สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
DNA คนกับลิงต่างกันนิดเดียว
นิตยสาร ไทม์ ฉบับวันที่ ๔ ธค. ๔๙ ขึ้นปกรูปคนกับลิง มีคำว่า "How We Became Human. Chimps and humans share almost 99% of their DNA. New discoveries reveal how we can be so alike -- and yet so different" และในเนื้อเรื่อง ชื่อ What Makes Us So Different? ขึ้นพาดหัวว่า Not very much, when we look at our DNA. But those few tiny changes made all the difference in the world.
มองภายนอกคนกับลิงต่างกันมาก ลิงที่ใกล้คนที่สุดคือ ชิมแปนซี มี DNA ต่างกันเพียง 1.23% และมีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อ ๖ ล้านปีมาแล้ว ที่จริงญาติสนิทที่สุดของมนุษย์ Homo sapiens sapiens คือ Neanderthals ซึ่งมีบรรพบุรุษร่วมกับมนุษย์เมื่อ ๕ แสนปีมานี่เอง และ Neanderthals ก็อยู่ในโลกนี้ร่วมกันกับมนุษย์ จนเพิ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อ ๒๘,๐๐๐ ปีมาแล้วนี่เอง ที่สูญพันธุ์ก็เพราะแพ้มนุษย์นั่นเอง แต่ก็ได้ฝากยีนของ Neanderthals ไว้กับมนุษย์ด้วย คือตอนอยู่ร่วมโลกกัน มนุษย์กับ Neanderthals มีการผสมพันธุ์ข้ามกลุ่มกันด้วย
เรื่องผสมพันธุ์ข้ามกลุ่มนี้ นักวิทยาศาสตร์เขามีหลักฐานชวนให้สงสัยว่า ในช่วงหลายล้านปีมาแล้ว บรรพบุรุษของมนุษย์ ก็ผสมพันธุ์กับชิมแปนซีด้วย สัญชาตญาณ หรือแรงกระตุ้น ของการผสมพันธุ์เพื่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์นี่มันแรงมากนะครั บ
ผมตีความว่าที่ Neanderthals สูญพันธุ์ก็เพราะเขาใกล้เคียงกับมนุษย์มาก อยู่ถ้ำเหมือนกัน ล่าสัตว์เหมือนกัน สร้างเครื่องมือง่ายๆ ได้เหมือนกัน ฯลฯ แต่ฉลาดน้อยกว่า เพราะสมองซับซ้อนน้อยกว่า จึงแข่งขันสู้ไม่ได้ ก็สูญพันธุ์ไปตามระเบียบของธรรมชาติ แต่ลิงชิมแปนซี ญาติที่ห่างถัดมา มีชีวิตอยู่บนต้นไม้ คนละระบบนิเวศกับมนุษย์ ไม่แข่งขันกันกับมนุษย์ จึงยังดำรงเผ่าพันธุ์มาได้จนบัดนี้
ผมจึงได้บทเรียนว่า ถ้าเราอยู่กันอย่างแข่งขันแบบทำลายล้าง โลกใบนี้ก็จะแคบมากสำหรับผู้แพ้ ผู้แพ้จะต้องสูญสิ้น หรือสูญพันธุ์ แต่ถ้าเราอยู่กันแบบอยู่ร่วมกัน มีการมีชีวิตอยู่หลากหลายรูปแบบ และร่วมมือ หรือเป็นคุณต่อกัน โลกใบนี้จะรองรับสิ่งมีชีวิตได้มากมายหลากหลาย เหลือคณา
ผมสงสัยว่า ถ้าเราอยู่กันแบบแข่งขันทำลายล้าง และทำลายล้างธรรมชาติ เพื่อความอยู่ดี ความสะดวกสบาย ของมนุษย์ อย่างไม่มีความพอดี ในที่สุด "ผู้ชนะ" ก็จะเป็นผู้แพ้ คือสูญพันธุ์ไปด้วย
เข้าซอยจินตนาการไปไกล ขอกลับมาที่บทความในนิตยสาร ไทม์ กับการค้นหา "ยีนแห่งความเป็นมนุษย์" ซึ่งค้นหาง่ายขึ้นเยอะหลังจากนักวิทยาศาสตร์ sequence จีโนมของชิมแปนซีได้สำเร็จเมื่อปี ๒๕๔๘ แต่ข่าวไม่ค่อยดัง เพราะข่าวพายุเฮอริเคน แคทริน่า กลบเสียหมด
ทีนี้นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถเอาจีโนมของมนุษย์ กับของชิมแปนซีมา "คลี่" เทียบกันได้ คำว่า "คลี่" ต้องมีเครื่องหมายอัญญประกาศ เพราะไม่ได้คลี่เหมือนคลี่กระดาษ ต้องใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า bioinformatics เป็นเครื่องมือ ก็เกิดความเข้าใจความเป็นมนุษย์มากขึ้น พอมีความรู้ใหม่มากเข้าๆ นิตยสารแบบ ไทม์, นิวสวีค, ดิ อีโคโนมิสต์ ฯลฯ ก็สรุปเอามาบอกคนทั่วๆ ไปเสียทีหนึ่ง นักเขียนที่เรียกว่า science journalist ของเขาสรุปเก่ง และเขียนด้วยภาษาง่ายๆ ทำให้ผมติดใจมาก และฝันอยากมีนักเขียนเชิงสรุปวิทยาศาสตร์เก่งๆ ในเมืองไทยบ้าง
สรุปยีนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์
- ยีน FOXP2 - ยีนแห่งการพูดและภาษา มีอายุ ๒๐๐,๐๐๐ ปี ค้นพบโดย Svante Paabo ชิมแปนซีก็มียีนนี้ แต่แตกต่างกับยีนของมนุษย์ที่ ๒ ตำแหน่ง จากทั้งหมด ๗๑๕ ตำแหน่ง ของ DNA
- ยีนที่ทำหน้าที่ดัดแปร sialic acid บนผิวเซลล์ ของมนุษย์ทำหน้าที่ไม่ได้ ทำให้ sialic acid บนผิวเซลล์ของมนุษย์แตกต่างจากลิง จึงติดโรคมาลาเรีย เอดส์ และอีกหลายโรคที่ลิงไม่เป็น เป็นตัวอย่างความก้าวหน้าอันเกิดจาก "ความไม่สามารถ" ทำให้บรรพบุรุษของเราก้าวหน้าขึ้นเป็นมนุษย์ แต่ก็ได้ความอ่อนแอในการติดเชื้อโรคมาด้วย ไม่มีอะไรที่ "ดีไม่มีที่ติ" ในธรรมชาติ นะครับ
- ยีน MYH16 ทำให้โปรตีน myosin ในกล้ามเนื้อที่ขากรรไกร (ใช้กัดและเคี้ยว) ผิดปกติในมนุษย์ เกิดการวิวัฒนาการที่ขากรรไกรเล็กลงเปิดช่องให้สมองโตขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเมื่อ ๒ ล้านปีมาแล้ว
แต่จริงๆ แล้วความเป็นมนุษย์ไม่ได้เกิดจากยีนใดยีนหนึ่ง หากเกิดจากอิทธิพลของหลายยีน การเปรียบเทียบจีโนมของมนุษย์กับญาติสนิทที่มีชีวิตอยู่ คือชิมแปนซี บอกว่า
- ดีเอ็นเอ ต่างกัน ๑.๒๓%
- ยีนเหมือนกัน ๒๙% และยีนที่ต่างกัน ก็ต่างเพียง ๑ - ๒ กรดอะมิโน เท่านั้น
- ความแตกต่างที่สำคัญไม่ได้อยู่ที่ ดีเอ็นเอ ส่วนที่เป็นยีน (coding DNA) เท่านั้น แต่ยังอยู่ที่ดีเอ็นเอ ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมยีน (functional non-coding DNA) ด้วย โดยทำหน้าที่เปิดปิด "สวิตช์" การทำงานของยีน ตามกาละ เทศะ
- ยีน DUF1220 ทำหน้าที่ในสมอง มีจำนวน copy มากที่สุดในมนุษย์
- ดีเอ็นเอส่วนที่เรียกชื่อ HARs (Human Accellerated Regions) เป็น ดีเอ็นเอ ส่วนที่กระตุ้นการเติบโตของสมองมนุษย์ พบแล้ว ๔๙ ตำแหน่ง และพบว่า ๔๗ ตำแหน่งอยู่ใน ดีเอ็นเอ ส่วน functional non-coding
- HAR1 ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของสมองทารกในครรภ์ของมุษย์ ช่วงอายุ ๗ - ๑๙ สัปดาห์ แม้จะยังไม่รู้จักตัวยีนที่ทำหน้าที่นี้ แต่ก็รู้กันว่าเป็นช่วงที่โปรตีนชื่อ reelin ทำหน้าที่กระตุ้นให้ cerebral cortex พัฒนาเป็น ๖ ชั้นตามธรรมชาติของสมองมนุษย์
ต้องขออภัยท่านที่อ่านไม่รู้เรื่อง เพราะไม่มีพื้นความรู้ด้านพันธุศาสตร์ และวิวัฒนาการของมนุษย์ ผมเจตนาเขียนบันทึกนี้ไว้สำหรับตนเองมากกว่า แต่ก็เอามาแบ่งปันแก่ผู้สนใจด้วย
CREDIT
วิจารณ์ พานิช
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/68169
นิตยสาร ไทม์ ฉบับวันที่ ๔ ธค. ๔๙ ขึ้นปกรูปคนกับลิง มีคำว่า "How We Became Human. Chimps and humans share almost 99% of their DNA. New discoveries reveal how we can be so alike -- and yet so different" และในเนื้อเรื่อง ชื่อ What Makes Us So Different? ขึ้นพาดหัวว่า Not very much, when we look at our DNA. But those few tiny changes made all the difference in the world.
มองภายนอกคนกับลิงต่างกันมาก ลิงที่ใกล้คนที่สุดคือ ชิมแปนซี มี DNA ต่างกันเพียง 1.23% และมีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อ ๖ ล้านปีมาแล้ว ที่จริงญาติสนิทที่สุดของมนุษย์ Homo sapiens sapiens คือ Neanderthals ซึ่งมีบรรพบุรุษร่วมกับมนุษย์เมื่อ ๕ แสนปีมานี่เอง และ Neanderthals ก็อยู่ในโลกนี้ร่วมกันกับมนุษย์ จนเพิ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อ ๒๘,๐๐๐ ปีมาแล้วนี่เอง ที่สูญพันธุ์ก็เพราะแพ้มนุษย์นั่นเอง แต่ก็ได้ฝากยีนของ Neanderthals ไว้กับมนุษย์ด้วย คือตอนอยู่ร่วมโลกกัน มนุษย์กับ Neanderthals มีการผสมพันธุ์ข้ามกลุ่มกันด้วย
เรื่องผสมพันธุ์ข้ามกลุ่มนี้ นักวิทยาศาสตร์เขามีหลักฐานชวนให้สงสัยว่า ในช่วงหลายล้านปีมาแล้ว บรรพบุรุษของมนุษย์ ก็ผสมพันธุ์กับชิมแปนซีด้วย สัญชาตญาณ หรือแรงกระตุ้น ของการผสมพันธุ์เพื่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์นี่มันแรงมากนะครั บ
ผมตีความว่าที่ Neanderthals สูญพันธุ์ก็เพราะเขาใกล้เคียงกับมนุษย์มาก อยู่ถ้ำเหมือนกัน ล่าสัตว์เหมือนกัน สร้างเครื่องมือง่ายๆ ได้เหมือนกัน ฯลฯ แต่ฉลาดน้อยกว่า เพราะสมองซับซ้อนน้อยกว่า จึงแข่งขันสู้ไม่ได้ ก็สูญพันธุ์ไปตามระเบียบของธรรมชาติ แต่ลิงชิมแปนซี ญาติที่ห่างถัดมา มีชีวิตอยู่บนต้นไม้ คนละระบบนิเวศกับมนุษย์ ไม่แข่งขันกันกับมนุษย์ จึงยังดำรงเผ่าพันธุ์มาได้จนบัดนี้
ผมจึงได้บทเรียนว่า ถ้าเราอยู่กันอย่างแข่งขันแบบทำลายล้าง โลกใบนี้ก็จะแคบมากสำหรับผู้แพ้ ผู้แพ้จะต้องสูญสิ้น หรือสูญพันธุ์ แต่ถ้าเราอยู่กันแบบอยู่ร่วมกัน มีการมีชีวิตอยู่หลากหลายรูปแบบ และร่วมมือ หรือเป็นคุณต่อกัน โลกใบนี้จะรองรับสิ่งมีชีวิตได้มากมายหลากหลาย เหลือคณา
ผมสงสัยว่า ถ้าเราอยู่กันแบบแข่งขันทำลายล้าง และทำลายล้างธรรมชาติ เพื่อความอยู่ดี ความสะดวกสบาย ของมนุษย์ อย่างไม่มีความพอดี ในที่สุด "ผู้ชนะ" ก็จะเป็นผู้แพ้ คือสูญพันธุ์ไปด้วย
เข้าซอยจินตนาการไปไกล ขอกลับมาที่บทความในนิตยสาร ไทม์ กับการค้นหา "ยีนแห่งความเป็นมนุษย์" ซึ่งค้นหาง่ายขึ้นเยอะหลังจากนักวิทยาศาสตร์ sequence จีโนมของชิมแปนซีได้สำเร็จเมื่อปี ๒๕๔๘ แต่ข่าวไม่ค่อยดัง เพราะข่าวพายุเฮอริเคน แคทริน่า กลบเสียหมด
ทีนี้นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถเอาจีโนมของมนุษย์ กับของชิมแปนซีมา "คลี่" เทียบกันได้ คำว่า "คลี่" ต้องมีเครื่องหมายอัญญประกาศ เพราะไม่ได้คลี่เหมือนคลี่กระดาษ ต้องใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า bioinformatics เป็นเครื่องมือ ก็เกิดความเข้าใจความเป็นมนุษย์มากขึ้น พอมีความรู้ใหม่มากเข้าๆ นิตยสารแบบ ไทม์, นิวสวีค, ดิ อีโคโนมิสต์ ฯลฯ ก็สรุปเอามาบอกคนทั่วๆ ไปเสียทีหนึ่ง นักเขียนที่เรียกว่า science journalist ของเขาสรุปเก่ง และเขียนด้วยภาษาง่ายๆ ทำให้ผมติดใจมาก และฝันอยากมีนักเขียนเชิงสรุปวิทยาศาสตร์เก่งๆ ในเมืองไทยบ้าง
สรุปยีนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์
- ยีน FOXP2 - ยีนแห่งการพูดและภาษา มีอายุ ๒๐๐,๐๐๐ ปี ค้นพบโดย Svante Paabo ชิมแปนซีก็มียีนนี้ แต่แตกต่างกับยีนของมนุษย์ที่ ๒ ตำแหน่ง จากทั้งหมด ๗๑๕ ตำแหน่ง ของ DNA
- ยีนที่ทำหน้าที่ดัดแปร sialic acid บนผิวเซลล์ ของมนุษย์ทำหน้าที่ไม่ได้ ทำให้ sialic acid บนผิวเซลล์ของมนุษย์แตกต่างจากลิง จึงติดโรคมาลาเรีย เอดส์ และอีกหลายโรคที่ลิงไม่เป็น เป็นตัวอย่างความก้าวหน้าอันเกิดจาก "ความไม่สามารถ" ทำให้บรรพบุรุษของเราก้าวหน้าขึ้นเป็นมนุษย์ แต่ก็ได้ความอ่อนแอในการติดเชื้อโรคมาด้วย ไม่มีอะไรที่ "ดีไม่มีที่ติ" ในธรรมชาติ นะครับ
- ยีน MYH16 ทำให้โปรตีน myosin ในกล้ามเนื้อที่ขากรรไกร (ใช้กัดและเคี้ยว) ผิดปกติในมนุษย์ เกิดการวิวัฒนาการที่ขากรรไกรเล็กลงเปิดช่องให้สมองโตขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเมื่อ ๒ ล้านปีมาแล้ว
แต่จริงๆ แล้วความเป็นมนุษย์ไม่ได้เกิดจากยีนใดยีนหนึ่ง หากเกิดจากอิทธิพลของหลายยีน การเปรียบเทียบจีโนมของมนุษย์กับญาติสนิทที่มีชีวิตอยู่ คือชิมแปนซี บอกว่า
- ดีเอ็นเอ ต่างกัน ๑.๒๓%
- ยีนเหมือนกัน ๒๙% และยีนที่ต่างกัน ก็ต่างเพียง ๑ - ๒ กรดอะมิโน เท่านั้น
- ความแตกต่างที่สำคัญไม่ได้อยู่ที่ ดีเอ็นเอ ส่วนที่เป็นยีน (coding DNA) เท่านั้น แต่ยังอยู่ที่ดีเอ็นเอ ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมยีน (functional non-coding DNA) ด้วย โดยทำหน้าที่เปิดปิด "สวิตช์" การทำงานของยีน ตามกาละ เทศะ
- ยีน DUF1220 ทำหน้าที่ในสมอง มีจำนวน copy มากที่สุดในมนุษย์
- ดีเอ็นเอส่วนที่เรียกชื่อ HARs (Human Accellerated Regions) เป็น ดีเอ็นเอ ส่วนที่กระตุ้นการเติบโตของสมองมนุษย์ พบแล้ว ๔๙ ตำแหน่ง และพบว่า ๔๗ ตำแหน่งอยู่ใน ดีเอ็นเอ ส่วน functional non-coding
- HAR1 ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของสมองทารกในครรภ์ของมุษย์ ช่วงอายุ ๗ - ๑๙ สัปดาห์ แม้จะยังไม่รู้จักตัวยีนที่ทำหน้าที่นี้ แต่ก็รู้กันว่าเป็นช่วงที่โปรตีนชื่อ reelin ทำหน้าที่กระตุ้นให้ cerebral cortex พัฒนาเป็น ๖ ชั้นตามธรรมชาติของสมองมนุษย์
ต้องขออภัยท่านที่อ่านไม่รู้เรื่อง เพราะไม่มีพื้นความรู้ด้านพันธุศาสตร์ และวิวัฒนาการของมนุษย์ ผมเจตนาเขียนบันทึกนี้ไว้สำหรับตนเองมากกว่า แต่ก็เอามาแบ่งปันแก่ผู้สนใจด้วย
CREDIT
วิจารณ์ พานิช
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/68169
แสดงความคิดเห็น
เป็นไปได้มั้ยที่จะการผสมพันธ์ของมนุษย์กับลิง แล้วลูกจะสามารถออกมาได้ แบบ Liger ? ไลเกอร์?
ลา กับ ม้า ออกมาเป็นล่อ
แล้วมนุษย์กับลิง สายพันธ์ใกล้กัน
ลูกจะออกมา เป็น คนครึ่งลิง?