้องถูกกำหนดและเตรียมการมาเป็นอย่างดี
ไม่ให้กระทบต่อกำหนดการอื่นๆ หรือกระทบให้น้อยที่สุด เพราะสิ่งนี้อยู่ภายใต้ "ปฏิทิน" เดียวกัน
ยกตัวอย่างเช่น ภายใน 7 วัน มีการแข่งขันที่มีการกำหนดวันและเวลาแบบประจำสัปดาห์ไว้แล้วกี่วัน
และมีการแข่งขันอื่นๆ สอดแทรกเข้ามากี่วัน หากต้องมีการเลื่อนการแข่งขันใดๆ ก็ตาม
จะส่งผลต่อตารางการแข่งขันของ 7 วันต่อไปหรือไม่และมีผลกระทบมากน้อยเพียงใด เช่น
หากต้องเลื่อนการแข่งขันประจำสัปดาห์ออกไป 10 วัน เป็นจำนวน 3 ครั้ง
เท่ากับว่าตารางการแข่งขันเดิมจะถูกขยายออกไปเป็น 30 วัน หรือ 1 เดือน
หมายความว่าตารางแข่งขันเดิมที่ต้องเสร็จสิ้นภายใน 10-11 เดือน จะกลายเป็น 12 เดือน
และถ้าหากมีการเลื่อนการแข่งขันอีก จะเป็นการกระทบต่อตารางการแข่งขันในปีถัดไป
ทั้งนี้ อย่าลืมวันหยุดหรือเทศกาล หรือความเสี่ยงที่อาจไม่สามารถแข่งขันในวันที่กำหนดไว้ได้
เช่น เกิดภัยธรรมชาติ, ปัญหาการเมือง, ปัญหาสงคราม และอื่นๆ จนส่งผลต่อตารางเวลาที่มีอยู่เดิมก่อนแล้ว
*ข้อสำคัญ คือ ต้องพิจารณาถึงกำหนดการของการแข่งขันของคู่แข่งด้วย
3.
ต้นทุน
การประเมินต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการแข่งขันนั้นเป็นสิ่งสำคัญโดยจะผันแปรตาม "ขอบเขต" และ "ระยะเวลา"
ซึ่งหาก "ต้นทุนไม่เพียงพอ" อาจต้องทำการลด "ขอบเขต" และ "ระยะเวลา" หรืออาจต้องยกเลิกการแข่งขันไป
สำหรับในส่วนนี้อาจมีเรื่องของ Partner หรือ Sponsorship เข้ามาเกี่ยวข้องได้ ไม่ว่าจะเป็นของทางผู้จัดการแข่งขัน
และทางผู้เข้าร่วมแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น
- ประเทศญี่ปุ่น (2016) รายการ Kirin Cup ที่มี บอสเนีย เฮอร์เซโกวินา ,เดนมาร์ก ,บัลแกเรีย เข้าร่วม
โดยมี Kirin Beverage Company เป็นผู้สนับสนุน
-ประเทศอย่าง Brazil, Spain หรือ England ที่มี Brand สินค้าระดับโลกเป็นผู้สนับสนุน
หากต้องไปแข่งขันกับประเทศใดๆ ก็ตาม ก็จะมีการคิดถึงเรื่อง "จำนวนผู้เข้าชมการแข่งขัน" ด้วย
เพื่อเป็นการ Promote หรือทำ Marketing ตัวสินค้า รวมถึงความคาดหวังของรายได้จากการขายบัตรเข้าชม
จะเห็นได้ว่านอกจากมุมมองของ "กีฬา" จำเป็นต้องมีมุมมองของ "รายได้/สร้างมูลค่าเพิ่ม" เข้ามาเสริมด้วย
(รายได้จะถูกนำไปสนับสนุนกีฬาต่อไป การสร้างมูลค่าทางการตลาดก็เป็นส่วนเสริมในแง่ธุรกิจ)
ซึ่งถ้าหากมี Partner หรือ Sponsorship ที่เข้มแข็งเท่าไร โอกาสที่จะได้คู่แข่งขันที่มีคุณภาพก็มากขึ้นเช่นกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ในส่วนนี้จะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้รับคัดเลือกให้เป็น "เจ้าภาพ" บ่อยครั้งด้วยเหตุผลที่ว่า
มาตรฐานของสถานที่จัดงาน และ จำนวนผู้เข้าชม ได้ถูกนำไปพิจารณาด้วย
*ข้อสำคัญ คือ การเข้ามามีส่วนร่วมของ Partner หรือ Sponsorship และ ผู้เข้าชม ที่ช่วยส่งเสริมภาคธุรกิจได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้*งานวิจัยเสริม มีการวิจัยเกี่ยวกับสมองด้วยเครื่อง Functional magnetic resonance imaging (fMRI)
ผลการทดสอบคือ มนุษย์เมื่อได้เห็น "นักกีฬาที่มีชื่อเสียง" จะไปกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวในสมอง.....
ความรู้สึกพึงพอใจกับชัยชนะของการแข่งขันในสนามมีความคล้ายกับความรู้สึกพอใจเมื่อได้ฟังเทศน์หรือบทสวดในวัด/โบสถ์
นั่นหมายความว่า "ผลงาน/ผลการแข่ง" สามารถส่งผลถึงจำนวนผู้เข้าชมได้
และในขณะเดียวกันสิ่งที่ช่วยส่งเสริมนักกีฬาก็คือ ครอบครัว เพื่อน และ คนในสังคม ที่จะช่วยให้นักกีฬาทำผลงานได้ดี
4.
คุณภาพและลักษณะของคู่แข่ง
ในส่วนนี้เป็นการค้นหาคู่แข่งขันที่จะติดต่อไปเพื่อขอแข่งขัน โดยคู่แข่งขันในรายการ Friendly Match นั้น
ต้องมีลักษณะคล้ายกับคู่แข่งขันในรายการหลัก ยกตัวอย่างเช่น หากต้องไปแข่งขันใน "ระดับโลก"
แล้วอยู่กลุ่มเดียวกับ Russia ก็ควรจะหาตารางเวลาสำหรับ Friendly Match
ในการเชิญประเทศในแถบ Eastern European มาเข้าร่วมในการแข่งหรือการออกไปแข่งกับประเทศที่อยู่ในแถบนั้น
*ข้อสำคัญ คือ คุณภาพและลักษณะของคู่แข่งที่จะหาได้ ขึ้นอยู่กับ ขอบเขต/วันและเวลา/ต้นทุน ที่กล่าวไปข้างต้นด้วย
สรุป
การจัดการแข่งขัน Friendly Match นั้น ต้องพิจารณาถึงหลายมุมมอง เช่น
นักกีฬา, โค้ช, ทีม, สมาคมและผู้เกี่ยวข้อง, ภาคประชาชน, ภาคธุรกิจ
เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถมีส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์อย่างทั่วถึง จึงเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
และต้องพยายามรักษาสมดุลของ "ข้อจำกัด" ต่างๆ ให้ดี เพื่อให้การจัดการแข่งขันเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
- เป้าหมายที่ต้องการไปถึงคืออะไร ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ?
- ตอนนี้สมาคมหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมีงบประมาณเท่าไร/รายได้ที่คาดหวัง ?
- มีผู้สนับสนุนกี่ราย สนับสนุนอะไร ด้านไหนบ้าง/สิ่งที่คาดหวังจากการสนับสนุน ?
- ตารางเวลาการแข่งขันแต่ละปีเป็นอย่างไร ?
- ประเทศไทยตอนนี้เป็นที่สนใจแค่ไหน ?
- ประชาชนให้ความสำคัญมากน้อยเพียงใด ?
ข้อมูลเสริมบางส่วน
http://www.bbc.com/sport/football/35888014,
http://www.espnfc.com/team/mexico/203/blog/post/1902304/recent-mexico-friendly-will-prove-valuable-vs-croatia,
https://www.quora.com/How-does-a-national-team-manager-plan-a-friendly-match, Buyology: Truth and Lies About Why We Buy (by Martin Lindstrom),
http://www.easm.net/download/2014/60-Accept-oral-presentation-LaFountaine-INVESTIGATING-SOCIAL-SUPPORT-AND-PROFESSION-VOLLEY.pdf
การแข่ง Friendly Match จะแข่งกับใครและทำอย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
เนื่องจากกีฬาแต่ละประเภทไม่ว่าจะเป็นในนามสโมสรหรือในนามตัวแทนประเทศ ต่างก็มีการพูดถึง Friendly Match กันทั้งนั้น
โดยผมขอพยายามสรุปสั้นๆ ให้อ่านกัน หากผิดพลาดขออภัย
อะไรคือสิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือก "คู่แข่ง" สำหรับ Friendly Match
สำหรับการเลือกคู่แข่งขันนั้นต้องมองถึงวัตถุประสงค์และปัจจัยแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกประกอบ
โดยเราจะต้องมองในหลายๆ มิติ ไม่ใช่มองเพียงด้านเดียวแล้วตัดสินใจ ซึ่งอาจทำให้ขาดประสิทธิภาพของการจัดงานแข่งได้
และเราต้องมองถึง "ข้อจำกัด" พื้นฐานที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาสำหรับการวางแผนโครงการใดๆ ก็ตาม โดยขอแบ่งเป็นข้อดังต่อไปนี้
1. ขอบเขต
เราต้องกำหนดขอบเขตของการแข่ง Friendly Match ในแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะระยะสั้นและระยะยาว
โดยการตั้ง "วัตถุประสงค์ของการแข่ง" ขึ้นมา ว่าการแข่งขันครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่ออะไร เช่น
เพื่อฝึกซ้อม, เพื่อคัดเลือกผู้เล่น, เพื่อทดสอบแผนการ, เพื่อสำรวจคู่แข่ง, เพื่อสร้างความสัมพันธ์, เพื่อธุรกิจ,
เพื่อแก้ปัญหาของประเทศ หรือ อื่นๆ
*ข้อสำคัญคือ คู่แข่งขัน อาจจะไม่ได้มี "วัตถุประสงค์ของการแข่ง" เหมือนเราก็ได้
เพราะการที่คู่แข่งขันทำการเข้าร่วมด้วยนั้นอาจมีวัตถุประสงค์อื่นที่แตกต่างกันไป
ดังนั้น ทั้ง 2 ฝ่าย อาจมี "สิ่งที่คาดหวัง" และ "สิ่งที่ได้หลังจากการแข่งขัน" ที่อาจจะไม่ได้เป็นไปตามต้องการ
2. วันและเวลา
วันและเวลาของการแข่งขัน Friendly Match ต้องถูกกำหนดและเตรียมการมาเป็นอย่างดี
ไม่ให้กระทบต่อกำหนดการอื่นๆ หรือกระทบให้น้อยที่สุด เพราะสิ่งนี้อยู่ภายใต้ "ปฏิทิน" เดียวกัน
ยกตัวอย่างเช่น ภายใน 7 วัน มีการแข่งขันที่มีการกำหนดวันและเวลาแบบประจำสัปดาห์ไว้แล้วกี่วัน
และมีการแข่งขันอื่นๆ สอดแทรกเข้ามากี่วัน หากต้องมีการเลื่อนการแข่งขันใดๆ ก็ตาม
จะส่งผลต่อตารางการแข่งขันของ 7 วันต่อไปหรือไม่และมีผลกระทบมากน้อยเพียงใด เช่น
หากต้องเลื่อนการแข่งขันประจำสัปดาห์ออกไป 10 วัน เป็นจำนวน 3 ครั้ง
เท่ากับว่าตารางการแข่งขันเดิมจะถูกขยายออกไปเป็น 30 วัน หรือ 1 เดือน
หมายความว่าตารางแข่งขันเดิมที่ต้องเสร็จสิ้นภายใน 10-11 เดือน จะกลายเป็น 12 เดือน
และถ้าหากมีการเลื่อนการแข่งขันอีก จะเป็นการกระทบต่อตารางการแข่งขันในปีถัดไป
ทั้งนี้ อย่าลืมวันหยุดหรือเทศกาล หรือความเสี่ยงที่อาจไม่สามารถแข่งขันในวันที่กำหนดไว้ได้
เช่น เกิดภัยธรรมชาติ, ปัญหาการเมือง, ปัญหาสงคราม และอื่นๆ จนส่งผลต่อตารางเวลาที่มีอยู่เดิมก่อนแล้ว
*ข้อสำคัญ คือ ต้องพิจารณาถึงกำหนดการของการแข่งขันของคู่แข่งด้วย
3. ต้นทุน
การประเมินต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการแข่งขันนั้นเป็นสิ่งสำคัญโดยจะผันแปรตาม "ขอบเขต" และ "ระยะเวลา"
ซึ่งหาก "ต้นทุนไม่เพียงพอ" อาจต้องทำการลด "ขอบเขต" และ "ระยะเวลา" หรืออาจต้องยกเลิกการแข่งขันไป
สำหรับในส่วนนี้อาจมีเรื่องของ Partner หรือ Sponsorship เข้ามาเกี่ยวข้องได้ ไม่ว่าจะเป็นของทางผู้จัดการแข่งขัน
และทางผู้เข้าร่วมแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น
- ประเทศญี่ปุ่น (2016) รายการ Kirin Cup ที่มี บอสเนีย เฮอร์เซโกวินา ,เดนมาร์ก ,บัลแกเรีย เข้าร่วม
โดยมี Kirin Beverage Company เป็นผู้สนับสนุน
-ประเทศอย่าง Brazil, Spain หรือ England ที่มี Brand สินค้าระดับโลกเป็นผู้สนับสนุน
หากต้องไปแข่งขันกับประเทศใดๆ ก็ตาม ก็จะมีการคิดถึงเรื่อง "จำนวนผู้เข้าชมการแข่งขัน" ด้วย
เพื่อเป็นการ Promote หรือทำ Marketing ตัวสินค้า รวมถึงความคาดหวังของรายได้จากการขายบัตรเข้าชม
จะเห็นได้ว่านอกจากมุมมองของ "กีฬา" จำเป็นต้องมีมุมมองของ "รายได้/สร้างมูลค่าเพิ่ม" เข้ามาเสริมด้วย
(รายได้จะถูกนำไปสนับสนุนกีฬาต่อไป การสร้างมูลค่าทางการตลาดก็เป็นส่วนเสริมในแง่ธุรกิจ)
ซึ่งถ้าหากมี Partner หรือ Sponsorship ที่เข้มแข็งเท่าไร โอกาสที่จะได้คู่แข่งขันที่มีคุณภาพก็มากขึ้นเช่นกัน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
*ข้อสำคัญ คือ การเข้ามามีส่วนร่วมของ Partner หรือ Sponsorship และ ผู้เข้าชม ที่ช่วยส่งเสริมภาคธุรกิจได้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4. คุณภาพและลักษณะของคู่แข่ง
ในส่วนนี้เป็นการค้นหาคู่แข่งขันที่จะติดต่อไปเพื่อขอแข่งขัน โดยคู่แข่งขันในรายการ Friendly Match นั้น
ต้องมีลักษณะคล้ายกับคู่แข่งขันในรายการหลัก ยกตัวอย่างเช่น หากต้องไปแข่งขันใน "ระดับโลก"
แล้วอยู่กลุ่มเดียวกับ Russia ก็ควรจะหาตารางเวลาสำหรับ Friendly Match
ในการเชิญประเทศในแถบ Eastern European มาเข้าร่วมในการแข่งหรือการออกไปแข่งกับประเทศที่อยู่ในแถบนั้น
*ข้อสำคัญ คือ คุณภาพและลักษณะของคู่แข่งที่จะหาได้ ขึ้นอยู่กับ ขอบเขต/วันและเวลา/ต้นทุน ที่กล่าวไปข้างต้นด้วย
สรุป
การจัดการแข่งขัน Friendly Match นั้น ต้องพิจารณาถึงหลายมุมมอง เช่น
นักกีฬา, โค้ช, ทีม, สมาคมและผู้เกี่ยวข้อง, ภาคประชาชน, ภาคธุรกิจ
เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถมีส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์อย่างทั่วถึง จึงเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
และต้องพยายามรักษาสมดุลของ "ข้อจำกัด" ต่างๆ ให้ดี เพื่อให้การจัดการแข่งขันเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ข้อมูลเสริมบางส่วน
http://www.bbc.com/sport/football/35888014, http://www.espnfc.com/team/mexico/203/blog/post/1902304/recent-mexico-friendly-will-prove-valuable-vs-croatia, https://www.quora.com/How-does-a-national-team-manager-plan-a-friendly-match, Buyology: Truth and Lies About Why We Buy (by Martin Lindstrom), http://www.easm.net/download/2014/60-Accept-oral-presentation-LaFountaine-INVESTIGATING-SOCIAL-SUPPORT-AND-PROFESSION-VOLLEY.pdf