คนยุคนี้คงจะทราบกันดีว่า รางวัลผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ที่จัดกันมาต่อเนื่องและยาวนานถึงปัจจุบันอย่าง "โทรทัศน์ทองคำ" ได้จัดกันมาถึง 30 ปีแล้ว ซึ่งในครั้งล่าสุดที่เพิ่งผ่านพ้นไปก็มีผู้ที่ได้รับรางวัลกันมากมายหลายท่าน และคงจะเป็นครั้งแรกที่โทรทัศน์ทองคำมีการพิจารณาผลงานดีเด่นทางสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลทุกช่อง จากเดิมที่พิจารณาเพียง 6 ช่องอนาล็อก ตามสถานภาพของวงการโทรทัศน์ที่เปลี่ยนไปอย่างที่เราขอยินดี ถึงอย่างไรก็ขอแสดงความยินดีและขอบพระคุณผู้ที่ได้รางวัลโทรทัศน์ทองคำทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วย
ตลอดระยะเวลา 30 ปี โทรทัศน์ทองคำได้สร้างบรรยากาศแห่งความดีใจ ปลื้มใจ และประทับใจมาโดยตลอด แต่ครั้งที่ดูจะอบอุ่นซึ่งตัวผู้เขียนเองคิดถึง ชื่นชม และดูคึกคักเป็นที่สุด ก็เห็นจะเป็นเมื่อครั้งที่ เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ได้รับรางวัลดารานำฝ่ายชายดีเด่น ซึ่งตรงกับการจัดงานประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2533 ที่จัดขึ้นเมื่อค่ำคืนของวันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม 2534 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยในวันนั้นมีดารา นักแสดง พิธีกร นักวิชาการ ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานโทรทัศน์มาร่วมงานกันอย่างหนาตาคับคั่ง แถมมีการแสดงประกอบอันตระการตาโดยตัวแทนของสถานีโทรทัศน์แต่ละช่อง มีพิธีกรมาร่วมกันดำเนินรายการหลายท่านซึ่งล้วนแล้วแต่ที่ฮอตๆ กันทั้งนั้น และการดำเนินการถ่ายทอดที่ดูกระชับ ไม่ต้องให้ผู้รับรางวัลมากล่าวขอบคุณให้เสียเวร่ำเวลา รับแล้วก็กลับไปเลย จะถ่ายรูปหมู่ก็ค่อยว่ากัน
เท่าที่ผู้เขียนได้สังเกตและบันทึกไว้ เริ่มช่วงแรกเป็นการเปิดงานโทรทัศน์ทองคำ และการมอบรางวัลให้กับสถานีโทรทัศน์ที่มีผลงานรายการดีเด่นในแต่ละด้าน ปรากฏว่า สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้รับ 2 รางวัล คือรางวัลสถานีดีเด่นด้านการรายงานข่าว และสถานีดีเด่นด้านส่งเสริมการกีฬา ขณะที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ได้รับ 2 รางวัลอีกเช่นกัน คือ รางวัลสถานีดีเด่นด้านส่งเสริมการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม และสถานีดีเด่นด้านส่งเสริมเด็กและสตรี
ช่วงที่ 2 เป็นรางวัลด้านรายการข่าว โดย วิทวัส สุนทรวิเนตร์ และ ดวงตา ตุงคะมณี มาเป็นพิธีกรและประกาศผลรางวัล เปิดช่วงรายการด้วยการแสดงของสโมสรผึ้งน้อย ตัวแทนจากช่อง 5 โดยรางวัลบุคคลเกียรติยศด้านการผลิตข่าว ได้แก่ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล รางวัลบุคคลเกียรติยศด้านการวิเคราะห์ข่าว ได้แก่ พิชัย วาสนาส่ง ผู้อ่านข่าวฝ่ายชายดีเด่น ได้แก่ ปิยะ ชำนาญกิจ จากช่อง 11 ผู้อ่านข่าวฝ่ายหญิงดีเด่น ได้แก่ อารตี คุโรปการนันท์ จากช่อง 9 ต่อด้วยผู้รายงานข่าวการเกษตรดีเด่น ได้แก่ จุฬารัตน์ เสรีเชษฐพงษ์ จากรายการ ดินดำน้ำชุ่ม ช่อง 5 รายการส่งเสริมความรู้การเล่นกีฬาดีเด่น ได้แก่ รายการ 1 นาทีกีฬาน่ารู้ ช่อง 5 และผู้บรรยายการแข่งขันกีฬาดีเด่น ได้แก่ พิษณุ นิลกลัด
ช่วงที่ 3 เปิดด้วยการนำตัวแทนบุคคลที่มีความสามารถพิสดารของแต่ละปีที่รายการ ตามไปดู ทางช่อง 9 อสมท ออกอากาศมาตลอด 5 ปี กลับมาแสดงให้ชมบนเวทีเดียวกัน จากนั้นเป็นการประกาศผลรางวัลสำหรับรายการทั่วไป โดยมี นพพล โกมารชุน กับ ผุสชา โทณะวณิก รับหน้าที่ประกาศรางวัล เริ่มด้วยรายการสำหรับเด็กและเยาวชนดีเด่น ได้แก่ รายการ จิ๋วแจ๋วเจาะโลก ทางช่อง 3 โดยมีน้องตูมตาม-วศิน มีปรีชา มาเชิญรางวัล เรียกความสนใจได้ไม่แพ้เจ้าของรายการเลย ส่วนรายการสำหรับสตรี ได้แก่ รายการ ผู้หญิงวันนี้ ช่อง 3 ละครสำหรับเด็กและเยาวชน ได้แก่ ละครเรื่อง นางฟ้าสีรุ้ง ช่อง 7 โดยคุณบอย-ถกลเกียรติ วีรวรรณ ผู้กำกับละครในขณะนั้นมารับรางวัล ต่อด้วยรายการส่งเสริมความรู้ดีเด่น ได้แก่ รายการ กระจกหกด้าน ช่อง 7 โดยคุณสุชาดี มณีวงศ์ ผู้บรรยายรายการมารับรางวัล รายการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ได้แก่ รายการ หมอประจำบ้าน ช่อง 7 โดยคุณหมอจอนหนา นพ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์ มารับรางวัล รายการส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ ข่าวเกษตรกร ช่อง 7 รายการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สารคดีชุด ทะเลไทย ช่อง 5 รายการส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่ รายการ สวัสดีเมืองไทย ช่อง 11
ช่วงที่ 4 เปิดตัวด้วยการแสดงจากตัวแทนช่อง 3 โดยคุณไก่-วรายุฑ มิลินทจินดา ที่ดึง บุ๋ม-รัญญา ศิยานนท์ มายำเพลงฮิตในช่วงนั้นในอาการลิปซิงค์ ทั้งเพลงของพี่เบิร์ด นก จริยา อ๊อด โอภาส เทียรี่ สามโทน หมอลำ ยันฮันนี่ เรียกความสนใจและความฮาได้ไม่น้อยหน้าใคร จากนั้น ไตรภพ ลิมปพัทธ์ กับ อภิญญา เจริญวงศ์ มาประกาศรางวัล ด้วยรางวัลพิธีกรฝ่ายชายดีเด่น ได้แก่ เศรษฐา ศิระฉายา จากรายการ น่ารักน่าลุ้น ช่อง 5 พิธีกรฝ่ายหญิงดีเด่น ได้แก่ วิไล เพ็ชรเงาวิไล จากรายการ หนึ่งในร้อย ช่อง 3 รายการแข่งขันตอบปัญหาดีเด่น ได้แก่ รายการ 180 ไอคิว ช่อง 5 รายการปกิณกะชุดดีเด่น ได้แก่ รายการ ท้าพิสูจน์ ช่อง 7 ผู้พากย์ภาพยนตร์ชุดฝ่ายชายดีเด่น ได้แก่ นิรุต ณ บางช้าง ช่อง 3 ผู้พากย์ภาพยนตร์ชุดฝ่ายหญิง ได้แก่ ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ ช่อง 9
มาถึงช่วงที่สำคัญและซาบซึ้งได้อีกช่วงหนึ่ง คือการฉาย VTR รำลึกถึงคุณธเรศวร์ สุศิวะ หรือ ไพลิน สีน้ำเงิน ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี และผู้ริเริ่มการจัดงานโทรทัศน์ทองคำ ที่จากไปเมื่อช่วงปลายปี 2533 จากนั้นเป็นการประกาศผลรางวัลมิวสิกวิดีโอดีเด่น โดยรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ เพลง เจ้าภาพจงเจริญ รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ เพลง กระจกร้าว และผู้ชนะเลิศ ได้แก่ เพลง ต้นไม้ ซึ่งขับร้องโดย สุรสีห์ อิทธิกุล นอกจากนี้ยังมีรางวัลรายการดนตรีปกิณกะดีเด่น ซึ่งได้แก่ รายการ ช่อง 5 วาไรตี้ รายการส่งเสริมเพลงลูกทุ่งดีเด่น ได้แก่ รายการ โลกคอนเสิร์ต ช่อง 3 ซึ่งเจ้าของรายการคือคุณประจวบ จำปาทอง ก็มารับรางวัลด้วยตัวเอง และเพลงนำละครดีเด่น ได้แก่ เพลงจากละครเรื่อง ขมิ้นกับปูน ช่อง 7 ที่มีคุณต้อม เรนโบว์ เป็นผู้แต่งเพลง ขับร้อง และรับรางวัลด้วยตัวเอง ช่วงนี้มีพิธีกรประกาศรางวัลคือคู่ฮอตแห่งวงการวิทยุอย่าง วินิจ เลิศรัตนชัย และ หัทยา เกษสังข์
ช่วงต่อมา เป็นการแสดงจากละครเรื่อง ข้าวนอกนา ตัวแทนของช่อง 7 สีทีวีเพื่อคุณ ที่นำโดย นันทนา บุญหลง จากนั้น ปัญญา นิรันดร์กุล และ มยุรา ธนะบุตร จากชิงร้อยชิงล้าน ขึ้นมาประกาศผลรางวัลด้านละคร ซึ่งเป็นช่วงที่แฟนๆ ตั้งตาลุ้นกันสุดๆ อยู่ทุกปี เริ่มด้วยรางวัลละครแนวอาชญากรรมดีเด่น ได้แก่ เรื่อง แม่ลาวเลือด ช่อง 3 ละครสะท้อนสังคมดีเด่น ได้แก่ เรื่อง ขมิ้นกับปูน ช่อง 7 ละครเนื่องในโอกาสพิเศษ ได้แก่ เรื่อง นักบุญแห่งล้านนา รางวัลละครชีวิตดีเด่น ก็ได้แก่ เรื่อง คู่กรรม ช่อง 7 บทละครดีเด่น ได้แก่ เรื่อง คู่กรรม โดยคุณศัลยา ผู้สร้างฉากละครดีเด่น ได้แก่ เรื่อง คู่กรรม อีกเช่นกัน โดยทีมงานดาราวิดีโอ
มาถึงช่วงสุดท้ายที่ได้ เศรษฐา-ญาณี พิธีกรคู่ขวัญจากรายการ มาตามนัด มาประกาศผลรางวัลที่แฟนๆ ทั้งในที่ประชุมและที่ติดตามรายการทางบ้านในวันนั้นเป็นต้องกรี๊ดกร๊าด โดยรางวัลผู้กำกับการแสดงดีเด่น ได้แก่ ไพรัช สังวริบุตร ตามด้วยรางวัลดาราสนับสนุนฝ่ายชายดีเด่น ได้แก่ รอน บรรจงสร้าง จากเรื่อง กตัญญูประกาศิต ช่อง 3 รางวัลดาราสนับสนุนฝ่ายหญิงดีเด่น ได้แก่ ดวงดาว จารุจินดา จากเรื่อง คู่กรรม ช่อง 7 และมาถึงคู่นำแห่งปีดังที่มีการพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ โดยดารานำฝ่ายชายดีเด่น ได้แก่ เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ กับบทโกโบริ จากเรื่อง คู่กรรม ช่อง 7 ที่มารับรางวัลด้วยตัวเอง พร้อมกับชุดแต่งกายที่ดูแปลกตากว่าใคร เช่นเดียวกับ เหมียว-ชไมพร จตุรภุช ก็ได้รับรางวัลดารานำฝ่ายหญิงดีเด่น จากเรื่อง ขมิ้นกับปูน ช่อง 7 ท่ามกลางเสียงเซ็งแซ่ว่ารางวัลนี้ รวมถึงรางวัลอื่นๆ บางรางวัลน่าจะเหมาะกับคนอื่นบ้าง แต่ผลก็คือผล ไม่มีใครคาดคิดได้ทุกกระเบียดนิ้ว เพราะไม่ว่าเขาคนไหนก็เหมาะแล้วที่ได้รับรางวัลอันมีเกียรติอย่างเช่นโทรทัศน์ทองคำ
ถ้าหากเรารู้ เราจะตามชมบรรยากาศดังนี้
สรุปว่า ละครยอดฮิตตลอดกาลอย่างเรื่อง คู่กรรม เมื่อปี 2533 ได้รับรางวัลมากที่สุดถึง 6 ตัว ส่วนเรื่อง ขมิ้นกับปูน ได้มา 3 ตัว งานนี้ทีวีสีช่อง 7 กวาดรางวัลด้านละครเกือบเรียบ นับเป็นครั้งหนึ่งของโทรทัศน์ทองคำเลยก็ว่าได้ คงไม่ต้องเทียบกับในปัจจุบัน เพราะเราเองก็ทราบอยู่แล้ว การเปลี่ยนแปลงเป็นของธรรมดา ปีหน้าและปีต่อไปก็คอยติดตาม และนี่คือครั้งหนึ่งแห่งที่สุดของความทรงจำ กับความเด่น ดัง และดี แห่งปี สวัสดี.
(ภาพและข้อมูล : นิตยสารคู่กรรมเฉพาะกิจ (โลกวลี) ปี 2534)
หาอดีต ตอน "โทรทัศน์ทองคำ ปี 2533-คู่กรรมซิว 6 ตัว ขมิ้นกับปูนได้นำหญิง"
ตลอดระยะเวลา 30 ปี โทรทัศน์ทองคำได้สร้างบรรยากาศแห่งความดีใจ ปลื้มใจ และประทับใจมาโดยตลอด แต่ครั้งที่ดูจะอบอุ่นซึ่งตัวผู้เขียนเองคิดถึง ชื่นชม และดูคึกคักเป็นที่สุด ก็เห็นจะเป็นเมื่อครั้งที่ เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ ได้รับรางวัลดารานำฝ่ายชายดีเด่น ซึ่งตรงกับการจัดงานประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2533 ที่จัดขึ้นเมื่อค่ำคืนของวันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม 2534 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยในวันนั้นมีดารา นักแสดง พิธีกร นักวิชาการ ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานโทรทัศน์มาร่วมงานกันอย่างหนาตาคับคั่ง แถมมีการแสดงประกอบอันตระการตาโดยตัวแทนของสถานีโทรทัศน์แต่ละช่อง มีพิธีกรมาร่วมกันดำเนินรายการหลายท่านซึ่งล้วนแล้วแต่ที่ฮอตๆ กันทั้งนั้น และการดำเนินการถ่ายทอดที่ดูกระชับ ไม่ต้องให้ผู้รับรางวัลมากล่าวขอบคุณให้เสียเวร่ำเวลา รับแล้วก็กลับไปเลย จะถ่ายรูปหมู่ก็ค่อยว่ากัน
เท่าที่ผู้เขียนได้สังเกตและบันทึกไว้ เริ่มช่วงแรกเป็นการเปิดงานโทรทัศน์ทองคำ และการมอบรางวัลให้กับสถานีโทรทัศน์ที่มีผลงานรายการดีเด่นในแต่ละด้าน ปรากฏว่า สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้รับ 2 รางวัล คือรางวัลสถานีดีเด่นด้านการรายงานข่าว และสถานีดีเด่นด้านส่งเสริมการกีฬา ขณะที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ได้รับ 2 รางวัลอีกเช่นกัน คือ รางวัลสถานีดีเด่นด้านส่งเสริมการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม และสถานีดีเด่นด้านส่งเสริมเด็กและสตรี
ช่วงที่ 2 เป็นรางวัลด้านรายการข่าว โดย วิทวัส สุนทรวิเนตร์ และ ดวงตา ตุงคะมณี มาเป็นพิธีกรและประกาศผลรางวัล เปิดช่วงรายการด้วยการแสดงของสโมสรผึ้งน้อย ตัวแทนจากช่อง 5 โดยรางวัลบุคคลเกียรติยศด้านการผลิตข่าว ได้แก่ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล รางวัลบุคคลเกียรติยศด้านการวิเคราะห์ข่าว ได้แก่ พิชัย วาสนาส่ง ผู้อ่านข่าวฝ่ายชายดีเด่น ได้แก่ ปิยะ ชำนาญกิจ จากช่อง 11 ผู้อ่านข่าวฝ่ายหญิงดีเด่น ได้แก่ อารตี คุโรปการนันท์ จากช่อง 9 ต่อด้วยผู้รายงานข่าวการเกษตรดีเด่น ได้แก่ จุฬารัตน์ เสรีเชษฐพงษ์ จากรายการ ดินดำน้ำชุ่ม ช่อง 5 รายการส่งเสริมความรู้การเล่นกีฬาดีเด่น ได้แก่ รายการ 1 นาทีกีฬาน่ารู้ ช่อง 5 และผู้บรรยายการแข่งขันกีฬาดีเด่น ได้แก่ พิษณุ นิลกลัด
ช่วงที่ 3 เปิดด้วยการนำตัวแทนบุคคลที่มีความสามารถพิสดารของแต่ละปีที่รายการ ตามไปดู ทางช่อง 9 อสมท ออกอากาศมาตลอด 5 ปี กลับมาแสดงให้ชมบนเวทีเดียวกัน จากนั้นเป็นการประกาศผลรางวัลสำหรับรายการทั่วไป โดยมี นพพล โกมารชุน กับ ผุสชา โทณะวณิก รับหน้าที่ประกาศรางวัล เริ่มด้วยรายการสำหรับเด็กและเยาวชนดีเด่น ได้แก่ รายการ จิ๋วแจ๋วเจาะโลก ทางช่อง 3 โดยมีน้องตูมตาม-วศิน มีปรีชา มาเชิญรางวัล เรียกความสนใจได้ไม่แพ้เจ้าของรายการเลย ส่วนรายการสำหรับสตรี ได้แก่ รายการ ผู้หญิงวันนี้ ช่อง 3 ละครสำหรับเด็กและเยาวชน ได้แก่ ละครเรื่อง นางฟ้าสีรุ้ง ช่อง 7 โดยคุณบอย-ถกลเกียรติ วีรวรรณ ผู้กำกับละครในขณะนั้นมารับรางวัล ต่อด้วยรายการส่งเสริมความรู้ดีเด่น ได้แก่ รายการ กระจกหกด้าน ช่อง 7 โดยคุณสุชาดี มณีวงศ์ ผู้บรรยายรายการมารับรางวัล รายการส่งเสริมสุขภาพอนามัย ได้แก่ รายการ หมอประจำบ้าน ช่อง 7 โดยคุณหมอจอนหนา นพ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์ มารับรางวัล รายการส่งเสริมการเกษตร ได้แก่ ข่าวเกษตรกร ช่อง 7 รายการส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สารคดีชุด ทะเลไทย ช่อง 5 รายการส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่ รายการ สวัสดีเมืองไทย ช่อง 11
ช่วงที่ 4 เปิดตัวด้วยการแสดงจากตัวแทนช่อง 3 โดยคุณไก่-วรายุฑ มิลินทจินดา ที่ดึง บุ๋ม-รัญญา ศิยานนท์ มายำเพลงฮิตในช่วงนั้นในอาการลิปซิงค์ ทั้งเพลงของพี่เบิร์ด นก จริยา อ๊อด โอภาส เทียรี่ สามโทน หมอลำ ยันฮันนี่ เรียกความสนใจและความฮาได้ไม่น้อยหน้าใคร จากนั้น ไตรภพ ลิมปพัทธ์ กับ อภิญญา เจริญวงศ์ มาประกาศรางวัล ด้วยรางวัลพิธีกรฝ่ายชายดีเด่น ได้แก่ เศรษฐา ศิระฉายา จากรายการ น่ารักน่าลุ้น ช่อง 5 พิธีกรฝ่ายหญิงดีเด่น ได้แก่ วิไล เพ็ชรเงาวิไล จากรายการ หนึ่งในร้อย ช่อง 3 รายการแข่งขันตอบปัญหาดีเด่น ได้แก่ รายการ 180 ไอคิว ช่อง 5 รายการปกิณกะชุดดีเด่น ได้แก่ รายการ ท้าพิสูจน์ ช่อง 7 ผู้พากย์ภาพยนตร์ชุดฝ่ายชายดีเด่น ได้แก่ นิรุต ณ บางช้าง ช่อง 3 ผู้พากย์ภาพยนตร์ชุดฝ่ายหญิง ได้แก่ ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ ช่อง 9
มาถึงช่วงที่สำคัญและซาบซึ้งได้อีกช่วงหนึ่ง คือการฉาย VTR รำลึกถึงคุณธเรศวร์ สุศิวะ หรือ ไพลิน สีน้ำเงิน ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์อินไซด์ทีวี และผู้ริเริ่มการจัดงานโทรทัศน์ทองคำ ที่จากไปเมื่อช่วงปลายปี 2533 จากนั้นเป็นการประกาศผลรางวัลมิวสิกวิดีโอดีเด่น โดยรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ เพลง เจ้าภาพจงเจริญ รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ เพลง กระจกร้าว และผู้ชนะเลิศ ได้แก่ เพลง ต้นไม้ ซึ่งขับร้องโดย สุรสีห์ อิทธิกุล นอกจากนี้ยังมีรางวัลรายการดนตรีปกิณกะดีเด่น ซึ่งได้แก่ รายการ ช่อง 5 วาไรตี้ รายการส่งเสริมเพลงลูกทุ่งดีเด่น ได้แก่ รายการ โลกคอนเสิร์ต ช่อง 3 ซึ่งเจ้าของรายการคือคุณประจวบ จำปาทอง ก็มารับรางวัลด้วยตัวเอง และเพลงนำละครดีเด่น ได้แก่ เพลงจากละครเรื่อง ขมิ้นกับปูน ช่อง 7 ที่มีคุณต้อม เรนโบว์ เป็นผู้แต่งเพลง ขับร้อง และรับรางวัลด้วยตัวเอง ช่วงนี้มีพิธีกรประกาศรางวัลคือคู่ฮอตแห่งวงการวิทยุอย่าง วินิจ เลิศรัตนชัย และ หัทยา เกษสังข์
ช่วงต่อมา เป็นการแสดงจากละครเรื่อง ข้าวนอกนา ตัวแทนของช่อง 7 สีทีวีเพื่อคุณ ที่นำโดย นันทนา บุญหลง จากนั้น ปัญญา นิรันดร์กุล และ มยุรา ธนะบุตร จากชิงร้อยชิงล้าน ขึ้นมาประกาศผลรางวัลด้านละคร ซึ่งเป็นช่วงที่แฟนๆ ตั้งตาลุ้นกันสุดๆ อยู่ทุกปี เริ่มด้วยรางวัลละครแนวอาชญากรรมดีเด่น ได้แก่ เรื่อง แม่ลาวเลือด ช่อง 3 ละครสะท้อนสังคมดีเด่น ได้แก่ เรื่อง ขมิ้นกับปูน ช่อง 7 ละครเนื่องในโอกาสพิเศษ ได้แก่ เรื่อง นักบุญแห่งล้านนา รางวัลละครชีวิตดีเด่น ก็ได้แก่ เรื่อง คู่กรรม ช่อง 7 บทละครดีเด่น ได้แก่ เรื่อง คู่กรรม โดยคุณศัลยา ผู้สร้างฉากละครดีเด่น ได้แก่ เรื่อง คู่กรรม อีกเช่นกัน โดยทีมงานดาราวิดีโอ
มาถึงช่วงสุดท้ายที่ได้ เศรษฐา-ญาณี พิธีกรคู่ขวัญจากรายการ มาตามนัด มาประกาศผลรางวัลที่แฟนๆ ทั้งในที่ประชุมและที่ติดตามรายการทางบ้านในวันนั้นเป็นต้องกรี๊ดกร๊าด โดยรางวัลผู้กำกับการแสดงดีเด่น ได้แก่ ไพรัช สังวริบุตร ตามด้วยรางวัลดาราสนับสนุนฝ่ายชายดีเด่น ได้แก่ รอน บรรจงสร้าง จากเรื่อง กตัญญูประกาศิต ช่อง 3 รางวัลดาราสนับสนุนฝ่ายหญิงดีเด่น ได้แก่ ดวงดาว จารุจินดา จากเรื่อง คู่กรรม ช่อง 7 และมาถึงคู่นำแห่งปีดังที่มีการพาดหัวข่าวหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ โดยดารานำฝ่ายชายดีเด่น ได้แก่ เบิร์ด-ธงไชย แมคอินไตย์ กับบทโกโบริ จากเรื่อง คู่กรรม ช่อง 7 ที่มารับรางวัลด้วยตัวเอง พร้อมกับชุดแต่งกายที่ดูแปลกตากว่าใคร เช่นเดียวกับ เหมียว-ชไมพร จตุรภุช ก็ได้รับรางวัลดารานำฝ่ายหญิงดีเด่น จากเรื่อง ขมิ้นกับปูน ช่อง 7 ท่ามกลางเสียงเซ็งแซ่ว่ารางวัลนี้ รวมถึงรางวัลอื่นๆ บางรางวัลน่าจะเหมาะกับคนอื่นบ้าง แต่ผลก็คือผล ไม่มีใครคาดคิดได้ทุกกระเบียดนิ้ว เพราะไม่ว่าเขาคนไหนก็เหมาะแล้วที่ได้รับรางวัลอันมีเกียรติอย่างเช่นโทรทัศน์ทองคำ
ถ้าหากเรารู้ เราจะตามชมบรรยากาศดังนี้
สรุปว่า ละครยอดฮิตตลอดกาลอย่างเรื่อง คู่กรรม เมื่อปี 2533 ได้รับรางวัลมากที่สุดถึง 6 ตัว ส่วนเรื่อง ขมิ้นกับปูน ได้มา 3 ตัว งานนี้ทีวีสีช่อง 7 กวาดรางวัลด้านละครเกือบเรียบ นับเป็นครั้งหนึ่งของโทรทัศน์ทองคำเลยก็ว่าได้ คงไม่ต้องเทียบกับในปัจจุบัน เพราะเราเองก็ทราบอยู่แล้ว การเปลี่ยนแปลงเป็นของธรรมดา ปีหน้าและปีต่อไปก็คอยติดตาม และนี่คือครั้งหนึ่งแห่งที่สุดของความทรงจำ กับความเด่น ดัง และดี แห่งปี สวัสดี.
(ภาพและข้อมูล : นิตยสารคู่กรรมเฉพาะกิจ (โลกวลี) ปี 2534)