** เคล็ดลับคำโคลง ** ตอน..ชั้นเชิงนิราศ
สมัยโบราณนิยมแต่งโคลงในเชิงนิราศมีทั้งโคลงดั้น, โคลงสี่สุภาพ ,ลิลิต เป็นต้น อาจเป็นเพราะว่าลักษณะของฉันทลักษณ์เอื้ออำนวย และการแต่งบทนิราศจะใช้จินตนาการ, โวหารภาพพจน์ ,อุปมาอุปไมย,อุปลักษณ์ ,บุคคลวัต ,สัทพจน์ และการพรรณนาโวหารเป็นจุดเด่น ทำให้กวีมีโอกาสแสดงฝีมือได้อย่างอิสระเต็มที่
นอกจากนี้ในสมัยดังกล่าวเวลาเดินทางไกลไปต่างเมืองมักจะเดินทางทางเรือ ( ชลมารค ) ทำให้กวีมีเวลาคิดจินตนาการได้อย่างเต็มพิกัดนั่นเอง
บทกวีเรื่องแรกที่ผมแต่งก็คือเรื่อง
“นิราศแม่สะเรียง” เป็นเรื่องราวที่ผมต้องพลัดพรากจากครอบครัวมาทำงานที่แม่สะเรียงตามลำพัง
จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะแต่งบทพิลาปรำพันไว้เป็นอนุสรณ์ในยามว่าง
แรกๆแต่งไม่ค่อยได้เรื่องมีผิดฉันทลักษณ์อยู่เป็นประจำ แถมยังไม่เข้าขั้นในเชิงสำนวน เทียบไม่ได้เลยกับกวีโบราณ
แต่ผมก็พยายามปรับปรุงตัวเอง ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ย่อท้อ และมุ่งมั่นที่จะแต่งต่อไป จนปัจจุบันนี้กำลังแต่ง
“นิราศแม่ฮ่องสอน”
ไปเกือบๆ ๔๐๐ บทแล้ว แต่ยังไม่กล้าเอามาลงให้เพื่อนๆดูเกรงจะเอียนหรือเฝือเสียก่อน ๕๕๕+
จริงๆการแต่งนิราศนั้นไม่มีหลักการอะไรแน่นอนที่จะพอสรุปได้ เอาเป็นว่าสไตล์ใครสไตล์มันละกันครับ ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร อันนี้ผมคิดเองนะ
**ยกตัวอย่างที่เคยแต่ง...
๑ จากนางมาที่นี้ แม่สะเรียง แม่เอย
ถือหลักทำงานเพียง พ่อสู้
ยามเผือเหนื่อยขอเสียง กลอยแม่ ใจฮือ
ฝากส่งใจเพียงกู้ ยอดชู้คนดี ฯ
จริงๆจะมีร่ายนำมาก่อนแต่ผมจะไม่กล่าวถึง สำหรับบทแรกในนิราศแม่สะเรียงนี้ เป็นการอธิบายถึงว่าทำไมผู้เขียนถึงเขียนนิราศนี้ขึ้นมา
แถมคำหยอดอ้อนให้นางอันเป็นที่รักช่วยส่งกำลังใจให้เรียมด้วย
๔ นอนเพียงเดียวข่มสู้ โผเผ
หนาวร่างกายคลายเห ห่มสู้
อณูไอแทรกปนเป พิศุทธ์ เพราฤา
เทียบมิเท่าหนาวชู้ ห่มห้วงพราวเธอ ฯ
บทนี้เรียมบ่นกับตัวเองว่านอนหนาวอยู่เพียงลำพังผู้เดียว จักคลายหนาวได้เยี่ยงใดหากไม่ได้กายเจ้ามาแนบหนาว ประมาณนั้น อิอิ..
๑๒ ฉำฉารื่นฉ่ำท้า เฉไฉ
ชาแช่มชื้นฉ่าไช ทั่วหล้า
ดอกจามจุรีไสว ชวนพิศ ชมนา
ใจตฤษณาแห่งข้าฯ แช่มชื้นเยี่ยงไร ฯ
บทนี้เป็นการโชว์เล่นคำเล่นเสียง โดยเรียมมองต้นฉำฉา ( จามจุรี ) ,ต้นชา ว่างามพิไล ชุ่มชื้น ดอกจามจุรีก็กำลังบานสดใส
แต่เมื่อมองใจตนเองกลับไม่แช่มชื้นเท่า ( เพราะห่อเหี่ยวจากการพรากจากกัน )
อนึ่งบทนี้ตอนแต่งแรกๆยังนึกคำไม่ออก จึงมีการแก้ไขหลายครั้ง เช่น บาทสุดท้าย จาก “กฤษณา” เป็น “ตฤษณา”
และ“ชักช้า” เป็น “แช่มชื้น” เป็นต้น
๑๔ สวนสักออกดอกแล้ว แก้วถวิล
รอรักนางระริน กลิ่นพ้อง
ตัวต่อก่อรังบิน ริมสระ ปลาเฮย
ชวนนึกถึงแต่น้อง ต่อห้องหัวใจ ฯ
ตอนนี้มองต้นสวนสักที่บ้านพักพบว่ากำลังออกดอก เหมือนจะรอนางมาชมด้วยกัน มองขึ้นไปบนต้นสักยังพบ “รังตัวต่อ” ก่อรังที่ริมสระน้ำ
ทำให้นึกอยากจะ “ต่อ” หัวใจกับนาง
เป็นการเล่นคำ คำเดียวกันแต่คนละความหมาย
๑๘๓ เดือนค้างฟ้าแต้มต่าย ตายฤา
ประหนึ่งวิญญากระพือ รักพลั้ง
เมฆาอย่าไขสือ ถือสลด ปลดแม่
วอนพระพายพัดตั้ง ต่ายฟื้นคืนแข ฯ
บทนี้จาก “นิราศแม่ฮ่องสอน” เป็นจินตนาการว่าพระจันทร์นั้นมีกระต่ายอยู่แต่เหมือนกระต่ายมันตายไปแล้ว ( เลยอยู่ท่าเดิมตลอด)
ก็เลยประชดเมฆว่าท่านรู้ความจริงแล้วไม่ยอมบอก ยังไงช่วยบอกท่านลมให้พัดวิญญาณกระต่ายให้ฟื้นคืนชีพด้วยเถิดนะท่าน
เป็นการแสดงถึงโวหาร “บุคคลวัต” เพื่อนๆลองศึกษาเทคนิคนี้ดูครับ
๑๘๔ รักแลจริงแท้ที่ ว่าหวาน
ฤาลิดรอนใจราญ ไป่ล้ำ
ความรักมักลาญผลาญ ล้านเล่ห์
ลวงล่อใจเจ็บช้ำ หลอกสิ้นชีวี ฯ
บทนี้มีพื้นฐานจากเนื้อเพลง “รักเอย” เอามาประยุกต์คั่นกลางเหมือนคร่ำครวญคั่นเวลาก่อนดำเนินเรื่องขั้นต่อไป
๑๙๐ คิดเคยเชยเปรียบสร้อย สัตตบรรณ
ผลิยั่วพเยียยรร ยอดฟ้า
คลึงปทุมเปล่งปลายถัน ถั่งสวาท
ไลยเลิศรมณีกล้า กล่าร้อยลีลา ฯ
ลีลาการแทรกบทอัศจรรย์ นิดหน่อยครับ
๑๙๕ ตราบสิ้นดินดับฟ้า ฟอนสรวง
สุริยงสลายยวง ย่อยแล้
สุเมรุยอดทลายกลวง กลางถล่ม ล่มแล
คงมั่นสัญญาแม้ มอดม้วยชีวิน ฯ
จินตนาการลักษณะนี้จะช่วยเพิ่มอรรถรสในการอ่านมากยิ่งขึ้น ครับ
๒๐๑ หนามกุหลาบปักนิ้ว นงราม
เข็มบ่งสลัดความ เจ็บได้
เกลือกหนามทิ่มใจทราม ทรวงทรุด ไฉนเลย
ตำหนิแผลลึกไซร้ สยบห้ามหักใจ ฯ
เป็นการเปรียบเทียบว่าหนามที่ทิ่มแทงใจมิอาจสลัดบ่งหนามนั้นออกมาได้ไม่เหมือนหนามกุหลาบที่ปักนิ้ว
๒๑๒ ถึงแม่สามแลบแล้ว แจวเรือ
สองฝั่งธรรมชาติเหนือ น่านน้ำ
รวยรินกลิ่นโคลนเจือ คลาดจาก ทรายฤา
หินกรวดฤาชอกช้ำ เทียบเที้ยรนิราเรียม ฯ
ถึงบ้านแม่สามแลบแล้ว เรียมก็แจวเรือเดินทางต่อ ชมธรรมชาติสองฝั่งน้ำ
ได้กลิ่นโคลนดินคิดว่ามันพรากจากทราย หิน กรวดมารึเปล่า แล้วทราย หิน กรวดที่ว่า มันจะชอกช้ำเหมือนเรียมไหม? ( บุคคลวัต )
๒๑๓ ปลาคังขังข้องดัก เดียวไฉน
ปลาตะเพียนเวียนฝูงไสว ว่องเวิ้ง
ปลาคมป่วนดุกไพร ใดพิศ สนิทเอย
เรียมต่างมัจฉาเซิ้ง ซ่อนเหง้าเหงาสมร ฯ
ระหว่างเดินทาง พบฝูงปลาชนิดต่างๆ ว่ายกันร่าเริงสดใส ต่างจากความเหงาของเรียมอย่างสิ้นเชิง
๒๑๕ ศุภยามไพรเพรียกซ้อง ปักษี
โกกิลาบินหนี น่านฟ้า
จอกกระจิบจรลี รังคาบ จาบแล
รังย่อมรอบ่ช้า เช่นค้างต่างเผือ ฯ
มองเห็นนกต่างๆหลายชนิดกำลังโผผินท้องฟ้า บางตัวก็บินร่อนไปหารัง
ต่างจากรังเรียม ( บ้านเรียม) ที่ตอนนี้ไม่มีนกตัวนั้นมาค้างรังเหมือนเดิม
.... หวังว่าเพื่อนๆที่สนใจคงจะได้ไอเดียไปไม่มากก็น้อยนะครับ ...
.... จงเป็นตัวของท่านเอง แรกๆอาจเลียนแบบบ้างเหมือนครูพักลักจำ แต่ต่อไปพยายามหาเอกลักษณ์ของตนเองให้เจอครับ ...
@@
ขอบคุณภาพจากเน็ต ครับ @@
** เคล็ดลับคำโคลง ** ตอน..ชั้นเชิงนิราศ
** เคล็ดลับคำโคลง ** ตอน..ชั้นเชิงนิราศ
สมัยโบราณนิยมแต่งโคลงในเชิงนิราศมีทั้งโคลงดั้น, โคลงสี่สุภาพ ,ลิลิต เป็นต้น อาจเป็นเพราะว่าลักษณะของฉันทลักษณ์เอื้ออำนวย และการแต่งบทนิราศจะใช้จินตนาการ, โวหารภาพพจน์ ,อุปมาอุปไมย,อุปลักษณ์ ,บุคคลวัต ,สัทพจน์ และการพรรณนาโวหารเป็นจุดเด่น ทำให้กวีมีโอกาสแสดงฝีมือได้อย่างอิสระเต็มที่
นอกจากนี้ในสมัยดังกล่าวเวลาเดินทางไกลไปต่างเมืองมักจะเดินทางทางเรือ ( ชลมารค ) ทำให้กวีมีเวลาคิดจินตนาการได้อย่างเต็มพิกัดนั่นเอง
บทกวีเรื่องแรกที่ผมแต่งก็คือเรื่อง “นิราศแม่สะเรียง” เป็นเรื่องราวที่ผมต้องพลัดพรากจากครอบครัวมาทำงานที่แม่สะเรียงตามลำพัง
จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะแต่งบทพิลาปรำพันไว้เป็นอนุสรณ์ในยามว่าง
แรกๆแต่งไม่ค่อยได้เรื่องมีผิดฉันทลักษณ์อยู่เป็นประจำ แถมยังไม่เข้าขั้นในเชิงสำนวน เทียบไม่ได้เลยกับกวีโบราณ
แต่ผมก็พยายามปรับปรุงตัวเอง ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ย่อท้อ และมุ่งมั่นที่จะแต่งต่อไป จนปัจจุบันนี้กำลังแต่ง “นิราศแม่ฮ่องสอน”
ไปเกือบๆ ๔๐๐ บทแล้ว แต่ยังไม่กล้าเอามาลงให้เพื่อนๆดูเกรงจะเอียนหรือเฝือเสียก่อน ๕๕๕+
จริงๆการแต่งนิราศนั้นไม่มีหลักการอะไรแน่นอนที่จะพอสรุปได้ เอาเป็นว่าสไตล์ใครสไตล์มันละกันครับ ไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร อันนี้ผมคิดเองนะ
**ยกตัวอย่างที่เคยแต่ง...
๑ จากนางมาที่นี้ แม่สะเรียง แม่เอย
ถือหลักทำงานเพียง พ่อสู้
ยามเผือเหนื่อยขอเสียง กลอยแม่ ใจฮือ
ฝากส่งใจเพียงกู้ ยอดชู้คนดี ฯ
จริงๆจะมีร่ายนำมาก่อนแต่ผมจะไม่กล่าวถึง สำหรับบทแรกในนิราศแม่สะเรียงนี้ เป็นการอธิบายถึงว่าทำไมผู้เขียนถึงเขียนนิราศนี้ขึ้นมา
แถมคำหยอดอ้อนให้นางอันเป็นที่รักช่วยส่งกำลังใจให้เรียมด้วย
๔ นอนเพียงเดียวข่มสู้ โผเผ
หนาวร่างกายคลายเห ห่มสู้
อณูไอแทรกปนเป พิศุทธ์ เพราฤา
เทียบมิเท่าหนาวชู้ ห่มห้วงพราวเธอ ฯ
บทนี้เรียมบ่นกับตัวเองว่านอนหนาวอยู่เพียงลำพังผู้เดียว จักคลายหนาวได้เยี่ยงใดหากไม่ได้กายเจ้ามาแนบหนาว ประมาณนั้น อิอิ..
๑๒ ฉำฉารื่นฉ่ำท้า เฉไฉ
ชาแช่มชื้นฉ่าไช ทั่วหล้า
ดอกจามจุรีไสว ชวนพิศ ชมนา
ใจตฤษณาแห่งข้าฯ แช่มชื้นเยี่ยงไร ฯ
บทนี้เป็นการโชว์เล่นคำเล่นเสียง โดยเรียมมองต้นฉำฉา ( จามจุรี ) ,ต้นชา ว่างามพิไล ชุ่มชื้น ดอกจามจุรีก็กำลังบานสดใส
แต่เมื่อมองใจตนเองกลับไม่แช่มชื้นเท่า ( เพราะห่อเหี่ยวจากการพรากจากกัน )
อนึ่งบทนี้ตอนแต่งแรกๆยังนึกคำไม่ออก จึงมีการแก้ไขหลายครั้ง เช่น บาทสุดท้าย จาก “กฤษณา” เป็น “ตฤษณา”
และ“ชักช้า” เป็น “แช่มชื้น” เป็นต้น
๑๔ สวนสักออกดอกแล้ว แก้วถวิล
รอรักนางระริน กลิ่นพ้อง
ตัวต่อก่อรังบิน ริมสระ ปลาเฮย
ชวนนึกถึงแต่น้อง ต่อห้องหัวใจ ฯ
ตอนนี้มองต้นสวนสักที่บ้านพักพบว่ากำลังออกดอก เหมือนจะรอนางมาชมด้วยกัน มองขึ้นไปบนต้นสักยังพบ “รังตัวต่อ” ก่อรังที่ริมสระน้ำ
ทำให้นึกอยากจะ “ต่อ” หัวใจกับนาง
เป็นการเล่นคำ คำเดียวกันแต่คนละความหมาย
๑๘๓ เดือนค้างฟ้าแต้มต่าย ตายฤา
ประหนึ่งวิญญากระพือ รักพลั้ง
เมฆาอย่าไขสือ ถือสลด ปลดแม่
วอนพระพายพัดตั้ง ต่ายฟื้นคืนแข ฯ
บทนี้จาก “นิราศแม่ฮ่องสอน” เป็นจินตนาการว่าพระจันทร์นั้นมีกระต่ายอยู่แต่เหมือนกระต่ายมันตายไปแล้ว ( เลยอยู่ท่าเดิมตลอด)
ก็เลยประชดเมฆว่าท่านรู้ความจริงแล้วไม่ยอมบอก ยังไงช่วยบอกท่านลมให้พัดวิญญาณกระต่ายให้ฟื้นคืนชีพด้วยเถิดนะท่าน
เป็นการแสดงถึงโวหาร “บุคคลวัต” เพื่อนๆลองศึกษาเทคนิคนี้ดูครับ
๑๘๔ รักแลจริงแท้ที่ ว่าหวาน
ฤาลิดรอนใจราญ ไป่ล้ำ
ความรักมักลาญผลาญ ล้านเล่ห์
ลวงล่อใจเจ็บช้ำ หลอกสิ้นชีวี ฯ
บทนี้มีพื้นฐานจากเนื้อเพลง “รักเอย” เอามาประยุกต์คั่นกลางเหมือนคร่ำครวญคั่นเวลาก่อนดำเนินเรื่องขั้นต่อไป
๑๙๐ คิดเคยเชยเปรียบสร้อย สัตตบรรณ
ผลิยั่วพเยียยรร ยอดฟ้า
คลึงปทุมเปล่งปลายถัน ถั่งสวาท
ไลยเลิศรมณีกล้า กล่าร้อยลีลา ฯ
ลีลาการแทรกบทอัศจรรย์ นิดหน่อยครับ
๑๙๕ ตราบสิ้นดินดับฟ้า ฟอนสรวง
สุริยงสลายยวง ย่อยแล้
สุเมรุยอดทลายกลวง กลางถล่ม ล่มแล
คงมั่นสัญญาแม้ มอดม้วยชีวิน ฯ
จินตนาการลักษณะนี้จะช่วยเพิ่มอรรถรสในการอ่านมากยิ่งขึ้น ครับ
๒๐๑ หนามกุหลาบปักนิ้ว นงราม
เข็มบ่งสลัดความ เจ็บได้
เกลือกหนามทิ่มใจทราม ทรวงทรุด ไฉนเลย
ตำหนิแผลลึกไซร้ สยบห้ามหักใจ ฯ
เป็นการเปรียบเทียบว่าหนามที่ทิ่มแทงใจมิอาจสลัดบ่งหนามนั้นออกมาได้ไม่เหมือนหนามกุหลาบที่ปักนิ้ว
๒๑๒ ถึงแม่สามแลบแล้ว แจวเรือ
สองฝั่งธรรมชาติเหนือ น่านน้ำ
รวยรินกลิ่นโคลนเจือ คลาดจาก ทรายฤา
หินกรวดฤาชอกช้ำ เทียบเที้ยรนิราเรียม ฯ
ถึงบ้านแม่สามแลบแล้ว เรียมก็แจวเรือเดินทางต่อ ชมธรรมชาติสองฝั่งน้ำ
ได้กลิ่นโคลนดินคิดว่ามันพรากจากทราย หิน กรวดมารึเปล่า แล้วทราย หิน กรวดที่ว่า มันจะชอกช้ำเหมือนเรียมไหม? ( บุคคลวัต )
๒๑๓ ปลาคังขังข้องดัก เดียวไฉน
ปลาตะเพียนเวียนฝูงไสว ว่องเวิ้ง
ปลาคมป่วนดุกไพร ใดพิศ สนิทเอย
เรียมต่างมัจฉาเซิ้ง ซ่อนเหง้าเหงาสมร ฯ
ระหว่างเดินทาง พบฝูงปลาชนิดต่างๆ ว่ายกันร่าเริงสดใส ต่างจากความเหงาของเรียมอย่างสิ้นเชิง
๒๑๕ ศุภยามไพรเพรียกซ้อง ปักษี
โกกิลาบินหนี น่านฟ้า
จอกกระจิบจรลี รังคาบ จาบแล
รังย่อมรอบ่ช้า เช่นค้างต่างเผือ ฯ
มองเห็นนกต่างๆหลายชนิดกำลังโผผินท้องฟ้า บางตัวก็บินร่อนไปหารัง
ต่างจากรังเรียม ( บ้านเรียม) ที่ตอนนี้ไม่มีนกตัวนั้นมาค้างรังเหมือนเดิม
.... หวังว่าเพื่อนๆที่สนใจคงจะได้ไอเดียไปไม่มากก็น้อยนะครับ ...
.... จงเป็นตัวของท่านเอง แรกๆอาจเลียนแบบบ้างเหมือนครูพักลักจำ แต่ต่อไปพยายามหาเอกลักษณ์ของตนเองให้เจอครับ ...
@@ ขอบคุณภาพจากเน็ต ครับ @@