นับเป็นเรื่องราวดีๆที่ในยุคนี้คอหนังบ้านเรามีการเข้าถึงเวบไซร์รีวิวของต่างประเทศกันเป็นจำนวนมากเพื่อเข้าไปหาข้อมูลกันมากขึ้น หนึ่งในเวบที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆก็คือ
"มะเขือเน่า" หรือ
Rotten Tomatoes นั่นเองครับที่มักถูกหยิบยกมาพูดถึงทุกครั้งเมื่อหนังบล๊อคบัสเตอร์ดังๆได้รับมะเขือลูกเละๆเขียวๆไปครอง
แต่กระนั้นเองสิ่งหนึ่งที่ผมมักได้ยินบ่อยๆเวลามีการพูดถึงเวบแห่งนี้คือมักจะออกมาในแง่ที่ว่า
"หนังเรื่องนี้ได้คะแนน xx %" หรือ
"ทำไมหนังเรื่องนี้ได้ % คะแนนน้อยจัง มันควรจะได้มากกว่านี้" ซึ่งเท่าที่สัมผัสมานั้นหลายคนจะยังคิดว่าตัวเลข % มันคือคะแนนที่ทางเวบเป็นผู้ให้ก็ดี หรือเป็นคะแนนจากนักวิจารณ์ก็ดี แม้มันจะพอพูดได้ว่าไม่ผิดมากนัก แต่ก็นับว่าห่างไกลจากความหมายจริงๆของมันพอสมควรทีเดียว
อันที่จริงแล้วที่มาของคำวิจารณ์และคะแนนต่างๆในเวบ Rotten Tomatoes นั้น มันจะถูกรวบรวมมาจากบทความรีวิวหนังแต่ละเรื่องจากหลากหลายแหล่งซึ่งเป็นการ
"คัดเลือกอย่างน่าเชื่อถือ" จากทางทีมงานของเวบไซท์เองทั้งสิ้น โดยที่บทวิจารณ์
"เชิงบวก" จะถูกมองว่ามัน
"Fresh" และบทวิจารณ์
"เชิงลบ" ก็จะถูกมองว่ามัน
"Rotten" (แน่นอนว่าทั้งหมดเกิดจากการอ่านและพิจารณาคัดเลือกของทางทีมงาน)
จากนั้นคำวิจารณ์ที่ได้
"Fresh" ก็จะถูกนำมาเทียบสัดส่วนกับบทวิจารณ์ทั้งหมดที่เก็บรวบรวมมาแล้วคำนวนออกมาเป็น % ว่ามีนักวิจารณ์ที่บอกว่าหนังเรื่องนี้ดีเป็นจำนวนกี่ % และจากนั้นผล % ที่ออกมาก็จะถูกนำไปแปะป้ายเรียกแขกตามเกณฑ์ดังนี้
0 - 59% = Rotten
60 - 74% = Fresh
*ต้องมีอย่างน้อย 40 บทวิจารณ์ และต้องมี Top Critics 5 คนขึ้นไป*
75 - 100% = Certified Fresh
*ต้องมีอย่างน้อย 40 บทวิจารณ์ และต้องมี Top Critics 5 คนขึ้นไป*
ดังนั้นหากจะพูดกันให้ถูกต้องแล้วในส่วนของ % นี้มันแค่แสดงถึง
"สัดส่วนของบทวิจารณ์เชิงบวก" เท่านั้นมิใช่คะแนนจริงๆของหนังแต่อย่างใด ซึ่งหากเราสนใจจะดูคะแนนจริงๆในเวบมันก็มีให้เราเช่นกันในส่วนของ
Avg. Rating ที่อยู่ใต้ % นั่นเองครับซึ่งตรงนี้ก็เป็นทางเวบเช่นกันที่จะทำการนำเอาคะแนนที่นักวิจารณ์แต่ละคนให้มาแปลงให้เป็น Scale 10 เพื่อทำเป็นคะแนนอย่างที่เราเห็นกัน
ดังนั้นแล้วการที่
หนังบางเรื่องที่ได้ 10% ก็ไม่ได้หมายความว่ามันได้คะแนน 10/100 แต่อย่างใด หรือถ้า
เรื่องไหนได้ 100% เต็มก็ไม่ได้แปลว่ามันยอดเยี่ยมสุดๆไปเลย เนื่องจากเราต้องมาดูกันที่ Avg. Rating ต่อว่ามันเท่าไหร่แน่ ซึ่งเราอาจจะเห็นหนังบางเรื่องได้ % เยอะๆ แต่คะแนนเฉลี่ยกลับอยู่แค่กลางๆเท่านั้นก็มีอยู่มากครับ
ที่นี้เราอาจจะสงสัยว่าอ้าวแล้วไอ้บทวิจารณ์ที่คัดเลือกมาน่ะมันน่าเชื่อถือแค่ไหนกันเชียว จะมีมั่วนิ่มหรือเปล่า?
ในส่วนนี้ทางเวบเค้าจะมีหลักเกณฑ์ที่ค่อนข้างเข้มงวดในการคัดบทวิจารณ์ใดๆมาลง ซึ่งจริงๆแล้วมันจะค่อนข้างละเอียดมากแต่โดยคร่าวแล้วมันจะมีหลักอยู่ว่าต้องเป็นบทความที่มีการเผยแพร่ใน Top 100 สื่อชั้นนำแต่ละประเภท (หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์, นิตยสาร, สื่อโทรทัศน์, ออนไลน์) ที่ได้รับการรับรองโดย
สำนักงานสถิติยอดจำหน่ายสิ่งพิมพ์ (Audit Bureau of Circulations)
อีกทั้งผู้เขียนบทความนั้นๆยังต้องเป็นพนักงานที่ทำงานให้กับบริษัทสื่อต่างๆที่ได้รับการรับรองข้างต้นมาไม่น้อยกว่าสองปี และหากเป็นสื่อออนไลน์จะต้องมีการเขียนบทความมาแล้วไม่ต่ำกว่า 100 เรื่องอีกด้วย (นอกจากนั้นยังมีส่วนของ Top Critics ที่จะหมายถึงนักวิจารณ์ซึ่งทำงานให้กับสื่อที่อยู่ในระดับ 10% บนสุดตามข้อมูลของ Audit Bureau of Circulations และทำงานวิจารณ์มาไม่ต่ำกว่า 5 ปีอีกด้วย)
ด้วยความเข้มงวดขนาดนี้จึงทำให้มาตรฐานของเวบมะเขือเน่าที่ออกมานั้นค่อนข้างจะมีความเป็นธรรมในระดับหนึ่ง และนอกจากนั้นเวบเองก็ยังมีส่วนให้ผู้ชมทั่วไปเข้าไปให้คะแนนได้เช่นกัน โดยผู้ที่ให้ตั้งแต่
3.5 ขึ้นไปจะถูกตีค่าว่ามัน
"Fresh" และนำผลออกมารวมในระบบ % เช่นเดียวกันในรูปของถังป๊อปคอร์น ซึ่งถ้ามันต่ำกว่า 60% ก็จะได้รับ "ป๊อปคอร์นคว่ำ" กันไปจ้า (และด้านล่างก็มี Avg. Rating ให้ดูเช่นกัน)
ไหนๆก็พูดถึงเวบจัดเรทหนังไปแล้วก็ขอยกอีกสองเวบยอดนิยมอย่าง
IMDb และ
Metacritic มาเล่าด้วยเลยแล้วกันครับ
เอาที่
Metacritic ก่อนครับ เวบนี้ก็จะมีหลักการคล้ายๆกับมะเขือเน่าตรงที่จะทำการรวบรวมบทวิจารณ์จากแหล่งต่างๆมาไว้ด้วยกันแล้วแปลงสเกลคะแนนต่างๆให้ออกมาเป็น Scale 100 เพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยรวม และก็มีการแยก User Scores ออกไปต่างหากด้วยเช่นกัน ซึ่งน่าเสียดายที่ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าเค้ามีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบทความที่นำมายังไงแต่เท่าที่ติดตามมาก็นับว่าเชื่อใจได้มากพอสมควรเหมือนกัน
และปิดท้ายกันที่เวบยอดนิยมอย่าง
IMDb (Internet Movie Database) ที่เราทราบกันดีว่ามันคือเวบมหาชนที่ใครก็เข้าไปใส่กันคะแนนกันได้จากนั้นจึงนำคะแนนมาเข้าสูตรของทางเวบเพื่อหาค่าเฉลี่ย ซึ่งแม้ว่าทางเวบเองจะมีวิธีการคำนวนที่ไม่ได้เพียงแค่จับเอาคะแนนมาบวกแล้วหารจำนวนทั้งหมดกันดื้อๆแต่ปัญหาที่ตามมาในยุคหลังๆอย่างเลี่ยงไม่พ้นก็คือ
การถล่มโหวต "10" โดยแฟนๆเดนตายให้กับหนังที่ชอบจนทำให้มาตรฐานของเวบในยุคหลังโดยเฉพาะกับหนังใหม่ๆดังๆที่มีกลุ่มแฟนเยอะๆนั้นมันวัดอะไรแทบไม่ค่อยได้เลย
เมื่อเป็นแบบนั้นถ้ามีหนังดังๆเข้าก็ทำใจกันไว้เลยครับว่าคะแนนช่วงแรกนั้นอย่าไปเชื่อถืออะไรมันมาก รอสักอาทิตย์นึงถึงเดือนนึงผ่านไปนั่นละฮะคะแนนถึงจะเริ่มนิ่งจริงๆ (เช่นคะแนน BvS จากวันแรกๆที่ร้อนแรงขนาด 9.x มาถึงตอนนี้ลดเหลือแค่ 7.4 เสียแล้ว) แต่อย่างไรก็ดีคะแนนหนังเก่าๆที่ต่ำกว่าปี 2010 ลงไปนั้นก็ยังถือว่าไว้ใจได้มากทีเดียว และจุดแข็งอีกอย่างของ IMDb ก็คือการที่มันมีฐานข้อมูลหนังที่ใหญ่มากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก จนเราสามารถจะหาข้อมูลหนังได้เกือบจะทุกสัญชาติ แม้แต่กับหนังบ้านเราเองก็ยังมีอยู่ใน IMDb ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดีครับแม้ว่าคะแนนจากแหล่งไหนมันจะมีหลักเกณฑ์น่าเชื่อถือมากเพียงใด แต่มันก็มิใช่สิ่งที่เราจะเชื่อมั่นได้ 100% เราสามารถใช้มันเป็นไกด์ได้เพื่อใช้ประเมินหนังที่อาจจะยังลังเลไม่แน่ใจว่าจะดูดีไหมแต่สุดท้ายเราจะคิดเหมือนกันกับบรรดานักวิจารณ์หรือไม่มันก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง
และอย่างไรก็ตามผมเชื่อว่าคุณค่าของงานวิจารณ์มันมิได้อยู่ที่คะแนนเพียงอย่างเดียว การมีคะแนนไว้เป็นเรื่องดีที่จะได้ไว้มองมาตรฐานโดยรวมของแหล่งวิจารณ์นั้นๆได้ชัดเจนขึ้น แต่คุณค่าที่แท้จริงของทุกงานเขียนมันจะอยู่ที่ตัวบทความมากกว่าครับว่าสามารถมอบแนวคิดอะไรให้เรามากน้อยแค่ไหน
แม้แต่บางบทวิจารณ์ที่ทัศนะออกมาไม่ตรงกับเราเองมันก็ยังมีคุณค่าได้หากพิจารณาอย่างเป็นธรรมว่าสิ่งเหล่านั้นมันจริงหรือไม่ บางครั้งมันอาจจะเปิดมุมมองใหม่ๆให้เราได้มากกว่าที่คิดก็ได้
แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องตระหนักให้ดีในยุคนี้ที่เราสามารถเข้าถึงทั้งการให้คะแนนและบทวิจารณ์ได้มากมายหลายแหล่งเพียงปลายนิ้วคลิก สิ่งที่เราต้องมีคือการเสพมันอย่างมีสติ พิจารณาถึงงานเขียนเหล่านั้นดีๆอย่าตัดสินใจเชื่ออะไรโดยง่าย ซึ่งส่วนตัวมองว่าเราจะไปพึ่งทางเวบต่างๆอย่างเดียวก็คงไม่ได้ละครับต้องเป็นหน้าที่ของตัวผู้ชมอย่างเราๆเองด้วยล่ะว่าจะเสพสารกันแค่ผิวเผินหรือจะมองดูข้อมูลอื่นๆกันให้ละเอียดควบคู่ไปด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.metacritic.com/about-metascores
http://www.rottentomatoes.com/help_desk/critics/
https://en.wikipedia.org/wiki/Rotten_Tomatoes
http://www.imdb.com/help/show_leaf?votestopfaq
-----------------------------------------------------------------------------
ท่านใดชอบใจถูกใจไว้ใจมีใจและอยากติดตามกันต่อไปยาวๆ ขอแนะนำเพจ
"โรงภาพยนตร์ที่ 3 ที่นั่ง E12"
ว่างๆเมื่อไหร่แวะเข้าไปเยี่ยมชมกันได้จ้า
https://www.facebook.com/SeatNoE12
ว่าด้วย " % " ในเวบ "มะเขือเน่า" สิ่งที่คนเข้าใจว่ามันคือคะแนนของหนัง
นับเป็นเรื่องราวดีๆที่ในยุคนี้คอหนังบ้านเรามีการเข้าถึงเวบไซร์รีวิวของต่างประเทศกันเป็นจำนวนมากเพื่อเข้าไปหาข้อมูลกันมากขึ้น หนึ่งในเวบที่เรามักได้ยินกันบ่อยๆก็คือ "มะเขือเน่า" หรือ Rotten Tomatoes นั่นเองครับที่มักถูกหยิบยกมาพูดถึงทุกครั้งเมื่อหนังบล๊อคบัสเตอร์ดังๆได้รับมะเขือลูกเละๆเขียวๆไปครอง
แต่กระนั้นเองสิ่งหนึ่งที่ผมมักได้ยินบ่อยๆเวลามีการพูดถึงเวบแห่งนี้คือมักจะออกมาในแง่ที่ว่า "หนังเรื่องนี้ได้คะแนน xx %" หรือ "ทำไมหนังเรื่องนี้ได้ % คะแนนน้อยจัง มันควรจะได้มากกว่านี้" ซึ่งเท่าที่สัมผัสมานั้นหลายคนจะยังคิดว่าตัวเลข % มันคือคะแนนที่ทางเวบเป็นผู้ให้ก็ดี หรือเป็นคะแนนจากนักวิจารณ์ก็ดี แม้มันจะพอพูดได้ว่าไม่ผิดมากนัก แต่ก็นับว่าห่างไกลจากความหมายจริงๆของมันพอสมควรทีเดียว
อันที่จริงแล้วที่มาของคำวิจารณ์และคะแนนต่างๆในเวบ Rotten Tomatoes นั้น มันจะถูกรวบรวมมาจากบทความรีวิวหนังแต่ละเรื่องจากหลากหลายแหล่งซึ่งเป็นการ "คัดเลือกอย่างน่าเชื่อถือ" จากทางทีมงานของเวบไซท์เองทั้งสิ้น โดยที่บทวิจารณ์ "เชิงบวก" จะถูกมองว่ามัน "Fresh" และบทวิจารณ์ "เชิงลบ" ก็จะถูกมองว่ามัน "Rotten" (แน่นอนว่าทั้งหมดเกิดจากการอ่านและพิจารณาคัดเลือกของทางทีมงาน)
จากนั้นคำวิจารณ์ที่ได้ "Fresh" ก็จะถูกนำมาเทียบสัดส่วนกับบทวิจารณ์ทั้งหมดที่เก็บรวบรวมมาแล้วคำนวนออกมาเป็น % ว่ามีนักวิจารณ์ที่บอกว่าหนังเรื่องนี้ดีเป็นจำนวนกี่ % และจากนั้นผล % ที่ออกมาก็จะถูกนำไปแปะป้ายเรียกแขกตามเกณฑ์ดังนี้
0 - 59% = Rotten
60 - 74% = Fresh
*ต้องมีอย่างน้อย 40 บทวิจารณ์ และต้องมี Top Critics 5 คนขึ้นไป*
75 - 100% = Certified Fresh
*ต้องมีอย่างน้อย 40 บทวิจารณ์ และต้องมี Top Critics 5 คนขึ้นไป*
ดังนั้นหากจะพูดกันให้ถูกต้องแล้วในส่วนของ % นี้มันแค่แสดงถึง "สัดส่วนของบทวิจารณ์เชิงบวก" เท่านั้นมิใช่คะแนนจริงๆของหนังแต่อย่างใด ซึ่งหากเราสนใจจะดูคะแนนจริงๆในเวบมันก็มีให้เราเช่นกันในส่วนของ Avg. Rating ที่อยู่ใต้ % นั่นเองครับซึ่งตรงนี้ก็เป็นทางเวบเช่นกันที่จะทำการนำเอาคะแนนที่นักวิจารณ์แต่ละคนให้มาแปลงให้เป็น Scale 10 เพื่อทำเป็นคะแนนอย่างที่เราเห็นกัน
ดังนั้นแล้วการที่หนังบางเรื่องที่ได้ 10% ก็ไม่ได้หมายความว่ามันได้คะแนน 10/100 แต่อย่างใด หรือถ้าเรื่องไหนได้ 100% เต็มก็ไม่ได้แปลว่ามันยอดเยี่ยมสุดๆไปเลย เนื่องจากเราต้องมาดูกันที่ Avg. Rating ต่อว่ามันเท่าไหร่แน่ ซึ่งเราอาจจะเห็นหนังบางเรื่องได้ % เยอะๆ แต่คะแนนเฉลี่ยกลับอยู่แค่กลางๆเท่านั้นก็มีอยู่มากครับ
ที่นี้เราอาจจะสงสัยว่าอ้าวแล้วไอ้บทวิจารณ์ที่คัดเลือกมาน่ะมันน่าเชื่อถือแค่ไหนกันเชียว จะมีมั่วนิ่มหรือเปล่า?
ในส่วนนี้ทางเวบเค้าจะมีหลักเกณฑ์ที่ค่อนข้างเข้มงวดในการคัดบทวิจารณ์ใดๆมาลง ซึ่งจริงๆแล้วมันจะค่อนข้างละเอียดมากแต่โดยคร่าวแล้วมันจะมีหลักอยู่ว่าต้องเป็นบทความที่มีการเผยแพร่ใน Top 100 สื่อชั้นนำแต่ละประเภท (หนังสือพิมพ์รายวัน, รายสัปดาห์, นิตยสาร, สื่อโทรทัศน์, ออนไลน์) ที่ได้รับการรับรองโดย สำนักงานสถิติยอดจำหน่ายสิ่งพิมพ์ (Audit Bureau of Circulations)
อีกทั้งผู้เขียนบทความนั้นๆยังต้องเป็นพนักงานที่ทำงานให้กับบริษัทสื่อต่างๆที่ได้รับการรับรองข้างต้นมาไม่น้อยกว่าสองปี และหากเป็นสื่อออนไลน์จะต้องมีการเขียนบทความมาแล้วไม่ต่ำกว่า 100 เรื่องอีกด้วย (นอกจากนั้นยังมีส่วนของ Top Critics ที่จะหมายถึงนักวิจารณ์ซึ่งทำงานให้กับสื่อที่อยู่ในระดับ 10% บนสุดตามข้อมูลของ Audit Bureau of Circulations และทำงานวิจารณ์มาไม่ต่ำกว่า 5 ปีอีกด้วย)
ด้วยความเข้มงวดขนาดนี้จึงทำให้มาตรฐานของเวบมะเขือเน่าที่ออกมานั้นค่อนข้างจะมีความเป็นธรรมในระดับหนึ่ง และนอกจากนั้นเวบเองก็ยังมีส่วนให้ผู้ชมทั่วไปเข้าไปให้คะแนนได้เช่นกัน โดยผู้ที่ให้ตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไปจะถูกตีค่าว่ามัน "Fresh" และนำผลออกมารวมในระบบ % เช่นเดียวกันในรูปของถังป๊อปคอร์น ซึ่งถ้ามันต่ำกว่า 60% ก็จะได้รับ "ป๊อปคอร์นคว่ำ" กันไปจ้า (และด้านล่างก็มี Avg. Rating ให้ดูเช่นกัน)
ไหนๆก็พูดถึงเวบจัดเรทหนังไปแล้วก็ขอยกอีกสองเวบยอดนิยมอย่าง IMDb และ Metacritic มาเล่าด้วยเลยแล้วกันครับ
เอาที่ Metacritic ก่อนครับ เวบนี้ก็จะมีหลักการคล้ายๆกับมะเขือเน่าตรงที่จะทำการรวบรวมบทวิจารณ์จากแหล่งต่างๆมาไว้ด้วยกันแล้วแปลงสเกลคะแนนต่างๆให้ออกมาเป็น Scale 100 เพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยรวม และก็มีการแยก User Scores ออกไปต่างหากด้วยเช่นกัน ซึ่งน่าเสียดายที่ผมหาข้อมูลไม่ได้ว่าเค้ามีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกบทความที่นำมายังไงแต่เท่าที่ติดตามมาก็นับว่าเชื่อใจได้มากพอสมควรเหมือนกัน
และปิดท้ายกันที่เวบยอดนิยมอย่าง IMDb (Internet Movie Database) ที่เราทราบกันดีว่ามันคือเวบมหาชนที่ใครก็เข้าไปใส่กันคะแนนกันได้จากนั้นจึงนำคะแนนมาเข้าสูตรของทางเวบเพื่อหาค่าเฉลี่ย ซึ่งแม้ว่าทางเวบเองจะมีวิธีการคำนวนที่ไม่ได้เพียงแค่จับเอาคะแนนมาบวกแล้วหารจำนวนทั้งหมดกันดื้อๆแต่ปัญหาที่ตามมาในยุคหลังๆอย่างเลี่ยงไม่พ้นก็คือการถล่มโหวต "10" โดยแฟนๆเดนตายให้กับหนังที่ชอบจนทำให้มาตรฐานของเวบในยุคหลังโดยเฉพาะกับหนังใหม่ๆดังๆที่มีกลุ่มแฟนเยอะๆนั้นมันวัดอะไรแทบไม่ค่อยได้เลย
เมื่อเป็นแบบนั้นถ้ามีหนังดังๆเข้าก็ทำใจกันไว้เลยครับว่าคะแนนช่วงแรกนั้นอย่าไปเชื่อถืออะไรมันมาก รอสักอาทิตย์นึงถึงเดือนนึงผ่านไปนั่นละฮะคะแนนถึงจะเริ่มนิ่งจริงๆ (เช่นคะแนน BvS จากวันแรกๆที่ร้อนแรงขนาด 9.x มาถึงตอนนี้ลดเหลือแค่ 7.4 เสียแล้ว) แต่อย่างไรก็ดีคะแนนหนังเก่าๆที่ต่ำกว่าปี 2010 ลงไปนั้นก็ยังถือว่าไว้ใจได้มากทีเดียว และจุดแข็งอีกอย่างของ IMDb ก็คือการที่มันมีฐานข้อมูลหนังที่ใหญ่มากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก จนเราสามารถจะหาข้อมูลหนังได้เกือบจะทุกสัญชาติ แม้แต่กับหนังบ้านเราเองก็ยังมีอยู่ใน IMDb ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ดีครับแม้ว่าคะแนนจากแหล่งไหนมันจะมีหลักเกณฑ์น่าเชื่อถือมากเพียงใด แต่มันก็มิใช่สิ่งที่เราจะเชื่อมั่นได้ 100% เราสามารถใช้มันเป็นไกด์ได้เพื่อใช้ประเมินหนังที่อาจจะยังลังเลไม่แน่ใจว่าจะดูดีไหมแต่สุดท้ายเราจะคิดเหมือนกันกับบรรดานักวิจารณ์หรือไม่มันก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเอง
และอย่างไรก็ตามผมเชื่อว่าคุณค่าของงานวิจารณ์มันมิได้อยู่ที่คะแนนเพียงอย่างเดียว การมีคะแนนไว้เป็นเรื่องดีที่จะได้ไว้มองมาตรฐานโดยรวมของแหล่งวิจารณ์นั้นๆได้ชัดเจนขึ้น แต่คุณค่าที่แท้จริงของทุกงานเขียนมันจะอยู่ที่ตัวบทความมากกว่าครับว่าสามารถมอบแนวคิดอะไรให้เรามากน้อยแค่ไหน
แม้แต่บางบทวิจารณ์ที่ทัศนะออกมาไม่ตรงกับเราเองมันก็ยังมีคุณค่าได้หากพิจารณาอย่างเป็นธรรมว่าสิ่งเหล่านั้นมันจริงหรือไม่ บางครั้งมันอาจจะเปิดมุมมองใหม่ๆให้เราได้มากกว่าที่คิดก็ได้
แต่สิ่งหนึ่งที่เราต้องตระหนักให้ดีในยุคนี้ที่เราสามารถเข้าถึงทั้งการให้คะแนนและบทวิจารณ์ได้มากมายหลายแหล่งเพียงปลายนิ้วคลิก สิ่งที่เราต้องมีคือการเสพมันอย่างมีสติ พิจารณาถึงงานเขียนเหล่านั้นดีๆอย่าตัดสินใจเชื่ออะไรโดยง่าย ซึ่งส่วนตัวมองว่าเราจะไปพึ่งทางเวบต่างๆอย่างเดียวก็คงไม่ได้ละครับต้องเป็นหน้าที่ของตัวผู้ชมอย่างเราๆเองด้วยล่ะว่าจะเสพสารกันแค่ผิวเผินหรือจะมองดูข้อมูลอื่นๆกันให้ละเอียดควบคู่ไปด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://www.metacritic.com/about-metascores
http://www.rottentomatoes.com/help_desk/critics/
https://en.wikipedia.org/wiki/Rotten_Tomatoes
http://www.imdb.com/help/show_leaf?votestopfaq
-----------------------------------------------------------------------------
ท่านใดชอบใจถูกใจไว้ใจมีใจและอยากติดตามกันต่อไปยาวๆ ขอแนะนำเพจ "โรงภาพยนตร์ที่ 3 ที่นั่ง E12"
ว่างๆเมื่อไหร่แวะเข้าไปเยี่ยมชมกันได้จ้า https://www.facebook.com/SeatNoE12