สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 82
ตามอ่านความเห็นไม่จบ แต่อยากเสวนาด้วยครับ...เท่าที่อ่านผมเชื่อว่าคุณอาจจะโพสท์เล่น ๆ สนุก ๆ ไม่ได้จริง จัง ก็ถือซะว่าแลกเปลี่ยนความเห็นกันก็แล้วกันนะครับ...
เอาตามที่ผมพอจะเข้าใจเอาเองก็แล้วกัน ต้องย้ำว่าเป็น "ความคิดเห็นส่วนตัว" นะครับ ไม่ใช่ "ข้อเท็จจริง"
ข้อแรก หลาย ๆ ท่านบอกไว้แล้วว่า บุญเกิดจากการทำทาน ถือศีล และบำเพ็ญภาวนา ทำอะไรได้บุญมากกว่ากันอันนี้ตอบไม่ได้เพราะไม่มีหน่วยวัด แต่ถ้าเอาตามที่เข้าใจง่าย ๆ ก็เชื่อกันว่า การทำทานจะได้บุญน้อยกว่าการถือศีล และการถือศีลก็จะได้บุญน้อยกว่าการภาวนา
และผมเชื่อส่วนตัวเองว่า ถ้าเราทำบุญเพราะอยากได้บุญ มันจะไม่ค่อยได้บุญ คำว่า "บุญ" มันเป็นนามธรรมที่เราเรียกกันเอง ส่วนตัวผมเรียกว่าเป็น "บารมี" มากกว่า
ส่วนประเด็นที่ถามมาว่า การทำบุญบริจาคให้วัดดัง ๆ หรือหล่อหลวงพ่อพระวัดใหญ่ ๆ กับการสอนหนังสือเด็กด้อยโอกาส อันไหนจะได้บุญมากกว่ากัน ก็ต้องเข้าใจก่อนว่า ทั้งสองแบบคือการ "ทำทาน" เหมือนกัน และการทำ "อามิสทาน" ย่อมได้บุญน้อยกว่าการทำ "ธรรมทาน" แน่นอนครับ
ข้อสอง บาปกับบุญมันไม่เอามารวมกันครับ เหมือนตาชั่งมีสองด้าน ใครทำกรรมดีมันก็ไปอยู่ฝั่งบุญ ใครทำกรรมชั่วมันก็ไปอยู่ฝั่งบาป ส่วนใครจะเสวยบุญก่อนบาป หรือบาปก่อนบุญ อันนี้ไม่มีใครตอบได้ แต่ที่ตอบได้แน่ ๆ คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อันนี้จริงแน่ ๆ แต่จะได้เมื่อไหร่ ก็แล้วแต่กรรมของแต่ละคน ส่วนใครจะเชื่อว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี อันนี้มันอยู่ที่กรรมเก่าที่สะสมกันมา ใครทำดีไม่ได้ดีก็ไม่ต้องเสียใจ กรรมดีที่เราทำมันก็สะสมไว้รอไว้ ใครทำกรรมชั่วแต่ได้ดีก็อย่าหลงระเริง เพราะกรรมชั่วมันก็ไปเราอยู่แล้วเช่นกัน อยู่ที่ว่ามันจะสนองเราเมื่อไหร่
บุญกับบาปก็เหมือนเราฝากเงินไว้ในธนาคารนั่นแหละครับ ต่างกันแค่เงินในธนาคารเราจะเบิกเมื่อไหร่ก็ได้ตามใจเรา แต่บุญกับบาปมันจะแสดงผลเมื่อไหร่ อันนี้ไม่มีใครตอบได้ แต่ส่วนตัวเชื่อว่า ทำกรรมดีเยอะ ๆ มันจะไปสะสมพอกพูนเอาไว้ ฝั่งไหนมากกว่ามันก็จะแสดงผลฝั่งนั้นก่อน ถ้าบุญเราเยอะพอ เราก็จะได้เสวยบุญก่อนบาป
ข้อสาม การอุทิศส่วนกุศล ส่วนตัวเชื่อว่า ถ้าเราอุทิศให้ไป เราจะได้รับ 100% ครับ แต่คนที่เราอุทิศให้จะได้รับทั้ง 100% มั้ย อันนี้ก็อยู่ที่กรรมเก่าของเค้าด้วย ไม่แน่นอนเสมอไป ถ้าจิตเค้าสงบพอ กรรมดีมีสะสมไว้พอ เค้าก็จะได้รับ มากน้อยอันนี้ตอบไม่ได้ แล้วแต่กรรมของผู้ที่ได้รับการอุทิศให้
เหมือนเราแบ่งข้าวให้กินนั่นแหละครับ เพียงแต่โลกหลังความตายเค้าไม่กินข้าว เค้ากินบุญ เราแบ่งบุญให้เค้ากิน ถ้ากรรมชั่วเค้ามีมาก เค้าจะกินไม่อิ่ม หิวโหยตลอดเวลา แต่ถ้ากรรมดีเค้ามีสะสมไว้พอ เราแบ่งบุญให้ไปเค้าก็จะกินอิ่ม แล้วก็ไปเสวยบุญของตัวเองต่อ
ข้อสี่ การใช้บุญ อันนี้ตอบไม่ได้ครับ ต้องศึกษาเองแล้วจะเข้าใจเอง แต่ถ้าเอาตามที่ผมเข้าใจ ทำบุญเยอะก็ไม่ได้แปลว่าเราจะได้ใช้บุญเลย อย่างที่บอกไว้แล้ว ทำบุญก็เหมือนฝากเงิน มันมีอยู่แน่ ๆ แต่จะตอบสนองเราเมื่อไหร่ ไม่มีใครรู้ เรื่องของกรรมมันไม่ใช่เรื่องที่คนธรรมดาจะเข้าใจได้ครับ (อันนี้ไม่ได้จำใครมาบอก แต่ถ้าศึกษาไปซักระยะหนึ่ง จะพอจับแนวได้)
ข้อห้า ก็ตามที่บอกไปแล้ว ถ้าเราทำบุญเพราะอยากได้บุญ เราจะไม่ได้บุญ เพราะแสดงว่าเราไม่รู้จักบุญ การทำบุญมันคือการบำเพ็ญบารมี ทำทาน ถือศีล ภาวนา ซึ่งเราทำเพราะเราต้องการหลุดพ้น ไม่ใช่ทำเพราะอยากได้บุญเอาไว้ใช้ เหมือนเราบริจาคสร้างวัด 100 ล้านแล้วหวังจะได้โชคลาภ ถูกหวย มันไม่ได้ตอบสนองเราแบบนั้น 100 ล้านของเรามันอาจจจะตอบสนองเราในชาติหน้า ให้เราเกิดในครอบครัวที่ดี มีเพื่อนดี มีแฟนดี มีลูกที่ดี แต่เราอาจจะไม่รวยถึง 100 ล้านก็ได้
คุณถามมามันเป็นเรื่องของกรรม ซึ่งไม่มีใครตอบคุณได้แน่ ๆ อยากรู้ต้องศึกษาเองครับ ฟังครูบาอาจารย์เล่า เราก็ไม่เข้าใจเพราะมันซับซ้อนเกินสติปัญญาคนธรรมดา และมันไม่ใช่เหตุผลที่จะอธิบายกันได้ด้วย ผมพูดแบบนี้หลายคนที่ไม่เชื่อก็คงคิดว่าอธิบายไม่ได้ก็โบ้ยไปว่ามันเป็นเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่เรื่องของ "ปาฏิหาริย์" เลยครับ มันเป็นเรื่อง "ธรรมมะ" ล้วน ๆ เลย
เอาตามที่ผมพอจะเข้าใจเอาเองก็แล้วกัน ต้องย้ำว่าเป็น "ความคิดเห็นส่วนตัว" นะครับ ไม่ใช่ "ข้อเท็จจริง"
ข้อแรก หลาย ๆ ท่านบอกไว้แล้วว่า บุญเกิดจากการทำทาน ถือศีล และบำเพ็ญภาวนา ทำอะไรได้บุญมากกว่ากันอันนี้ตอบไม่ได้เพราะไม่มีหน่วยวัด แต่ถ้าเอาตามที่เข้าใจง่าย ๆ ก็เชื่อกันว่า การทำทานจะได้บุญน้อยกว่าการถือศีล และการถือศีลก็จะได้บุญน้อยกว่าการภาวนา
และผมเชื่อส่วนตัวเองว่า ถ้าเราทำบุญเพราะอยากได้บุญ มันจะไม่ค่อยได้บุญ คำว่า "บุญ" มันเป็นนามธรรมที่เราเรียกกันเอง ส่วนตัวผมเรียกว่าเป็น "บารมี" มากกว่า
ส่วนประเด็นที่ถามมาว่า การทำบุญบริจาคให้วัดดัง ๆ หรือหล่อหลวงพ่อพระวัดใหญ่ ๆ กับการสอนหนังสือเด็กด้อยโอกาส อันไหนจะได้บุญมากกว่ากัน ก็ต้องเข้าใจก่อนว่า ทั้งสองแบบคือการ "ทำทาน" เหมือนกัน และการทำ "อามิสทาน" ย่อมได้บุญน้อยกว่าการทำ "ธรรมทาน" แน่นอนครับ
ข้อสอง บาปกับบุญมันไม่เอามารวมกันครับ เหมือนตาชั่งมีสองด้าน ใครทำกรรมดีมันก็ไปอยู่ฝั่งบุญ ใครทำกรรมชั่วมันก็ไปอยู่ฝั่งบาป ส่วนใครจะเสวยบุญก่อนบาป หรือบาปก่อนบุญ อันนี้ไม่มีใครตอบได้ แต่ที่ตอบได้แน่ ๆ คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อันนี้จริงแน่ ๆ แต่จะได้เมื่อไหร่ ก็แล้วแต่กรรมของแต่ละคน ส่วนใครจะเชื่อว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี อันนี้มันอยู่ที่กรรมเก่าที่สะสมกันมา ใครทำดีไม่ได้ดีก็ไม่ต้องเสียใจ กรรมดีที่เราทำมันก็สะสมไว้รอไว้ ใครทำกรรมชั่วแต่ได้ดีก็อย่าหลงระเริง เพราะกรรมชั่วมันก็ไปเราอยู่แล้วเช่นกัน อยู่ที่ว่ามันจะสนองเราเมื่อไหร่
บุญกับบาปก็เหมือนเราฝากเงินไว้ในธนาคารนั่นแหละครับ ต่างกันแค่เงินในธนาคารเราจะเบิกเมื่อไหร่ก็ได้ตามใจเรา แต่บุญกับบาปมันจะแสดงผลเมื่อไหร่ อันนี้ไม่มีใครตอบได้ แต่ส่วนตัวเชื่อว่า ทำกรรมดีเยอะ ๆ มันจะไปสะสมพอกพูนเอาไว้ ฝั่งไหนมากกว่ามันก็จะแสดงผลฝั่งนั้นก่อน ถ้าบุญเราเยอะพอ เราก็จะได้เสวยบุญก่อนบาป
ข้อสาม การอุทิศส่วนกุศล ส่วนตัวเชื่อว่า ถ้าเราอุทิศให้ไป เราจะได้รับ 100% ครับ แต่คนที่เราอุทิศให้จะได้รับทั้ง 100% มั้ย อันนี้ก็อยู่ที่กรรมเก่าของเค้าด้วย ไม่แน่นอนเสมอไป ถ้าจิตเค้าสงบพอ กรรมดีมีสะสมไว้พอ เค้าก็จะได้รับ มากน้อยอันนี้ตอบไม่ได้ แล้วแต่กรรมของผู้ที่ได้รับการอุทิศให้
เหมือนเราแบ่งข้าวให้กินนั่นแหละครับ เพียงแต่โลกหลังความตายเค้าไม่กินข้าว เค้ากินบุญ เราแบ่งบุญให้เค้ากิน ถ้ากรรมชั่วเค้ามีมาก เค้าจะกินไม่อิ่ม หิวโหยตลอดเวลา แต่ถ้ากรรมดีเค้ามีสะสมไว้พอ เราแบ่งบุญให้ไปเค้าก็จะกินอิ่ม แล้วก็ไปเสวยบุญของตัวเองต่อ
ข้อสี่ การใช้บุญ อันนี้ตอบไม่ได้ครับ ต้องศึกษาเองแล้วจะเข้าใจเอง แต่ถ้าเอาตามที่ผมเข้าใจ ทำบุญเยอะก็ไม่ได้แปลว่าเราจะได้ใช้บุญเลย อย่างที่บอกไว้แล้ว ทำบุญก็เหมือนฝากเงิน มันมีอยู่แน่ ๆ แต่จะตอบสนองเราเมื่อไหร่ ไม่มีใครรู้ เรื่องของกรรมมันไม่ใช่เรื่องที่คนธรรมดาจะเข้าใจได้ครับ (อันนี้ไม่ได้จำใครมาบอก แต่ถ้าศึกษาไปซักระยะหนึ่ง จะพอจับแนวได้)
ข้อห้า ก็ตามที่บอกไปแล้ว ถ้าเราทำบุญเพราะอยากได้บุญ เราจะไม่ได้บุญ เพราะแสดงว่าเราไม่รู้จักบุญ การทำบุญมันคือการบำเพ็ญบารมี ทำทาน ถือศีล ภาวนา ซึ่งเราทำเพราะเราต้องการหลุดพ้น ไม่ใช่ทำเพราะอยากได้บุญเอาไว้ใช้ เหมือนเราบริจาคสร้างวัด 100 ล้านแล้วหวังจะได้โชคลาภ ถูกหวย มันไม่ได้ตอบสนองเราแบบนั้น 100 ล้านของเรามันอาจจจะตอบสนองเราในชาติหน้า ให้เราเกิดในครอบครัวที่ดี มีเพื่อนดี มีแฟนดี มีลูกที่ดี แต่เราอาจจะไม่รวยถึง 100 ล้านก็ได้
คุณถามมามันเป็นเรื่องของกรรม ซึ่งไม่มีใครตอบคุณได้แน่ ๆ อยากรู้ต้องศึกษาเองครับ ฟังครูบาอาจารย์เล่า เราก็ไม่เข้าใจเพราะมันซับซ้อนเกินสติปัญญาคนธรรมดา และมันไม่ใช่เหตุผลที่จะอธิบายกันได้ด้วย ผมพูดแบบนี้หลายคนที่ไม่เชื่อก็คงคิดว่าอธิบายไม่ได้ก็โบ้ยไปว่ามันเป็นเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่เรื่องของ "ปาฏิหาริย์" เลยครับ มันเป็นเรื่อง "ธรรมมะ" ล้วน ๆ เลย
ความคิดเห็นที่ 38
การให้ทานที่จะได้บุญมาก ต้องทำให้ทานนั้นครบองค์ ประกอบ 4 ประการดังนี้ คือ
1. วัตถุบริสุทธิ์ ได้แก่ สิ่งที่จะให้ทานต้องเป็นของที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของเราเอง ไม่ได้คดโกงใครเขา
2. เจตนาบริสุทธิ์ ได้แก่ มีความตั้งใจที่จะให้ทาน เพื่อกำจัดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ฆ่าความโลภให้สิ้นไป ไม่ได้หวังลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นเครื่องตอบแทน แต่มีความตั้งใจที่จะเสียสละ ให้เกิดเป็นบุญกุศลจริงๆ และการหวังได้บุญ ไม่ใช่เป็นความโลภนะ ขอให้พิจารณาแยกแยะกันให้ดี
3. ผู้ให้บริสุทธิ์ คือ ตัวผู้ให้ทานเองต้องมีศีล 5 เป็นอย่างน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อนให้ก็มีจิตใจผ่องใส ชื่นบาน เมื่อกำลังให้ จิตใจก็ผ่องใสอยู่ หลังจากให้แล้ว ก็มีความยินดี ไม่นึกเสียดายเลย
4. ผู้รับบริสุทธิ์ เช่น ถ้าเป็นพระภิกษุ ก็เป็นพระภิกษุที่หมดกิเลส หรือเป็นพระอรหันต์แล้ว ซึ่งจะทำให้ได้บุญมากเป็นพิเศษ และได้บุญทันตาเห็น คือได้รับผลของทานคือบุญในชาตินี้ ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า หรืออย่างน้อยแม้ท่านจะยังไม่หมดกิเลส ก็ต้องเป็นพระภิกษุที่ตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ เพื่อความหมดกิเลส ถ้าผู้รับเป็นคฤหัสถ์ ก็ต้องเป็นคฤหัสถ์ที่มีศีลธรรมอันดี
คำนวณจาก 4 องค์ประกอบที่เป็นตัวแปร ถ้าบริสุทธิ์มาก ก็ได้บุญมาก อานิสงส์มาก
ดีสุด AAAA .... FAAA... AFAA ... FFFA........... ฯลฯ จนถึง FFFF แย่สุด
1. วัตถุบริสุทธิ์ ได้แก่ สิ่งที่จะให้ทานต้องเป็นของที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของเราเอง ไม่ได้คดโกงใครเขา
2. เจตนาบริสุทธิ์ ได้แก่ มีความตั้งใจที่จะให้ทาน เพื่อกำจัดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ฆ่าความโลภให้สิ้นไป ไม่ได้หวังลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นเครื่องตอบแทน แต่มีความตั้งใจที่จะเสียสละ ให้เกิดเป็นบุญกุศลจริงๆ และการหวังได้บุญ ไม่ใช่เป็นความโลภนะ ขอให้พิจารณาแยกแยะกันให้ดี
3. ผู้ให้บริสุทธิ์ คือ ตัวผู้ให้ทานเองต้องมีศีล 5 เป็นอย่างน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อนให้ก็มีจิตใจผ่องใส ชื่นบาน เมื่อกำลังให้ จิตใจก็ผ่องใสอยู่ หลังจากให้แล้ว ก็มีความยินดี ไม่นึกเสียดายเลย
4. ผู้รับบริสุทธิ์ เช่น ถ้าเป็นพระภิกษุ ก็เป็นพระภิกษุที่หมดกิเลส หรือเป็นพระอรหันต์แล้ว ซึ่งจะทำให้ได้บุญมากเป็นพิเศษ และได้บุญทันตาเห็น คือได้รับผลของทานคือบุญในชาตินี้ ไม่ต้องรอถึงชาติหน้า หรืออย่างน้อยแม้ท่านจะยังไม่หมดกิเลส ก็ต้องเป็นพระภิกษุที่ตั้งใจปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ เพื่อความหมดกิเลส ถ้าผู้รับเป็นคฤหัสถ์ ก็ต้องเป็นคฤหัสถ์ที่มีศีลธรรมอันดี
คำนวณจาก 4 องค์ประกอบที่เป็นตัวแปร ถ้าบริสุทธิ์มาก ก็ได้บุญมาก อานิสงส์มาก
ดีสุด AAAA .... FAAA... AFAA ... FFFA........... ฯลฯ จนถึง FFFF แย่สุด
ความคิดเห็นที่ 28
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
[๗๑๐] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ ให้
ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑ ให้ทาน
ในพระปัจเจกสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒ ให้ทานในสาวก
ของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓ ให้ทาน
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔
ให้ทานแก่พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๕ ให้ทานในท่าน
ผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖ ให้ทาน
แก่พระสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๗ ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘ ให้ทาน
ในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๙ ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐ ให้ทาน
ในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๑๑ ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓ ให้ทานในสัตว์-
*เดียรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔ ฯ
[๗๑๑] ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์เดีย-
*รัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณา
ได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า ให้ทานในบุคคล
ภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า ให้
ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้
จนประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำ
สกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็น
พระอรหันต์ ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ฯ
[๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ ให้
ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๑ ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็น
ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณา
ที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒ ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๓ ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๔
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๕ เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้
โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณา-
*ที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖ เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้
ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗ ฯ
[๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มี
ผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะ
สงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น
เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า
มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/read/?14/710-713/459-461
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
[๗๑๐] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ ให้
ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑ ให้ทาน
ในพระปัจเจกสัมพุทธ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒ ให้ทานในสาวก
ของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๓ ให้ทาน
ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๔
ให้ทานแก่พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๕ ให้ทานในท่าน
ผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๖ ให้ทาน
แก่พระสกทาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๗ ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘ ให้ทาน
ในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๙ ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติ
เพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐ ให้ทาน
ในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก
ประการที่ ๑๑ ให้ทานในบุคคลผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒
ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓ ให้ทานในสัตว์-
*เดียรัจฉาน นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔ ฯ
[๗๑๑] ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์เดีย-
*รัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณา
ได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า ให้ทานในบุคคล
ภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า ให้
ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้
จนประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำ
สกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็น
พระอรหันต์ ในพระปัจเจกสัมพุทธ และในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ฯ
[๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ ให้
ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๑ ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็น
ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็นทักษิณา
ที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒ ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์
ประการที่ ๓ ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๔
เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวนเท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า
แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๕ เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้
โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณา-
*ที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖ เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้
ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗ ฯ
[๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู มี
ผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะ
สงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น
เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่า
มีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/read/?14/710-713/459-461
ความคิดเห็นที่ 54
บันทึกตอนความเห็นทั้งหมด 51 ความเห็น + ความเห็นย่อย 16 ความเห็น
ผมสามารถสรุปสัดส่วนได้ตามกราฟในลิงค์ครับ
https://www.img.in.th/image/7hqw
มีผู้ให้คำตอบ 32 ท่าน
(เอาที่สบายใจ 10 / ให้สูตรคำนวน 7 / ไล่ตอบตามคำถาม 4 / อธิบายความหมายของบุญ 3 / ใช้เทคโนโลยีช่วย 2 / อื่นๆ 6)
ให้แหล่งไปหาข้อมูล 10 ท่าน
(วัดจานบิน 5 / ให้แหล่งอ่านเพิ่ม 4 / ให้สำรวจตัวเอง 1 )
และ ไม่ให้คำตอบหรือบอกว่าไม่มีคำตอบ 25 ท่าน
(มาอ่านและพูดคุยทั่วไป 8 / ถามคำถามเพิ่ม 8 / บอกว่าถ้ารู้ สนใจ มีบุญพอก็คงไม่มาถาม 5 / ช่วยปรับปรุงคำถาม 2 / บอกว่าไม่มีคำตอบ 2)
เจตนารมณ์ในการตอบหลักๆมี
-ต้องการช่วยเหลือ จขกท. ให้ความรู้
-ต้องการแสดงความรู้ของตน
-ต้องการตัดสิน
-ต้องการใช้ความส้รางสรรค์ หรือร่วมเสียดสี
-ต้องการร่วมคิด เสนอมุมมองใหม่ๆ
จขกท. เองนั้น เป็นเพียงเด็กผู้ไม่รู้ตัวเล็กๆ ที่ใคร่จะแสวงหาความเข้าใจอยู่รำไป
โดยคำถามของ จขกท. นั้น แท้จริงไม่ได้ต้องการหาคำตอบ
เท่ากับการที่ให้คำถามนั้นสำรวจว่าเราต่างเข้าใจความเชื่อของตัวเองแค่ไหน
เราเชื่อ เพราะเราพิสูจน์และเข้าใจด้วยตนเอง
เราเชื่อ เพราะเชื่อแล้วเรามีความสุข
เราเชื่อ เพราะมีผู้บอกเรามา
องค์ศาสดาและผู้นำความเชื่อทุกศาสนา
ล้วนเป็นผู้ที่ท้าทายความเชื่อของตนเองและสังคมในช่วงเวลาของพวกเขา
แล้วเราแต่ละคนที่ติดตามท่านเหล่านั้น
กำลังติดตามที่แก่น ที่วิธีการ หรือแค่เปลือกของความเชื่อกันนะ?
...
อ่อ จขกท. เผลอพิมพ์จริงจังไปแปบนึง
ยังไง จขกท สนุกกับการได้อ่านความเห็นของทุกท่านมากเลย
ทั้งๆที่เป็นคำถามเดียวกัน แต่มุมมองและจุดประสงค์ของลูกกระทู้แต่ละคนช่างต่างกันเหลือเกิน
หลายอันชื่นชมในความสร้างสรรค์ และความหวังดีของลูกกระทู้นะครับ
ผมสามารถสรุปสัดส่วนได้ตามกราฟในลิงค์ครับ
https://www.img.in.th/image/7hqw
มีผู้ให้คำตอบ 32 ท่าน
(เอาที่สบายใจ 10 / ให้สูตรคำนวน 7 / ไล่ตอบตามคำถาม 4 / อธิบายความหมายของบุญ 3 / ใช้เทคโนโลยีช่วย 2 / อื่นๆ 6)
ให้แหล่งไปหาข้อมูล 10 ท่าน
(วัดจานบิน 5 / ให้แหล่งอ่านเพิ่ม 4 / ให้สำรวจตัวเอง 1 )
และ ไม่ให้คำตอบหรือบอกว่าไม่มีคำตอบ 25 ท่าน
(มาอ่านและพูดคุยทั่วไป 8 / ถามคำถามเพิ่ม 8 / บอกว่าถ้ารู้ สนใจ มีบุญพอก็คงไม่มาถาม 5 / ช่วยปรับปรุงคำถาม 2 / บอกว่าไม่มีคำตอบ 2)
เจตนารมณ์ในการตอบหลักๆมี
-ต้องการช่วยเหลือ จขกท. ให้ความรู้
-ต้องการแสดงความรู้ของตน
-ต้องการตัดสิน
-ต้องการใช้ความส้รางสรรค์ หรือร่วมเสียดสี
-ต้องการร่วมคิด เสนอมุมมองใหม่ๆ
จขกท. เองนั้น เป็นเพียงเด็กผู้ไม่รู้ตัวเล็กๆ ที่ใคร่จะแสวงหาความเข้าใจอยู่รำไป
โดยคำถามของ จขกท. นั้น แท้จริงไม่ได้ต้องการหาคำตอบ
เท่ากับการที่ให้คำถามนั้นสำรวจว่าเราต่างเข้าใจความเชื่อของตัวเองแค่ไหน
เราเชื่อ เพราะเราพิสูจน์และเข้าใจด้วยตนเอง
เราเชื่อ เพราะเชื่อแล้วเรามีความสุข
เราเชื่อ เพราะมีผู้บอกเรามา
องค์ศาสดาและผู้นำความเชื่อทุกศาสนา
ล้วนเป็นผู้ที่ท้าทายความเชื่อของตนเองและสังคมในช่วงเวลาของพวกเขา
แล้วเราแต่ละคนที่ติดตามท่านเหล่านั้น
กำลังติดตามที่แก่น ที่วิธีการ หรือแค่เปลือกของความเชื่อกันนะ?
...
อ่อ จขกท. เผลอพิมพ์จริงจังไปแปบนึง
ยังไง จขกท สนุกกับการได้อ่านความเห็นของทุกท่านมากเลย
ทั้งๆที่เป็นคำถามเดียวกัน แต่มุมมองและจุดประสงค์ของลูกกระทู้แต่ละคนช่างต่างกันเหลือเกิน
หลายอันชื่นชมในความสร้างสรรค์ และความหวังดีของลูกกระทู้นะครับ
แสดงความคิดเห็น
เราใช้สูตรอะไรในการคำนวณ บุญ กันหรอครับ?
มีทั้งการได้บุญ ทำบาป ใช้บุญ อุทิศบุญ สะสมบุญ
แต่เราก็ไม่เคยมีมาตรฐานที่ชัดเจนกันซักที...
1. เวลาทำบุญ
เราจะรู้ได้ยังไงว่าทำอะไรแล้วได้บุญมากกว่ากัน
- ระหว่างร่วมหล่อหลวงพ่อดัง กับออกไปสอนเด็กด้อยโอกาส
อันไหนได้บุญเยอะกว่ากันครับ?
- แล้วถ้าจะได้ 1 บุญ เค้าต้องบริจาคกันเท่าไหร่ครับ?
1 บาทต่อ 1 บุญตรงตัว หรือ 40 บาทเหมือนสิทธิ์แลกซื้อเซเว่น
- อ่าวแล้วถ้าบริจาคเป็นเวลาและแรงกายล่ะครับ?
จะคิด 300 บุญต่อวันได้ไหมนะ ถ้าจบปริญญาตรีก็ 500 บุญ
- หรือถ้าบริจาคจำนวนเท่าๆกัน ให้วัดดังกับวัดโนเนม
ปริมาณบุญจะต่างกันไหมครับ?
เช่นวัดโนเนมจะได้ x1 เท่าเหมือนบัตรเครดิตธรรมดา
แล้ววัดดังจะได้ x4 เท่าเหมือนบัตร Beyond Platinum?
- แถมมีความตั้งใจมาเกี่ยวอีกแหน่ะ
ถ้าคนตั้งใจทำกับคนไม่ตั้งใจทำเหมือนกัน
คนตั้งใจจะได้โบนัสบุญด้วยไหมครับ?
2. เวลาทำบาป
บุญที่ทำมามันจะหายไปบ้างไหมครับ?
- ถ้าฆ่ากุ้งแม่น้ำอยุธยา 3 ตัวกิน หรือทำปลาวาฬสำน้ำเงินบาดเจ็บ
อันไหนจะเสียบุญมากกว่ากันครับ
ตอบ กุ้ง ... เพราะถึงแก่ชีวิต
ตอบ กุ้ง ... เพราะมันหลายตัว
หรือตอบปลาวาฬ ... เพราะมันตัวใหญ่
- แล้วถ้าบาปกรรมมากกว่าบุญแล้ว จะตายเลยไหม (ที่เค้าเรียกว่าหมดบุญ)?
- เค้ากำหนดอย่างไรครับ ว่าเมื่อไหร่ถึงต้องใช้กรรม?
ถ้ากรรมเก็บไว้นาน มันจะเยอะขึ้นเหมือนหนี้ไหม
พระยม หรือยมบาล จะมาให้ใบเตือนไหมครับ
หรือตายแล้วท่านค่อยให้ดูรายการย้อนหลัง
3. อุทิศบุญ
เวลาทำบุญให้คนอื่นนี่
- ถ้าผมทำ 100 บุญให้ใครซักคน
เค้าจะได้เต็มๆเลยไหมครับ?
มันมีการหัก processing fee 3% เหมือนเครดิตการ์ด
หรือหัก 15 บาทถ้าอุทิศให้ต่างศาสนาไหมครับ?
- ส่วนระยะเวลาในการอุทิศก็ไม่ชัดเจน
เวลาอุทิศให้มันถึงทันทีเลยไหมครับ
หรือถ้าเป็นวันหยุดทางศาสนา หรือเสาร์อาทิตย์ จะดีเลย์นิดนึงรึปล่าว?
- แถมการอุทิศให้คนเป็นกับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วนี่
มันจะกฎเดียวกันไหมครับ? ยากจริงๆ
4. การใช้บุญ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
เพราะเรามีการไปขอและบนบานศาลกล่าวสิ่งต่างๆกันเยอะมาก
- เช่นคนที่อยากรวย
เราเอาเงินไปบริคจาคเป็นบุญ
แล้วจะเอาบุญไปแลกเป็นความรวยอีกที
มันจะคิดส่งต่างเหมือนส่วนต่างอัตราแลกเงินต่างประเทศไหมครับ?
หรือเหมือนเทรดหุ้น ที่ใส่ไปถูกที่แล้วได้หลายเด้ง
- แถมเวลาที่ค่าเงินบาทแข็งหรืออ่อนนี่
มันจะมีผลต่ออัตราบุญที่ใช้แลกรึปล่าวครับ
- ส่วนคนที่อยากแลกความสำเร็จ ก้าวหน้า
อันนี้ก็วัดยากมากๆครับ
จะสอบผ่านวิชานึงต้องใช้บุญเยอะไหม?
แล้วข้อสอบมหาวิทยาลัยกับมัธยมใช้บุญเท่ากันหรือปล่าว...
การเลื่อนขั้นนี่ ถ้าทำงานที่ Google กับขนส่งมวลชน
มันจะใช้บุญต่างกันมากไหมครับ?
- เรื่องการแคล้วคลาดจากภัยอันตรายนี่ก็ซับซ้อน
รอดพ้นจากอุบัตเหตุ กับโรคร้ายน่าจะใช้บุญมากทีเดียว
แล้วถ้าบุญไม่พอนี่ มันจะไม่รอดเลย หรือเหลือแค่บาทเจ็บสาหัส
จริงๆควรจะมีใครแจกแจงรายการต่างๆกับจำนวนบุญที่ต้องใช้นะครับ
5.สะสมบุญ
เป็นเรื่องสุดท้ายที่สำคัญมาก
- เราจะเช็คยังไงว่าตอนนี้มีบุญอยู่เท่าไหร่?
อยากให้มีคนทำ App มากเลยครับ
เวลาบุญเช้า บุญออก จะได้รู้ว่าครบ ไม่โดนโกง
- แล้วถ้าช่วงไหนสะสมบุญเยอะๆ
มันจะได้คอมโบเหมือนเล่นเกมส์
หรือเติบโตเหมือน LTF RTF ไหมครับ?
- จริงๆทำบุญกับการหักภาษีก็น่าสนใจครับ
- แล้วถ้าจบชีวิตแล้ว สะสมบุญไว้มาก
ต้องมากเท่าไหร่ถึงได้เข้าสวรรค์แต่ละชั้นครับ?
หรือเวลาต้องไปเกิดใหม่ ถ้ามีตารางชัดเจนว่าเกิดเป็นอะไร ใช้บุญเท่าไหร่
ก็น่าจะช่วยให้เราสะสมบุญได้มีเป้าหมายมากขึ้นนะครับ
สุดท้ายนี้
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ใครซักคนจะนำมาทำให้เป็นมาตรฐาน
จะได้โปร่งใส ยุติธรรม และสะดวกกับคนทำบุญ วัด พระสงฆ์
เทวดา ยมบาล รวมถึงคนต่างศาสนาที่ได้บุญไปแล้วไม่รู้ตัวด้วยครับ